ขออภัยในความไม่สะดวก


เมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) มีการแปรญัตติในสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อไปถึงมาตรา ๓๒ ใน ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มีข้อความตามปรากฏที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ร่างเดิมไว้คือ

มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
        การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
        ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายพนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายมีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

คณะกรรมาธิการยกร่างฯ และ ส.ส.ร. ท่านหนึ่งได้เสนอตัดโทษประหารชีวิตออก ตามข่าวนี้ (เมื่อวานไม่ได้ดูถ่ายทอดสดการประชุม จึงต้องอ้างข่าว)

มี ส.ส.ร. เห็นว่าควรตัดวรรคสองออก เพราะทำให้เจ้าพนักงานทำงานลำบาก และทำให้ประสิทธิภาพในการป้องปรามอาชญากรรมลดลง หลังจากอภิปรายอยู่สองชั่วโมง สภาร่างรัฐธรรมนูญลงมติด้วยคะแนน 42 ต่อ 39 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ให้ตัดวรรคสองออก ทำให้มาตรา ๓๒ ตามที่ผมเข้าใจ ปรากฏดังนี้

มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
        การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
        ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายพนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายมีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

จึงเรียนมาเพื่อขออภัยต่อ ส.ส.ร.ที่สิทธิของประชาชนทำให้เจ้าพนักงานทำงานลำบาก และสิทธิอันนี้จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องปรามอาชญากรรมลดลง

ขอให้ท่านอโหสิให้กับผมด้วย ส่วนผมอโหสิให้กับท่านแล้ว 

หมายเลขบันทึก: 102944เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์หายไปอีกหนึ่งอย่าง

เน้นอีกทีว่าเป็น "สิทธิพื้นฐาน" ของ "มนุษย์" ที่พึงมีที่เราคนไทยกำลังสูญเสียไปนะครับ ต่อไปใครจะ "จับ" "ขัง หรือ "ค้น" ใครก็สามารถทำได้ตามใจทีเดียว

กฎหมายฉบับนี้จัดทำเพื่อใครกัน!!

สวัสดีค่ะ

ยังต้องมีการทำประชาพิจารณ์อีกค่ะ

อ.ธวัชชัย: ผมเชื่อว่าการจับกุม/คุมขัง ยังต้องมีกฏหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิดนะครับ เป็นห่วงเรื่องการตรวจค้นมากกว่า

คือการค้นมาจากความสงสัย แต่ถ้าได้มีการกลั่นกรองเสียบ้างว่าเป็นความสงสัยโดยสุจริต เป็นไปโดยพยานหลักฐาน มีเหตุมีผล ตรงไปตรงมา ไม่ใช่การกลั่นแกล้งกัน น่าจะดีกว่าครับ

แม้จะมีการจับกุมก็ยังไม่ผิดจนกว่าศาลจะตัดสินไม่ใช่หรือครับ 

ถ้ามองจากมุมความเป็นไปในสังคม ผมว่าเป็นเรื่องน่าสนใจเหมือนกัน เหมือนกับว่ารัฐก็ไม่ค่อยไว้ใจประชาชนบางพวก ส่วนประชาชนก็ไม่ค่อยไว้ใจเจ้าหน้าที่รัฐบางพวก แต่ทั้งสองฝ่ายต่างเรียกร้องให้สมานฉันท์โดยที่ต่างก็ไม่ไว้ใจกันและกัน

คุณศศินันท์: ขอบคุณสำหรับขั้นตอนครับ ค่อยยังชั่ว  นี่เป็นความรู้ใหม่เลยนะครับเนี่ย ผมนึกว่าผ่านตรงนี้แล้วลงประชามติเลยครับ!

เอ มาคิดดูอีกทีก็แปลกนะครับ

ถ้ามีประชาพิจารณ์อีก แล้วจะแปรญัตติกันอีกทีหรือครับ ถ้ามีแก้ไขอีกก็ไม่จบกันเสียทีซิครับ -- แล้วถ้าไม่แปรญัตติจะแก้ไขได้อย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท