อาหารทะเลเป็นอาหารที่มีโปรตีนชั้นดี ไขมันชนิดดี(โอเมก้า-3) ไอโอดีน เหล็ก และโคลีน(บำรุงสมองและระบบประสาท)
สารอาหารเหล่านี้มีประโยชน์มากเป็นพิเศษต่อสมองทารกในครรภ์และเด็ก ช่วยลดปัญหาการลืมชื่อ (dyslexia) ออทิสติก และพัฒนาการผิดปกติในเด็กหลายอย่าง
รายงานการประชุมวิชาการในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.กล่าวว่า การกินอาหารทะเลเป็นประจำน่าจะมีส่วนช่วยให้อายุยืนขึ้น สุขภาพดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากโรคเส้นเลือดหัวใจ มะเร็ง สมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เบาหวาน โรคที่มีการอักเสบเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ฯลฯ

การประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ แคนาดา ไอซ์แลนด์ และสำนักงานอาหารและเกษตร สหประชาชาติ (UN FAO)
เนื่องจากทารกในครรภ์มีโอกาสได้รับอันตรายจากสารเคมีในท้องทะเลมากเป็นพิเศษ
ผู้หญิงจึงควรระวังการกินอาหารทะเลในช่วงก่อนตั้งครรภ์ 6 เดือน ช่วงตั้งครรภ์ และช่วงให้นมลูก
วิธีป้องกันง่ายๆ คือ ให้หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารปรอทค่อนข้างมาก เช่น ปลาฉลาม ปลาฉนาก (sword fish) ปลาคิงแมคเคอเรล ปลาทูนา ปลาวาฬ (รายงานนี้รวม tilefish ด้วย) ฯลฯ
ท่านอาจารย์วิลเลียม อี. เอ็ม. ลอร์ดส์ ซึ่งเกษียณจากตำแหน่งศาสตราจารย์ชีวเคมีในมหาวิทยาลัยมิชิแกนและอิลลินอยส์กล่าวว่า
คำแนะนำนี้มีระดับความปลอดภัยจากสารพิษที่ปนเปื้อนในทะเล(โดยเฉพาะปรอท – ผู้เขียน) ถึง 10 เท่า
นั่นคือ คนทั่วไป(ไม่รวมหญิงมีครรภ์หรือให้นมลูก)กินมากกว่าคำแนะนำนี้ 10 เท่าก็ยังปลอดภัย
ศาสตราจารย์วิลเลียมกล่าวว่า เนื้อปลามีสารเซเลเนียมสูง สารนี้ทำหน้าที่ป้องกันพิษจากสารปนเปื้อนในทะเล
นี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนในหมู่เกาะเซเชลส์ซึ่งกินปลาสัปดาห์ละ 12 ครั้งก็ยังไม่มีอาการพิษจากสารปนเปื้อนในทะเล...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับขอแนะนำ...
- รวมเรื่องสุขภาพ > "ปลา"
- [ Click - Click ]
- ขอแนะนำบล็อก "บ้านสาระ"
- http://gotoknow.org/blog/talk2u
แหล่งที่มา:
- ขอขอบคุณ > Graciele Flores. Americans advised to eat seafood twice a week. > http://go.reuters.com/newsArticle.jhtml?type=healthNews&storyID=10659005&src=eDialog/GetContent > December 22, 2005.
- ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก “บ้านสุขภาพ” มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
- ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
- ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
- ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
- นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ > ปรับปรุงแก้ไข 24 เมษายน 2550 > 5 กรกฎาคม 2550.