...ทำตามหลักอริยสัจสี่ คือมีทั้ง “ก้างปลา” และ “ปลาทู”


        ทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าอริยสัจสี่นั้นประกอบด้วย: ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค เครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา (Problem-Solving) ที่เรียกว่าแผนภูมิก้างปลานั้นเป็นการมองที่ตัวปัญหา (ทุกข์) และพยายามหาสาเหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) ส่วนเครื่องมือที่เรียกว่า KM ตามโมเดลปลาทูนั้นพาให้ท่านเริ่มที่วิสัยทัศน์ (นิโรธ) และพยายามส่งเสริมให้ท่านได้แชร์กันเรื่องความรู้ที่นำไปสู่วิสัยทัศน์นั้น (มรรค)

         หลักการบริหารคุณภาพสอนให้เรารู้จักการแก้ปัญหา โดยให้เอาตัวปัญหามาใส่ไว้ตรง หัวปลาแล้วให้ร่วมกันพิจารณาหาสาเหตุ (ก้างปลา) โดยเริ่มจากสาเหตุหลักๆ ก่อนที่จะพิจารณาถึงสาเหตุย่อย (ก้างปลาย่อย) ในขณะที่หลักการจัดการความรู้มุ่งเน้นไปที่ตัวความสำเร็จ (นิโรธ) กระตุ้นให้คนพูดถึง (มรรค) วิธีหรือเทคนิคที่ตนใช้แล้วประสบผลสำเร็จ

        หลักการทั้งสองอย่างนี้ถ้าดูให้ดีจะพบว่าเป็นสิ่งที่มาเสริมซึ่งกันและกัน เพราะในชีวิตการทำงานของเราทุกวันนั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นปัญหาและสิ่งที่ถือว่าเป็นความสำเร็จเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อใดที่เกิดปัญหาก็ใช้แผนภูมิก้างปลา เมื่อใดที่ได้รับความสำเร็จก็เอามาแชร์กันตามโมเดลปลาทู หากผู้ใดสามารถใช้หลักการทั้งสองนี้ในการทำงานก็ถือว่าท่านกำลังประยุกต์ใช้อริยสัจสี่อยู่แล้วนั่นเอง ! 
หมายเลขบันทึก: 103322เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2007 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
เรียนท่าน อ.ประพนธ์ ที่เคารพ
หนูมีปัญหา ที่อยากจะทราบค่ะว่า Knowledge Management Network เครือข่ายการจัดการความรู้ กับ Communities of Practice ชุมชนนักปฏิบัติ นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรค่ะ รบกวนท่านอาจารย์ ช่วยกรุณาให้ความกระจ่างด้วยนะค่ะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
  • บันทึกนี้อ่านง่าย   เข้าใจง่ายค่ะ  ทำให้สามารถนำเอา KM กับการแก้ปัญหาโดยหลักธรรม...ประสานไปทางเดียวกัน...ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ตอบคุณเนยสด

เวลาใช้คำว่า KM Network นั้นสามารถตีความได้อย่างกว้างๆ ว่า เป็น CoPs ก็ได้ หรืออาจจะหมายถึงเครือข่ายที่พูดกันเรื่อง KM ก็ได้

เวลาใช้คำว่า CoPs จะเป็น Community ของคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน (วิชาชีพเดียวกัน) คนที่สนใจแบ่งปันประสบการณ์การใช้ KM ในหน่วยงานของตน อาจแชร์กันใน CoP เรื่อง KM นี้ก็ได้

สรุปว่า "ชื่อ" หรือ "คำที่ใช้" ไม่สำคัญเท่าใดหรอกครับ จะเรียกอะไรก็ได้ ขอให้มีการแชร์กัน เกิดการเรียนรู้ นำไปลองทำ นำกลับมาแชร์ ตรงนี้ต่างหากที่เป็นหัวใจของ Learning Communities ที่เราพูดถึงครับ ....ไม่แน่ใจว่า "คำตอบ" ของผมทำให้งงมากกว่าเดิมหรือเปล่า?!

ขอบคุณ คุณกฤษณา ที่เข้ามาแชร์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ...ยกให้เป็น "แฟนพันธุ์แท้" ครับ ...ไม่รู้ว่าจะยอมรับหรือเปล่า?

เรียนท่าน อ.ประพนธ์ ที่เคารพ

ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ ที่กรุณาให้ความกระจ่าง ในการตอบคำถามที่ได้ถามไว้ ขอบพระคุณมากจริงๆ ค่ะ

เรียน ท่านอ.ดร.ประพนธ์ค่ะ

  • ได้รับเกียรติให้เป็นเป็น"แฟนพันธุ์แท้"ของอาจารย์...ขอบพระคุณจริงๆค่ะ (เหตุไฉนจะไม่น้อมรับคะ...หัวใจพองโต..ยินดีเป็นที่ยิ่งเลยค่ะ...)
  • หากเข้ามาแชร์บ่อยๆ...ได้เรื่องบ้าง  ไม่ได้เรื่องบ้าง อาจารย์ก็อย่าเบื่อซะก่อนก็แล้วกันนะคะ...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณที่คุณกฤษณาเป็น "สีสัน" ให้กับ blog beyondKM  และ ชุมชน gotoknow เสมอมา ...ขอบคุณครับ

คนเรานั้นจะเป็นก้างอะไรก็เป็นได้ แต่อย่างเป็นก้างขวางคอ มิฉะนั้นจะเจอ ข้าวปั้นทะลวงไส้  น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง

ด้วยความเคารพอาจารย์  แต่ก็จนในความคิดเห็นครับ  แต่ขอบอกอาจารย์ว่าชอบกินปลาทูครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ดูเหมือนจะเข้าใจเรื่องแก้ปัญหาและการแบ่งปันมากขึ้นค่ะ อาจารย์ทำให้เข้าใจได้ง่ายจังค่ะ
  • ขอบคุณอาจารย์
เป็นความรู้ใหม่ที่ได้ยินมาครั้งที่สองจะมีวิธีการอธิบายแผนภูมิก้างปลาให้ราษฏรในหมู่บ้านได้ตระหนักถึงปัญหาของเขาได้อย่างไร  ฟังง่าย เข้าใจเร็ว แก้ปัญหาได้เอง

สวัสดีคะ อาจารย์

อยากทราบการอธิบายแผนภมิก้างปลาให้ลูกน้องในที่ทำงานให้ลูกน้องได้ตระหนักหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ฟังงงายเข้าใจเร็ว และแก้ปัญหา วิเคราะห์ได้เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท