การรักษาโรคเบาหวานด้วยใบหม่อน


ใบหม่อน

การรักษาโรคเบาหวานด้วยใบหม่อน

 

โดย

 

นายณรงค์  รัษ์รตนากร  นักวิชาการเกษตร

นายวิโรจน์  แก้วเรือง  นักวิชาการเกษตร

นายสมัคร  คอวนิช  ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

 

   ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี  สถาบันวิจัยหม่อนไหม

   สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ

 

            หม่อนเป็นข่าวอีกครั้งหนึ่งจากการที่มีผลในการรักษา AIDS  (Indian  Silk,Feb.1989) ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเชิญนักชีวเคมีวิทยาที่สนใจเกี่ยวกับความสามารถที่เป็นไปได้และการทำงาานของยา Deoxynojirimycin  (DNJ,สำหรับฉีด) ได้มีการเปิดเผยว่าสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งของ DNJ คือคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนน้ำตาล sucrose ให้เป็น glucose ได้ ซึ่งจากผลการกระทำนี้จะช่วยต่อต้านการระบาดของ AIDS โดยไกลโคโปรตีน 120 ที่ผิวบางของ HIV. (Human Immunodeficiency Virus) จะเก็บน้ำตาลที่ไม่จำเป็นไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนแขนเชื่อมด้านข้างของน้ำตาลจะอิ่มตัว และหมดสภาพที่จะสามารถไปทำลายเซลล์ใหม่ ด้วยเหตุนี้ DNJ จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวกั้นทางเดินที่จะทำให้เซลล์ใหม่เน่าเปื่อยจากเชื้อ HIV. จากคำแนะนำนี้ยังมีการใช้รักษาโรคที่มีน้ำตาลเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น  เบาหวาน

          ทำไมถึงเป็นเบาหวาน      ส่วนประกอบของของเหลวทางด้านชีวภาพ ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องมีอยู่ ถ้าขาดเสียแล้วชีวิตจะอยู่ไม่ได้ พวกสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมรวมทั้งมนุษย์ ระดับของน้ำตาลในเลือดหรือ Serum sugar  เป็นส่วนประกอบสำคัญอันหนึ่ง และถ้าบังเกิดผิดปกติขึ้นมา การทำงานตามปกติของแต่ละคนก็จะผิดปกติไปด้วย เราต้องขอขอบคุณฮอร์โมน Insulin และ Glucagon ที่เป็นผู้สร้างเซลล์พิเศษของ Pancreas และปฏิกิริยาภายในทำให้เกิดสมดุลย์ของร่างกาย เมื่ออาหารหรือน้ำตาลสลายตัวซึมเข้าร่างกายระดับน้ำตาลในเลือดก็จะเพิ่มขึ้นทันที และจะลด insulin ตามมาด้วย ทำให้ระดับน้ำตาลที่สูงลดลง อย่างเดียวกันเมื่ออาหารมีน้ำตาลกลูโคสต่ำหรือหยุดการสร้าง insulin ลงอย่างเร็ว glucagon ก็ลดด้วย จึงทำให้ร่างกายรักษาระดับน้ำตาลไว้ในระดับจำกัดเป็นพิเศษ

            ความไม่ปกติของระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะมีมากเกินไปทำให้เกิดมีอาการบวมขึ้น ซึ่งเหตุมาจากหลายอย่าง พูดง่ายๆ ทางสรีรศาสตร์โรคบางอย่างมีความสัมพันธ์กันซึ่งอาจจะเป็นการทำให้ insulin และ glucagon เกิดความไม่พอดีกันซึ่งมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนไป และนั่นคือ โรคเบาหวาน

          เราจะสังเกตได้อย่างไร       เบาหวานจะสังเกตได้โดยการแสดงออกระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือเพราะอาหารและน้ำตาลมีอยู่เป็นจำนวนมาก พูดตามความจริงแล้วระดับกลูโคสในเลือดจะรู้ได้โดย Glucose Tolerance Test (GTT) น้ำตาลกลูโคสเกิดจากการรับประทาน หรือเข้าสู่สายเลือดโดยปฏิกิริยาภายใน และเข้าไปสะสมอยู่ในที่ต่างๆ เราอาจจะตรวจสอบหาดูได้จาก GTT. ในโอกาสต่อไปซึ่งจะมีแสดงไว้ในตารางของ GTT. ที่จะบอกว่ามีอัตราอยู่มากแค่ไหน

            การรักษา   ใช่ครับรักษาได้และประสบผลสำเร็จสูงมาแล้วด้วยฮอร์โมน insulin และยาพวก hypoglycemic อื่นๆ การฉีดด้วยยาพวก hypoglycemic เช่น Sulphonamide , Glybenzcyelamide, Tolbutamide, Chlopropamide ก็พยายามใช้ในอัตราต่างๆ กันและได้ผลดีหลายๆอย่าง แต่ไม่ได้หายขาดและถ้าหากไม่ได้รับการรักษา สภาพของคนไข้จะหนักขึ้นแถมมาด้วย Lassi–tudes, polyria,malaise,anorexia และเบาหวานขั้นโคมาในรายที่ไม่ได้รักษาส่วนมากคนไข้จะตาย

            มีการรักษาด้วยยาสมุนไพรเหมือนกัน น้ำคั้นของรากหม่อน (Morus nigra) ซึ่งปลูกใน จัมมู และแคชเมียร์ และตามเนินเขาแถว คาร์เจลลิง ของอ่าวเบงกอลตะวันตกมีอำนาจปราบการเกิดน้ำตาลในเลือดสูง โดยการต้มกินกับอาหารคำแนะนำนี้มีในญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อเร็วๆนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้แยกฮอร์โมนออกมาและให้ชื่อตามชื่อหม่อนนั้นคือ โมราโนไล (moranoline) ในปี พ.. 2519 ส่วนประกอบได้แยกออกทางเคมีเป็นโครงสร้างของน้ำตาลซึ่งมี carbon อยู่ 5 โมเลกุล อันหนึ่งเป็น nitrogen hydroxyle หลายคำ  และ hydroxy-methy กลุ่มหนึ่งเวลานี้โมราโนไลนี้ยังเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ DNJ โครงสร้างของ DNJ ได้ถูกศึกษาเปรียบเทียบหา Alkoloid ที่เกิดมาเทียบกับโครงสร้างของน้ำตาลและหารูปที่เปลี่ยนแปลงได้เพื่อจะทำยารักษาโรค AIDS.

            การหาสารที่จะมีผลต่อต้านน้ำตาลก็พบว่า DNJ สามารถควบคุม Alpha – glucosidases ตัวยาและรูปโครงสร้างต่างๆ ของ DNJ ได้สร้างขึ้นมาเพื่อรักษาโรคเบาหวาน คือ ยาที่มีชื่อว่า homonojirimycin นำไปร่วมโมเลกุลกับน้ำตาลกลูโคส ซึ่งสามารถรักษาโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิผล

            หม่อนซึ่งเป็นพืชพื้นฐานของยา เปรียบเทียบกับด้านเศรษฐกิจในการเลี้ยงไหมแล้วยังสร้างความประทับใจอย่างยิ่ง ที่หม่อนเป็นสมุนไพรมีความสามารถรักษาโรคได้ พืชที่ให้ประโยชน์กับเครื่องแต่งกาย ยังมีอะไรอีกมากที่เป็นประโยชน์ในอนาคตอันใกล้นี้ ในการใช้เป็นยาอีกมากมาย เพื่อรักษาโรคของมนุษย์

 

บทความจาก : Indian Silk,February  1990,p.34-35

 
หมายเลขบันทึก: 102465เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
บูชิตา นันทวิสารสมบัติ

อยากทราบว่า ยาที่ว่านี้ ใช้รับประทาน หรือว่าเป็นแบบฉีดคะ

เพราะแม่เป็นเบาหวานมานาหลายปีแล้วค่ะ

แล้วยาที่ว่านี้แพงหรือไม่

แล้วจะขอทดลองได้อย่างไร

กรุณาบอกด้วยค่ะ

และตอนนี้หายาอะไรให้แม่กินก็ไม่ดีขึ้นเลย แต่แม่ไม่ได้เป็นแบบแผลเปื่อยนะคะ

แต่ตอนนี้แม่เวียนหัวหน้ามืดมากไปหาหมอ หมอวัดระดับความดันไม่ได้เลย

อาการแย่มากเลยค่ะ กรุณาติดต่อกลับด้วยนะคะ

ดิฉันสงสารแม่มากค่ะ

tel:081-573-5084

ตอบ คุณบูชิตา นันทวิสารสมบัติ

ต้องขออภัยที่เข้ามาตอบช้ามาก ใบหม่อนนำมาทำชาใบหม่อนเป็นพืชสมุนไพร ใช้ชงดื่มไม่ใช่เป็นยา วิธีการดื่มแจ้งไว้แล้วในบทความอื่นๆ หรือโทรสอบถามได้ที่ กรมหม่อนไหม 02-5793118 ต่อ 26 มือถือ 089-4476600

ตอนนี้ทาชาใบหม่อนอยู่คะทานได้1เดือน อยากลดน้ำหนัก ชาใบหม่อนลดได้มั้ยคะ กี่เดือนจะเห็นผลคะ

กอฟคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท