มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

"แสดงความเห็นได้จะแจ้ง" versus "เอาให้คลุมเครือไว้ก่อน"


ขอ break เรื่อง Axial Age ไว้พักใหญ่ๆเลยนะคะ เพราะกำลังเขียน thesis บทสุดท้ายอยู่ พลังไม่พอแปลเรื่อง Axial Age ค่ะ : P

แต่ว่างมากๆเมื่อไหร่กลับมาแปลแน่ค่ะ 

วันนี้มาบันทึกสั้นๆ 

ไปอ่านเจอมาจาก Kyoto Journal ฉบับที่ 57 ปี 2004 หน้า 77

"Those who like to say only right things come to avoid discussing matters in explicit terms."

- เขียนโดย Uchida Tatsuru แปลโดย Kawasaki Takeshi 

แปลอ้อมๆได้ว่า

คนที่กลัวพูดผิดมักจะพูดอะไรๆให้คลุมเครือๆไว้ก่อน!

*** งานนี้เปิดให้แสดงความเห็นกันเต็มที่เลยค่ะ : ) ***

คำสำคัญ (Tags): #ความเห็น#ภาษา
หมายเลขบันทึก: 102991เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับอาจารย์มัทนา

มีบางแง่มุมจะร่วมแชร์ครับ จากชีวิตจริงที่พบเห็นมา แต่ไม่ใช่ละครชีวิตนะคร๊าบ ฮ่าๆๆ

  • ผมมองว่าคนที่ชอบกั๊ก ไม่ยอมแลกเปลี่ยนในการทำงาน ไม่สอนงาน...เป็นคนที่ไม่รู้จริง มีพฤติกรรมที่นอกจากจะไม่ให้คนอื่นกินน้ำชาในถ้วย แถมยังคว่ำถ้วยอีกด้วย  แต่คนที่รู้จริงจะไม่ทำแบบนี้ ถึงแม้ไม่รู้จริงก็กล้าเปิดเผย แบ่งปันเพราะจะได้รู้ว่าเรายังไม่รู้อะไรอีก จะได้เติม
  • เจ้าคุณนรฯ กล่าวว่า Do no wrong is do nothing การที่ไม่ทำผิดเลย เท่ากับว่าผู้นั้นไม่ได้ทำอะไรเลย

ขอให้เขียน Thesis เสร็จไวๆนะครับ...ขอบคุณครับ

ผมว่า...สำหรับเรื่องที่เรารู้จริง เราสามารถพูดให้ชัดเจน ตรงประเด็นไปได้เลย...

แต่ในบางเรื่องที่เราไม่แน่ใจเราก็เลือกที่จะพูดกว้าง ๆ ให้คลอบคลุมไว้ก่อน...

แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการพูดให้คลุมเคลือครับ เพราะอาจจะเกิดการตีความกันไปคนละทิศละทางได้ครับ...

ขอบคุณมากครับ...

เห็นด้วยกับ Mr direct เกือบทุกประการ ครับ ( เอ คล้ายพวก กาฝาก ยังไงชอบกล อาศัย เกาะ comment  คนอื่น   อิอิ )

ที่กลัวพูดผิด ก็เพราะไม่รู้ ถ้าไม่รู้ก็มีโอกาส พูด คลุมๆ เครือๆ  ได้บ้าง  เป็นธรมดา  ( แต่ไม่พูดซะยังดีกว่า  )   หรือไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ไปเลย       ถ้ารู้จริง ก็ฟันธงได้เลย

ว่าแต่ว่า พวกรู้จริง แต่ยังพูด กำๆกวม ๆ  อยู่อีก นี่สิน่าคิด   

สวัสดีค่ะคุณมัท

เบิร์ดเป็นพวกขวานผ่าซาก...เลยไม่ค่อยมีคลุมเครือ ( เพราะมักจะเลือกบอกว่าไม่ทราบหรือไม่พูดมากกว่า อิ อิ )..และมักอึดอัดเวลาคนพูดคลุมเครือค่ะ ^ ^

มากอดทักทายเพราะคิดถึงมากๆ...ขอให้ Thesis สำเร็จเสร็จเรียบร้อยลงด้วยดีทุกประการนะคะ  กอดแน่นๆอีกทีค่ะ

คุณข้ามสีทันดร, Mr.Direct, คุณหมอจิ้น, คุณเบิร์ด: 

มาขอเกาะความเห็นคนอื่นด้วยคนค่ะ ฮ่ะฮะ เล่นกันง่ายๆแบบนี้

มัทว่าเรื่องนี้มันอยู่ที่ส่วนแรกของประโยคค่ะ

คือ อย่าคิดว่าจะตัวเองจะต้องพูดถูกเสมอ อย่ากลัวพูดผิด กลัวว่าสิ่งที่เราพูดจะทำร้ายจิตใจคนฟังได้ แต่อย่ากลัวคนฟังมาประเมินตัวเรา

ถ้าไม่รู้ก็บอกไม่รู้ หรือไม่ก็เงียบเลยดีที่สุด

แต่ไอ้การที่จะพูดชัดหรือกำกวมนี่ มัทว่าแล้วแต่คนฟังและเรื่องที่เรากำลังพูดค่ะ  ว่าอยากให้คนฟังไปคิดต่อเองบ้าง (เช่นการสอนแบบzen) หรือ เรากำลังอธิบายอะไรอยากให้เค้าเข้าใจ

มัทเองเป็นคนพูดตรง ตรงมากจนคิดว่าอาจจะต้องหััดเงียบไว่้บ้าง : )

สวัสดี หนูมัท

หายเงียบไปนาน จนคิดถึง(คลุมเครือรึป่าว?)

อาจารย์จะช่วยแผ่เมตตาให้จะได้มีพลังทำธีสิส

อย่าหายเงียบไปนานจนแควนคลับบ่นก็แล้วกัน

เอาใจช่วยครับ :)

สวัสดีค่ะ อ. พิชัย

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ที่อ.จะแผ่เมตตาให้หนู : )

มัทหายไปนานแต่ธีสิส ก้าวหน้าขึ้นมากค่ะ ตอนนี้โค้งสุดท้ายแล้ว ต้องใช้พลังมาก

แต่มัทก็ยังพอจะเขียนบันทึกที่ "Philosophiæ Doctor" อยู่บ้างนะคะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน วิชาการ และ ชีวิตประจำวันที่นี่ ส่วนบันทึกวงปีนี่จะเขียนเรื่องกว้างๆเกี่ยวกับแง่คิดเรื่องชีวิต 

[เขียนไปเขียนมาเริ่มงงๆเหมือนกันค่ะ : P แยกกันไม่ค่อยออก หลายๆครั้งเรื่องที่อยากบันทึกมันก็เลื่อมๆกัน] 

เชิญอาจารย์ไปแวะอ่านยามว่างนะคะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ 

 

สวัสดีครับ

    ผมมีความคิดคล้ายกับ อ.มัทนานะครับ ถ้าไม่รู้เลย ผมก็คงจะเงียบๆ หรือบอกว่าไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

มีบางกรณี ที่เรารู้หรือมีความเห็นแต่การพูดออกไปก็กลัวว่าคนฟังจะเสียใจก็

คงจะพูดพอเป็นแนวทางที่เขาจะได้ประโยชน์  ส่วนเรื่อง

ไหนเ็ป็นเพียงความเห็น ก็จะบอกว่าในความคิดของผมน่าจะเป็นอย่างไร 

papanui: ขอบคุณคุณหมอค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียน 

น้องว่าเป็นการสะท้อนสังคมของญี่ปุ่นไ้ด้ดีทีเดียว แต่เริ่มเดิมทีอาจจะเป็นสังคมที่มีความคำนึงถึงจิตใจผู้อื่น เช่น แขกถอดรองเท้าเข้าบ้าน เจ้าบ้านยังต้องกลับหัวรองเท้าไว้ให้ เวลาแขกกลับจะได้ใส่รองเท้าสบาย ฯลฯ ทำกันมาจนเป็นธรรมเนียม แต่ระยะหลังๆ บางคนไม่ได้คิดหรอกว่าการกลับรองเท้าเป็นการทำคำนึงถึงความสะดวกสบายของแขกผู้มาเยือน รู้แต่ว่าถ้าไม่ทำอาจจะถูกมองได้ว่าทำอะไรผิดธรรมเนียมปฏิบัติ กลายเป็นโดนคนอื่นมองไม่ดี

 เรื่องคำพูดก็ออกมาในแง่เดียวกัน คนญี่ปุ่นก็เลือกที่จะไม่พูดในสิ่งที่ตัวเองคิด ในขณะที่อาจจะกลัวทำให้คนอื่นลำบากใจ น้องว่าความกลัวในการถูกคนอื่นมองไม่ดีมีมากกว่า คนที่นี่ก็เลยไม่ค่อยมานั่ง discuss อะไร หรือถกอะไรกันเป็นเรื่องเป็นราว ก็ยอมจะพูดอะไรที่ควรจะพูดไปตามธรรมเนียม (ที่นี่เรียกว่า ทะเตะมาเอะ (Tatemae) แทนที่จะพูดอะไรที่ตัวเองคิดจริงๆ (ฮองเนะ - Honne)

อาจารย์คนญี่ปุ่นบางคนยังเคยมาบ่นให้นักเรียนต่างชาติฟังเลย ว่าขนาดคนญี่ปุ่นเองบางทียังดูกันไม่ออกเลยว่าสุดท้ายแล้วคนที่ตัวเองคุยด้วยเค้าคิดยังไง ไม่รู้ว่าไอ้ที่พูดนี่รู้สึกยังงั้นจริงๆรึเปล่า

ใหม่:  อันนี้เห็นด้วย แต่ไม่ใช่คลุมเครืิิอ ญี่ปุ่นจะเป็นแนว "เออออ" Hai Hai So So : )

ไอ้แบบคลุมเคลือก็มีี...

 เ่ช่น.. 

คำถาม: "พรุ่งนี้ไปงานปาร์ตี้ที่บ้านผมมั้ยครับ"

คำตอบที่ 1: "เอ่อ... ไปค่ะ" (หมายความว่า "อาจจะ" 

คำตอบที่ 2: "เอ่อ... อาจจะไปค่ะ" (หมายความว่า "ไม่ไป")

 จะไม่มีคำตอบที่ 3 ว่า "เอ่อ.. ไม่ไปค่ะ" <-- อันนี้เรียกว่าเสียมารยาท

  เป็นเราก็บอกมาเลยจะมาไม่มา.. ไม่มาจะได้ไม่ต้องทำเผื่อ เน๊อะ =P

ผมเขียนคอมเม้นแล้ว  แต่เอามาแปะลงไม่ได้  ไม่รู้เป็นอะไรครับ

 
  • สวัสดีครับ
  • ตั้งแต่ผมเข้มเรื่องการบริหารเวลา   จึงทำให้รู้ว่า "ทำให้อะไรตามใจคือไทยแท้" นั้นมันทรมานใจคนญี่ปุ่นและฝรั่งบางเผ่าเป็นอันมาก  
  • แต่ผมชักติดใจแล้วล่ะครับ   ว่าเรื่องตรงประเด็น  ให้มันรู้แจ้งแทงตลอดในกรอบเวลานั้น  ดีมีประโยชน์มาก  เพราะหลังจากนั้นเราอิสระได้
  • การไม่รู้จริงแล้ว  ขึ้นคำว่าอาจ.....ก็ได้  หรือผมคิดว่า....อย่างนี้   เท่าที่ผมทราบ.....ฯลฯ  ดีกว่าตะแบงครับ  ทั้งนี้อยู่ที่ความถ่อมใจของผู้พูดด้วย  หากมีปมเขื่องดังภูเขาหิมาลัยก็มิปานนั้น   ก็มีโอกาสวงแตกได้ง่าย  หรือขบถเงียบก็มีสูง
  • ผมว่า...มีนัยยะอยู่แล้วว่า  เรามีหู ๒ ข้างมีปากเพียงปากเดียว   ก็ฟังให้มากขึ้น  ก็คงจะหายสลั่วๆไปได้บ้าง
  • ช่วงหลังนี้ผมใช้วิธี  จะพูดในสิ่งที่เขาถาม  ก็ช่วยได้มากเหมือนกันครับ
  • ประเภทแทงกั๊ก  เหยียบเรือสองแคม  เทาๆนั้น  ในระยะยาวจะรอดยากครับ
  • ขอบคุณมาก  สวัสดี
 

"Those who like to say only right things come to avoid discussing matters in explicit terms."

 

พี่ว่ามีสองประเด็นนะมัท

ประเด็นแรกคือคนที่พูดมากๆ มักจะเป็นคนที่รู้อะไรครึ่งๆ กลางๆ (อย่างเช่นข้าพเจ้าเองเป็นต้น) แล้วคำพูดก็จะคลุมเครือ เพราะมันไม่แจ้งในสิ่งที่ตนรู้ไง

เหมือนที่โก้วเล้งบอกไว้ว่า ในน้ำเต้าที่มีน้ำบรรจุเต็ม กับน้ำเต้าที่ไม่มีน้ำเลย เขย่ายังไงก็ไม่มีเสียง จะมีก็แต่น้ำเต้าที่มีน้ำพร่องเท่านั้นที่เขย่าแล้วมีเสียง

แต่การ 'say only right thing' ก็มีศิลปะในการพูดเหมือนกันนะ

จากหนังสือ พุทธวิธีในการสอน ของพระพรหมคุณาภรณ์

สิ่งใดไม่จริง ไม่เกิดประโยชน์ พระพุทธองค์ไม่ตรัส

สิ่งใดจริง ไม่เกิดประโยชน์ พระพุทธองค์ก็ไม่ตรัส

สิ่งใดจริง เกิดประโยชน์ พระพุทธองค์ทรงเลือกกาลตรัส

อีกประเด็นคือประเด็นญี่ปุ่นที่น้องใหม่ยกมาก็ ซึ่งน่าสนใจมาก

เพราะวัฒนธรรมเขาอยู่บนฐานที่ว่ายอมอ้อมค้อมคลุมเครือกับการพูด แม้จะเสียเวลาไปบ้าง แต่การให้เกียรติกันสำคัญกว่า หรือแม้กระทั่งเขามีวิธีการสื่อสารวิธีอื่นๆ ประกอบกับคำพูดที่ทำให้เรารับรู้ว่าเขาต้องการสื่ออะไรที่แท้จริง

พี่นึกถึงคำสอนของพระอาจารย์วัดป่า และคำสอนของอาจารย์เซน ท่านเหล่านี้เป็นผู้รู้อย่างยิ่ง แต่มีลีลาการสอนที่ไม่บอกตรงๆ บอกแบบคลุมเครือให้ไปคิดต่อเอาเอง

หรือกระทั่ง บทสนทนาในนิยายกำลังภายในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะที่เขียนโดยกิมย้ง มีบทสนทนาที่เป็นศิลปะนะ คลุมเครือ อ้อมค้อม แต่ใช้คลี่คลายสถานการณ์ฉุกเฉินได้ หรือแม้แต่ใช้หลอกด่ากันก็ยังได้ และเป็นเสน่ห์อย่างยิ่งสำหรับการอ่านงานของกิมย้ง

สรุปว่า พี่เห็นด้วยทางเดียวว่า คนที่กลัวพูดผิดมักจะพูดอะไรๆ ให้คลุมเครือ แต่ในทางกลับ คนที่พูดอะไรๆ ให้คลุมเครือ อาจจะไม่ใช่คนที่กลัวพูดผิดก็ได้ แต่ตั้งใจให้คลุมเครือเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างของการสื่อสาร

ไม่รู้ว่าที่พี่เขียนเนี่ย คลุมเครือรึเปล่า :)

คุนเคยอยากได้อะไรบางอย่างมากๆมั้ย

อยากได้ พยายามเเล้วเเต่ก็ไม่สำเร็จ...เหนื่อยใจ

ท้อเเท้เพราะทำไม่ได้...ลองดูสิ ลองเชื้อในพระเจ้าภวานา

ขอท่านดู..เเล้วคุณจะได้รู้ว่ารัท่านรักเเละเอ็ดดูคุณขนาดไหนเหมือนที่

ท่านได้ประทานให้กับฉันคนบาปคนหนึ่ง...

คุณ nujme,

มัทเคารพทุกศาสนาค่ะ เคยมีคุณยายฝรั่งสอนไว้ว่า

เวลาอยากได้อะไรมากๆ แต่ภาวนาขอแล้วก็ไม่สำเร็จ

ไม่ได้แปลว่าให้หมดศรัทธา...หากแต่ว่าท่านตอบมาแล้ว...

ท่านตอบว่า ไม่ให้

ผมชอบเรื่องแบบนี้มากเลยครับถ้าเป็นจริงผมจะจำและผมจะอ่านต่อไปเรื่อยๆครับผมอ่านหมดแล้วครับแล้วเขียนต่อตอนไหนครับจะรออ่านครับผมเคยอ่านอีกแบบครับคือที่ชาวอารยันแยกเป็น2ฝ่ายไปทางยุโรปพวกหนึ่งและมาทางอินเดียปัจจุบันพวกหนึ่งคือมาแย่งพวกชนพื้นเมืองคือพวกทมิฬหรือชาวดราวิเดียนเนื่องมาจากทุ่งหญ้าที่เคยอุดมสมบูรณ์กลางทวีปแห้งแล้งลง ชาวอารยันจึงเริ่มอพยพ

แผ่นดินอันเขียวชอุ่มเริ่มกลายเป็นทะเลทราย บริเวณนี้ถูกบันทึกใหม่

โดยนักแผนที่ชาวฝรั่งยุคหลังว่า ไซบีเรียเนื่องมาจากแผนดินใหญ่เคลือนห่างจากกัน และถ้าเป็นไปได้ผมอยากย้อนเวลาไปดูเลยครับขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท