การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อขอผลงานวิชาการ


การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อขอผลงานวิชาการ

              การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อขอผลงานทางวิชาการ  ตอนนี้กำลังได้รับความนิยมในกลู่มครู อาจารย์ และครู อาจารย์ก็ปวดหัวเช่นเดียวกัน เพราะ ไมมีเวลา ทำการสอนมาก และที่สำคัญไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จะเรื่องอะไร รวมไปถึงจะทำรูปเล่มและนวัตกรรมอย่างไร  ซึ้อหนังสือมาอ่านกี่เล่ม กี่เล่มๆ ไม่รู้ซักที  ดังนั้นการเริ่มต้นที่ดี ต้องหาชื่อเรื่องให้ได้เท่านั้นถือว่าสำเร็จแล้ว ชื่อเรื่องนั้น ควรเริ่มจากรายวิชาที่ตนเองกำลังสอนอยู่ก็ตั้งชื่อเรื่องได้เยอะแล้ว อาจเป็นเลือกรายบุคคล รายกลุ่มหรือห้องเรียน ได้ทั้งนั้น เพราะ 1ห้องเรียนย่อมมีปัญหาหลายๆๆ เรื่องให้เราศึกษาได้แน่นอน ดีงการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเลือกปัญหาในชั้นเรียนมาแก้ปัญหานั้นเอง

 

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 18/06/2550

หมายเลขบันทึก: 104252เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 06:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

1.สอนการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่  ปัญหาคือว่านักเรียนยังไม่กล้าพูด  มีปฏิสัมพันธ์กับเราน้อยมาก กำลังทดลองใช้เทคนิคกระบวนการสอนหลายๆ อย่างที่ไปอบรมมา  นำมาทดลองปรับสอนในเกือบทุก ชั่วโมงที่มีสอน ถ้านำปัญหานี้มาทำเป็นวิจัยจะได้ไหมคะ  ควรตั้งชื่อเรื่องว่าอะไรดี 

2. การจัดทำสื่อ CAI  ที่เราโหลดเสียง  VDO  หรือข้อความบางอย่างมาจาก internet ( free load )  มาไว้ในเนื้อหาเราด้วยแล้วเราก็อ้างอิงถึง  จะถือเป็นผลงานเราทำเองได้หรือไม่คะ  คือมีปํญหาการจัดทำทักษะการฟังค่ะ 

 

ชวนิดา..นิสิต ป. เอก มศว รุ่น 8 เทคโนโลยีการศึกษา

ช่วยตอบคุณเอ๋ค่ะ

ข้อ1 คุณสามารถนำปัญหาที่ว่า มาเป็นงานวิจัยได้ค่ะ เพราะว่าเ็ป็้นปัญหาโดยตรงที่คุณ พบในการจัดการเรียนการสอนของคุณ ในส่วนของการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย อันดับแรก คุณต้องกำหนดขอบข่ายของปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน

เช่นผู้เรียนไม่กล้าพูด  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนน้อยมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ หรือผู้เรียนมีปัญหาในเรื่องของพื้นความรู้ที่ไม่เท่ากัน เป้นต้น

คงจะกำหนดออกมาเป้นชื่อเรื่องให้ทันทีไม่ได้ แต่ในฐานะนักเทคโนโลยีทางการศึกษา แนะนำได้ว่า 1. ปรับกระบวนการสอน และวิธีการสอนของคุณใหม่ เช่น 1. ทำการสำรวจความสามารถทางการเรียนรู้ของผู้เรียนของคุณก่อนที่จะสอน จะทำให้คุณทราบว่า ใครเก่งใครอ่อน ได้จากแบบทดสอบที่คุณจะต้องออกข้อสอบ ในฐานะคุณเป็นผู้รู้เนื้อหา ร่วมกับนักวัดและประเมินผลทางการศึกษา เพื่อให้คุณได้แบบทดสอบที่ดี สามารถวัดเรื่องพื้นความรู้ก่อนที่จะลงมือทำการสอน  และจากการที่ผู้เรียนไม่กล้า พูดหรือ อาย คุณต้องละลายพฤติกรรมของผู้เรียนทุกคนในห้อง ให้มีความกล้าในการจะเรียน หรือพูดมีปฏิสัมพันธ์ กับคุณ ด้วยการทำกิจกรรมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และคุณอาจต้องปรับตัวคุณเองให้มีความเป็นกันเองกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น  (ส่วนใหญ่นักเรียนไม่กล้าพูด เพราะครูดุ หรือ ดูเหมือนดุรึป่าวนะ?) ลองหาวิธีดูนะคะ

ในส่วนข้อสอง ขอเอาข้อ 1 มาประกอบ หากคุณจะใช้สื่อ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมาช่วยคุณสอนนั้นคุณต้องแน่ใจแล้วนะคะว่า จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการที่ผู้เรียนไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคุณเท่าไหร่  แต่ก้ขึ้นอยู่กับการออกแบบนะคะ เป็นห่วงว่า คุณจะติดตามผู้เรียนในรายวิชาที่คุณสอนได้อย่างไร เพราะคุณสอน อังกฤษเพื่อการสื่อสาร ต้องมีการพูดเข้ามาด้วยคุณคงต้องออกแบบงานวิจัยนี้ให้ดี เพราะเพียงแบบทดสอบเพียงอย่างเดียวอาจวัดผู้เรียนได้ไม่ครอบคลุม แต่หากจะใช้เพื่อสอนแทนครูในส่วนของทฤษฎีูอย่างเดียวร่วมกับการทำกิจกรรมในห้องเรียนปกติด้วยคงไม่มีปัญหา

(เพราะเห็นเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์) 

ค่ะในข้อ 2 การนำไฟล์ที่มีอยู่ในเน็ตมาใช้ ต้องระวังอย่างมากค่ะ ไม่ว่าจะบอกว่าฟรีก้ตาม คุณควรเขียน อีเมลไปขออนุญาตเพื่อความชัวร์ ประกอบกับมีอ้างอิงให้ด้วยในกรณีที่เค้าอนุญาตแล้ว เพราะปัจจุบันมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตที่ชัดเจน และมีการเรียกร้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมาแล้วนักต่อนักค่ะ   ส่วนจะถือว่าเป็นผลงานของคุณหรือไม่นั้นตอบได้ยากค่ะ  เพราะคุณยังไม่ได้สร้างต้องขอดูก่อนจึงจะฟันธงให้ได้ เพราะหากทั้งบทเรียนที่คุณทำขึ้น มีแต่การนำไฟล์ของสิ่งที่คุณอ้างอิงมาประกอบกัน คงจะบอกได้แค่ว่าเป็นบทเรียนที่รวบรวมสื่อจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่บทเรียนที่คุณสร้างขึ้นเองจริงๆนะคะ ถ้าจะให้บอกว่าสร้างเอง ก้คงต้อง มีเนื้อหา ข้อความ ภาพ เสียง ที่คุณทำขึ้นมาเองเสียส่วนใหญ่80% และมีอ้างอิงไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซัก20% อันนี้พอจะเรียกได้ว่า เป็นผลงานของคุณค่ะ แต่จริงๆ สัดส่วนนี้ก้ไม่ใช่สัดส่วนมาตรฐานนะคะ แต่เป็นการเทียบเคียงให้ดูเฉยๆเท่านั้นเพราะก้ยังไม่มีการกำหนด

งงที่ว่า มีปัญหาเรื่องทักษะการฟัง อันนี้ น่าจะหมายถึงผู้เรียนใช่ไหมคะ ถ้าเป็นเช่นนั้น การใช้สื่อเกี่ยวกับการสนทนาก้ต้องเลือกที่ผู้เรียนฟังง่ายๆ และสั้น ก่อนจะเพิ่มระดัีบความยากของการฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะจากง่ายไปยาก ตามทฤษฎีการเรียนการสอนนะคะ หวังว่าคุณยังไม่ลืม มีปัญหาอะไรปรึกษาได้ทางเมลค่ะ หรือ ออนเอ็มเอสเอ็นก้ได้ค่ะ 

ขอเรียนถามหน่อยครับ

นาง ก.ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสร้างสื่อนวัตกรรม แถมยังเป็นคนกลัวคอมพิวเตอร์ ขนาดหนัก  แต่รู้ว่าคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้หลายอย่าง  จึงเขียนบท(Script)บทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมา  แล้วไปไหว้วานให้นาย ข. ทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้คอมพิวเตอร์  เพื่อนำไปทำผลงานเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง

 ในผลงาน(บันทึกลงแผ่น ซีดี)นั้น ระบุว่า นาง ก.  เป็นคนสร้างบทเรียนสำเร็จรูปนี้ และได้รับการอนุเคราะห์จากนาย ข.เป็นผู้จัดทำลงคอมพิวเตอร์ให้

 

ขอเรียนถามว่า  ผู้พิจารณาผลงานของนาง ข.  จะว่ายังไง ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท