การทำงานใน PCU


ผู้ป่วยที่มารับบริการในทุกวันจันทร์จะมีประมาณจันทร์ละ 150 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง คือเบาหวานกับความดันโลหิตสูง พยาบาลทำหมดทุกอย่าง เหนื่อยค่ะ

นอกจากงานประจำที่ต้องปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแล้ว หน้าที่หลักอีกอย่างของผู้เขียนก็คือ ออกตรวจคนไข้ที่สถานีอนามัย ซึ่งเป็นสถานีอนามัยที่เป็น PCU ของโรงพยาบาลแม่ออน ก็คือสถานีอนามัยบ้านห้วยทราย โดยต้องออกตรวจคนไข้ใน สอ.ห้วยทรายทุกวันจันทร์

ขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานีอนามัยบ้านห้วยทรายก่อนเล็กน้อยนะคะ สอ.บ้านห้วยทรายอยู่เขตตำบลแม่ทา กิ่งอ.แม่ออน อยู่ห่างจากโรงพยาบาลแม่ออนประมาณ 20 กว่ากิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที เนื่องจากต้องเดินทางข้ามภูเขาไป ทำให้ใช้เวลาในการเดินทางนานซักหน่อย และอยู่ติดกับเขตอำเภอแม่ทา จ.ลำพูน

เหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องไปตั้ง PCU ที่สถานีอนามัยแม่ทา ก็เพราะว่าตำบลแม่ทาเป็นตำบลเข้มแข็งตำบลหนึ่ง องค์กรท้องถิ่นก็มีประสิทธิภาพ ประชากรมีจำนวนมาก และที่สำคัญก็คือเป็นตำบลที่อยู่ติดกับอ.แม่ทา ซึ่งการเดินทางไปทางอ.แม่ทาค่อนข้างสะดวกสบายกว่ามาทางกิ่งอ.แม่ออน มีรถประจำทางผ่าน ซึ่งเทียบกับถ้ามาทางกิ่งอ.แม่ออนแล้วการคมนาคมสดวกกว่ามาก ทำให้เวลามีปัญหาสุขภาพ คนไข้จึงพากันไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่ทา จ.ลำพูนกัน และจากนโยบายของรัฐบาลที่จะให้มีการใช้บัตรทองใกล้บ้านใกล้ใจ และสามารถเลือกสถานพยาบาลได้ ชาวบ้านของตำบลแม่ทาทั้งหมดจึงพากันไปเลือกใช้บัตรทองระบุเป็นโรงพยาบาลแม่ทาเป็นสถานพยาบาลรองกันหมด (สถานีอนามัยบ้านห้วยทรายเป็นสถานพยาบาลหลัก) แต่ว่าเงินงบประมาณที่ทางกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรมาให้เรื่องการรักษาพยาบาลไม่ได้ไปที่โรงพยาบาลแม่ทานะคะ เงินค่ารักษาพยาบาลต่อหัวคนไข้กลับมาลงที่โรงพยาบาลแม่ออน เนื่องจากข้ามจังหวัดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาคนไข้ไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่ทา ทางโรงพยาบาลแม่ทาก็จะเรียกเก็บมายังโรงพยาบาลแม่ออน ทำให้ต่อเดือนทางโรงพยาบาลแม่ออนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลแม่ทาเป็นจำนวนเงินพอสมควรเหมือนกัน ทำให้ต้องมีการนำแพทย์และพยาบาลออกตรวจที่สถานีอนามัยแม่ทา เพื่อที่จะดักผู้ป่วยไว้ทางหนึ่ง งงกันมั้ยคะ ที่จังหวัดเชียงใหม่มีแบบนี้เยอะจริงๆค่ะ งบรักษาพยาบาลมาที่เราแต่งบส่งเสริมไปโรงพยาบาลอื่นก็มี งบส่งเสริมมาที่เรางบรักษาพยาบาลไปที่โรงพยาบาลอื่นก็มี โดยเฉพาะเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลแม่ออน มีหลากหลาย น่าเวียนหัวจริงๆค่ะ เอาไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังนะคะ

กลับมาเรื่อง PCU ต่อ ตอนแรกๆก็มีแพทย์ 1 คน พยาบาล 2 คน ออกตรวจคนไข้ทุกวันจันทร์ที่สอ.บ้านห้วยทราย แต่ตอนนี้แพทย์ท้อแล้วค่ะ ไม่มีแพทย์ไปแล้ว เหลือแต่พยาบาล 2 คน คนหนึ่งที่ Stand by ทุกจันทร์ก็คือตัวผู้เขียนเอง แล้วพยาบาลอีกคนหมุนเวียนกันออกโดยจะเป็นพยาบาลของกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ทันตภิบาล 1 คนกับผู้ช่วย 1 คน ส่วนพยาบาลจิตเวชจะขึ้นไปทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนเพื่อตามคนไข้

สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในทุกวันจันทร์จะมีประมาณจันทร์ละ 150 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง คือเบาหวานกับความดันโลหิตสูง เหนื่อยมากค่ะในการไปตรวจแต่ละที ทำหมดทุกอย่างค่ะ ทั้งตรวจคนไข้เอง ,เจาะlabคนไข้ถ้าจะตรวจ lab เพิ่มเติม โดยเจาะแล้วนำลงมาตรวจที่โรงพยาบาลแม่ออนแล้ววันจันทร์หน้านัดมาฟังผล ,counselling ANC อีก, โทร Consult แพทย์ถ้ามีปัญหาที่แก้ไขไม่ได้

อย่างวันจันทร์ที่ผ่านมาตัวผู้เขียนออกตรวจคนไข้ที่สอ.บ้านห้วยทรายมีผู้มารับบริการทั้งหมดซึ่งนับก่อนที่จะลงมา 160 กว่าคนค่ะ และยังเหลือให้เจ้าหน้าที่ สอ. ตรวจต่ออีกประมาณ 20 คน พอลงมาที่โรงพยาบาลถามห้องบัตรที่โรงพยาบาลแม่ออนว่าวันนี้มีคนไข้เท่าไหร่ เชื่อมั้ยคะ คนไข้มีแค่ 90 กว่าคน น้อยกว่าที่เราไปตรวจที่ สอ. อีกค่ะ

จากการที่เราลงตรวจที่ PCU ทำให้จำนวนคนไข้ที่ไปรับบริการที่โรงพยาบาลแม่ทาลดลง ซึ่งการตามจ่ายค่ารักษาพยาบาลก็ลดลง แต่ พยาบาลเหนื่อยค่ะ

อยากรู้ว่า PCU อื่นเป็นไงบ้างคะ พยาบาลเหนื่อยแบบนี้บ้างมั้ยคะ ขอความเห็นหน่อยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10228เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2005 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น้องกุ๊กไก่ช่วยคนไข้ได้จำนวนเป็นร้อย น่าภูมิใจนะคะ เหนื่อยกายไม่เป็นไรค่ะ เราได้ทำงานที่มีประโยชน์ต่อคนไข้ ยิ่งทำมากยิ่งได้ความรู้มากค่ะ

ตอนนี้ได้มาร่วมทำงานเป็นเครือข่ายคุณภาพร่วมกับร พ แม่ออน สันกำแพง สารภี สะเมิง

เพิ่งเข้ามาดูแลเรื่อง people as the center ,working in primary care ครับ คุณไก่คงพัฒนาไปมาก

แล้ว หมายถึงการสร้างเครือข่ายประชาชนในการดูแลตนเองครับ หากการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง

มีมากขึ้น คนไข้จะมาหาเราน้อยลง หมายถึง ระยะเวลาที่เรานัดจะห่างออกไป เราก็จะมีเวลาทำงานใน

เชิงรุกมากขึ้น การทุ่มเวลาให้คนป่วย ถือว่าดีมากครับ แต่หากเวลาเราเหลือ เราจะมีเวลาไปดูคนที่เสี่ยง

คนที่ยังแข็งปรงมากขึ้นๆ และในที่สุด คนป่วยใหม่ก็จะน้อยลง แนวทาง people as the center นี้ผมได้รับ

ฟังมาจากคุณหมอวรวุฒิ ผอ รพ สันทรายครับ และกำลังนำมาพัฒนางานprimary care ที่สารภีและเครือข่าย

สานฝันต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท