การบูรณาการการเรียนรู้ภาษาไทย


การบูรณาการ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ

  

การเรียนรู้แบบบูรณาการคืออะไร

·       การเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมและมีความหมาย

·       การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงความรู้ที่สัมพันธ์กันหลายวิชา

·       การเรียนรู้ด้วยรูปแบบ   วิธีการและกระบวนการที่หลากหลายโดยเน้นสภาพจริง

·       การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ลักษณะการบูรณาการการเรียนรู้

·       การบูรณาการความรู้ความเข้าใจกับกระบวนการเรียนรู้

·       การบูรณาการสติปัญญากับความรู้สึก

·       การบูรณาการความรู้ความเข้าใจกับพฤติกรรมที่ต้องการให้แสดงออก

·       การบูรณาการการเรียนรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของผู้เรียน

·       การบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ

 

หลักสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

·       จัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

·       ส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมทำงานกลุ่มด้วยตนเอง

·       จัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน

·       จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิดกล้าทำ

·       เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก   ค่านิยม   และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม

    

ลักษณะของการวัดและประเมินการเรียนรู้แบบบูรณาการ

            การประเมินผลที่สอดคล้องกับวิธีการสอนแบบบูรณาการควรมีสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด   โดยอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง   ดังนั้นการวัดและประเมินผลจึงควรมีลักษณะดังนี้

·       สะท้อนพฤติกรรมและทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในสถานการณ์จริง

·       ใช้เทคนิคการประเมินผลที่หลากหลาย

·       ให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงาน

·       ใช้ข้อมูลอย่างหลากหลายเพื่อการประเมิน

·       เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน  ครู  ผู้ปกครอง   นักเรียน

สาระของการประเมิน

1.      ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาตามวิชาที่นำมาบูรณาการ

2.      ทักษะกระบวนการตามทักษะของตามวิชาที่นำมาบูรณาการ

3.      คุณลักษณะ   ค่านิยม   ตามวิชาที่นำมาบูรณาการ

วิธีการวัด

1.      วัดครบทุกด้าน   ความรู้  กระบวนการ  เจตคติ คุณธรรม   จริยธรรม

2.      ประเมินจากการปฏิบัติ   (Performance  Assessment)

3.      ประเมินตามสภาพจริง  (Authentic  Assessment)

4.      การสังเกต   บันทึกพฤติกรรมผู้เรียนที่เกิดขึ้น  เช่น  สังเกตการฝึกทักษะต่าง ๆ

5.      การบันทึกประจำวัน    บันทึกการปฏิบัติงาน ของนักเรียน

6.      การตอบปากเปล่า   เช่น  การสัมภาษณ์   การตอบคำถาม   การเสนอผลงาน

7.      การเขียนคำตอบ   ความเรียง  เช่น   การเขียนตอบสั้น    การเขียนเป็นความเรียง

8.      การประเมินตนเอง   ให้นักเรียนตนเองเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน   กระบวนการทำงานผลงาน   ปัญหาอุปสรรค

9.      การใช้แฟ้มสะสมงาน   ครูต้องกำหนดวิธีการประเมิน (ประเมินโดยรวม  หรือประเมิน   รายชิ้น)   เกณฑ์การประเมิน  ผู้ประเมิน

10.  การใช้แบบทดสอบ

การจะเลือกใช้วิธีการประเมินผลแบบใด   ครูผู้สอนต้องพิจารณาจาก   เนื้อหา     ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง    กลวิธีการสอนของครู 
แหล่งข้อมูล / งานที่ประเมิน / เกณฑ์ / ผู้ประเมิน
 

แหล่งข้อมูล /งานที่ประเมิน

เกณฑ์ที่ใช้ประเมิน

ผู้ประเมิน

งานชิ้นเดียวกัน

ใช้เกณฑ์ร่วมกัน

ครูที่ร่วมบูรณาการ

ใช้เกณฑ์ที่กำหนดเป็นรายวิชา

ครูที่ร่วมบูรณาการ

ชิ้นงานแยกกัน

ใช้เกณฑ์ที่กำหนดเป็นรายวิชา

ครูที่ร่วมบูรณาการ

ขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ

1.      ศึกษาหลักสูตรในภาพรวม2.      วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้3.      กำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง4.      จัดทำคำอธิบายรายวิชา5.      จัดทำหน่วยการเรียนรู้6.      กำหนดหัวเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายสาระการเรียนรู้   ผลการเรียนรู้  มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ที่สัมพันธ์กัน                   7.  ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นการคิด   การใช้แหล่งเรียนรู้  

เอกสารอ้างอิง

 

กรมวิชาการ   กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารชุดกระบวนการเรียนรู้.  มปท.,มปป.

ชนาธิป  พรกุล.  แคทส์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.  สำนักพิมพ์แห่ง

                  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพ ฯ, 2545

สิริพชร์  เจษฎาวิโรจน์.  การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. บุคพอยท์ จำกัด : กรุงเทพ ฯ, 2546

สุวิทย์  มูลคำ.  กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ. ห้างหุ้นส่วน จำกัด ภาพพิมพ์ : กรุงเทพ ฯ. 2547

หมายเลขบันทึก: 104992เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท