แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูวิทยาศาสตร์


ในวันที่ 29-30 มิถุนายน 2550  สพท.นบ.1 จะเปิดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดนำเสนอผลงาน ของครูชำนาญการพิเศษ ครูดีเด่น ครูต้นแบบ ครูแกนนำวิทยาศาสตร์ หวังว่าครูที่เข้าร่วมโครงการคงได้มีโอกาสแชร์ความรู้กันทุกคน
คำสำคัญ (Tags): #kmครูวิทยาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 104435เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 05:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (67)
จากการเสวนาครูวิทย์ ช่วงชั้นที่ อ. สิงห์  โรงเรียนวัดซองพลู  อ.บางกรวย  จ.นนทบุรี ได้เล่าประสบการณ์สอนให้ฟังว่า อยู่ที่ โรงเรียนวัดซองพลู 30 ปี เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จากการสำรวจความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ในเขตบริการประชาชนมีความเป็นอยู่ดีชึ้นชาวบ้านในเขตบริการจึงส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนเอกชน อาจารย์สิงห์คิดหนักในการที่ต้องมารับผิดชอบสอนวิทย์ซึ่งอาจารย์ไม่ได้จบเอกวิทย์ จบบริหารการศึกษา จากบางบัวทองมาอยู่บางกรวย เริ่มแรกสอนภาษาไทยเพราะมีความรู้พื้นฐาน ป.กศ.สูง คือ เอกภาษาไทย โทการสอนสังคม มาสอนวิชา สปช. และย้อนกลับไปช่วยราชการ โรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง 5 ปี และกลุ่มถูกยุบก็กลับมาอยู่โรงเรียนวัดซองพลูสอนวิชา สปช. เปลี่ยนเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่อาจารย์ก็พยายามใฝ่รู้เข้ารับการอบรม สมัครเข้าอบรมตามโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาตนเอง อาจารย์ประเมินการสอนของตนเองพบว่าการสอนวิทย์ที่ประสบผลสำเร็จคือการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการสังเกต ซึ่งเหมาะมากในระดับประถม อาจารย์จะตั้งคำความจากให้นักเรียนสังเกตสิ่งงที่เรียนรู้ และช่วยชี้แนะ อยู่เสมอ อาจารย์สิงห์พบว่านอกจากให้นักเรียนสังเกตตามกิจกรรมในชั้นเรียนแล้ว ครูต้องฝึกให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวและทำให้นักเรียนมีนิสัยช่างสังเกต และพบว่าเด็กที่ช่างสังเกต จะคิดเป็น เรียนเก่ง อาจารย์ยกตัวอย่างว่าอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์เรื่องพืชสิ่งที่ครูควรตั้งคำถามให้กับตนเองก่อนวางแผนการสอนว่าจะให้นักเรียนทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร จะสังเกตอะไร แล้วให้นักเรียนบันทึกการสังเกต หรือมาเล่าเรื่องที่สังเกต อาจเล่าในกลุ่ม หรือจับคู่เล่า(อันนี้ได้ผลมากสำหรับเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก หรือเขียนไม่เก่ง และเปิดโอกาสให้เด็กได้ออกนอกห้องมีความสนุกสนานรวบรวมข้อมูล สำรวจระบบนิเวศ แล้วให้นักเรียนทำชิ้นงานและส่งเสริมให้มีการนำเสนอชิ้นงานที่นักเรียนประสบความสำเร็จ ข้อคิดเห็นที่อ.สิงห์ฝากในการเสวนาคือ     เมื่อรักที่จะเป็นครู ต้องมีความตั้งใจ  รักงานสอนแล้ว ต้องสอนให้สอดคล้องกับตามสภาพจริง บริบทของโรงเรียน อย่างเต็มที่ ด้วยจิตมุ่งมั่น รักเด็ก ผลตามมา เด็กจะเกิดทักษะ การสังเกต  เกิดความคิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้ดีขึ้นเอง  สู้ สู้          

ขอบคุณ สมาชิกกลุ่มวิทย์ทันโลก จัดทำแผนรายชั่วโมงพิมพ์มาค่อนข้างเรียบร้อย หลายกลุ่มได้         ทะยอยส่งหลังอบรมเสร็จแต่ยังคงมีบางแผนที่ต้องปรับบ้างเล็กน้อย

ทีม พี่เลี้ยง

เฟื่องฟ้า

 แผนการสอนวิทย์ ป.6 กลุ่ม วิทย์ทันโลกเสร็จแล้วหลังจากที่นำแผนมาแชร์กัน

      ขอบคุณสมาชิกภายในกลุ่ม

ครูต้นแบบวิทย์

  ครูต้นแบบวิทย์ท่านหนึ่งเล่าว่าเป็นครูวิทย์ต้องรู้จักการบูรณาการ รู้จักการจัดการความรู้ หมั่นพูดคุยกับครูคนอื่น ใฝ่รู้ การสอนควรใช้หลายๆวิธีขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระ และจุดประสงค์ที่เราต้องการให้ผู้เรียนเกิด เขาเล่าว่าวิธีที่เหมาะสมในการสอนวิทย์ช่วงชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กประถม ครูอาจใช้เทคนิคการสอนแบบสืบเสาะ

แก้ปัญหา สืบค้นข้อมูล ทำโครงงาน ทดลอง และปฏิบัติจริง  โดยมีครูคอยอำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษา

  ครูต้นแบบเล่าว่าไม่ว่าครูจะสอนนานหลายปีที่เรียกว่าแผนการสอนอยู่ในหัวนั้น ถ้าหากต้องการให้เด็กได้เรียนรู้อย่างแท้จริง และกันหลงลืมการสอน ลืมสื่อ ครูควรต้องมีแผนการสอน ในแต่ละชัว่โมงหรือแต่ละครั้งจะสอนอะไร แล้วอย่างเมื่อประเมินผลเด็กแล้วครูควรแนะนำให้เด็กเก็บชิ้นงานของนักเรียนไว้ในProt. ของนักเรียนเอง

อ.ศิริพร

   สอนชั้นป.6  สื่อประกอบการสอนเป็นสิ่งสำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์  ชั้น ป.6  การสอนวิทยาศาสตร์มีการทดลองไม่มากนัก แต่ถ้าหากครูให้นักเรียนปฏิบัติจริงโดยผ่านกิจกรรมโครงงาน  ศึกษานอกสถานที่ วิเคราะห์ข่าว เหตุการณ์ และศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ให้เด็กได้สัมผัสของจริง  ลองทำ  ดู ศึกษา ปฏิบัติจริงผ่านสื่อก็จะทำให้นักเรียนเข้าใจและมีทักษะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น สื่อท่ชอบใช้บ่อยมากคือหนังสือพิมพ์  เศษวัสดุที่นำมาประดิษฐ์เป็นสื่อประกอบการทดลอง หรือวัสดุในท้องถิ่นสามารถนำมาประดิษฐเป็นสื่อประกอบการสอนได้ แต่ครูต้องใสใจ ขยันที่จะคิดจะทำเพื่อเด็กให้มากแค่นี้ก็เป็นสิ่งที่ครูศิริพรภูมิใจ

http://gotoknow.org/blog/kmsang/104435

เว็ปที่น่าสนใจ

แหล่งการเรียนรู้

web site ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในสาระที่ 1-8

สาระที่ 1-2

http://www.move.to/coral/ Biology and Ecology of Coral Reef

http://www.talaythai.com/ ทะเลไทย

http://www.rb.ac.th

http://www.sc.chula.ac.th

: http://www.buu.ac.th พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล

: http://school.biotec.or.th วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

http://www.moste.go.th คณะกรรมมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม:

: http://www.bdmthai.com/ความหลากหลายทางชีวภาพ

http://www.hbe.ipfox.com/ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม :

http://www.magiceyes.or.th/ ตาวิเศษ :

http://kajib.hypermart.net/ ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม :

http://www.butterflysite.com/ ผีเสื้อในประเทศไทย :

http://thcity.comirpollution/ มลพิษทางอากาศ :

http://geocities.com/thai_fossil/ ไดโนเสาร์ในประเทศไทย :

http://www.chiangmaizoo.com สวนสัตว์เชียงใหม่ :

สาระที่ 3

http://www.school.net.th

http://www.charpa.co.th

http://www.geocities.com/chemmisroom/ ห้องเรียนเคมี :

http://web.ku.ac.th

http://www.scithai.com/explore/explore2_chem.asp

http://www.ceismc.gatech.edu

Chemistry lesson : http://chemistry.about.com/od/k12gradelessons/

Chemistry for Kids : http://chemistry.about.com/od/chemistryforkids/

Chemistry resources : http://www.eskimo.com

สาระที่ 4-5

ChemKu : http://hello.to/chemku/

ชมรมฟิสิกส์ : http://physicsclub.thethai.net

http://www.school.net.th/education/physic-resources.php3

ฟิสิกส์ราชมงคล : www.rit.ac.th/homepage-sc/physics/

http://www.engineering-2000.com

http://neural.sc.mahidol.ac.th

รวม Link ทางฟิสิกส์: http://www.scithai.com

http://www.ethaithai.com

http://www.physics.rutgers.edu

http://www.physics.org

ศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงาน : http://www.thaienergy.net

http://www.teenet.chula.ac.th/

http://www.eppo.go.th

สาระที่ 6

กรมอุตุนิยมวิทยา : http://www.tmd.go.th/

การสำรวจทรัพยากรแร่ในทะเลประเทศไทย :

http://www.geocities.com/joofie.geo/index.html

ธรณีวิทยา วิศวกรรมธรณี วิศวกรรมปฐพี น้ำบาดาล ประเทศไทย :

http://fuel.egat.or.th/~prayat

มลพิษทางอากาศ : http://thcity.comirpollution/

กรมทรัพยากรธรณี : www.dmr.go.th

www.clair.ait.ac.th/EReferences.htm

www.psu.ac.th/psuroot2/international/exchange.htm

www.lib.ru.ac.th/service/index2.html

Earth science Lesson plan:

www.kirdkao.org/camp/chan/lesson_plan.html

http://neic.usgs.gov/neis/bulletin/

http://www.disaster.go.th

http://www.dmr.go.th

http://www.gisthai.org

http://www.geophys.washington.edu

http://www.pmel.noaa.gov/tsunami/

http://www1.tpgi.com.au

สาระที่ 7

สมาคมดาราศาสตร์ : http://www.darasart.com/

www.astronomy.com

NASA : www.nasa.gov

http://www.geocities.com/chatree_web/index.htm

http://www.geocities.com/darasard

http://www.doodaw.com/

http://come.to/namtarnsci/

www.ceismc.gatech.edu/busyt/astro.html

http://www.physics.rutgers.edu/hex/visit/lesson/lesson_links1.html

ปทานุกรมดาราศาสตร์ : http://thaiastro.nectec.or.th/ency/

มือใหม่หัดดูดาว : http://skywatcher.hypermart.net/index.htm

ร้อยตะวัน พันดาว : http://www.tawan.cjb.net/

สมาคมดาราศาสตร์ไทยกับกิจกรรมชาวฟ้า :

http://thaiastro.nectec.or.thctivity/index.html

หอดูดาวเกิดแก้ว : http://www.kirdkao.org/

เว็บสอนวิธีการดูดาว : http://www.jobtopgun.com/star-

watching/mainpage.htm

ขอสมัครเป็นสมาชิก KM ครูวิทยาศาสตร์ด้วยคนครับ

มีข้อมูลน่าสนใจ พัฒนาต่อไป

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาสาสตร์ที่สพท.นบ 1

ในเดือนที่ผ่านมาตอนนี้ทีมพี่เลี้ยงได้สรุปสาระองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนวิทยาศาสตร์เรียบร้อยแล้ว จะส่งให้ครูผู้สอนวิทย์เร็วนี้

ทราบว่วเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 จะจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูวิทย์ในรูปตลาดนัดวิชาการ จะจัดเมื่อไรที่ไหนบอกด้วย

ขอบคุณ

สวัสดี ค่ะ ครูวิทย์ทั้งหลายครูเฟื่องขอบอกข่าวและเชิญชวนนะคะ วันที่ 22 กันยายน 2551 จะมีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ที่โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดและแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนด้วย มีการนำเสนอโครงงานนักเรียน ครูวิทย์ท่านใดสนใจเชิญนะคะ ไม่เสียสตางค์จ๊ะ กิจกรรมนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของศูนย์วิทยาศาสตร์โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้าและเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 (ขอบคุณศน.ดนตรี และศน.แสงเดือน)

ขอประชาสัมพันธ์ครูวิทย์ทั่วจังหวัดนนทบุรี และทั่วประเทศ สพท. นนทบุรี เขต 1 และ 2 ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะจัดตลาดนัดวิชาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูนักเรียนในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ให้แก่ครูแนะนักเรียน ขึ้นในวันที่ 2 - 3 กันยายน 2551 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 3มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่นกิจกรรมเสวนาด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การนำเสนอนวัตกรรมผลงานเด่นของครู การจัดนิทรรศการผลงานครูนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ กิจกรรมchild show และเกม กิจกรรมวิทยาศาสตร์นักเรียน คาดว่าจะเป็นการเปิดโลกทรรศครั้งใหญ่สำหรับครูและนักเรียนที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์

บอกข่าวอีกครั้งนะคะวันที่ 30 กันยายน 2551 ณ โรงแรมโกลเดนดรากอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 จะจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉพาะครูวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ทราบว่าจะเชิญวิทยากรจาก สสวท.มาเป็นทีมผู้ให้คิดว่าคงได้แนวคิด วิธีการสอนใหม่ๆที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากทีมผู้ให้ทั้งครูดีเด่น และจากสสวท. ตลอดจนพวกเราอย่างหลากหลาย อย่าลืมครูวิทย์ช่วงชั้นทที่ 2 ในเขตพื้นที่ นนทบุรี 1 เข้าร่วมทุกโรงเรียน

สนใจกิจกรรมครูวิทย์เมืองนนท์ขอแชร์ความรู้กันหน่อยนะคะอยากให้ลงบทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์แลกเปลี่ยนกัน น่าจะดี

ครูวิทย์ ช.2 เมืองนนท์

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่ส่งข่าวหวังว่าคงเจอกันในงานตลาดนัดวิชาการนะครับ

วันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมาเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พอดีค้นเว็บเขียนบทความไว้เพื่อสะดวกแก่เพื่อนครูที่เข้ามาเยี่ยมเลยเอามาฝาก******

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหลวงหว้ากอรัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคและทางสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์

ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ร่วมพิธีวางมาลาและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

อ้างอิง

ผศ.ประชิด สกุณพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์ ,วันสำคัญ, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, 2549, หน้า 256-262. ISBN 974-9948-38-6

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ๑๘ สิงหาคม - สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/".

วันนี้ได้ไปร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอโครงงานที่โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้าซึ่งเป็นศูนย์สาระวิทยาสาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ของ สพท.นนทุรี 1 ชื่มชมครูเต็มที่กับงานนี้ทุกคน และที่น่าชื่นชมมากที่สุดนักเรียนต่างมีความกระตือรือร้นนำเสนอโครงงานอย่างหลากหลาย ที่จำได้และประทับใจนอกจากโรงเรียนวัดบัวขวัญ แล้วยังมีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 เรื่องดินกระดาษรีไซเคิล ชื่อดูแปลกๆนะอยากทราบรายละเอียดต้องโทรถามนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐฯจะ และโรงเรียนวัดปากนำก็ไม่เลว ทำนำยางล้างจานจากต้นตะลิงปิง อ้อมีธุระเดี๋ยวเอาไว้เล่าวันต่อไป

ขอบคุณประธานศูนย์วิทย์/เลขาศูนย์และเขพพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 ที่จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูและนักเรียนขึ้นในวันท่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้าทำให้ข้าพเจ้าและนักเรียนได้มีโอกาสนำโครงงานวิทยาศาสตร์ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เห็นแนวทางการนำมาพัฒนาการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อีกมาก ชอบกิจกรรม science show ของนักเรียนมาก

ขอบคุณสพท.นบ.1 ที่จัดให้มีตลาดนัดวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จังหวัดนนทบุรีขึ้นทำให้มีโอกาสนำเสนอผลงานด้านการจัดการเรียนการสอนวิทย์และคณิตศาสตร์ ประทับใจทั้งกิจกรรมนำเสนอนวัตกรรม ผลงานครูวิทย์/คณิต/การจัดแสดงโครงงานนักเรียนวิทยาศาสตร์/การจัดเวทีนำเสนอผลงานและจัดให้ผู้รู้นำเสนอเทคนิคการสอนใหม่ใหม่ๆ และประทับใจที่เจ้าของสถานที่ ม.ส.ธ . จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนร่วมกิจกรรมอย่างตื่นเต้นและสนุกสนานได้รับความรู้มากมายในวันที่ 2-3 กันยายน 2551 ณ อาคารกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

ขอบคุณเจ๊า

ทีมพี่เลี้ยง อยากให้เพื่อนครูวิทย์จัดกิจกรรมโครงงานให้มากมาก สิ้นปีจะได้นำเสนอมหกรรมโครงงานวิทย์ของสพท.นบ. จึงจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูวิทย์ขี้นงานนี้มีครูคนเก่ง ครูชำนาญการพิเศษ มาเล่าประสบการณ์การทำโครงงานที่ประสบผลสำเร็จ และมีเอกสารการนิเทศการจัดการเรียนรู้โครงงานให้ครูวิทยาศาสตร์ทุกคนอย่าลืมเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 30 กันยายน 2551 ณ โรงแรมโกลเด้นดรากอน อ.เมือง จ. นนทบุรี

ฟรี ฟรี ฟรี

ครูวิทย์ ช.2 เมืองนนท์

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงทที่จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อหาแนวทางยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น ทำให้ได้ทราบแนวคิดของเพื่อนแต่ละโรงเรียน และขอบคุณ อ.ลำพอง จันทรถาวร ครูเชี่ยวชาญ ท่ให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน และการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน

ประทับใจอาจารย์แต่งเพลงประกอบการสอนด้วย

ขอบคุณจริงๆ

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่ให้ความรู้เรื่องโครงงาน

ขอบคุณท่าน หน.แสงเดือน คงนาวัง ที่ให้โอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิทย์ศาสตร์ ตลาดนัดวิชาการ ที่ มสธ.

ครูเฟื่องฟ้า พื้นทอง

ครูเฟื่องมีความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านมาฝากครูวิทย์ เราเคยเจอสภาพข้าวเหนียว เมื่อเรารับประทานไม่หมดแล้วนำไปนึ่งใหม่ แล้วนำมารับประทานเวลาเราปั้นแบบชาวอิสานข้าวเหนียวก็ปั้นไม่เข้ากัน ชาวบ้านเรียกอาการดังกล่าวว่า หม้อนึ่งเป็นไข้ ครูเฟื่องคิดว่าเกิดจากหม้อนึ่งหรือหวดนี่งข้าวของเราสกปรก จึงนำไปขัดล้างให้สะอาดแล้วนำมานึ่งข้าวเหนียวใหม่อาการดังกล่าวก็ยังไม่หาย มีชาวบ้านบางคนให้ใช้หอยนาต้มใส่หม้อนึ่ง แต่อาการดังกล่าวก็ไม่หาย จนในเดือนสิงหาคมคุณแม่ได้มาเยี่ยม และอาการของหม้อนึ่งเป็นไข้ได้เกิดขึ้นอีก แม่บอกว่าครูเอายาพาราให้หม้อนึ่งกินสิสัก2เม็ดข้าวเหนียวจะปั้นได้ตามปกติ ครูได้ฟังก็หัวเราะแม่ แต่เราก็มีเลือดครูวิทย์เต็มตัว ทดลองทำดูก็ไม่เสียหลาย ครูเลยใส่ยาพารา 2 เม็ดลงในหม้อนึ่งแล้วก็นึ่งข้าวตามปกติ ผลปรากฎว่าข้าวเหนียวไม่ว่าเราจะอุ่นกี่ครั้งก็ปั้นเข้ากันไม่มีกลิ่น สิ่งนี้แก้ได้จริง หรือเป็นเรื่องบังเอิญ เพราะครูยังไม่ได้พิสูจน์อีก เนื่องจากอาการดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น ถ้าเพื่อนครูวิทย์เจอปัญหาเหมือนครูเฟื่องลองทำดูนะค่ะ ได้ผลอย่างไรส่งข่าวด้วย

ขอฝากการบ้าน ถ้าอาการดังกล่าวเป็นกับหม้อหุงข้าว จะแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวได้หรือไม่

ครูวิทย์โรงเรียนไทยรัฐ ขอแชร์การทำโครงงานวิทย์ ช.2 เรื่องโครงงานดินกระดาษ

รีไซเคิล โดยศึกษาการทำดินจากกระดาษรีไซเคิลที่ได้จากกระดาษถุงปูน หนังสือพิมพ์ กระดาษสมุด แล้วนำมาศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมผสมกับแป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว จะได้ดินจากกระดาษรีไซเคิล สามารถนำไปทำสิ่งประดิษฐ์ อื่นๆได้อย่างสวยงาม

ครูวิทย์โรงเรียนวัดปากน้ำ

โรงเรียนวัดปากน้ำ ให้นักเรียนทำโครงงานแปลกนักเรียนทำโครงงานเกี่ยวกับต้นตะลิงปลิง ชื่อเรื่องว่า ตะลิงปลิงผู้พิชิตความสะอาด ผลการศึกษานักเรียนกลุ่มนี้พบว่าหากนำเกลือ ผงฟอง นำ หัวนำหอม และสารสะกัดชีวภาพจากตะลิงปลิง ผสมกันในสัดส่วนพอเหมาะก็จะได้นำยาทำความสะอาดภาชนะที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย อย่ากได้รายละเอียดติดต่อที่โรงเรียนวัดปากนำ

นักเรียนโรงเรียนวัดบางรักน้อย ทำโครงงานวิทย์ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเคมีในการขจัดคราบหมากฝรั่งบนผ้าให้สะอาด ทีมพี่เลี้ยงถามเด็กว่าเป็นปัญหาไหมที่โรงเรียน นักเรียนบอกว่าเป็นปัญหานักเรียนชอบเคี่ยวหมากฝรั่ง ฝากครูวิทย์ช่วยดูแลเด็กด้วยนะ

ลืมแจ้งเรื่องให้เพื่อนครูวิทย์ทราบ ในวันที่ 30 กัยายน - 2 ตุลาคม ครูได้เป็นครูแกนนำของเขต 1 เพื่อที่จะร่วมกันกับแกนนำระดับมัธยม ร่วมกับศึกษานิเทศก์อีก 1 ท่าน ในการหาแนวทางยกระดับผล NT ให้สูงขึ้น ในการถอดรหัสห้องเรียน สมมติฐานที่คิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผล NT วิทย์ของเราตกต่ำคือ ครูสอนวิทย์ไม่ได้จบสาขาวิทย์ และครูที่สอนวิทย์ไม่สอนการทดลอง ครูขอแสดงความคิดเห็นในฐานะที่ครูจบวิทย์โดยตรง ในข้อที่ว่าครูไม่จบวิทย์สอนวิทย์ได้ไม่ดีนั้นไม่จริง ครูจบสาขาอะไรก็สอนวิทย์ได้ในระดับประถมเรา แต่ท่านจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อวิชานี้ก่อน ต่อจากนั้นท่าต้องมีจิตวิทยาศาสตร์ เมื่อท่ามี 2 สิ่งนี้แล้วท่านจงศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อท่านเข้าใจแล้วลองฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะดีแล้ว ท่านจงนำสิ่งที่ท่านได้มาสร้างลูกศิษย์ท่าน ด้วยวิธีการที่ท่านได้มาแล้วครูคิดว่าระดับผลการสอบ NT ของเด็ก เราต้องขยับ ขึ้นมาเป็นร้อยละ 40 ครูวิทย์เราต้องช่วยกันนะ สู้ สู้

อ้อลืมบอกที่หายหน้าไปเพราะไปงานศพ ญาติ ที่ร้อยเอ็ด พึ่งกลับช่วงนี้ตายบ่อย

ตายอาทิตย์ เว้น อาทิตย์

เจอกันวันหน้าเด้อ

ขอแชร์ความรู้ด้วยคน

เซลล์แสงอาทิตย์จัดเป็นสิ่งประดิษฐ์ชนิดใด

เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cells) เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ทำจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า พาหะนำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะถูกแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบด้วยโครงสร้างหัวต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ เพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อต่อขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์กับโหลด เช่น หลอดไฟฟ้าหรือมอเตอร์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลสู่โหลดเหล่านั้น และทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นทำงานได้

เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใด นอกจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้เปล่า ไม่มีของเสียที่จะทำให้เกิดมลพิษในขณะใช้งาน เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ขณะทำงาน จึงไม่มีปัญหาด้านความสึกหรอ หรือต้องการบำรุงรักษาเหมือนอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบอื่น ๆ เช่น เครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยน้ำมันดีเซล นอกจากนั้นเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีน้ำหนักเบา จึงให้อัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าต่อน้ำหนักได้ดีที่สุด

เซลล์แสงอาทิตย์มีข้อเสียในเรื่องประสิทธิภาพ เพราะให้กำลังไฟฟ้าต่อพื้นที่หนึ่งหน่วยไม่มากนัก จึงใช้พื้นที่รับแสงอาทิตย์ค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าเพียงต่อการใช้งาน ประกอบกับราคาของเซลล์แสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมใช้งานอย่างกว้างขวางนัก

เซลล์แสงอาทิตย์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับโครงการอวกาศมาโดยตลอด ดาวเทียมทุกดวงที่ส่งขึ้นใช้งานด้านสื่อสาร ตลอดจนยานอวกาศที่ใช้สำรวจจักรวาล ล้วนแล้วแต่ต้องมีเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทั้งสิ้น เพราะไม่มีอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าใด ๆ ที่จะเหมาะสมเทียบเท่าเซลล์แสงอาทิตย์

การผลิตกำลังไฟฟ้าที่ผ่านมาต้องใช้พลังงานน้ำ โดยการสร้างเขื่อน ต้องใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น โรงไฟฟ้าที่ผลิตด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ต้องใช้พลังงานจากถ่านหิน เช่น โรงไฟฟ้าที่ผลิตด้วยถ่านลิกไนต์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น อีกทั้งราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงต่าง ๆ ขยับตัวสูงขึ้น และปริมาณเชื้อเพลิงเหล่านี้ก็มีน้อยลงตามลำดับ และอาจจะหมดไปในอนาคต พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อเป็นพลังงานนอกรูปแบบสำหรับทดแทนต่อไป การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าบนพื้นโลก จึงได้ความสนใจมากขึ้น ตั้งแต่เกิดวิกฤติพลังงาน เมื่อประเทศกลุ่มโอเปคขึ้นราคาน้ำมันดิบในปี พงศ. 2516 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ และดำเนินการทดลองมีอยู่หลายแห่งบนพื้นโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

วัสดุที่ใช้ทำเซลล์แสงอาทิตย์มีอะไรบ้าง

เซลล์แสงอาทิตย์ทำจากวัสดุสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน มีทั้งที่เป็นผลึกเดี่ยว (Single Crystal) ผลึกย่อย (Poly Crystal) และไม่เป็นผลึก หรือเป็นสารอะมอร์ฟัสในโลกชนิดหนึ่ง สามารถถลุงได้จากหินและทราย และมีใช้งานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ทำทรานซิสเตอร์ และวงจรไอซี ที่ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เซลล์และอาทิตย์ที่ทำจากผลึกซิลิคอน ทั้งผลึกเดี่ยวและผลึกย่อย มีการผลิตออกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงประมาณ 12- 15 % ซึ่งเพียงพอต่อการประยุกต์แม้จะมีราคาแพงเมื่อเทียบกับค่าไฟฟ้าในระบบสายส่งการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในพื้นที่เฉพาะ เช่น ในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นหลัก

เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอนจะมีราคาถูกที่สุด เพราะซิลิคอนที่ไม่เป็นผลึกหรือเป็นสารอะมอร์ฟัสนั้นจะมีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ไม่สิ้นเปลืองเนื้อวัสดุ เตรียมได้ที่อุณหภูมิต่ำและผลิตได้ง่าย แต่เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอนนี้มีประสิทธิภาพการแปรพลังงานไม่สูงนัก คือ เพียง 5 – 10 % จึงเหมาะที่จะประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟฟ้าน้อย เราจึงเห็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ใช้งานกับเครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ วิทยุทานซิสเตอร์ เป็นต้น

นอกจากซิลิคอนแล้ว วัสดุสารกึ่งตัวนำอื่น ๆ ก็ใช้ทำเซลล์แสงอาทิตย์ได้เช่นเดียวกัน เช่น แกลเลียมอาร์เซไนด์ (CaAs : Gallium Arsenide) แคดเมียมซัลไฟด์ (CdS : Cadmium Sulphide) ทองแดงอินเดียมไดเซเลไนด์ (CuInSe(,2) : Copper Indium Diselenide) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารประกอบกึ่งตัวนำทั้งสิ้น เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากวัสดุแกลเลียมอาร์เซไนด์จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูง 20 – 25 % ใช้งานกับแสงความเข้มสูงได้ดีทนทานกับรังสีอนุภาคที่มีพลังงานสูง จึงเหมาะกับงานด้านอวกาศ แม้จะมีราคาแพงกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอนถึง 50 เท่า

ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากแคดเมียมซัลไฟด์ และทองแดงอินเดียมไดเซเลไนด์นั้น จะมีราคาถูกพอ ๆ กับซิลิคอน เพราะมีลักษณะเป็นฟิล์มบาง และเตรียมได้ง่าย

วัสดุสารกึ่งตัวนำที่ใช้ทำเซลล์แสงอาทิตย์ได้ดี ต้องมีความสามารถในการดูดกลืนแสงจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีขนาดของแถบพลังงานที่เหมาะสมกับสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ และสามารถประดิษฐ์โครงสร้างหัวต่อพีเอ็น เพื่อใช้ในการแยกพาหะที่มีประจุไฟฟ้าต่างกันออกไปยังขั้วไฟฟ้าบวก และลบได้

โครงสร้างหลักโดยทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์ได้แก่หัวต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน (Si) เมื่อมีการเติมสารเจือฟอสฟอรัส (P) จะมีสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น เพราะนำไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและเมื่อซิลิคอนเติมด้วยสารเจือโบรอน (B) จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี เพราะนำไฟฟ้าด้วยโฮลซึ่งมีประจุบวก ดังนั้นเมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและชนิดเอ็นมาต่อกัน ก็จะเกิดหัวต่อพีเอ็นขึ้น โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน จึงทำจากผลึกซิลิคอนเป็นฐานหนาประมาณ ๓๐๐ ไมครอน (หรือประมาณ ๐.๓ มิลลิเมตร) ด้านรับแสงจะมีชั้นแพร่ซึม (Diffused Layer) ที่มีการนำไฟฟ้าตรงข้ามกับฐานซึ่งหนาเพียง ๐.๕ ไมครอน การออกแบบให้หัวต่อพีเอ็นตื้นนี้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะต้องการให้แสงที่ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ทะลุทะลวงถึงหัวต่อให้ได้มากที่สุด หากหัวต่อพีเอ็นอยู่ลึกเกินไป จะทำให้จำนวนพาหะไฟฟ้าที่เกิดจากการดูดกลืนแสงแพร่ซึมถึงหัวต่อพีเอ็นได้น้อยลงส่งผลให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้มีจำนวนน้อยลงไปด้วย ขั้วไฟฟ้าที่อยู่ด้านรับแสงของเซลล์แสงอาทิตย์จะมีลักษณะเป็นก้างปลา หรือรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด ในขณะเดียวกันสามารถรวบรวมพาหะนำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นได้มากที่สุดด้วย ส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหลังของเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็นขั้วโลหะเต็มหน้า ผิวด้านรับแสงที่นอกเหนือจากขั้วไฟฟ้าแบบก้างปลาแล้ว ยังมีชั้นต้านการสะท้อนแสง (AR : Anti Reflection Coating) ปิดทับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดกลืนแสงให้มากขึ้นโดยมิให้แสงสะท้อนกลับ เราจึงเห็นเซลล์แสงอาทิตย์เป็นสีเงินเข้ม เพราะมีชั้นโลหะออกไซด์เป็นชั้นต้านการสะท้องแสงนั่นเอง

เมื่อแสงตกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดกระแสและแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ ปกติผลึกฐานที่ใช้มักเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี ดังนั้นขั้วไฟฟ้าด้านหลังมักเป็นขั้วบวก (+) ในขณะที่สารกึ่งตัวนำด้านรับแสงมักเป็นชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าทางด้านรับแสงจึงเป็นขั้วลบ (-) เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น ปริมาณของกระแสไฟฟ้าจะขึ้นกับความเข้มแสง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ นิ้ว เมื่อถูกแสงอาทิตย์ที่ความเข้มแสงปกติ จะให้กระแสไฟฟ้าได้สูงประมาณ ๒ - ๓ แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดที่เกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน จะมีค่าประมาณ ๐.๖ โวลต์ ซึ่งกำหนดได้จากชนิดของสารกึ่งตัวนำเพราะเป็นค่าคงที่ ดังนั้นลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งกระแสและแรงดันไฟฟ้า จึงสามารถแสดงได้ในรูปลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์

บนเส้นลักษณะสมบัติกระแส-แรงดันไฟฟ้านี้จะมีจุดทำงาน ซึ่งหมายถึงจุดที่จะให้ทั้งกระแสและแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงสุด ผลคูณของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าที่จุดทำงานนี้คือ กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้ ตัวอย่างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ นิ้ว ที่ยกมานี้ จึงมีกำลังไฟฟ้าประมาณ ๐.๕ x ๒ = ๑ วัตต์ ปกติแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ต่ออนุกรมกัน ๓๐ - ๕๐ ตัว เพื่อให้ได้แรงดันสูงขึ้นเหมาะสมกับการประยุกต์ และมีกำลังไฟฟ้าประมาณ ๓๐-๕๐ วัตต์ต่อแผงไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เช่นเดียวกับแบตเตอรี่ไฟฟ้า หรือถ่านไฟฉาย การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เพราะเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงอาทิตย์ และเก็บสะสมพลังงานนั้นไว้ในแบตเตอรี่ไฟฟ้า เพื่อใช้งานในยามที่ไม่มีแสงอาทิตย์ได้ เซลล์แสงอาทิตย์จึงใช้เป็นตัวอัดประจุให้แก่แบตเตอรี่ หรือถ่านไฟฉายได้ เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปมักใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับจึงไม่สามารถใช้งานกับเซลล์แสงอาทิตย์ได้โดยตรง ต้องเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงนี้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับก่อนโดยใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter)

เล่าสู่กันฟังแผนการสอนหรือแผนจัดการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นอย่างไร

ลักษณะของแผนการสอนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1. มีส่วนประกอบสำคัญจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน เช่น มีการกำหนดจุดประสงค์

เนื้อหา กิจกรรมการวัด และประเมินผลที่ชัดเจน และ สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

2. มีความสอดคล้องกับหลักสูตร จุดประสงค์ ผลการเรียนรู้ในหลักสูตร ในแบบ ปพ.5 ลักษณะธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ และ พื้นฐานความสนใจของผู้เรียนตลอดจนสภาพท้องถิ่น

3. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการสอน มีความสอดคล้องกัน เช่นเนื้อหาสอดคล้องกับสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์ และกิจกรรม สอดคล้องกับ จุดประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับเนื้อหา การวัดประเมินผล ตลอดจนสื่อ สอดคล้องกิจกรรม

4. กิจกรรมการเรียนการสอน มีกระบวนการชัดเจนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรต้องการ

6. สามารถนำไปในสอนจริงได้

ข้อควรคำนึงในการเขียนแผนการสอนแผนการสอนที่ดี

1. องค์ประกอบของแผนการสอนทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน

2. แผนการสอนทีดีควรมีลักษณะบูรณาการเชื่อมโยง สอดคล้องกับชีวิตจริง

3. แผนการสอนที่ดี ยืดหยุ่นและนำไปใช้สอนจริงได้

4. ควรมีการบันทึกผลหลังใช้แผนการสอนเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนา

5. การเขียนแผนการสอน ในแต่ละครั้งต้องสามารถตอบคำถามได้ว่า

สอนอะไร…(เนื้อหา,สาระ) เพื่ออะไร… (จุดประสงค์) สอนอย่างไร….(กิจกรรมสอนกระบวนการเรียนรู้สื่อ, แหล่งเรียนรู้) ทราบผลการสอนด้วยวิธีได้…(การวัดและประเมินผล)

ผลที่เกิดกับผู้เรียนเป็นอย่างไร….…(ร่องรอย หลักฐาน พฤติกรรม)

ส่วนประกอบของแผนการสอน

แผนการสอนมีส่วนประกอบ ดังนี้

1. สาระสำคัญ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/มาตรฐานการเรียนรู้

3. เนื้อหาสาระ

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการเรียนรู้)

5. สื่อการเรียนการสอน

6. การวัดและประเมินผล

7. ข้อเสนอแนะและบันทึกผลหลังสอน (ถ้ามี)

ครูวิทย์มีสมรรถภาพอย่างไรบ้าง

ทบวงมหาวิทยาลัย( อ้างถึงใน จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช, 2525 : 55)

ได้จัดกลุ่มสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 12 กลุ่มสมรรถภาพ : ซึ่งได้แก่

1) มีความเป็นครูและเจตคติทางวิทยาศาสตร์

2) มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3) มีทักษะการเขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมและแผนการสอน

4) แสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ

5) มีทักษะการสอนทั่วไป

6) มีทักษะในการใช้จิตวิทยาการเรียนการสอน

7) มีทักษะในการสอนเฉพาะทางวิทยาศาสตร์

8) มีทักษะในการประเมินผลการเรียนการสอน

9) มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร

10) มีทักษะในการผลิตสื่อ

11) มีทักษะภาคปฏิบัติในการทดลองวิทยาศาสตร์

12) มีความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์

สำหรับในประเทศไทย นักการศึกษาไทยได้หันมาสนใจสมรรถภาพของ

ครูวิทยาศาสตร์ในระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียนและพบว่าบัณฑิตจากสถาบันผลิตครูวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ไม่สามารถสอนวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียนตามหลักสูตรใหม่ให้มีประสิทธิภาพได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครูวิทยาศาสตร์ การกำหนดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับปรุงหลักสูตร และเนื่องจากผลการเรียนของนักเรียนขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของครู ดังนั้นสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูวิทยาศาสตร์ทุกคนจะต้องมีเพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ และตรงจุดมุ่งหมายของการศึกษา

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่กรุณาส่งเอกสารการนิเทศการจัดการเรียนการสอนวิทย์ไปให้

ขอบคุณๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

จากการศึกษาค้นคว้าขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโครงงานดังนี้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมโครงงาน

ความหมายของโครงงาน

คำว่า โครงงาน ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายเอาไว้มากมายดังนี้

กระทรวงศึกษาธิการ (2533 : 5) ให้ความหมายว่า โครงงานเป็นการทำกิจกรรมเพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูตั้งแต่การคิดสร้างโครงงาน การวางแผนดำเนินการ การออกแบบ การลงมือปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางในการวัดและประเมินผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529 : 1-2) ให้ความหมายว่า โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ตามความถนัด และตามความสามารถของผู้เรียนเอง ภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือผลงานซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัว โดยผู้เรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้าและดำเนินการด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา (Adviser) เท่านั้น

เปรื่อง กิจรัตน์ภร (2532 : 273) ให้ความหมายว่า โครงงานเป็นกิจกรรมของผู้เรียนเองที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการวางแผนการปฏิบัติอย่างชัดเจน ในการทำกิจกรรมโครงงานนั้นก็ต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ครูมีบทบาทในการอำนวยความสะดวก เป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานที่ผู้เรียนมาขอคำปรึกษา

ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 1) ให้ความหมายว่า โครงงานเป็นการศึกษาที่เน้นกิจกรรมโดยผู้เรียน

ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษา และการดูแลของครูผู้สอน หรือผู้เชี่ยวชาญ

ดวงเดือน เทศวานิช (2529 : 127) ให้ความหมายว่า โครงงานเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนดำเนินการและดำเนินงานตามแผนให้จบสิ้นตามโครงงานนั้น ซึ่งโครงงานนั้นอาจจะเป็นโครงงานเล็ก ๆ ที่ทำเพียงคนเดียว หรือเป็นโครงงานใหญ่ที่ทำเป็นกลุ่ม โดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ดังนั้นกิจกรรมของโครงงานจึงเป็นการทำงานที่เริ่มต้นด้วยปัญหา แล้วดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดและลงมือปฏิบัติจริงด้วยตัวผู้เรียนเอง

ประเภทของโครงงาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529 : 7) ได้แบ่งประเภทของโครงงานออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

1. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล (Survey Research Project)

2. โครงงานประเภทการทดลอง (Experimental Research Project)

3. โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ (Developmental Research Project)

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรืออธิบาย (Theoretical Research Project)

1. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล (Survey Research Project)

ลักษณะโครงงานประเภทนี้ เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นำมาจัดจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การศึกษาการดำรงชีวิตของนกเป็ดน้ำ การศึกษาการดำรงชีวิตของนกปากห่างของนักเรียนโรงเรียนสามโคกวิทยาจังหวัดปทุมธานี การศึกษาวงจรชีวิตของไหมที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ การศึกษาสมุนไพรในการรักษาโรค การศึกษาความต้องการใช้โรงอาหารในการรับประทานอาหารนกลางวันของนักเรียนโรงเรียนพลังราษฎร์ เป็นต้น การดำเนินโครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล ควรดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1) กำหนดปัญหา/อยากรู้

2) ตั้งสมมุติฐาน

3) รวบรวมข้อมูล

4) วิเคราะห์

5) สรุปอภิปรายผล

1) กำหนดปัญหา/อยากรู้

ปัญหาหรือสิ่งที่อยากรู้นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจเรา หรือเป็นเรื่องราวของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา แต่เราไม่สามารถหาคำตอบได้ เช่น เมื่อก่อนชุมชนเรามีหอยประเภทนี้มาก ปัจจุบันทำไมมีน้อยลง ทำไมฤดูแล้งในบึงของหมู่บ้านจึงมีนกเป็ดน้ำเยอะ ฤดูฝนหายไปไหนหมด ทำไมนักเรียนของโรงเรียนเราจึงมาโรงเรียนสายเป็นประจำ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น เป็นต้น ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นนี้จะเกิดคำถามขึ้นในใจว่า “ทำไม” ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทำไมจึงเป็นอย่างนี้และก็ทำให้ผู้ทำโครงงานสนใจ อยากรู้อยากทำ เพื่อเป็นการหาคำตอบต่อไป ฉะนั้นขั้นกำหนดปัญหาผู้เรียนโครงงานจะสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบข้างตัว ถ้าพบว่ามีเรื่องราวหรือปัญหาอะไรให้ติดตาม นั่นก็เท่ากับว่าผู้เรียนวิชาโครงงานได้หัวข้อปัญหาในการทำโครงงานต่อไปแล้ว

2) ตั้งสมมุติฐาน

สมมุติฐานคือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่ผู้ทำโครงงานเรื่องนั้น ๆ คาดคะเนคำตอบว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ ก่อนที่จะมีการทำกิจกรรมหรือปฏิบัติโครงงาน การตอบหรือการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้านี้เรียกว่าสมมุติฐาน (Hypothesis) เช่น เรื่องโครงงานที่จะทำปัญหาคือ ทำไมจำนวนนกเป็ดน้ำในบึงของหมู่บ้านเราจึงมีมากในฤดูแล้งและมีน้อยในฤดูฝน สิ่งนี้คือสิ่งที่อยากรู้ สิ่งที่น่าสนใจ หรือหัวข้อปัญหา จากหัวข้อปัญหานี้ผู้ทำโครงงานคาดคะเนคำตอบหรือสมมุติฐานว่า ฤดูฝนมีน้ำมากทุกพื้นที่ทำให้นกกระจายไปทั่วทุกที่ที่มีน้ำ จึงทำให้จำนวนนกในบึงบ้านเรามีน้อย เป็นต้น ซึ่งหากมีการศึกษาหรือทำกิจกรรมโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว คำตอบที่ผู้ทำคาดคะเนคำตอบไว้ก่อนอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้

3) รวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูล ว่าจะได้ข้อมูลมาอย่างไร เช่น จะใช้คำถามอย่างไร จะถามใคร หรือสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ใคร จะสัมภาษณ์อะไร ถ้าสังเกต จะสังเกตอะไร เวลาในการสังเกตคือเวลาใด เช่น การติดตามเรื่องนกเป็ดน้ำในบึงของหมู่บ้านเรา ขั้นการรวบรวมข้อมูลก็จะมีคำถามว่า “ผู้ทำโครงงานจะได้ข้อมูลมาอย่างไร” ในทางปฏิบัติแล้วผู้ทำโครงงานก็อาจจะปรึกษากับครูผู้สอน หรือครูที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงงานของผู้ทำก็จะทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

4) วิเคราะห์

ขั้นตอนนี้เป็นการนำข้อมูลที่เก็บได้มาจัดเรียบเรียงเป็นระบบ การวิเคราะห์อาจจะออกมาเป็นคำอธิบาย ตัวเลข หรือค่าสถิติ เช่น เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย เป็นต้น หรืออาจเสนอเป็นแผนภูมิให้ง่ายต่อการดูหรือเสนอเป็นตารางก็ได้ เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น

5) สรุปอภิปรายผล

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการนำเสนอด้วยการสรุปย่อ (Summary) หลังจากกล่าวถึงข้อความที่เป็นปัญหาและอธิบายถึงวิธีการทำโครงงานย่อ ๆ แล้ว ก็จะกล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ค้นพบและข้อสรุปต่าง ๆจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมมา

2. โครงงานประเภทการทดลอง (Experimental Research Project)

ลักษณะของโครงงานประเภทการทดลอง เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลโดยใช้วิธีทดลอง โครงงานลักษณะนี้จะต้องมีการออกแบบการทดลอง ผลที่ได้จากการทดลองแต่ละอย่างนำมาเปรียบเทียบกัน

การออกแบบการทดลองของโครงงานประเภทการทดลอง

ในการทำโครงงานประเภทการทดลอง ผู้เรียนจะต้องกำหนดรูปแบบในการทดลองเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรูปแบบของการทดลองจำแนกออกได้หลายรูปแบบในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ คือ

รูปแบบการทดลองแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Design) มี 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 คือแบบทดลองกลุ่มเดียว (One Shot Case Study)

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการวัดผล

1.2 วัดผลหรือสังเกตการณ์ทดลอง (T)

วิธีที่ 1 A:T

A คือ สิ่งที่สนใจ

T คือ การวัดผลหรือสังเกตการทดลอง

รูปแบบการทดลองแบบนี้เป็นรูปแบบที่ง่าย ดังตัวอย่างการทดลองหาน้ำหนักของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสุดใจวิทยา เฉพาะนักเรียนชาย ผู้ทำโครงงานจึงไปรวบรวมจำนวนนักเรียนทำการชั่งน้ำหนักแต่ละคน และได้ผลน้ำหนักของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุดใจวิทยา ซึ่งมีการออกแบบการทดลอง ดังนี้

นักเรียนคนที่ 1 ชั่งน้ำหนัก

นักเรียนคนที่ 2 ชั่งน้ำหนัก

นักเรียนคนที่ 3 ชั่งน้ำหนัก

วิธีที่ 2 คือแบบทดลองสองกลุ่มไม่ควบคุม (Two-Group : No Control) เป็นการปรับปรุงจากวิธีที่ 1 เพื่อให้ทราบผลจากการทดลองจริง ๆ จึงมีการกำหนดกลุ่มทดลองขึ้นมามากกว่าหนึ่งกลุ่มเรียกกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มทดลอง (E) และมีอีกกลุ่มคือ กลุ่มปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มควบคุม (C)

วิธีที่ 2 E : X : T………กลุ่มทดลอง

C : T ………..กลุ่มควบคุม

เมื่อ E คือ กลุ่มทดลอง

C คือ กลุ่มควบคุม

X คือ การทดลอง หรือจัดกระทำ

T คือ การวัดผล หรือการสังเกตการทดลอง

ดังกรณีตัวอย่าง : ถ้าต้องการทราบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่หรือไม่ การทดลองจะดำเนินการดังนี้

1. คัดเลือกคนสูบบุหรี่กับไม่สูบบุหรี่มา 2 กลุ่ม

2. ให้การทดลองคือ คนสูบบุหรี่ก็สูบบุหรี่ตามปกติเรื่อยไป

3. วัดผลหลังการทดลอง (T) ทั้งสองกลุ่ม

4. วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบจำนวนผู้เป็นมะเร็งปอดระหว่างกลุ่มคนสูบบุหรี่กับกลุ่มคนไม่สูบบุหรี่ ด้วยไคสแควร์ (Chi-Square Test) ถ้าแตกต่างกันโดยคนที่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งมากกว่าก็แสดงว่า คนสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ (ไคสแควร์ เป็นสถิติที่สูงเกินไปสำหรับนักเรียน ดังนั้นครูผู้สอนโครงงานอาจจะแนะนำให้ผู้เรียนเลือกใช้สถิติง่าย ๆ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เป็นต้น)

การทดลองแบบนี้ไม่อาจสรุปได้ว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งปอดหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการควบคุมตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และคนที่สูบบุหรี่กับคนที่ไม่สูบบุหรี่ก็ไม่มีคุณลักษณะเหมือนกัน ความแตกต่างกันนั้นอาจมีผลต่อการเป็นมะเร็งปอดได้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2535 : 153)

ในการทำโครงงานประเภทการทดลอง ผู้ทำโครงงานควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1) กำหนดปัญหา 2) ตั้งจุดประสงค์

3) ตั้งสมมุติฐาน 4) การออกแบบการทดลอง

5) ดำเนินการทดลอง 6) รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง

7) วิเคราะห์หรือแปรผล 8) สรุปผลการทดลอง

เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอยกตัวอย่างโครงงานเรื่อง การหาปริมาณโปรตีนในน้ำปลา

1) กำหนดปัญหา

น้ำปลาในท้องตลาด ยี่ห้อและราคาต่างกัน มีปริมาณโปรตีนเป็นอย่างไร

2) ตั้งจุดประสงค์

เพื่อหาปริมาณโปรตีนในน้ำปลายี่ห้อ A, B และ C

3) ตั้งสมมุติฐาน

ปริมาณโปรตีนในน้ำปลาแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน

4) การออกแบบการทดลอง

กำหนดวิธีการทดลองโครงงาน อาจจะเลือกการทดลองแบบกึ่งทดลองโดยทดลองกลุ่มเดียว

A : T

B : T

C : T

5) ดำเนินการทดลอง

ทดลองหาปริมาณโปรตีนในน้ำปลาแต่ละยี่ห้อ A, B และ C ตามวิธีการที่กำหนด

6) รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง

จดบันทึกการทดลองการหาปริมาณโปรตีนในน้ำปลาแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียดและเป็นระบบ

7) วิเคราะห์หรือแปรผล

นำข้อมูลที่จดบันทึกได้มาแปรผล อาจจะเป็นคำอธิบาย ตัวเลข หรือใช้ตารางช่วยให้ดูเข้าใจง่าย

8) สรุปผลการทดลอง

นำข้อมูลที่แปรผลแล้วมาสรุปผลว่า จากการทดลองหาปริมาณโปรตีนในน้ำปลายี่ห้อ A, B และ C แล้วนั้น แต่ละยี่ห้อมีปริมาณโปรตีนมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร พร้อมกับเสนอแนะการเลือกซื้อน้ำปลาในท้องตลาดว่าควรจะซื้อยี่ห้อใด เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขาย ดังนั้นโครงงานที่ทำออกมานี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านหรือผู้ศึกษาต่อไป

3. โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ (Developmental Research Project)

โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เป็นการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติโดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ มาปฏิบัติตามแบบหรือแผนที่วางเอาไว้ เช่น

โครงงานทางด้านคหกรรม โครงงานทางด้านช่างอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งลักษณะของโครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1) กำหนดหัวข้อโครงงาน

2) ตั้งจุดประสงค์

3) การออกแบบรูปแบบโครงงาน

4) การกำหนดและจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ

5) ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน

6) ประโยชน์

7) นำเสนอผลงาน

ผลงานของโครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ ส่วนใหญ่จะออกมาในรูปผลิตภัณฑ์ เช่น

- โครงงานการทำตู้ไม้

- โครงงานการทำโต๊ะ

- โครงงานการทำป้ายชี้บอกอาคารสถานที่

- โครงงานการทำรั้ว

- โครงงานการทำผ้าเช็ดเท้า

- โครงงานการประกอบจักรยาน

- โครงงานการประกอบหุ่นยนต์

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรืออธิบาย (Theoretical Research Project)

ลักษณะของโครงงานประเภทนี้ เป็นลักษณะการหาความรู้ใหม่จากการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเข้าช่วย แล้วอภิปรายผล สรุปสิ่งที่ค้นคว้าได้ ลักษณะโครงงานประเภทนี้คล้าย ๆ โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรืออธิบาย มีขั้นตอนดังนี้

1) กำหนดปัญหา 2) ตั้งจุดประสงค์

3) ตั้งสมมุติฐาน 4) กำหนดตัวแปรที่จะศึกษา

4) กำหนดขอบเขตที่จะศึกษา 6) รวบรวมข้อมูล

7) วิเคราะห์ 8) สรุปและอภิปรายผล

9) เสนอแนะ

1) กำหนดปัญหา

ผู้ทำโครงงานกำหนดสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเหตุผลว่าทำไมถึงสนใจอยากทำเรื่องนี้บอกสภาพและปัญหาที่พบว่าเป็นอย่างไร

2) ตั้งจุดประสงค์

จุดประสงค์ของการทดลองผู้เขียนควรจะเขียนเพื่อบอกว่าจะ “ทำอย่างไร” มากกว่าที่จะบอกว่า “ทำแล้วได้อะไร” ดังนี้การเขียนจุดประสงค์ส่วนมากจะขึ้นต้นดังตัวอย่างต่อไปนี้

- เพื่อศึกษา......................(เป็นการบอกว่าจะศึกษาอะไร, หรือจะหาอะไร)

- เพื่อเปรียบเทียบ...................(จะเปรียบเทียบอะไร)

- เพื่อสร้าง......................(จะสร้างอะไร)

ฯ ล ฯ

3) ตั้งสมมุติฐาน

เป็นการคาดคะเนคำตอบไว้ล่วงหน้า (หากเป็นการสำรวจความคิดเห็นไม่จำเป็นต้องตั้งสมมุติฐานก็ได้)

4) กำหนดตัวแปรที่จะศึกษา

คือสิ่งที่บอกว่าจะศึกษาเกี่ยวกับอะไร

5) กำหนดขอบเขตที่จะศึกษา

ขอบเขตที่จะศึกษาเป็นการบอกกรอบที่จะศึกษาว่าจะใช้พื้นที่ กว้าง แคบ แค่ไหน

6) รวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้ทำโครงงานรู้ว่าจะได้ข้อมูลอย่างไร จะเก็บรวมรวมข้อมูลอย่างไร ประชากร และกลุ่มตัวอย่างมีเท่าไร

7) วิเคราะห์

นำข้อมูลที่ได้มาตีค่า เช่น ค่าเฉลี่ยเท่าไร หรือเปอร์เซ็นต์เท่าไร

8) สรุปและอภิปรายผล

การสรุปเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่ค้นพบ อาจจะสรุปเป็นตาราง แผนภูมิ กราฟ ก็ได้ส่วนการอภิปรายเป็นการบรรยายเปรียบเทียบข้อค้นพบของผู้ทำโครงงานกับทฤษฎีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผลการอภิปรายข้อมูลมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเมื่อสรุปผลการทำโครงงานแล้ว ก็ต้องอภิปรายผลการทำโครงงานควบคู่กันไปด้วยเสมอ

9) เสนอแนะ

เป็นการเสนอแนะข้อมูลที่ค้นพบอันเป็นทฤษฎีใหม่ที่ผู้เกี่ยวข้องทราบว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป

ขอเพิ่มเติมแหล่งที่มาข้อมูลค่ะ

ธีระชัย ปูรณโชติ . การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ คู่มือสำหรับครู.

กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2531

พอดีได้ค้นคว้าจากเว็บไซด์พบความรู้ที่เกี่ยวกับข่าวที่กำลังมากๆในขณะนี้ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูเรา ซึ่งผู้นำเสนอคือคุณคม พิริยวุฒิกรอุดม สพท.ราชบุรี เขต 1 ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้

พิษภัยจากสาร “เมลามีน”

วันพุธที่ ๐๕ พฤษจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔:๔๕ น.

เมลามีน คือ พลาสติกชนิดหนึ่งมีสารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นส่วนประกอบ หรือที่เรารู้จักกันคือ ฟอร์มาลีน ส่วนใหญ่เมลานีนจะถูกนำมาผลิตพลาสติก จานเมลามีน ถุงพลาสติก พลาสติก อุตลาหกรรมเม็ดสีเป็นหมึกพิมพ์สีเหลือง ทำน้ำยาดับเพลิง น้ำยาทำความสะอาด และปุ๋ย โครงสร้างของเมลามีนมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก คุณสมบัติของเมลามีนใช้เป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งเมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพืชได้รับเข้าไปในร่างกายจะสามารถเปลี่ยนไปเป็นสารพิษได้ ความเป็นพิษของเมลามีนเกิดการระคายเคืองเมื่อสูดดมทำให้ตาและผิวหนังอักเสบ เมื่อกินเข้าไประบบสืบพันธุ์ถูกทำลาย เกิดนิ่วในท่อปัสสาวะและไต เกิดมะเร็งที่ท่อปัสสาวะ

ข่าวการปนเปื้อนของสารเมลามีนในนมที่ประเทศจีน ที่เป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิต 4 ราย มีเด็กล้มป่วยกว่า 60,000 คน อีก 150 รายเกิดอาการไตวาย และเริ่มลุกลามไปยังหลายประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนจนต้องเร่งตรวจสอบสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์นมผงและสินค้าที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน ขณะที่ด้านนักวิชาการก็ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับสารเมลามีน เพื่อช่วยให้ประชาชนรับทราบถึงอันตราย และป้องเองกันตัวเองได้มากขึ้น นายปิยวิทย์ คุ้มพงษ์ นักวิจัยกลุ่มเทคโนโลยีฟิล์มพลาสติกศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า เมลามีน เป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก เมื่อทำปฏิกิริยากับสารฟอร์มาลดีไฮด์ นิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์พลาสติกทนความร้อนพวก จาน ชามเมลามีน เป็นต้น โดยสาเหตุที่มีการลักลอบใส่ลงในนมผงเนื่องจากคุณสมบัติของเมลามีนที่เป็นผงสีขาว มีสูตรโครงสร้างทางเคมี C3H6 N6 (1,3,5 -Triazine -2,4,6 -Triamine) เมื่อนำมาละลายน้ำจะละลายน้ำได้น้อย มีลักษณะเป็นคอลลอยด์เช่นเดียวกับน้ำนมสดมาก นอกจากลักษณะทางกายภาพที่เหมือนกับนมผงมากจนแทบแยกไม่ออกแล้วแล้ว เมลามีนบริสุทธิ์ยังมีองค์ประกอบของไนโตรเจนสูงมาก 66.67 % คิดเป็นปริมาณโปรตีนได้ 416.66 %

ดังนั้นเมื่อนำเมลามีนมาผสมในน้ำนมหรือนมผงก็ทำให้ผลการตรวจพบเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงขึ้นด้วย จึงทำให้เข้าใจผิดได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ตรวจนั้นมีโปรตีนสูง (หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท วันที่ : 27/9/2551)

ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารให้ปลอดภัย ผู้บริโภคจึงควรศึกษาส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิดที่ระบุไว้ในสลาก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และแหล่งที่มาหรือที่ผลิตโดยเฉพาะอาหารประเภทนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มาจากประเทศจีน ต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นปลอดภัยจึงจะนำไปรับประทาน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://www.prachatai.com

http://www.navy.mi.th/science/pdf/melamine.pdf

http://www.ahathai.com/images/1189580671/Melamine%20-%20Jaowaman.doc

แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ ๐๕ พฤษจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๕:๑๔ น. )

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่ให้ความรู้ดีๆ และโอกาสดีๆในการเสนอความเห็นผ่านเว็บนี้

ขอบคุณเขตที่จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนเบ็ญขมราชานุสรณ์ในวันที่ 21-21 ตุลาคม 2551

ครูวทจากโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ขอส่งตัวอย่างหัวข้อการเขียนรายงานCAR1ให้ครูวิทย์ใช้รายงานพัฒนาห้องเรียนของตนเองให้มีคุณภาพ ก่อนนะ

ตัวอย่างหัวข้อการเขียนรายงาน CAR1

รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน : การวิเคราะห์ผู้เรียน

 บทคัดย่อ

 คำนำ / กิตติกรรมประกาศ

 สารบัญเนื้อหา ตาราง และแผนภาพ

 เนื้อเรื่อง

1) แนวคิดและเหตุผล

2) คำถามวิจัย

3) วิธีดำเนินการวิจัย

3.1) กลุ่มเป้าหมาย

3.2) สารสนเทศ / ข้อมูลที่จะเก็บรวบรวม

3.3) แหล่งข้อมูล เครื่องมือ และแผนปฏิบัติการในการจัดเก็บข้อมูล

3.4) การวิเคราะห์ข้อมูล

4) ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัย

5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

5.1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล

5.2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนทั้งกลุ่ม

6) สรุปผลการวิจัย (คำตอบของคำถามวิจัยทุกข้อ)

7) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

8) บทเรียนความคิดใหม่และประโยชน์ที่นิสิตได้จากการทำงานครั้งนี้

8.1) บทเรียนสำหรับตนเองในการพัฒนานักเรียน

8.2) บทเรียนของตนเองในเรื่องหลักในการออกแบบแผน การจัดการเรียนรู้ที่ควรจัดให้กับนักเรียน และควรมีตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักนี้ไว้สัก ๒ ตัวอย่าง ที่แตกต่างกัน

8.3) ข้อเสนอแนะสำหรับตนเองในการปรับปรุง และพัฒนา การจัดเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรู้จักนักเรียน รวมทั้งการพัฒนาตนเองของนิสิต

 ภาคผนวก

 เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย

 อื่นๆ ที่ท่านเห็นว่ามีประโยชน์

ช่วงนี้เพื่อนครูคงเตรียมการพัฒนาเด็กเพื่อเตีรยมการรับการประเมินผลสัมฤทธิ์ระดับเขตและระดับประเทศอยู่นะคะ ใครมีตัวอย่างหรือข้อสอบวิทย์ดีๆ ส่งมาให้นำไปใช้เสริมประสบการณ์เด็กด้วยจะขอบคุณมาก

แจ้งข่าว

จากเว้บสพท.นบ.1 ทราบว่า สพท.นนทบุรี เขต 1

กำหนดติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษา สถานศึกษาในสังกัด

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ระหว่างวันที่ 17 - 30 ธันวาคม 2551

ครูวิทย์เราคงได้โอกาสนำเสนองาน และขอคำปรึกษาจากทีมงานชุดใหญ่นะคะ

เพื่อนครูที่รักอย่างที่เรารู้กันว่าจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับชาติ และระดับเขตพื้นที่ในภาพรวมถึงแม้คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในสังกัดสพท.นบ.1จะได้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติแต่ดูแล้วผลยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เห็นทีพี่น้องเราต้องมาเร่งรัดเติมเต็มทักษะจำเป็นและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้มากขึ้นดิฉันมองว่าในช่วงชั้นท่ 2 ครูวิทย์ควรจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ให้มากขึ้นตามที่พวกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาซึ่งขอทบทวนฝากเพื่อนครูดังนี้

การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรเน้นกระบวนการที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมหลากหลาย ทั้งการทำกิจกรรมภาคสนาม การสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การทดลองในห้องปฏิบัติการ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โคำนึงถึงวุฒิภาวะ ประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างกันที่นักเรียนได้รับรู้มาแล้วก่อนเข้าสู่ห้องเรียน การเรียนรู้ของนักเรียนจะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทำกิจกรรมการเรียนเหล่านั้น จึงจะมีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง และคาดหวังว่ากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม ในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างสร้างสรรค์ มีเจตคติและค่านิยมที่เหมาะสมต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ผู้เรียนควรได้รับการปลูกฝังควบคู่กันไปคือการมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ความสนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความอดทน มุ่งมั่น การมีใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็น ความคิดสร้างสรรค์ มีความสงสัยและกระตือรือร้นที่จะหาคำตอบ ยอมรับเมื่อมีประจักษ์พยาน หรือเหตุผลที่เพียงพอ และในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควร เน้นการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Structured Inquiry) โดยให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกคิดตาม ลงมือปฏิบัติ ออกแบบบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเอง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยให้ปัญหาปลายเปิด (Open-ended Problems) ให้นักเรียนได้คิดวางแผน ออกแบบการทดลอง และลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้า ตรวจสอบความคิดด้วยตนเองมากขึ้น จัดกิจกรรมเรียนรู้โดยโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Project) โดยเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ระบุปัญหา หรือคำถามตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม แล้ววางแผนหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาด้วยการสร้างทางเลือกหลากหลาย โดยใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้มา มีการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติและประเมินผลการแก้ปัญหาสรุปเป็นความรู้ใหม่

ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องศึกษาเป้าหมายและปรัชญาของการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการและผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด แล้วพิจารณาเลือกนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ เหมาะกับสภาพ แวดล้อมของโรงเรียน แหล่งความรู้ของท้องถิ่น และที่สำคัญคือศักยภาพของผู้เรียนด้วย

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ประกอบด้วยขั้นตอน ที่สำคัญ ดังนี้

1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น โดย ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อนเพื่อที่จะช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษา

2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เป็นขั้นทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถาม ที่สนใจจะศึกษาแล้ววางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูล-ต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นขั้นนำข้อมูล ข้อสนเทศ ที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5) ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

อยากให้เปรียบเทียบการสอนโครงงานกับการสอนอย่างอื่น ขอทีมพี่เลี้ยงช่วยเฉลยหน่อยค่ะ

ขอบคุณ

ก่อนปิดเที่ยวปีใหม่ทีมครูวิทย์เราอย่าลืมแนะนำนักเรียนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อนด้วยนะ

ตอบครูวิทย์ใหม่เพื่อให้เห็นข้อเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนทั่วไปกับการจัดการเรียนการสอนโดยโครงงาน ขอเปรียบเทียบให้เห็นตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้ายดังนี้

การเรียนการสอนทั่ว ๆ ไป การเรียนการสอนโครงงาน

1. สร้างความสนใจ 1.ผู้เรียนคิดกิจกรรมที่จะทำเอง(Think)

(Motivation)

2.ให้เนื้อหา (Information) 2.วางแผนงานที่จะปฏิบัติเพื่อให้กิจกรรม

สำเร็จ(Plan)

3.ขั้นพยายาม(Application) 3.ลงมือปฏิบัติ (Do)

4.ขั้นสำเร็จผล(Progress) 4.ได้ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก

ความสามารถของผู้เรียน

ไม่บรรลุ บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ไม่บรรลุ

แผนภูมิที่ 2 : เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนทั่ว ๆ ไป กับกระบวนการเรียนวิชาโครงงาน

ขอเพิ่ม ข้อเสนอแนะ บทบาทของครูผู้สอน/บทบาทของผู้เรียนในการเรียนรู้โครงงาน

ในการสอนโครงงาน

ซึ่งอาจแตกต่างจากการสอนทั่วไปคือ ครูผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความคิด และวิธีการแสวงหาคำตอบ ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงดังนี้

สำพอง บุญช่วย (2524 : 108) ได้เสนอแนะว่า การสอนโครงงานเป็นการสอนโดยวิธีการแก้ปัญหา (Solving Problems) ให้ผู้เรียนหาทางแก้ปัญหาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

ดวงเดือน เทศวานิช (ม.ป.ป. : 103) ให้ข้อคิดว่าการสอนโครงงานผู้เรียนไม่เพียงแต่ใช้ความคิดอย่างเดียว แต่ได้ลงมือกระทำจริง ด้วย

สุพิน บุญชูวงศ์ (2553 : 51) ได้เสนอแนะว่าบทบาทการสอนวิชาโครงงานนี้ ครูผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ทำงานโดยการตั้งปัญหา แล้วดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เปรื่อง กิจรัตน์ภร (2532 : 109) ได้กล่าวถึงบทบาทการสอนโครงงานของครูผู้สอนว่า ครูผู้สอนมีบทบาทในการอำนวยความสะดวก เป็นที่ปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการทำโครงงานนอกจากนี้ยังเป็นผู้ประเมินผลการทำโครงงานของผู้เรียนด้วย

พงศ์ หรดาล (2531 : 117) ได้เสนอบทบาทการสอนโครงงานดังนี้

1. ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของการทำโครงงาน

2. ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนในการเลือกทำโครงงาน

3. ต้องให้ผู้เรียนกำหนดตารางการทำโครงงาน

4. ครูผู้สอนต้องติดตามการทำโครงงานทุกขั้นตอน

นอกจากนี้ เบเลน (Belen. 1962 : 95 - 96) ได้เสนอแนะบทบาทการสอนโครงงานไว้ดังนี้

1. ครูผู้สอนควรให้ความสนใจในการทำโครงงานของผู้เรียนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ผู้เรียนทุกคนต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจจากครูผู้สอนในขณะที่ทำโครงงาน เพราะพวกเขาจะต้องพบ อุปสรรคหรือปัญหาในระหว่างการทำโครงงาน

2. ควรจัดบรรยากาศหรือสถานที่ทำโครงงานให้เหมาะสม เช่น โรงฝึกงาน สถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ แสงสว่างหรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ

3. ควรให้มีการและเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันในหมู่ผู้เรียนที่ทำโครงงานด้วยกันหรือต่างโครงงานกันกับครูผู้สอน

4. ครูที่ปรึกษาโครงงานควรเสนอแนะแนวทางการทำโครงงานที่เป็นไปได้และง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน

สุทธิ ประจงศักดิ์ (2524 : 117) ยังได้เสนอแนะวิธีสอนโครงงาน ซึ่งก็ถือว่าเป็นบทบาทของครูผู้สอนเอาไว้ ดังนี้

- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกโครงงานที่จะทำเอง

- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้วางแผน เตรียมการและร่างเสนอโครงงานเอง

- ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติโครงงานเอง

- ให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติโครงงาน

- ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลโครงงาน

จากการที่ได้ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของครูผู้สอนวิชาโครงงาน พอสรุปบทบาทการสอนกิจกรรมโครงงานของครูผู้สอนได้ว่า

ครูผู้สอนมีบทบาทในการอำนวยความสะดวก กระตุ้นชี้แนะแนวทางในการทำโครงงาน

ให้ผู้เรียนได้คิด วางแผน และลงมือปฏิบัติด้วยตัวผู้เรียนเอง ร่วมมือช่วยเหลือ

แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน ตลอดทั้งติดตามการทำโครงงานและ

ประเมินผลโครงงานด้วย

ขอส่งโครงงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะ

สรุปย่อ

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำดินเยื่อกระดาษจากดินสอพอง ทำดินเยื่อกระดาษจากดินเหนียว และดินเยื่อกระดาษที่ทำจากดินเหนียวโดยที่ไม่ใส่กาว กับดินเยื่อกระดาษที่ใส่กาวอะไรจะแข็งกว่ากันซึ่งการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก นำดินสอพอง 800 กรัม เยื่อกระดาษที่ตำแล้ว 420 กรัม และกาวลาเท็กซ์ 200 กรัม มาผสมนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนขั้นตอนที่สองใช้อัตราส่วนปริมาณเท่ากันแต่ใช้ดินเหนียวแทนดินสอพองและไม่ใช้กาวลาเท็กซ์แล้วนำทาปั้นเป็นรูปทรงที่ต้องการ ตกแต่งให้สวยงาม ผลทดลองปรากกฎว่า ดินเยื่อกระดาษจากดินสอพอง และดินเยื่อกระดาษจากดินเหนียวสามารถนำมาปั้นได้ทั้งสองอย่าง ส่วนความแข็งที่ไม่ต่างกันมากแต่ดินเยื่อกระดาษจากดินสอพองจะมีความสวยงามกว่า

ช่วงระหว่างวันที่ 1- 20 มกราคม 2552 ทีมพี่เลี้ยงออกติดตามการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ของ สพท.นบ.1 ใครมีปัญหาอะไร มีอะไรดีๆ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมพี่เลี้ยงได้เลยนะคะ

ขอแชร์ความรู้ทที่ได้จากการพัฒนาเรื่องแผนการสอนนะคะ

ลักษณะของแผนการสอนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1. มีส่วนประกอบสำคัญจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน เช่น มีการกำหนดจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการวัด และประเมินผลที่ชัดเจน และ สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

2. มีความสอดคล้องกับหลักสูตร จุดประสงค์ ผลการเรียนรู้ในหลักสูตร ในแบบ ปพ.5 ลักษณะธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ และ พื้นฐานความสนใจของผู้เรียนตลอดจนสภาพท้องถิ่น

3. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการสอน มีความสอดคล้องกัน เช่นเนื้อหาสอดคล้องกับสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์ และกิจกรรม สอดคล้องกับ จุดประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับเนื้อหา การวัดประเมินผล ตลอดจนสื่อ สอดคล้องกิจกรรม

4. กิจกรรมการเรียนการสอน มีกระบวนการชัดเจนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณสมบัติต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรต้องการ

6. สามารถนำไปในสอนจริงได้

ข้อควรคำนึงในการเขียนแผนการสอนแผนการสอนที่ดี

1. องค์ประกอบของแผนการสอนทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน

2. แผนการสอนทีดีควรมีลักษณะบูรณาการเชื่อมโยง สอดคล้องกับชีวิตจริง

3. แผนการสอนที่ดี ยืดหยุ่นและนำไปใช้สอนจริงได้

4. ควรมีการบันทึกผลหลังใช้แผนการสอนเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนา

5. การเขียนแผนการสอน ในแต่ละครั้งต้องสามารถตอบคำถามได้ว่า

สอนอะไร…(เนื้อหา,สาระ) เพื่ออะไร… (จุดประสงค์)

สอนอย่างไร….(กิจกรรมสอนกระบวนการเรียนรู้สื่อ, แหล่งเรียนรู้)

ทราบผลการสอนด้วยวิธีได้…(การวัดและประเมินผล)

ผลที่เกิดกับผู้เรียนเป็นอย่างไร….…(ร่องรอย หลักฐาน พฤติกรรม)

ส่วนประกอบของแผนการสอน

แผนการสอนมีส่วนประกอบ ดังนี้

1. สาระสำคัญ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/มาตรฐานการเรียนรู้

3. เนื้อหาสาระ

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการเรียนรู้)

5. สื่อการเรียนการสอน

6. การวัดและประเมินผล

7. ข้อเสนอแนะและบันทึกผลหลังสอน (ถ้ามี)

1. สาระสำคัญ

คือ ประเด็นสำคัญ / แนวคิด / แก่นของเรื่อง / หัวใจของเรื่อง ความคิดรวบ

ยอดของเรื่องที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งแนวทางการเขียนสาระสำคัญมีดังนี้

1) ศึกษาวิเคราะห์หัวข้อ / เรื่อง ที่จะสอนสรุปความหมาย ความสำคัญ

การนำไปใช้ พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน

2) เรียบเรียงถ้อยคำ สาระสำคัญไว้ในใจ

3) เขียนสาระสำคัญเป็นประโยคบอกเล่าด้วยภาษาง่าย ๆ เข้าใจง่าย กะทัดรัด

4) ตรวจสอบความสมบูรณ์ของสาระสำคัญ การสื่อความหมายด้านเนื้อหา

ความคิดรวบยอด และความครอบคลุมที่จะให้เกิดตามจุดประสงค์การเรียนรู้

2. จุดประสงค์

ในแผนการสอน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1) จุดประสงค์ปลายทาง (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/จุดประสงค์การเรียนรู้)

2) จุดประสงค์นำทาง (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)

จุดประสงค์ปลายทาง/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

เป็นจุดประสงค์หลักของแผนการสอน ฉบับนั้น ๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่ผู้สอนคาดหวังให้เกิดขึ้นภายหลังที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้ว ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/จุดประสงค์ปลายทางอาจนำมาจากการวิเคราะห์จุดประสงค์ในหลักสูตร หรือนำมาจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาในส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือในแบบ ปพ.5 เพื่อให้เป็นจุดประสงค์หลักของแผนการสอนนั้น

จุดประสงค์นำทาง (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)

เป็นจุดประสงค์ย่อยที่ครูผู้สอนกำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ปลายทาง พฤติกรรมที่เกิดจากจุดประสงค์ย่อยหลาย ๆ จุดประสงค์เมื่อหลอมรวมกันแล้ว จะเป็นจุดประสงค์นำที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ปลายทาง

จุดประสงค์นำทางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ

1. พฤติกรรมที่คาดหวัง

2. เงื่อนไข หรือสถานการณ์

3. เกณฑ์หรือมาตรฐานของพฤติกรรม

องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ประกอบด้วย

1. พฤติกรรมที่คาดหวัง หมายถึง พฤติกรรมที่ครูผู้สอนต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เช่น การกระทำ การแสดงออกที่แสดงให้เห็นได้สังเกตได้ ดูผลกระทำได้ พฤติกรรมที่คาดหวังมี 3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย จิตพิสัย

2. เงื่อนไขหรือสถานการณ์ หมายถึง ข้อตกลงที่ผู้สอนกำหนดให้นักเรียน

กระทำสิ่งใดเวลาใด อย่างไร เช่น หลังจากนักเรียนอ่านข้อความนี้แล้วสามารถบอกขั้นตอนการถนอมอาหารได้ เมื่อนักเรียนสังเกตการทดลองแล้ว สามารถตอบคำถามได้

นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของน้ำได้ ด้วยตนเอง

(ข้อความที่ขีดเส้นใต้ คือ เงื่อนไขหรือสถานการณ์)

3. เกณฑ์หรือมาตรฐานของพฤติกรรม หมายถึง ระดับความสามารถที่จะแสดงพฤติกรรมว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงมี 2 ลักษณะ คือ เกณฑ์เกี่ยวกับเวลา คือ ความเร็ว และเกณฑ์ที่เกี่ยวกับจำนวน หรือปริมาณ เช่น (ขีดเส้นใต้คือเกณฑ์)

นักเรียนสามารถบอกชื่อพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้ถูกต้องทั้ง 3 ชนิด

นักเรียนสามารถสาธิตการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารได้ถูกต้องทุกขั้นตอน

ขอทบทวนความรู้เรื่องการวัดประเมินผลเพิ่มค่ะ

การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

หมายถึงกระบวนการสังเกตการบันทึก และการรวบรวมข้อมูลจากงาน และผลกระทบของผู้เรียน

ทำไมต้องมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องวัดให้ครอบคลุมทั้งด้าน

พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยโดยต่อเนื่องจึงจะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียน

2. การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นต้องพัฒนาคนให้เกิดความรู้ ทักษะ

ฃและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการสื่อสาร

3. กระแสสังคมยอมรับว่าการวัดและประเมินผลแบบเดิม ไม่สามารถวัด

ความก้าวหน้าและผลผลิตที่ซับซ้อนที่เกิดกับผู้เรียนหลาย ๆ ด้าน

ลักษณะสำคัญ

1. เป็นการประเมินจากสภาพจริง กระทำโดยตลอดเวลากับทุกสภาพ ทั้งที่บ้าน

โรงเรียน ชุมชน สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ โดยใช้การตัดสินใจของมนุษย์ แทนการให้คะแนน

2. เป็นการประเมินผลแนวใหม่ ที่ผสมผสานการเรียนการสอนกับการประเมินผล

เข้าด้วยกัน หรือดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน

3. ประเมินความสามารถหลาย ๆ ด้าน เน้นงานที่มีความหมายต่อผู้เรียน

4. กำหนดปัญหาหรืองานแบบปลายเปิด เพื่อให้ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง

5. ไม่เน้นประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่ให้นักเรียนผลิต สร้างหรือทำบางสิ่งที่

เน้นทักษะการคิดที่ซับซ้อน การพิจารณาไต่ตรอง การทำงานและแก้ปัญหา

6. เน้นสภาพปัญหาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน โลกแห่ง

ความจริง

7. ใช้ข้อมูลอย่างหลากหลายเพื่อการประเมิน นั่นคือความพยายามที่จะรู้จักนักเรียน

ในทุกแง่ทุกมุม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลต้องมีหลากหลายประเภท

8. การประเมินผลตามสภาพจริงยึดหลักปฏิบัติเป็นสำคัญ

9. เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง

10. นักเรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการประเมินตนเอง และเพื่อนในชั้นเรียน

วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง

อาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้

1. สังเกต

2. สัมภาษณ์

3. ตรวจผลงาน

4. การรายงานตนเองของนักเรียน

5. บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

6. ใช้แบบทดสอบ เน้นการปฏิบัติจริง

7. ใช้แฟ้มสะสมงาน

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงท่ให้ความรู้ดีๆ

โรงเรียนให้นักเรียนทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์สนุกมากเด็กทำได้ครูวิทย์เราต้องช่วยกันฝึกเด็กให้เป็นนักคิดนักประดิษฐ์

เหมือนชาวนาจีนประดิษฐ์หุ่นยนต์

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคน ได้ให้เด็กทำโครงงาน เรื่องสัปะรดช่วยลดกลิ่นกระเทียม ซึ่งเป็นความสนใจของนักเรียนเอง พบว่า เนื้อสับปะรดดิบจะลดกลิ่นเหม็นได้ดีกว่า สัปปะรดสุก วิธีการ ใช้นำตาล ผสมกับเนื้อสับปะรด ส่วนสัดส่วนเท่าไรให้ลองไปทำดู

ขอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการสอนโครงงานอีกคน

การสอนโครงงานถือเป็นการบูรณาการชั้นยอดเลยคะ เราควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขดิฉันขอบอกเล่าเด็กป.6 ทำโครงงานการเปรัยบเทียบประสิทธิภาพของยากันยุงจากเปลือกส้ม ตะไคร้หอม และใบแมงลัก ตากแห้งทำแล้วน่าสนใจดีค่ะ

แค่นี้คะพิมพ์ไม่เก่งต้องรีบไปสอน

แจ้งข่าว

ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 จะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียน ชั้น ป.6 ป5 ป2 ป3 ม.3 ม.2 ม.6 แล้วนะ ทั้งระดับชาติและระดับเขตพื้นที่ ครูวิทย์อย่าลืมเตรียมเด็กหละ ใครมีข้อสอบดีๆ แชร์เราบ้าง และช่วงนี้ทราบว่า ศน. นนทบุรีเขต 1 จัดทำและจัดหาข้อสอบเตรียมความพร้อมรับการประเมินให้ครูเสริมประสบการณ์กับเด็กทั้งในรูป CD และลงในweb ของเขต ขอบคุณหลายๆ

การทำโครงงานเป็นกิจกรรมที่นักเรียนสนุกและครูก็สนุกด้วยอยากให้ครูวิทย์วางแผนจัดการเรียนรู้โดยโครงงานให้มากๆ จะได้มาแชร์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทราบว่า สพท.นบเขต 1 จะมีการประกวดโครงงานนักเรียนเพื่อนๆเตรียมไว้เลยนะคะ ถ้าอยากแชร์แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น เชิญที่โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า

ขอชม เด็กชายกฤติธี ทับเที่ยง เด็กชายศิรภพ ลิ้มประไพพงษ์ เด็กหญิงณัฎฐา วศะลำเลิศ และอ.สุภาพร พรมศิริ ที่ทำโครงงานมลภาวะในโรงเรียน ทำให้ครูและนักเรียนร่วมกันกำจัดขยะไปในตัว ขอบคุณๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ใกล้สิ้นปีการศึกษาแล้ว ขอเชิญครูวิทย์ช่วงชั้นที่ 2 เตรียมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โครงงานนักเรียนด้วยนะคะ ประมาณ ต้นเดือนเมษายน 2552

การสอนแบบโยนิโสมนสิการ

การสอนแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด เน้นการฝึกผู้เรียนให้ใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างเป็นระบบ รู้จักวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ หรือเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เป็นการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระทำให้ผู้เรียนสามารถช่วยตัวเองได้ ซึ่งงวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการว่า เป็นความคิดที่สกัดอวิชชาตัณหา และนำไปสู่จุดหมายของการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในหนังสือพุทธธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2529) ได้กล่าวถึงวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ไว้ 10 ประการ คือ

1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์

4. วิธีคิดแบบอริยสัจจ์

5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

6. วิธีคิดแบบคุณโทษทางออก

7. วิธีคิดแบบคุณค่าแม้ คุณค่าเทียม

8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม

9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน

10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

หากครูผู้สอนวิทยาศาสตร์นำไปปรับใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

วิธีสอนแบบทดลอง

การสอนโดยการทดลอง มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นเตรียมการทดลอง ควรมีการดำเนินการ

1.1 กำหนดจุดประสงค์ การทดลอง

1.2 วางแผนการทดลอง เพื่อลำดับขั้นตอนการทดลองให้พร้อม

1.3 จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ การทดลองตลอดจนแบบบันทึกผลการทดลองและแบบประเมินผล ผู้สอนต้องเตรียมไว้ให้พร้อม

1.4 ตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือ วัสดุที่ใช้ ผู้สอนควรได้ทดลองใช้ หรือตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการแนะนำ ตักเตือน ผู้เรียนในขณะทดลอง

1.5 เตรียมแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้สอนต้องกำหนดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม กับผู้เรียน จำนวนวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีอยู่

2. ขั้นทดลอง

2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเร้าความสนใจ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การทดลอง ขั้นตอน วิธีการทดลอง แนะนำการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้ผู้เรียนได้ทราบบทบาทของตน และให้ศึกษาคู่มือปฏิบัติการก่อนการลงมือทดลอง

2.2 ขั้นทดลอง ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการทดลอง โดยมีผู้สอนคอยดูแล แนะนำช่วยเหลือ ถ้าเป็นการทดลองที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ผู้สอนต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

3. ขั้นเสนอผลการทดลอง ผู้เรียนนำเสนอผลการทดลอง และรายละเอียดประกอบ เช่น โครงการทดลอง การเตรียมการ วีการทดลอง และผลที่ได้จากการทดลอง

4. ขั้นอภิปรายสรุปผล ในขั้นนี้ผู้เรียนจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนได้รับ เช่น บางกลุ่มอาจได้ผลการทดลองที่คลาดเคลื่อนก็จะได้ช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุว่าผิดพลาดที่ขั้นตอนใดและมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร ในขั้นนี้ผู้สอนจะมีบทบาทในการให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมย้ำประเด็นสำคัญ และสรุปหลักการ ความคิดรวบยอดที่ได้จากการทดลอง

5. ขั้นประเมินผล เมื่อการอภิปรายสรุปผลเสร็จสิ้นลง ผู้สอนควรได้ประเมินผลผู้เรียนในด้านต่างๆ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในการทดลองที่จะมีขั้นในครั้งต่อไป เช่น ประเมินด้านการใช้เครื่องมือ ด้านความละเอียดรอบคอบในการทดลอง ด้านการจดบันทึกผลการทดลอง ด้านการรายงานผล ด้านการให้ความร่วมมือกับกลุ่ม เป็นต้น และอย่าลืมครูผู้สอนควรมีการประเมินคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์นักเรียนอย่างต่อเนื่อง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เป็นคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้เรียน หรือผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งมี 13 ทักษะดังนี้

1.ทักษะการสังเกต

ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ

1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ

2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน

3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน

4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ

5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น

นอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ

2.ทักษะการวัด

การวัดหมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง ในการวัดจะต้องพิจารณาว่า

1. จะวัดอะไร เช่น วัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล ชั่งน้ำหนักก้อนหิน วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำ วัดปริมาตรของของเหลวในขวด วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ วัดแรงกดดันของอากาศ วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ

2. จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปของลูกบอล ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน

3. เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่นทำไมจึงเลือกใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปลูกบอล จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม

่ 4. จะวัดอย่างไร เช่น เมื่อมีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร มีเทคนิคอย่างไร

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวัดแต่ละครั้ง คือความเที่ยงตรง แน่นอนในการวัดและค่าที่ถูกต้อง การวัดปริมาณใด ๆ มักจะเกิดความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ เช่นเกิดจากการอ่านค่าผิดพลาด หรือบันทึกผิด หรือเกิดจากการใช้วิธีวัดไม่ถูกต้อง วิธีแก้ความคลาดเคลื่อนทำได้โดยการวัดหลาย ๆ ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย การที่นักเรียนจะมีทักษะในการวัด จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอยู่บ่อย ๆ เช่น ก่อนการวัดต้องศึกษาเครื่องมือ วิธีการใช้ สเกลการวัด เป็นต้น ความสามารถที่แสดงว่านักเรียนเกิดทักษะการวัด คือ

1. เลือกเครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด

2. บอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือได้

3. บอกวิธีวัดและวิธีใช้เครื่องมือวัดได้ถูกต้อง

4. ทำการวัดปริมาณต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

5. ระบุหน่วยของตัวเลขที่ได้จากการวัดได้

การวัดปริมาณต่าง ๆ ได้ตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ

1. เทคนิคการวัด 2. มาตรฐานของเครื่องมือ 3. ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบ

3.ทักษะการจำแนก

การจำแนก หมายถึงการจำแนกหรือการจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ การกำหนดเกณฑ์อาจทำได้โดย การกำหนดขึ้นเอง หรือมีผู้อื่นกำหนดให้ การจำแนกประเภทอาจทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การแบ่งประเภทสิ่งของ การแบ่งกลุ่ม การจัดหมวดหมู่

4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

ความรู้เรื่องสเปส ( SPACE ) สเปส หมายถึง ที่ว่าง สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุครองอยู่ ถ้าจะให้เห็นภาพภาพพจน์ที่ชัดเจน ขอให้ลองนึกว่า ถ้าตัวเราลงไปแช่อยู่ในน้ำซึ่งอยู่ในถังจนมิดหัว แล้วนำไปแช่เย็นจนแข็ง ตัวเราก็จะถูกฝังอยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้น หากเรามีความสามารถพิเศษหายตัวออกจากก้อนน้ำแข็งนั้นไป ที่ว่างที่อยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้นก็คือ สเปสของตัวเรานั่นเอง

ลักษณะของผู้ที่มีทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส มีดังนี้

• 1. บอกจำนวนมิติของวัตถุที่พบเห็นได้

• 2. ชี้บ่งรูป 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติได้

• 3. บอกชื่อรูปและรูปทรงทางเรขาคณิตได้

• 4. วาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูปทรง 3 มิติได้

• 5. บอกความสัมพันธ์ระหว่างรูป 2 มิติ กับวัตถุ 3 มิติได้ ซึ่งแบ่งเป็น

o 5.1 บอกรูป 3 มิติที่เห็นเนื่องจากการหมุนรูป 2 มิติ

o 5.2 บอกรูปทรงของวัตถุ ( 3 มิติ ) ที่เป็นต้นกำเนิดเงา เมื่อเห็นเงา ( 2 มิติ ) ของวัตถุ

o 5.3 บอกเงา ( 2 มิติ ) ของวัตถุที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นวัตถุ ( 3 มิติ )

o 5.4 บอกรูป ( 2 มิติ ) ที่เกิดจากรอยตัด เมื่อตัดวัตถุ ( 3 มิติ ) ออกเป็น 2 ส่วน

• 6. บอกตำแหน่งหรือทิศของวัตถุได้

• 7. บอกความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงา และภาพที่ปรากฏในกระจกเงาได้

รูป 2 มิติ

รูป 2 มิติ คือรูปที่มีเพียง 2 ด้าน คือ ด้านกว้าง และด้านยาว ซึ่งมีชื่อเรียกกันหลายอย่าง เช่น รูป ชื่อ รูปสามเหลี่ยม(Triangle) รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส(Square) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(Rectangle) รูปวงกลม(Circle) รูปวงรี รูปไฮเปอร์โบล่า(Hyperbola) รูปพาราโบล่า(Parabola) รูปห้าเหลี่ยม(Pentagon) รูปหกเหลี่ยม(Hexagon)

รูปทรง 3 มิติ

รูปทรง 3 มิติ จะมีลักษณะต่างจากรูป 2 มิติ คือนอกจากจะมีด้านกว้างและด้านยาวแล้ว ยังมีด้านสูง หรือด้านลึก เพิ่มขึ้นมาอีก หนึ่งด้าน และจะเรียกคำนำหน้าชื่อว่า "ทรง" เช่น รูปทรง ทรงปิรามิดฐานสามเหลี่ยม, ทรงปิรามิดฐานสี่เหลี่ยม, รูปกรวย(Cone), รูปทรงกลม, รูปไข่, รูปปริซึมฐานสามเหลี่ยม, รูปปริซึมฐานสี่เหลี่ยม เป็นต้น

5.ทักษะการคำนวณ

ลักษณะของการคำนวณ มีดังต่อไปนี้

1. นับจำนวน 2. ใช้ตัวเลขแสดงจำนวนที่นับ

3. บอกวิธีคำนวณ\ 4. คิดคำนวณ

5. แสดงวิธีคิดคำนวณ 6. บอกวิธีการหาค่าเฉลี่ย

7. หาค่าเฉลี่ย 8. แสดงวิธีหาค่าเฉลี่ย

6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ เราแบ่งข้อมูลตามระดับความยากง่ายในการทำความเข้าใจได้ 2 ประเภทคือ

1. ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจยาก ได้จากการสังเกต การวัด การจำแนก การคำนวณ ฯลฯ

2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลดิบมาดัดแปลงใหม่นั่นเอง การดัดแปลงข้อมูลดิบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นดังกล่าว สามารถทำได้ 4 วิธี คือ

2.1 หาความถี่ 2.2 จัดลำดับ 2.3 แยกประเภท

2.4 คำนวณหาค่าใหม่

7. การสื่อความหมายข้อมูล

การสื่อความหมายข้อมูลหมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาแสดงหรือนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นอีก รูปแบบใหม่ที่สามารถแสดงหรือนำเสนอมีหลายรูปแบบเช่น

1. ตาราง 2. แผนภูมิ 3. วงจร 4. กราฟ 5. สมการ 6. บรรยาย

8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสสิ่งของหรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูลอย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ความคิดเห็นส่วนตัวอาจได้มาจาก ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม หรือเหตุผลต่าง ๆ ดังนั้นการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ ดังนี้

1. อธิบายหรือสรุป เกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

2. เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป

เช่น นำใบไม้ชนิดหนึ่งที่นักเรียนไม่เคยเห็นหรือรู้จักมาก่อนให้นักเรียนสังเกต แล้วถามว่าได้ข้อมูลอะไรจากใบไม้นั้นบ้าง

-ใบไม้มีสีเขียว ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้ใบเรียวยาว ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้มีก้านสีขาว ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้คล้ายใบอ้อย ( ลงความเห็นจากข้อมูล )

การลงความเห็นจากข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เท่านั้น ไม่ได้เป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากเป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเรียกว่าการทำนาย

8. ทักษะการพยากรณ์

การพยากรณ์ หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล หลักการ กฎ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย

9. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน

การตั้งสมมุติฐาน หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่ทราบ หรือไม่มีความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย ดังตัวอย่าง

ข้อมูล อากาศบ่ายวันนี้อบอ้าว มีเมฆดำลอยต่ำอยู่เต็มท้องฟ้า มดดำคาบไข่ออกจากรังย้ายไปอยู่บนที่สูง

พยากรณ์ ฝนกำลังจะตก ( อาศัยประสบการณ์ หรือความรู้เดิม )

ข้อมูล นายแดงเคยกินปูเค็มมาแล้ว 6 ครั้ง เขาพบว่าภายหลังที่กินปูเค็มทุกครั้งเขาจะมีอาการท้องเสีย

พยากรณ์ ถ้านายแดงกินปูเค็มอีกเขาจะท้องเสีย ( อาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูล )

คำถาม ถ้านายแดงกินกุ้งแช่น้ำปลา จะเกิดผลอย่างไร

จะตอบคำถามนี้ได้ต้องตั้งสมมุติฐาน ( ทำนายอนาคต โดยไม่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎี )

10.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

ในการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานนั้น อาจมีคำ หรือข้อความ ในสมมุติฐานที่มีความหมายได้หลายอย่าง ทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน และอาจสังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ยาก จึงจำเป็นต้องกำหนดความหมายของคำ หรือข้อความนั้น ให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ และสามารถสังเกตหรือตรวจสอบได้ง่าย อันเป็นการจำกักขอบเขตของการศึกษาทดลอง การกำหนดความหมายของคำหรือข้อความจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ เช่น

ตั้งสมมุติฐานว่า การทาบกิ่งมะม่วงทำให้ได้มะม่วงดี

คำว่า "มะม่วงดี" มีความหมายได้อย่าง และตรวจสอบว่ามะม่วงดี ทำได้ยาก จึงควรกำหนดความมหายของคำว่า มะม่วงดี เสียก่อน เช่น มะม่วงดีหมายถึง มะม่วงที่ให้ผลเร็ว หรือ มะม่วงดี หมายถึงมะม่วงที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ เป็นต้น

ดังนั้นการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จึงมีจุดประสงค์เพื่อ

1. ให้เข้าใจตรงกัน 2. ให้สังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ง่าย

ลองพิจารณานิยามต่อไปนี้

ก. นิยามทั่วๆ ไป อ๊อกซิเจน หมายถึง ธาตุชนิดหนึ่งมีสถานะเป็นก๊าซ มีน้ำหนักอะตอม 16 และมีเลขอะตอมเป็น 8

ข. นิยามเชิงปฏิบัติการ ออกซิเจน หมายถึง ก๊าซที่ช่วยให้ไฟติด เมื่อนำธูปที่ติดไฟเป็นถ่านแดงแหย่ลงไปในกระกอกเก็บก๊าซนี้ จะเกิดเป็นเปลวไฟขึ้น

จะเห็นว่านิยาม ก. แตกต่างจากนิยาม ข. คือ นิยาม ก. ทดสอบได้ยาก ส่วนนิยาม ข. ทดสอบได้ง่าย

นิยามต่อไปนี้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการหรือไม่

ก. น้ำสะอาด หมายถึง น้ำที่ต้มแล้ว และไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส

ข. น้ำสะอาห หมายถึง น้ำที่ปราศจากเชื้อโรค

( ก. เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ เพราะตรวจสอบได้ง่าย โดยการสังเกต ส่วน ข. ไม่เป๋นนิยามเชิงปฏิบัติการสำหรับนักเรียนระดับต่ำ แต่อาจเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการของนักเรียนนักศึกษาระดับสูงได้ )

นิยามต่อไปนี้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการหรือไม่

ก. ไก่สมบูรณ์ คือ ไก่ที่อ้วนมาก ข. ไก่สมบูรณ์ คือ ไก่ที่มีน้ำหนักมาก

( ข เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ เพราะตรวจสอบได้ง่ายโดยการชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่ง ส่วน ก. ไม่เป็น เพราะ "อ้วน" ตรวจสอบได้ยาก ไก่น้ำหนักน้อยแต่ขนพอง ก็มองดูอ้วนได้ )

11.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

ตัวแปร หมายถึง วัสดุ สิ่งของ หรือสถานการณ์ หรือปริมาณ ที่สามารถทำให้ผลของการทดลองออกมาผิด หรือถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ แบ่งได้ 3 ชนิด คือ

1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือตัวแปรที่เป็นต้นเหตุ ให้เราคาดว่าทำให้ผลออกมาต่างกัน

2. ตัวแปรตาม คือผลที่เกิดจากตัวแปรต้น

3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือสิ่งที่เราต้อง หรือควบคุมให้เหมือนกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลองเกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น เช่น

ดินอะไรปลูกข้าวเจ้าได้ดี

ถ้าจะออกแบบการทดลอง โดยการนำเมล็ดข้างเจ้ามาเพาะลงในกระถาง โดยแยกใส่ดินให้ต่างกันชนิดละ 1 กระถาง แล้วดูผลการเจริญเติบโต ที่คาดว่าจะแตกต่างกัน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือ เมล็ดข้าว กระถาง ดิน การดูแลรักษา สถานที่ และระยะเวลา ดังนั้นจึงต้องกำหนดและควบคุมตัวแปรดังนี้

- ตัวแปรต้น คือ ชนิดของดิน

- ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตของข้าวเจ้า

- ตัวแปรควบคุม คือ เมล็ดข้าว กระถาง การดูแลรักษา สถานที่ทดลอง ระยะเวลาที่ทดลอง

วัสดุใดนำความร้อนได้ดี

ถ้าจะทดลองโดยการนำแท่งวัสดุต่างชนิดกัน มาติดด้วยเทียนขี้ผึ้ง แล้วนำปลายวัสดุแต่ละชนิดไปลนไฟ เพื่อดูว่าเทียนขี้ผึ้งที่ติดอยู่บนวัสดุใด หลอมเหลวและหลุกออกไปก่อนกัน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือ

- ตัวแปรต้น คือ ชนิดของแท่งวัสดุ

- ตัวแปรตาม คือ ระยะเวลาที่เทียนขี้ผึ้งหลุดจากแท่งวัสดุ

- ตัวแปรควบคุมคือ ความร้อนของไฟ ระยะของก้อนเทียนขี้ผึ้ง ขนาดและรูปร่างของก้อนเทียนขี้ผึ้ง ความแน่นของก้อนเทียนขี้ผึ้งที่ติดกับแท่งวัสดุ

12 ทักษะการทดลอง

การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น

ในการทดลองจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

1. การออกแบบการทดลอง

2. การปฏิบัติการทดลอง

3. การบันทึกผลการทดลอง

การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนการทดลอง เพื่อ

- บอกวิธีทดลอง ให้รู้ว่าจะทำการทดลอง หรือปฏิบัติอย่างไร

- เลือกอุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ หรือสารเคมีที่จะใช้ทดลอง ให้รู้ว่าจะต้องใช้อะไร จำนวนเท่าไร และใช้อย่างไร

การออกแบบการทดลองที่ดี ต้องสามารถทดลองได้สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว เที่ยงตรง เห็นผลได้ชัดเจน และประหยัด

การปฏิบัติการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัตจริง ซึ่งจะต้องใช้ทักษะด้านอื่นๆ ประกอบอีกมาก เช่น ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต ทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆ เป็นต้น

การบันทึกผลการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการปฏิบัติกาารทดลอง กล่าวคือ เมื่อผู้ทดลองได้สังเกต ได้วัดปริมาณ ได้นับจำนวน หรือได้ให้คะแนน อย่างไร ก็บันทึกผลตามนั้น ลงในแบบบันทึกที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งแบบบันทึกนี้จัดเป็นวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ต้องเตรียมไว้

อาจสรุปได้ว่าผู้มีทักษะการทดลองควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

- ออกแบบการทดลองได้เหมาะสม ( เที่ยงตรง รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัด ฯลฯ )

- เลือกวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลองได้เหมาะสม

- ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ปลอดภัย

- บันทึกผลการทดลองได้เหมาะสม

- ทำความสะอาด จัดเก็บ อุปกรณ์หรือเครื่องมือได้

13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

หมายถึง ความสามารถในการบอกความหมายของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ และอยู่ในรูปแบบที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว ซึ่งอาจอยู่ในรูปตาราง กราฟ แผนภูมิหรือรูปภาพต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการบอกความหมายข้อมูลในเชิงสถิติด้วย และสามารถลงข้อสรุปโดยการเอาความหมายของข้อมูลที่ได้ทั้งหมด สรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้นๆ

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้

1. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม

2. วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

3. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง

4. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ 5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ

6. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์

7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=10030

http://school.obec.go.th/laksong/skill.html

ขอฝากแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโยนิโลมนสิการซึ่งสามารถ

ปรับมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดและเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติดังนี้

การจัดการเรียนรู้ตามหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

ความหมาย

โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธีทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อรวมเข้าเป็น โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดเป็น คิดอย่างมีระเบียบ รู้วิธีหาเหตุผล ตลอดจนสามารถแยกแยะปัญหาได้ด้วยตนเอง

2. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทักษะมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ มีดังนี้

(1) วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฎการณ์ที่เป็นผลให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริงหรือพิจารณาปัญหา หาหนทางแก้ไขด้วยการค้นหาสาเหตุ และปัจจัยต่างๆ ด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน และส่งผลสืบทอดกันมา และคิดแบบสอบสวน ตั้งคำถาม

(2) วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หรือกระจายเนื้อหาเป็นการคิดที่มุ่งให้มองและรู้จักสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันเองอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับคิดสมัยใหม่ที่เรียกว่าคิดวิเคราะห์นั่นเอง เมื่อแยกแยะส่วนประกอบออก ก็จะเห็นภาวะที่องค์ประกอบเหล่านั้นอาศัยเกาะเกี่ยวกัน และขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนเป็นไปตามกฎธรรมดา ธรรมชาติ

(3) วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมชาติ คือ มองอย่างรู้เท่าทันความเป็นไปของสิ่งทั้งหมาย ซึ่งต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันเอง ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้น รู้เท่าทันว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อรู้เท่าทัน และยอมรับความเป็นจริง ก็จะคิดแก้ไข และทำการไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้น ด้วยปัญญา ด้วยการรู้เท่ากัน

แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 คือรู้เท่าทันและยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหมายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ สามารถคิดได้ว่า สิ่งนั้นๆ เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คิดได้อย่างนี้เป็นท่าทีแห่งการปลงตก หายจากความทุกข์

ขั้นที่ 2 คือแก้ไขและการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน

(4) วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ หรือคิดแบบแก้ปัญหา เป็นวิธีแห่งความดับทุกข์ โดยเริ่มต้นจากปัญหา หรือความทุกข์ที่ประสบโดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหาหรือความทุกข์ที่ประสบโดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหาหรือความทุกข์นั้นให้ชัดเจนแล้วสืบค้นหาสาเหตุ แล้วคัดเลือกวิธีการแก้ปัญหา และปฏิบัติการแก้ปัญหา หรืออาจกล่าวได้ว่าการคิดแบบแก้ปัญหาดับทุกข์ ด้วยการคิดตามเหตุและผลสืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไข และทำการที่ต้นเหตุ คิดให้ตรงจุด ตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา ไม่ฟุ้งซ่าน การคิดแบบอริยสัจจ์ จะเริ่มต้นจากปัญหาที่ประสบ ทำความเข้าใจกับปัญหานั้นให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไขในเวลาเดียวกัน ก็กำหนดเป้าหมายของคนให้แน่ชัดว่าคืออะไร จะเป็นไปได้หรือไม่และจะเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีการปฏิบัติที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหา โดยให้สอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้นั้นด้วย

ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ทุกข์ คือ สภาพปัญหาที่ประสบอยู่

ขั้นที่ 2 สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือสาเหตุของปัญหา

ขั้นที่ 3 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ โดยกำหนดจุดหมายที่ต้องการ คืออะไร จุดหมาย

นั้นเป็นไปได้หรือไม่ กำหนดจุดหมายและกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 4 มรรค คือ การดับทุกข์ คือวิธีการแก้ปัญหาที่จะช่วยใช้แก้ไขสาเหตุของปัญหาได้สำเร็จโดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ

(5) วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย คือ พิจารณาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธรรมกับอรรถ หรือ หลักการกับจุดมุ่งหมาย เป็นวิธีคิดที่มีความสำคัญมาก เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องรู้ และเข้าใจตระหนักในจุดหมายและขอบเขตแห่งคุณค่าของหลักธรรมต่างๆ เป็นเครื่องกำหนด ความถูกต้อง พอเหมาะ พอดี แห่งการปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นๆ เช่นการเดินทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทาเพื่อให้ได้ผลตรงตามความมุ่งหมาย ไม่ให้เกิดการกระทำที่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอย หรืองมงาย หลักการในที่นี้หมายถึง หลักความจริง หลักความดีงาม หลักคำสอนและการประพฤติปฏิบัติ ส่วนความมุ่งหมาย คือประโยชน์ที่ต้องการ ที่พึงประสงค์ การปฏิบัติใดๆ จะต้องเข้าใจความหมายและความมุ่งหมายของหลักการนั้นๆ ว่าทำไปเพื่ออะไร หลักการนั้นกำหนดไว้เพื่ออะไร จะยำไปสู่ผลหรือหมายใดบ้าง อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง

(6) วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ซึ่งเน้นการยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ทุกแง่ทุกด้าน ทั้งด้านดี ด้านเสีย และคิดทางรอด หรือทางออกที่ปราศจากปัญหา หรือดีที่สุดใช้กับตนเองหรือดีที่สุดใช้กับตนเองหรือกลุ่ม โดยจะต้องมองเห็นทางออก มองเห็นจุดหมาย และรู้ว่าจุดหมายที่จะไปนั้นคืออะไร อย่างไร ยอมรับส่วนดีของสิ่งนั้น หรือข้อปฏิบัติที่จะรับมาทำนั้น และไม่มองข้ามถึงโทษ ข้อบกพร่อง จุดอ่อน ส่วนเสียจากสิ่งนั้น หรือข้อปฏิบัตินั้นด้วย การคิดเช่นนี้ จะทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้องที่สุด มีความไม่ประมาท นำเอาส่วนดีมาใช้ประโยชน์ และสามารถหลีกเลี่ยงหรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสียส่วนบกพร่องที่ติดมาด้วย

(7) วิธีคิดแบบกลุ่มคุณค่าแท้คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา มีหลักการโดยย่อว่าคนเราเข้าไปเกี่ยวข้องสิ่งต่างๆ เพราะเรามีความต้องการ และเห็นว่าสิ่งนั้นๆ จะสนองความต้องการของเราได้ สิ่งใดสามารถสนองความต้องการของเราได้ สิ่งนั้นก็มีคุณค่าแก่เรา หรือมีประโยชน์หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการคิดเพื่อขัดเกลากิเลศ ไม่ให้มาครอบงำจิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมไปต่างๆ นานา วิธีคิดแบบนี้จะมุ่งให้เข้าใจ และเลือกเสพสิ่งที่เป็นคุณค่าแท้ อันเกื้อกูลให้เกิดการทำอะไรอย่างมีสติ คุณค่านี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามชนิดของความต้องการ คือ

1) คุณค่าแท้ หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งทั้งหลาย ในแง่ที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง หรือที่มนุษย์นำมาใช้แก้ปัญหาของตนเพื่อความดีงาม ความดำรงอยู่ด้วยดีของชีวิต เพื่อประโยชน์สุขทั้งของตนเองและผู้อื่น คุณค่านี้อาศัยด้วยปัญญาเป็นเครื่องตีค่าหรือวัดราคา จะเรียกว่าคุณค่าสนองปัญญาก็ได้ เช่น อาหารมีคุณค่าที่ประโยชน์สำหรับหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ มีสุขภาพดีเป็นอยู่อย่างผาสุก รถยนต์ช่วยให้เดินทางได้รวดเร็ว

เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่าง แท้จริง

2) คุณค่าเทียม หมายถึง ประโยชน์ของสิ่งนั้นเพื่อปรนเปรอ เสริมราคา ขยายความ

มั่นคงยิ่งใหญ่ของตนเอง คุณค่านี้อาศัยตัณหา เป็นเครื่องตีค่าหรือวัดราคา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคุณค่าสนองตัณหา เช่น อาหารมีคุณค่าอยู่ที่ความอร่อยเสริม ความสนุกสนานเป็นเครื่องแสดงฐานะ ความโก้หรูหรา เป็นต้น

(8) วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม หรือวิธีคิดแบบเร้ากุศล เป็นวิธีคิดในแนวสะกัดกั้นหรือบรรเทา และขัดเกลาตัณหา ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามกุศลธรรม และเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิ หลักการมีอยู่ว่าประสบการณ์หรือได้รับรู้อย่างเดียวกัน บุคคลผู้ประสานหรือรับรู้ต่างกัน อาจมองเห็นและนึกคิดปรุงแต่ง ไปคนละอย่างสุดแต่จิตที่ผู้นั้นสั่งสมไว้ คนหนึ่งเห็นแล้วคิดปรุงแต่งไปในทางดีมีประโยชน์เป็นกุศล แต่อีกคนหนึ่งเห็นแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางไม่ดี ไม่งามเป็นโทษ เป็นอกุศล เช่น การคิดถึงความตาย ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือ ทำใจหรือคิดไม่ถูวิธี อกุศลธรรมก็จะเกิดขึ้น คิดถึงแต่ความตายแล้วสลด หดหู่ เศร้า หวั่นกลัว ตลอดจนเกิดความดีใจเมื่อนึกถึงความตายของคนที่เกลียดชัง แต่ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือ ทำใจหรือคิดให้ถูกวิธีก็จะเกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัว เร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติหน้าที่ทำสิ่งดีงามมีประโยชน์จะทำให้เกิดความคิดและการกระทำในขณะนั้นๆ ไปในทางที่ดีงาม สร้างนิสัยความเคยชินที่ดีงามให้แก่จิตไปในเวลาเดียวกันด้วย อุบายในการคิดแบบนี้มีหลาย

(9) วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน เป็นการคิด ตั้งสติ ระลึกรู้อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือกำลังกระทำในปัจจุบันทุกๆ คน ไม่คิดเกาะติดกับอดีตและอนาคตไม่ตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์ แต่เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา มีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆ ขณะ ไม่ประมาท และปกป้องภัย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการคิดช่วยให้การปฏิบัติในปัจจุบันถูกต้องได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อปฏิบัติถูกต้องจะกลับกลายเป็นการสนับสนุน ให้มีการตระเตรียมและวางแผนกิจการล่วงหน้า

(10) วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (คิดแบบเชื่อมโยงกับการพูด) หมายถึง การพูดแยกแยะ จำแนก แจกแจง ซึ่งเป็นการมองและแสดงความจริง โดยแยกให้เห็นแต่ละแง่แต่ละด้านครบทุกแง่ทุกด้าน ที่เป็นการคิดเชื่อมโยงกับการพูด

หลักการ

การจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ ผู้สอนเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่จะต้องจัดสภาพแวดล้อม สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ และได้ฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคาย เน้นให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออก นำไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกวิธีจนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ สุมน อมรวิวัฒน์ เสนอไว้ดังนี้

1. ขั้นนำ – ขั้นเสริมการสร้างศรัทธา

1.1 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น การจัดสภาพบรรยากาศใน

ชั้นเรียนให้มีลักษณะดังนี้

(1) ต้องมีความสงบ

(2) พยายามจัดให้ผู้เรียนได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มีการใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง

(3) จัดสภาพในชั้นเรียนให้มีความแปลกใหม่ไม่จำเจ เช่น จัดการเรียนเป็นกลุ่มบ้าง มีการเปลี่ยนกลุ่ม เปลี่ยนที่นั่ง

(4) จัดบริเวณห้องเรียนและโรงเรียนให้สะอาดมีระเบียบและเรียบง่ายอยู่เสมอ

(5) สร้างบรรยากาศ สร้างความสนใจ ตั้งใจเรียนเป็นพื้นฐานให้ผู้เรียน เป็นบรรยากาศที่ชวนให้สบายใจ ไม่มีการข่มขู่บังคับ ห้ามพูด ห้ามแสดงความคิดเห็น ห้ามลุจากที่นั่งแต่เน้นการสำรวมกาย วาจา ใจ ฝึกแผ่เมตตา ฝึกสมาธิอย่างง่าย ฝึกให้ผู้เรียนมีสติอยู่เสมอ ให้รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร พูดอะไรคิดอะไร

1.2 สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

ผู้สอนต้องปฏิบัติตัวเป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน คือ ต้องมีบุคลิกภาพสำรวม

น่าเชื่อถือศรัทธา สง่า สะอาด แจ่มใน และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องมีความรู้ มีคุณธรรม มีความเมตตา เอื้ออาทรทำให้ศิษย์มีความรู้สึกสบายใจที่จะเข้ามาหาและปรึกษา ผู้สอนสั่งสอนผู้เรียนด้วยความรักและเป็นที่พึงของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ความเป็นกัลยาณมิตรของผู้สอน จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ศิษย์เกิดฉันทะและวิริยะในการฝึกหัดอบรมตนเอง

1.3 ผู้สอนนำเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้วิธีตรวจสอบความคิดและ

ความสามารถของผู้เรียนก่อนสอนแล้วแสดงผลการตรวจสอบให้นักเรียนได้รู้อย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อเป็นการเสริมแรง เร้าให้เกิดความมานะ พากเพียร ฝึกหักอบรมตน ใช้สื่อการสอนและกิจกรรมที่น่าสนใจ

2. ขั้นสอน

2.1 ผู้สอนเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้วิธีนำเสนอที่หลากหลาย

และท้ายท้ายความคิด

2.2 ผู้สอนแนะแหล่งเรียนรู้

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น เตรียมรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความรู้อย่างกว้างขวาง

2.3 ให้ผู้เรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ

ระเบียบโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคม

2.4 ผู้สอนจัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิธีต่างๆ

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้คำถามอย่างเหมาะสมเพื่อ

เร้าให้เกิดความคิดแบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้ เช่น

- คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

- คิดแบบแยกแยะ

- คิดแบบอริยสัจ

- วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา

- คิดแบบคุณโทษและทางออก

- คิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม

- คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

- คิดแบบอุบายปลุกเร้า

- คิดแบบเชื่อมโยงการพูด

- คิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน

2.5 ให้ผู้เรียนฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูลเพื่อหาทางเลือกวิธีแก้ปัญหา

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ช่วยกันเปรียบเทียบ ประเมินทางเลือก

2.6 ให้ผู้เรียนเลือกและตัดสินใจ

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น การลงมติร่วมกันภายในกลุ่ม

ฝึกความเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของการคิดอย่างมีเหตุผลปราศจากอคติ

2.7 ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ฝึกปฏิบัติงานตามแผนและ

การบันทึกผลข้อมูลอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นการทำงานนอกและในเวลาเรียนโดยผู้สอนคอยสังเกตและให้คำแนะนำ

3. ขั้นสรุป

3.1 ผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสังเกตวิธีปฏิบัติ ตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติ

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้การอภิปราย ระดมสมอง

และการให้ผลย้อนกลับจากผู้สอน

3.2 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและสอบถามข้อสงสัย

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ให้โอกาสตรวจสอบ คำตอบ

โดยการคิดย้อนกลับไปกลับมา

3.3 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียน

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้การอภิปรายกลุ่มช่วยกัน

สรุปสาระสำคัญ

3.4 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้

ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น การวัดผลด้วยการประเมิน

ความคิดรวบยอดของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ สามารถสรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

1. ขั้นนำ (เสริมสร้างศรัทธา)

จัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

ผู้สอนนำเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ

2. ขั้นสอน

ผู้สอนเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน

ผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้

ผู้เรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล

ผู้สอนจัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิธีต่างๆ

ผู้เรียนฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูลเพื่อหาทางเลือกวิธีแก้ปัญหา

ผู้เรียนเลือกและตัดสินใจ

ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก

3. ขั้นสรุป

ร่วมกันสังเกตวิธีปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข

ร่วมกันอภิปรายและสอบถามข้อสงสัย

ร่วมกันสรุปบทเรียน ร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้

ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดีและข้อจำกัดในการจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ

ข้อดี

1. เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะด้านการคิดหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ

2. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดปัญญาด้วยตนเอง

3. เสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

4. ฝึกความเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของความเป็นเหตุและผล

5. เสริมสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน โดยการจัดลำดับการฝึกคิดโดยใช้หลักการขั้นสูง

ข้อจำกัด

1. ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง

2. ผู้สอนต้องมีศรัทธาและมีความเป็นกัลยาณมิตรสูง

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ

ฝึกการคิดแบบสืบสาวหาเหตุผล

ระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา

เวลา 10 นาที

แนวทางการจัดกิจกรรม

1. ครูเล่าหรืออ่านข้อความสำหรับการฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

2. นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ ระดมความคิดวิเคราะห์ตามหัวข้อที่กำหนด

3. ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติจริงและรายงานผลการปฏิบัติ

ข้อความสำหรับอ่านให้นักเรียนฟัง

นักเรียนมักวางข้าวของเกะกะในห้องเรียน ทำให้ห้องเรียนไม่เป็นระเบียบ รวมทั้งนักเรียนบางคนขีดเขียนบนโต๊ะ หรือฝาผนังห้อง ทำให้ทรัพย์สินของโรงเรียนเสียหาย

คำถาม

1. ทำไมนักเรียนจึงวางข้าวของเกะกะในห้องเรียน

2. นักเรียนจะเรียนหนังสือด้วยความรู้อย่างไรในห้องเรียนที่ไม่มีความเป็นระเบียบ

3. มีวิธีแก้ไขที่สอดคล้องกับสาเหตุที่แท้จริงได้อย่างไร

สาเหตุที่นักเรียนค้นพบ วิธีแก้ไข

4. นักเรียนวางแผนการมีส่วนร่วมแก้ปัญหารายงานผลการปฏิบัติในสัปดาห์ต่อไป

การมีส่วนร่วมของนักเรียน วันเวลาที่จะปฏิบัติ

ฝึกการคิดแบบเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ

ระดับ ประถมศึกษา

เวลา 10 นาที

แนวทางการจัดกิจกรรม

1. ครูเล่าหรืออ่านข้อความสำหรับการฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

2. นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ ระดมความคิดวิเคราะห์ตามหัวข้อที่กำหนด

3. ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติจริงและรายงานผลการปฏิบัติ

ข้อความสำหรับอ่านให้นักเรียนฟัง

ครอบครัวหนึ่งมีลูก 2 คน ชื่อโตกับเล็ก ทั้งสองมีนิสัยรักต้นไม้มาก แต่เล็กมักจะทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จเพราะได้รับการตามใจตั้งแต่ยังเด็ก เพราะเป็นลูกคนสุดท้าย วันหนึ่ง พ่อซื้อมะม่วงพันธุ์ดี 2 ต้น มาให้ลูกทั้งสองปลูก โตต้องหาทางออกที่ดีที่สุดที่จะปลูกต้นไม้ของตนและน้องให้เจริญเติบโตเท่าๆ กัน

คำถาม

1. จัดป้ายนิเทศเรื่องชนิดของดินไว้ล่วงหน้า

2. นักเรียนตรวจชนิดของดิน โดยสังเกตคุณสมบัติของดินเมื่อน้ำซึมผ่าน

3. นักเรียนช่วยกันสรุปลักษณะของดินแล้วรวบรวมข้อมูล

สรุปลักษณะของดิน

กิจกรรมขั้นตอนการเรียนรู้

1. นักเรียนดูภาพต้นไม้มี 2 ต้น ที่เติบโตและเหี่ยวเฉา

2. ผู้เรียนอภิปรายร่วมกัน คิดหาเหตุผลเกี่ยวกับต้นไม้ในภาพทั้ง 2 ต้น เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย

อย่างไรในการเลือกดิน

3. จากนั้นผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่มจากข้อความที่ฟังจากครู ช่วยหาทางออกให้โตว่าควรทำอย่างไร โดยพิจารณาจากข้อความ (ก) – (ง) ประกอบ

(ก) ควรใส่ปุ๋ยปริมาณมากๆ เพื่อให้มีลูกดก

(ข) ควรช่วยดูแลต้นมะม่วงของน้องตลอดเวลา

(ค) ควรอบรมสั่งสอนน้องให้มีเลิกทำตัวอ่อนแอ

(ง) ควรตรวจสภาพดินและเปลี่ยนดินใหม่

กิจกรรมขั้นการสรุป

ร่วมกันสรุปและอภิปรายร่วมกันในการหาทางออกให้โต

สิ่งที่โตควรทำ

ฝึกการคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก

ระดับ มัธยม

เวลา 10 นาที

แนวทางการจัดกิจกรรม

1. ครูเล่าหรืออ่านข้อความสำหรับการฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

2. นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ ระดมความคิดวิเคราะห์ตามหัวข้อที่กำหนด

ข้อความสำหรับอ่านให้นักเรียนฟัง

สุดาเป็นนักเรียนชั้น ม.3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นคนเรียบร้อยแต่กลุ่มเพื่อนของสุดาเป็นกลุ่มนักเรียนที่ชอบทำตัวล้ำสมัย เช่น ใส่เสื้อตัวคับและกระโปรงสั้นมาก มีโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆและใช้เครื่องประดับราคาแพงเกินสภานะตนเอง สุดากลัวจะเข้ากับเพื่อนๆ ไม่ได้และกำลังตัดสิใจว่าจะทำอย่างไรดีกับสภาพที่เป็นอยู่

คำถาม

1. ถ้านักเรียนเป็นเพื่อนต่างกลุ่มของสุดา นักเรียนจะมีข้อเสนอแนะอย่างไร

2. ให้นักเรียนเขียนข้อเสนอแนะลงในกรอบความคิดเพื่อบอกสุดา

ถึงสุดา

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่หมั่นนำเสนอความรู้และส่งข่าวคราวให้พวกเรา

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำปุ๋ยนำชีวภาพ

ได้สอนเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยให้นักเรียนทำโครงงานซึ่งเขาสนใจและโรงเรียนตั้งอยู่ริมแม่นำเจ้าพระยา เขาได้ทดลองนำเอาผักตบชวาสับละเอียดผสมกับเศษผักและผลไม้และกากนำตาล จะได้ปุ๋ยนำชีวภาพที่มีคุณภาพดี ใช้เป็นปุ๋ย ใช้ไล่แมลง และใช้บำบัดนำเสียได้ด้วย

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงงานนักเรียน ทำน้ำยาเช็ดกระจกสูตรใหม่

โดยใช้ผลไม้รสเปรี้ยว เช่นสัปรด มะกรูด ส้ม สับเป็นชิ้นเล็กๆ เติม นำตาบทรายแดง และน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหมักประมาณ 2 เดือน จะได้น้ำเช็ดกระจกสูตรแจ๋วคะ

ด.ช.อดิศักดิ์ โสดินใน

คิดถึงครูเฟื่องฟ้ามากนะ  ต๋อง

รบกวนขอแผนการสอนวิทยาศาสตร์ ป.6 หน่อยค่ะ

พอดีได้มาสอนแทนค่ะ

คนเก่าออกไม่มีอะไรไว้ให้เลย

ท่านใดมีรบกวนขอหน่อยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท