ศาสตร์และศิลป์ในงานส่งเสริมการเกษตร (ตอนที่ 1)


นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จะต้องมีการบันทึกหรือเขียนผลงานที่ ปฏิบัติอยู่กับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการพบ พูดคุย การสังเกต และการสัมภาษณ์ หรือการสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเกษตรกรและกลุ่มอาชีพทางการเกษตรต่าง ๆ โดยนำการวิจัยสวมลงในงานประจำ

                                                                                                                      

                                                                                                                                              

 ตอนที่ 1   การวิจัยเชิงคุณภาพกับงานส่งเสริมการเกษตร                                                                                                                           

—   เกริ่นนำ

          ปกตินักส่งเสริมการเกษตร  มักจะคุ้นเคยการจัดเก็บข้อมูลเชิง ปริมาณ  เช่น ข้อมูลตามแบบ  รอ. , รต. ทะเบียนเกษตรกร  และข้อมูลรายชนิดพืช  ถ้าพูดง่าย ๆ ก็จะบอกว่าเคย ปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นตัวเลข  แต่ในทางเป็นจริงแล้วนักส่งเสริมการเกษตร  ผู้ปฏิบัติงานในระดับภาคสนาม  ได้ทำงานใกล้ชิดเกษตรกรที่อยู่ในชุมชน  และกลุ่มอาชีพทางการเกษตร  อยู่เป็นประจำ

                ถ้าพูดอีกด้านหนึ่งก็คือ  นักส่งเสริมการเกษตร  ส่วนใหญ่เราทำงานด้านสังคมศาสตร์  คือ  ทำงานกับเกษตรกร  ผู้นำเกษตรกร  ผู้นำกลุ่มอาชีพทางการเกษตรต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน  ที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำก็คือ พบปะพูดคุย การสังเกต และในการสัมภาษณ์ รวมทั้งการสนทนา หรือ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งล้วนแต่เป็นการทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพ " นั่นเอง

                 ปัจจุบันนี้  นักส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล) ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนสายงานเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (นวส.) จำเป็นที่จะต้องพัฒนา ให้สมกับเป็น  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  จะต้องมีการบันทึกหรือเขียนผลงานที่ ปฏิบัติอยู่กับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการพบ พูดคุย  การสังเกต และการสัมภาษณ์ หรือการสนทนา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  กับเกษตรกรและกลุ่มอาชีพทางการเกษตรต่าง ๆ  โดยนำการวิจัยสวมลงในงานประจำ  หรือเรียกว่า  วิจัยในงานประจำนั่นเองเพื่อที่จะใช้ ประโยชน์เป็นการยืนยันว่าเราได้ปฏิบัติงานกับเกษตรกรจริงมีชิ้นงาน พร้อมที่จะนำเสนอผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน หรือใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ประกอบการเลื่อนตำแหน่งก็ยังได้    พร้อมเป็นการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติอยู่ในพื้นที่  ให้เป็นเชิงตรรกะมากขึ้น

—  มาทำความรู้จักกับการวิจัยเชิงคุณภาพกันเถอะ

     —  การวิจัยเชิงคุณภาพ  หมายถึงการดำเนินการวิจัยทางสังคมศาสตร์  โดยมีความสัมพันธ์กันระหว่างแนวทางการวิจัย  และ วิธีการวิจัย    

     —  แนวทางการวิจัย  หมายถึง  แนวความคิดหรือ  ปรัชญาที่เป็นพื้นฐานของวิธีดำเนินการวิจัย  ซึ่งเป็นที่มาของการมองในเชิงประจักษ์ว่า  อะไรคือความจริงอะไรคือความรู้  และนักวิจัยจะเข้าถึงความจริงและความรู้ได้อย่างไร  เป็นต้น

      —  วิธีการวิจัย  หมายถึง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  เครื่องมือในการเก็บข้อมูล  และในการวิเคราะห์ข้อมูล

      —   ลักษณะเชิงกลยุทธของการวิจัยเชิงคุณภาพ 

           (1)  เป็นการวิจัยที่ทำในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ 

*  ศึกษาดูงานพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์  ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมัน  นักวิจัยเฝ้าสังเกตและบันทึกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินการไปอย่างสด ๆ  ไม่ใช้ศึกษาจากคำบอกเล่าของผู้ให้ข้อมูล

            *  สถานการณ์ที่ศึกษานั้นไม่ถูกดัดแปลง - แต่งเติม  ให้ผิดไปจาก  ธรรมชาติของมัน

*  วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ  เป็นการเปิดกว้างไว้ในการให้ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลแต่ละคน  โดยไม่กำหนดไว้ล่วงหน้าของการเก็บข้อมูลหรือคำตอบ

(2)   เป็นการใช้ตรรกะแบบอุปนัยเป็นหลัก

 การทำการวิจัยแบบอุปนัย  คือ  การทำการวิจัยที่เริ่มต้นจาก สิ่งที่จำเพาะเจาะจง ไปสู่ สิ่งที่ทั่วไป 

(3)  เน้นการทำความเข้าใจแบบเป็นองค์รวม

 ในทางสังคมศาสตร์  ความเป็นองค์รวม  เป็นเรื่องสำคัญ  การวิจัยจะต้องมุ่งเน้นสร้างความรู้  และการทำความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม

(4)  ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก

โดยทั่วไปข้อมูลเชิงคุณภาพ หมายถึง ข้อมูลทุกรูป แบบที่เป็นข้อความ (Tex t)  ไม่อยู่ในรูปของตัวเลข

(5)  นักวิจัยติดต่อโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย 

                ภารกิจสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ  คือ  การเข้าไปอยู่ในสนามและเรียนรู้สิ่งที่ต้องการศึกษาโดยตรง การเข้าไปอยู่ในสังคม  หรือ  ในชุมชนที่ศึกษาหมายถึงการเข้าไปมีสัมพันธ์  โดยตรงกับกลุ่มประชากรเป้าหมาย  ของการวิจัย

                อาทิเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่นักวิจัยจะได้สัมผัสกับเหตุการณ์  หรือ  พฤติกรรมที่ศึกษาด้วยตนเอง  ในขณะที่สิ่งเหล่านั้นกำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างสมบรูณ์และภายในบริบท  ของสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง

            (6)  ให้ความสำคัญแก่พลวัตของสิ่งที่ศึกษา

                การวิจัยเชิงคุณภาพขนานแท้ มองปรากฎการณ์ที่ศึกษาว่าเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่งแต่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลานักวิจัยต้องมีส่วนร่วมในภาคสนาม  เป็นเวลานาน (Fieldwork approach)  จะช่วยให้การเก็บข้อมูลและการทำความเข้าใจพลวัตของสิ่งที่ศึกษาเป็นไปได้มากกว่า

            (7)  ให้ความสำคัญแก่การศึกษาเฉพาะกรณี

           นักวิจัยจำเป็นต้องเก็บรายละเอียดของข้อมูลอย่างรอบด้าน  จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง เฝ้าสังเกตการณ์  สิ่งที่ศึกษาอยู่เป็นเวลานานโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญมีอย่างเดียว  คือ  การได้ความรู้ความเข้าใจในทางลึกและอย่างเป็นองค์รวมเกี่ยวกับ ประเด็นที่ศึกษา

            (8)  ให้ความสำคัญแก่บริบทของสิ่งที่ศึกษา

             ทฤษฏีทางมนุษยศาสตร์  กล่าวว่า  เราจะสามารถกำหนดรู้ธรรมชาติของมนุษย์ได้ด้วยบริบทที่เขาอาศัยอยู่

           (9)  มีความยืดหยุ่นในการออกแบบการวิจัย

             การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพไม่ใช่สิ่งที่กำหนดไว้ตายตัวก่อนเริ่มต้นเก็บข้อมูล แต่สามารถจะยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็นและเท่าที่สถานการณ์ในภาคสนามต้องการ

          (10)  ใช้เครื่องมือหลายอย่างในการเก็บข้อมูล

           แต่เมื่อวิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด  นักวิจัยมักจะใช้หลายวิธี  ซึ่งอาจจะรวมการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  การสัมภาษณ์เชิงลึก  การสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม  การสนทนากลุ่ม  และการรวมข้อมูล  เอกสารควบคู่กันไปทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเข้าถึงข้อมูลหลายชนิดและเพื่อลงลึก  ในประเด็นที่ศึกษา

 — บทสรุป

          อย่างน้อย ๆก็ทำให้นักส่งเสริมการเกษตร  ผู้ปฏิบัติอยู่ในภาคสนาม  ได้เรียนรู้และเข้าใจกับ  คำว่า  "การวิจัยเชิงคุณภาพ"  รวมไปถึงแนวทางการวิจัย  วิธีการวิจัย  และที่สำคัญที่สุดก็คือต้องเข้าใจถึงลักษณะเชิงกลยุทธ์  ของการวิจัยเชิงคุณภาพ

          อย่างน้อยๆ ก็สามารถพัฒนางานที่เราทำอยู่ในทางปฏิบัติ โดยทดลองนำการวิจัยเชิงคุณภาพสวมลงในงานประจำ น่าจะดี มีชีวิต ชีวา  มีคุณค่า อยู่ในพื้นที่อย่างสง่างามต่อไปนะครับ (คอยติดตามอ่านตอน 2 ต่อไปนะครับ)   

หมายเลขบันทึก: 104249เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขยันจริงๆ นะครับท่านอาจารย์เขียวมรกต
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน

 ขอบคุณครับ อ.สิงห์ป่าสัก ที่มาแวะเยี่ยมครับ ช่วงนี้อยู่ระหว่างการเรียนและพัฒนาครับ ต้องติดลูกขยันเข้าไว้

  • เป็นบันทึกที่มีคุณค่ามาก ทำให้ผมได้อ่านแล้วซึมซับความความรู้ตั้งแต่เช้าตรู่ครับ
  • จะเข้ามาอ่านติดตามตอนต่อไปครับ

สวัสดีครับอาจารย์นงครับ ขอบคุณมากครับที่มาแวะเยี่ยมครับ

ขอบคุณมากคะ เป็นบันทึกที่มีประโยชน์ต่อนักส่งเสริมการเกษตรมากเลยคะ

สวัสดีครับอ.ธุวนันท์  ต้องขอขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท