ฟังการนำเสนอ "ผลงานเขียนของผู้เรียน" (ถ่ายทอดสด)


หลาย ๆ คน เริ่มแลกเปลี่ยน "ชื่อเรื่อง" ที่ตนเองจะเขียนบทความ โดยวิทยากรเป็นคนชักชวนให้ "ผู้เรียนเล่าให้ฟัง"

     [ อ่าน : ตอนที่ 2  เรื่องส่วนประกอบของงานเขียนวิชาการ]

     เมื่อผู้เรียนแต่ละคนทำการบ้านที่วิทยากรให้ "ให้ลองออกแบบ หรือวางเค้าโครงเนื้อหาสาระที่ตนเองจะเขียนนั้นมีอะไรบ้าง?  และลองตั้งชื่อเรื่องของตนเองด้วย"

     หลังจากนั้นเมื่อครบกำหนดเวลา  วิทยากรก็มาชวนสนทนา  โดยการสุ่มให้ผู้เรียน "เล่าว่า.....ตนเองตั้งชื่อเรื่องว่าอะไร?  และประเด็นที่จะเขียนนั้นมีอะไรบ้าง?"  ประมาณ  60 - 70 %  ของคนเข้า แล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น "ตัวอย่าง" ในการสะท้อน  ซักถาม  แลกเปลี่ยน  และเพิ่มเติม หรือเน้นย้ำความรู้ เกี่ยวกับการเขียนไปด้วยเป็นระยะ ๆ

     โดยตลอดเวลานั้น วิทยากรจะเดินไปหาผู้เรียนทั่วห้อง "คนที่ถูกสุ่ม จะนำเสนอที่นั่งของตนเอง"  ซึ่งมีตัวอย่างประเด็นคำถามที่วิทยากรถามกลับกับผู้นำเสนอ เช่น  การขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนได้อะไร?  บูรณาการเป็นอย่างไร?  ตกลงแล้วเรื่องที่จะเขียนเป็นรูปแบบหรือวิธีการ  และเรื่องที่เขียนต้องการเล่าอะไร?

     สิ่งที่เห็นก็คือ  วิทยากรกำลังให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับเรื่องที่ตนเองจะเขียนนั้น...ต้องมีความชัดเจน  ต้องการให้คนอ่านเห็นประเด็นหลักอะไรบ้าง? ที่เป็นแก่นของเนื้อหา  การตั้งชื่อเรื่องต้องแตะใจ  และเชื่อมกับเนื้อหาให้ได้ หรือสอดคล้องกัน

     ตัวอย่างเช่น   ถ้าเราเขียนเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหานั้น เราก็ต้องมีทางแก้ให้ด้วย เพราะผู้ฟังต้องการทราบทางแก้หรือทางออกของเรื่องนั้น ๆ

     ดังนั้น ข้อสังเกต ของการเขียนก็คือ  ชื่อเรื่องที่เราจะเขียนนั้นต้องผลิกไปผลิกมาได้ และปรับไปปรับมาได้ เพื่อไม่ซ้ำกับของคนอื่น และทำให้น่าสนใจ คือ ความคิดสร้างสรรค์ 

     ฉะนั้น การเขียนงานวิชาการ  เราจะต้องมีความเชี่ยวชาญ  ซึ่งสิ่งที่วิทยากร กระทำเช่นนี้ก็เพื่อ "ให้ผู้เรียน...มีแนวคิดในการเขียน ที่มีความคิดสร้างสรรค์...เป็นของตนเอง"  ทั้งนี้ งานวิชาการที่มีคุณค่า ต้องมี "ส่วนอ้างอิง  หรือบรรณานุกรม"  มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลเป้าหมาย  เช่น  เขียนให้ชาวบ้านอ่าน  หรือให้นักวิชาการอ่าน  ภาษาที่ใช้ก็จะต่างระดับกัน  และมีอีกหลายเรื่องที่ต้องศึกษาเพื่อให้งานเขียนของเรา "มีคุณค่า"  โดยเราใช้ Mind Map ในการวางความเชื่อมโยงและเชื่อมความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง

     การปิดชั้นเรียน จึงจบลงที่ว่า "ใครมีคำถาม...ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกันบ้าง?  หรือที่ยังสงสัย" 

     สิ่งที่วิทยากรฝากไว้ ก็คือ เราต้องฝึกทักษะการเขียนเยอะ ๆ เพื่อความมีคุณค่าของเนื้อหาสาระที่เป็นของกรมส่งเสริมการเกษตร และสิ่งนี้จะมาเชื่อมโยงกับ KM นั่นเอง.

หมายเหตุ :  ห้องเรียนในครั้งนี้ได้เกิด "มนุษย์สร้างสรรค์" ขึ้นก็คือ  คุณยอดธงชัย  รอดแก้ว  จาก สสข. 1  จังหวัดชัยนาท

               

      พี่เบิร์ด "มนุษย์สร้างสรรค์"  มอบของที่ระลึกให้วิทยากร 

คำสำคัญ (Tags): #ถอดบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 103041เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • วันนี้มาร่วม สัมมนา RW สสข.5
  • เตรียมมานำเสนองาน แต่พี่ชำนาญ ไม่เรียกสุราษฎร์ เลยอด ที่จะได้รับการ comment จากเพื่อนๆ
  • ได้แต่เป็นผู้ช่วย กำกับ notebook ให้พี่บุญรัตน์ (กองวิจัย) และพี่จาก สตูล
  • ขอบคุณท่านจือ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท