ฝึกนักเรียนอย่างไรให้มีความพร้อมที่จะสู้


  

 

ไม่ได้หมายความว่าครูฝ่ายเดียวหรอก   ต้องหมายถึงผู้ปกครอง  โดยเฉพาะ พ่อแม่  ที่ต้องมีหน้าที่ฝึกลูกหลานให้มีความพร้อมที่จะสู้ 
 แน่นอน  พ่อแม่ย่อมอยากที่จะให้ลูกหลานประสบความสำเร็จ.....  เป็นนักสู้ 
การที่เป็นนักสู้ได้นั้น  ต้องมีทั้งความรู้  และการฝึกฝนเรื่องงาน 
นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง   ต่อการงานที่ได้รับมอบหมาย   และความรับผิดชอบต่อคนอื่นรอบข้าง 
พ่อแม่  ก็ต้องสอนลูกว่า...อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง  ควรจะทำงานให้เสร็จทีเดียว  อย่าหมักหมมงานไว้  
อย่าทำงานแบบไฟลนก้น  
พ่อแม่ก็ต้องบอกสอนลูก  พร้อมกับการยกตัวอย่างที่ดีและไม่ดี  ให้เห็นถึงผลที่ได้รับ   และให้รู้จักคำว่า...สายเกินแก้  แย่แล้วแก้ไม่ทัน  
งานบ้านนั้น  พ่อแม่ก็ต้องมอบหมายให้ลูกทำเป็นงานไป  ให้เหมาะสมกับวัยด้วย  ที่จะรับผิดชอบได้ 
ครูอ้อยเห็นเด็กบางคน  เอาการบ้านมาบังหน้าว่ามีการบ้านมาก  อ่านหนังสือมาก  หลีกเลี่ยงการทำงานบ้าน  แล้วการบ้านจากทางโรงเรียนมาบังหน้า   การกระทำอย่างนี้  ไม่ถูกต้อง  ความรับผิดชอบที่มีอยู่  ก็ต้องรับผิดชอบไป  มิฉะนั้นจะติดตามตัวไปจนโต  และแก้ไม่หาย  และที่สำคัญจะไม่จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย  
การปกป้องลูกมากเกินไป....ไม่เป็นผลดีต่อนักเรียนเลย   พ่อแม่บางคนก็ไม่รู้ตัวว่า  ...การปกป้องลูกกับความรักลูกนั้น  เป็นคนละเรื่องกัน  ควรแยกออกจากกัน 
เพราะการกระทำเช่นนี้จะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 
เพราะสิ่งสำคัญในการบากบั่นสู่ความสำเร็จได้นั้น  ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นบนพื้นฐานที่ถูกต้องอย่างมาก  ไม่ใช่เป็นความกล้าแบบ.....ตาบอดไม่กลัวเสือ   
สิ่งจำเป็นและสำคัญมากที่สุด  ก็คือ  พ่อแม่  เป็นต้นแบบที่ดี  ในเรื่องความมานะบากบั่น  หากลูกไม่มีข้อนี้  ก็ให้หันมาดูตัวเองว่า...มีหรือเปล่า  
หากพ่อแม่ขี้เกียจ  ....อย่าได้หวังว่า..ลูกจะเดินทางไปสู่ดวงดาวที่ปรารถนาได้อย่างง่ายๆ   
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  ผู้ที่จะรู้  ผู้ที่จะวัด  ผู้ฝึก  และผู้ประเมิน  ก็คือท่าน  พ่อแม่และผู้ปกครองเป็นสำคัญ..... 

ข้อมูลจาก...ท่านรองเยาวลักษณ์  ชำนิเขตกิจ

หมายเลขบันทึก: 103043เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะพี่ครูอ้อย
  • อ่านบันทึกนี้แล้ว ทำให้นึกถึงโฆษณาที่ว่า ทำดี..ให้เด็กดู
  • จะจำไว้สอนลูกนะคะพี่ครูอ้อย
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ.....คุณครูอ้อย ครับ .....คุณครูอ้อยพูดถูกครับ ว่า เด็กคงจะต้องเห็น พ่อแม่ เป็นตัวแบบของตนเอง (หรือไม่ก็เป็นเกาะกำบัง,ข้ออ้าง) แล้วการมารับการเรียนการสอน ซึ่งพ่อแม่ก็ฝากความหวังไว้ที่ครูอาจารย์ครับ....

.. คนดีในสังคม ก็จะเกิดการเกี่ยงกันบ้างใครจะรับหน้าที่  ซึ่งพ่อแม่ก็บอกว่า ตนเองต้องทำมาหากิน ครูอาจารย์ก็บอกว่า ต้องสอนนักเรียนเยอะมาก(เวลาให้เด็กน้อย แค่วิชาคงพอแล้ว) หรืออะไรทำนองนี้......

เหล่านี้มีทางออกได้หลายทางครับ  เช่น การตั้งโจทย์แบบว่า  ใครเป็นต้นแบบของเขา(นักเรียน) หรือดาวร้ายในใจของนักเรียน แต่ละคนคือใคร? แล้วทำไม?ถึงชอบเขาเหล่านั้น เป็นต้น ....คุณครูอ้อยก็จะมี ตัวดีและตัวร้าย ในเด็กคนเดียวกัน แล้วให้เพื่อน ๆ วิจารณ์ว่า ถ้าเป็นตัวเด็กอีกคนชอบตัวดี หรือตัวร้ายนั้นหรือไม?......สนุกดีครับ  แต่คุณครูอ้อยคงยุ่งน่าดูครับ ให้กลับไปทำการบ้าน จะวาดรูป หรือเขียนภาพมาก็ได้ครับ ........เด็กจะแสดงอารมณ์ออกมาครับ อารมณ์คือสิ่งที่เราต้องการรู้จากเด็กครับ  .....

ผมเชื่อว่าคุณครูอ้อยเข้าใจครับ วิธีนี้ครับ

เพิ่มอีกนิดครับ......วิธีนี้เป็นวิธีคิดแบบคุณโทษและหาทางออกครับ อยู่ใน  โยนิโสมนสิการ  ครับ

สวัสดีค่ะน้องอ้อ..อ้อ - สุชานาถ

  • การสอนเด็กนักเรียน..เป็นเรื่องที่สนุกและท้าทาย   นักเรียนจะตอบรับได้ดี  ตัวครูหรือผู้สอนก็ต้องทำตัว  ทำใจให้ดี  ป้อนแต่สิ่งที่ดี  นักเรียนจะดีตามไปด้วย
  • เรื่องลูก..ครูอ้อยบอกกับผู้ที่เป็นแม่ว่า..ท่านโชคดีที่ได้สอนลูก
  • ส่วนครูอ้อย..จะรอสอนหลานค่ะ  อิอิ

ขอบคุณค่ะน้องอ้อ

สวัสดีค่ะท่าน..นาย สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล

  • ครูอ้อยจะนำไปใช้ค่ะ  ขอบคุณค่ะที่ชี้แนะ  ชอบมากค่ะ 
  • ครูอ้อยเคยให้นักเรียนเขียนวิจารณ์ผู้อื่น  แต่ยังไม่ไม่มองตัวองค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท