ระบบเศรษฐกิจอิสลาม


เศรษฐศาสตร์อิสลาม
ระบบเศรษฐกิจอิสลามจากสี่ปี + สาม กับการเป็นนักศึกษาเศรษฐศาสตร์จนได้มาซึ่งเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (UI) ถึงแม้ตัวเองยังรู้สึกว่า ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ยังน้อยนิด ในช่วงเวลาแห่งการค้นคว้าในรั่วมหาวิทยาลัยยังมีบางอย่างที่รู้สึกเลือนหายไปในจิตใต้สำนึกของความเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า เพราะในรั่วมหาวิทยาลัยเราถูกปลูกฝังให้เป็นนักเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกสายชิคาโกบ้างและสายอื่นบ้าง ตามอาจารย์ผู้สอนที่จบมา ตัวเองก็นั่งคิด และพยายามค้นคว้าและพูดคุยกับหลายคนว่า ระบบเศรษฐกิจและวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราเรียนมาทั้งหมดที่ผ่านมา ไม่มีระบบเศรษฐกิจใดเลยที่นำเราให้รู้จักพระเจ้า เศรษฐกิจในระบบทุนนิยมจะพูดถึงเรื่องทรัพยากรกับมนุษย์ที่เป็นเอกชน ในระบบสังคมนิยมจะพูดถึงเรื่องทรัพยากรกับมนุษย์ที่เป็นรัฐบาล โดยที่ทุกระบบนั้นไม่เคยเอาพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการกับทรัพยากรเลย จนมาวันหนึ่งได้ไปนั่งฟังการสัมมนาที่จัดขึ้นของชมรมเศรษฐศาสตร์และการบัญชีอิสลามของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียร่วมกับ IIT ผมได้นั่งฟังนักวิชาการที่ทางชมเชิญมาโดยจะมีนักเศรษฐศาสตร์ที่ขึ้นชื่อของประเทศอินโดนีเซียมาเสวนาพร้อมกับนักเศรษฐศาสตร์อิสลาม วันนั้นสนุกมากเพราะอาจารย์ทั้งสอนได้แลกเปลี่ยนความคิดกันโดยท่านหนึ่งนำเสนอเศรษฐศาสตร์ทั่วไป อีกท่านนำเสนอเศรษฐศาสตร์อิสลาม จนเราเห็นได้ชัดถึงข้อแตกต่าง ในประเด็นเรื่องเศรษฐศาสตร์อิสลามแตกต่างกับเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมอย่างไร ตรงนี้ท่านตอบให้เราเห็นได้ชัดว่า เศรษฐศาสตร์ทั้งสองระบบนั้นไม่มีพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจ แต่อิสลามพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะเศรษฐศาสตร์อิสลามคือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อนำไปผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ตามแนวทางของหลักการอิสลามนั้นเอง เออยังมีอะไรอีกมากนะเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม แต่วันนี้ค่ำแล้ว ต้องหาโอกาสมาเล่าให้ฟังกันใหม่นะครับ.......เออ ท่านรู้ไม่ครับวันนั้น เขามีการรับสมาชิกชมรมด้วย ผมก็เลยสมัคร และจนถึงวันนี้ผมก็ยังเป็นสมาชิก ก็ขอบคุณพระเจ้าที่ทำให้ผมรู้จักกับระบบเศรษฐศาสตร์แห่งพระเจ้าได้ โดยที่ไม่ต้องคล้อยตามเพียงแนวคิดแห่งมนุษย์ตาดำๆ ศาสตร์ที่ใช้ได้กับยุคสมัยหนึ่งและสถานที่หนึ่งๆ เท่านั้น แต่ศาสตร์แห่งพระเจ้าย่อมใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย และทุกสถานที่........
หมายเลขบันทึก: 101532เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • อัสสะลามุอะลัยกุมครับอาจารย์อาบู อูบัยดิลลาฮ์
  • แวะเข้ามาเยี่ยมครับ
อัสสะลามุอะลัยกุม      อ. อาบู อูบัยดิลลาฮ์
อัลฮัมดูลิลาฮฺ ที่มีอาจารย์ดีๆอย่างท่าน ที่ค่อยให้ความรู้แก่พวกเรา
ผมเห็นด้วยครับ

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนะคติของระบบเศรษฐกิจอิสลาม(ด่วนนะค่ะ)

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมนะครับ

อือ...คุณอารียาครับ ผมไม่ทราบว่าทัศนะคติต่อเศรษฐศาสตร์อิสลามที่คุณอารียาต้องการเป็นอย่างไรครับ เช่นอะไรครับ ขอโทษไม่เข้าใจในคำถาม

อยากทราบว่าศาสนาอิสลามมีตลาดหุ้นหรือไม่ (ต้องการคำตอบด่วน)

อาจารย์จะตอบอย่างงัยดีหนอ

ข้อที่หนึ่ง อิสลามอนุญาติให้เล่นหุ้นไม่ ก็อนุญาต แต่ต้องไม่มีดอกเบี้ยหรือไม่ขัดต่อหลักการอิสลามที่กำหนดไว้ และสินค้าของบริษัทนั้นต้องฮาลาล

ข้อที่สอง ถ้าอนุญาติแล้ว ประเทศใดบ้างที่มีตลาดหุ้นอิสลามอยู่ ตรงนี้ข้อมูลรายละเอียดจริงๆ ขอเวลาก่อนว่ามีประเทศใดบ้าง แต่การซื้อขายหุ้นด้วยระบบอิสลามนั้นมีหลายประเทศด้วยกัน ประเทศเพื่อนบ้านเรา เช่นมาเลเซียและอินโดนีเซียจะมีบริษัทที่เข้าไปซื้อขายหุ้นตลาดหลักหลักทรัพย์ด้วยระบบอิสลาม

แต่ถามว่าศาสนาอิสลามมีตลาดหุ้นไม่ ก็คงต้องดูประวัติศาสตร์อีกครั้งนะ เพราะตลาดหุ้นเป็นธุรกรรมทางเงินสมัยใหม่ สิ่งที่อิสลามกำหนดไว้ในมุอาลาตจะให้กรอปในการซื้อขายเอาไว้

คงแค่นี้ก่อนนะ หากขอรายละเอียดเพิมเติม เดียวอาจารย์ค่อยเขียนต่อให้

ขอบคุณมากนะที่เข้ามาอ่าน

เป็นงัยบ้างที่สหกรณ์ศิดดีกหาดใหญ่

ขอเพิ่มเติม ค้นมาจากเน็ตนะ

การค้าหุ้นในทัศนะอิสลาม

ถาม การค้าหุ้นเป็นที่อนุมัติหรือไม่ในอิสลาม ?

ตอบ ดร.มุนซิร คอฮ์ฟ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินอิสลามกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :-

หุ้น (Stock/Share) โดยพื้นฐานแล้วมีสองประเภทด้วยกัน นั่นคือหุ้นทั่วไปและหุ้นบุริมสิทธิ์ ถ้าเป็นหุ้นบุริมสิทธิ์ในทางการเงิน เช่น หุ้นที่ได้รับหลักประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ ได้รับการจ่ายคืนเป็นเงินสดก่อนคนอื่นในตอนเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้ถือเป็นที่ต้องห้ามเพราะเจ้าของทุนบริษัทจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน อิสลามห้ามออก ซื้อขายและเป็นเจ้าของหุ้นประเภทนี้

หุ้นสามัญทั่วไปไม่เป็นที่ต้องห้ามจากทัศนะดังกล่าว แต่ในอีกมุมหนึ่ง หุ้นอาจเป็นของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาดำเนินกิจการที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลาม เช่น ธนาคารอิสลาม เป็นต้น หุ้นประเภทนี้เป็นที่อนุญาตให้ซื้อขายหรือเป็นเจ้าของได้ ส่วนหุ้นของบริษัทที่ธุรกิจหลักหรือธุรกิจส่วนใหญ่เป็นที่ต้องห้าม เช่น ธนาคารระบบดอกเบี้ยหรือบริษัทที่ประกอบกิจการทางด้านบันเทิงและการพนันอย่างลาสเวกัส หรือเป็นของบริษัทที่ธุรกิจหลักหรือธุรกิจส่วนใหญ่เป็นที่อนุญาต แต่หนังสือบริคนธ์สนธิอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่ต้องห้ามตามกฎหมายอิสลามและบริษัทก็ทำกิจการต้องห้ามนั้นจริงๆ อย่างเช่น หุ้นของบริษัทไมโครซอฟท์ อินเทล โซนี เจเนอรัลมอเตอร์ หุ้นประเภทนี้เป็นที่ต้องห้ามตามหลักการอิสลาม

แต่มีหุ้นอีกประเภทหนึ่งที่ค่อนข้างจะยุ่งยากและต้องการรายละเอียดบางอย่าง เราทราบกันดีแล้วว่าอิสลามห้ามมุสลิมตั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต้องห้าม ดังนั้น อิสลามจึงห้ามออกหุ้นขายแก่ประชาชนและห้ามประชาชนซื้อหรือเป็นเจ้าของด้วย เพราะการทำเช่นนั้นก็เท่ากับเจ้าของหุ้นได้กลายเป็นหุ้นส่วนในบริษัทที่คณะกรรมการบริษัทดำเนินกิจการต้องห้ามแทนเจ้าของหุ้นในฐานะที่ตัวเองเป็นผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้ง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือคณะกรรมการบริษัทเป็นตัวแทนของคุณในการทำกิจการต้องห้าม

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีประเด็นสำคัญสองประการที่จะต้องพิจารณา

ประเด็นแรกคือ ถ้าใครซื้อหุ้นเช่นนั้นด้วยเจตนา (และมีความสามารถ)ที่จะเปลี่ยนบริษัทนั้นให้หันมาดำเนินกิจการที่ถูกต้อง (ฮะลาล) โดยการเข้าไปมีเสียงส่วนใหญ๋ในคณะกรรมการหรือที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น การซื้อหุ้นในกรณีเช่นนี้ก็ถือเป็นที่อนุมัติเพราะว่ามันจะช่วยลดสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม)ในโลกถึงแม้ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้เวลาหลายเดือนหรืออาจเป็นปีหรือสองปีก็ตาม

ประเด็นที่สอง (ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ถามมากกว่า) ก็คือ การซื้อและการเป็นเจ้าของหุ้นในฐานะผู้ลงทุนรายเล็กและเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพื่อที่จะได้รับผลกำไรจากการขายหุ้นและจากเงินปันผลนั้น นักวิชาการมุสลิมกลุ่มน้อยให้เหตุผลว่าหุ้นประเภทนี้อาจซื้อหรือเป็นเจ้าของเพื่อเป็นการลงทุนได้ภายในเงื่อนไขบางอย่างที่สามารถสรุปได้อย่างแน่ใจว่ากิจการต้องห้ามของบริษัทนั้นจะต้องไม่ใช่กิจการส่วนใหญ่ของบริษัท เงื่อนไขดังกล่าวนี้รวมถึงบริษัทจะต้องไม่มีสัดส่วนของหนี้สิน/สินทรัพย์สูง กล่าวคือ บริษัทจะต้องไม่อยู่ได้ด้วยเงินกู้ จะต้องไม่หารายได้ส่วนใหญ่จากดอกเบี้ย จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำลายผลประโยชน์ของมุสลิม เช่น การผลิตและการขายอาวุธที่มาโจมตีมุสลิม

โดยอาศัยเงื่อนไขดังกล่าวมา ดาวโจนส์ได้ร่วมกับนักวิชาการมุสลิมทำการศึกษาหุ้นที่จดทะเบียนและได้ลำดับรายชื่อของบริษัทเหล่านั้นไว้ภายใต้ชื่อ ?ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อิสลามดาวโจนส์? (Islamic Market Dow Jones Index)

แปลโดย : อาจารย์บรรจง บินกาซัน ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม

นี้ก็จากเน็ตอีกเช่นกัน

คำถาม จะเข้าข่ายการพนันไหม คำตอบ อ.มุริด ทิมะเเสน

(การสรรเสริญเป็นสิทธิแด่พระองค์อัลลอฮฺ) ก่อนอื่นผมต้องขอมะอัฟ (อภัย) คุณมารียาที่ตอบคำถามของคุณช้าไปหน่อย เนื่องจากผมต้องบรรยายหลายสถานที่ กอปรกับต้องเตรียมเนื้อหาที่ต้องบรรยายจึงมิได้เข้ามาตอบในเว็บไซต์นี้เลย ต้องขออภัยจริงๆ ครับ คำถามข้อแรก ก่อนอื่นผมขอหยิบยกหะดีษของท่านรสูลุลลอฮฺที่กล่าวว่า “ พระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่ง (หมายถึงงดความเมตตา) แก่บุคคลที่กินดอกเบี้ย, บุคคลที่ให้ดอกเบี้ย, บุคคลที่เป็นพยานเกี่ยวกับดอกเบี้ย และบุคคลที่บันทึกเกี่ยวกับดอกเบี้ย , ทั้งหมดล้วนว่ามีความผิดเท่ากัน “ (บันทึกโดยมุสลิม) ฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยถือว่าต้องห้าม (หะรอม) ทั้งสิ้น อาทิเช่น เป็นบุคคลที่ปล่อยเงินกู้, เป็นบุคคลที่ยืมสตางค์คนอื่นโดยเสียดอกเบี้ยให้แก่เขา, เป็นบุคคลที่ไม่ได้รับหรือให้ดอกเบี้ย แต่เวลามีการตกลงกันในระหว่างสองคนซึ่งเรานั่งร่วมเป็นพยานว่าเขาทั้งสองตกลงยืมสตางค์กันโดยกำหนดดอกเบี้ยไว้เท่านั้นเท่านี้ หรือไม่ใช่เป็นบุคคลที่กิน หรือให้ดอกเบี้ย อีกทั้งมิได้เป็นพยานอีกด้วย แต่เขาทำหน้าที่บันทึก,เขียนเกี่ยวกับดอกเบี้ย ตัวอย่างเช่น นายสมชายยืมเงินจากนายสมบูรณ์จำนวน 10,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 , ซึ่งนายสมบัติเป็นบุคคลบันทึกรายละเอียดทั้งแต่ต้นจนจบ, ตัวอย่างข้างต้นที่หยิบยกมานั้นอยู่ในข้อห้าม (หะรอม) ของศาสนาทั้งสิ้น ดังนั้นงานใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ศาสนาไม่อนุญาตให้กระทำ ดั่งที่คุณมารียาถามมานั้นก็ถือว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยชัดเจนครับ ผมขอแนะนำ ให้คุณมาริยาไปสมัครงานที่อื่นทิ้งไว้ หากได้งานที่เราสมัครทิ้งไว้ ก็ให้ลาออกจากที่ทำงานแห่งนั้น จากนั้นให้ขอลุแก่โทษ (เตาบะฮฺ) ต่อพระองค์อัลลอฮฺในสิ่งที่เราเคยกระทำความผิดเอาไว้ก่อนหน้านี้ คำถามที่สอง การเล่นหุ้นในอิสลามอนุญาตให้เล่นหุ้นได้ในกรณีที่กิจการที่ทำนั้นหะลาลตามหลักการของศาสนา สอง ต้องไม่พัวพันกับดอกเบี้ย สาม การร่วมหุ้นต้องมีเงื่อนไขอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น มีการร่วมหุ้นทำกิจการปลากระป๋อง โดยมีหนึ่งพันหุ้น (สมมติว่า) ผลกำไรแบ่งเท่าๆ กัน การร่วมหุ้นเช่นนี้ หรือลักษณะใกล้เคียงจากตัวอย่างข้างต้น ถือว่าอนุญาต ส่วนกรณีที่ถามถึงการเล่นหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะที่มีการเก็งกำไร เช่นนี้ศาสนาไม่อนุญาต เพราะถือว่าคล้ายกับการเล่นการพนัน, ส่วนการเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุน ก็ต้องมีเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงจะอนุญาตให้เล่นหุ้นนะครับ (วัลลอฮุอะอฺลัมบิศเศาะวาบ) วัสสลาม

http://www.mureed.com/mr_talk/b_sele.asp

อยากให้เขียนบทความเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจอิสลามให้มากกว่านี้ อยากให้ระบบเศรษฐกิจอิสลามได้เข้าไปเป็นระบบหนึ่งในหนึ่งเศรษฐศาสตร์ที่นักวิชาการทั่วนำมาเขียนบรรยายด้วย

ขอบคุณมากครับ ตอนนี้กำลังยุ่งๆ กับงานวิจัยอยู่ และพยายามคิดสร้างกลุ่มชาวมือบนอยู่ คงไม่นานจะได้เจอกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท