ขอเวลาย้อนมองตัวเอง กับ 2 ปีที่ผ่านมา มีอะไรต้องคิดทบทวน


ต้องยอมรับว่าหลายครั้ง ใน 2 ปีผ่านมา นับตั้งแต่ปลายปี 48 ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ จัดตั้งศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ ไม่ค่อยได้ดูถึงระเบียบ ว่าด้วยศูนย์ฯเท่าไหร่นัก ทั้งๆที่เขียน พิมพ์มากับมือตัวเอง (ดูชาวบ้านเขามาครับ แล้วมาปรับอีกที)

หลังจากที่สภาอนุมัติแล้ว แจ้งเวียนบุคลากรทราบ และก็เก็บเข้าแฟ้มไว้เป็นหลักฐานมาตั้งแต่นั้น ผมว่าหลายคนในที่ทำงานตอนนี้จำไม่ได้แล้วว่ามีรายละเอียดของระเบียบเขียนอะไรว้าบ้าง ที่จำเป็นๆ แม้แต่ผมก็ยังลืมบ้าง 

 เอาง่ายๆว่า ผมลองไปถามเล่นๆกับน้องในที่ทำงาน

  • ชื่อศูนย์ฯเราภาษาอังกฤษเขียนว่าอย่างไร?
  • ศูนย์ฯเราเป็นหน่วยงานประเภทใด เทียบเท่าอะไร?
  • ลองวาดโครงสร้างการบริหารงานศูนย์ฯดู?
  • คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ฯมีกีคน? ประกอบด้วยใครบ้าง?
  • ผู้ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการฯต้องมีอายุอย่างน้อยกี่ปี? และไม่เกินกี่ปี?

ปล.ทุกคำถามที่ผมยกตัวอย่างมานี้ ผมลองถามก่อนที่จะบันทึกนี้ และก็เป็นความจริง

ทำไมเหรอครับผมจึงมานั่งเปิดระเบียบของศูนย์ฯมาเทียบกับการทำงานที่ผ่านมา เพราะผมไม่อยากให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น การฟ้องร้อง การร้องเรียน การกล่าวหา...สำหรับหน่วยงานของผมไม่ค่อยมีปัญหามากนักเรื่องพวกนี้ เพราะไม่ค่อยมีผลกระทบกับคนอื่นเท่าไหร่นัก ไม่มีผลประโยชน์ใดๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเพียงหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่หลักในการประสาน พัฒนา สร้างระบบกลไก เท่านั้น แต่ถ้าเป็นหน่วยงานที่มี Impact สูง เช่น เรื่องของการบริการ การเงิน คงเผลอไม่ได้ครับ

จริงๆแล้วจากการพิจารณาดู ก็มีหลายๆส่วนที่ไม่เป็นตามระเบียบนัก (ไม่ได้หมายถึงผิดนะครับ แค่ยังไม่สมบูรณ์) ทั้งๆที่ผมรู้มาโดยตลอดในฐานะผู้ปฏิบัติการ (น้ำท่วมปาก หรือ รู้อยู่แก่ใจ) และที่สำคัญผมดูแล้วไม่เห็นมีใครที่จะมาใส่ใจเอาจริงเอาจังที่จะทำให้หน่วยงานทำตามระเบียบที่ได้ตกลงกันไว้

ก้าวต่อไปข้างหน้าคงทบทวนการทำงานกันใหม่ เอาแบบกลับขั้วของการทำงานเดิมๆ คือ ต้องกางระเบียบก่อนทุกครั้งจะทำอะไรทั้งปวง (กันไว้ดีกว่าแก้)

 ดังนั้นที่กล่าวมาข้างต้นผมเพียงจะสะท้อนความเป็นจริงว่า ความศักดิ์ของระเบียบเกิดจากการทำตาม ไม่ใช่การลงโทษซึ่งผมก็ไม่เคยบอกว่าหน่วยงานของผมเป็นองค์กรที่ดีที่สุด แต่จะพยายามจะเป็นให้ได้ จากเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีต และกรณีตัวอย่างที่เคยเห็นจนน่าเบื่อในปัจจุบัน

ผมเชื่อว่าผู้ที่อนุมัติระเบียบไม่มีทางจำได้ว่าแต่ละหน่วยงานกำหนดไว้อย่างไรบ้าง ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความชะล้าใจ หละหลามบ้าง หรือลดความเคร่งครัดลง พอจะรายงานประจำปีแต่ละครั้ง ก็ไม่ได้แนบระเบียบไปด้วย ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ ดังนั้นควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่จับภาพ จับตา มอนิเตอร์หน่วยงานภายใน เรื่องนี้อย่างจริงเพื่อเป็นหูเป็นตาให้สภาฯ

 KPN  
หมายเลขบันทึก: 101468เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยค่ะ อาจมีปัญหาทางก.ม.ทีหลังได้ค่ะ น่าจะทำระเบียบขึ้นมาให้เหมาะสมโดยเร็ว

ประเทศเรา ไม่ค่อยเห็นก.ม.สำคัญ วันหลังมีปัญหาขึ้นมา จะยุ่ง

ขอบคุณครับ

P
คุณsasinanda

 

อะไรที่ผ่านไปแล้วอาจด้วยความไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ลืม เผลอ หรือเหตุประการใดก็ตาม ก็ให้มันผ่านไป

เอาเป็นว่าเรามาเริ่มตั้งต้นกันใหม่ ให้อยู่ในกรอบในระเบียบแล้วกันนะครับ อย่างน้อยถ้าเรากล้าที่จะสารภาพ คงมีคนเห็นใจบ้างนะครับ

ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และเข้าใจเป้าหมายเดียวกันของเพื่อนร่วมงานครับ

เรียน ท่าน Jack ผู้ร่วมพัฒนา

  • ข้อตกลง ข้อกำหนด กฏ กติกา และ มารยาท ขององค์การ และ องค์กร ต้องให้ชัดแจ้ง
  • "องค์กู" จะได้ไม่สับสน
  • เลยไปถึง "ค่านิยม และ วัฒนธรรม" ในการ อยู่ร่วม อยู่รวม กัน ด้วยครับ

ขอบคุณครับท่านอาจารย์จิตเจริญ

P
JJ

ผมก็บ่นไปตามภาษาผู้น้อยไปอย่างงั้นเองครับ แต่เจตนาจริงๆก็เพื่อให้หน่วยงาน ทั้งผม และเพื่อนร่วมงานได้คิดถึงในจุดนี้ให้มาก ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะมีผลกระทบในวันข้างหน้าครับ

การที่คนบางคนอยู่มานาน ก็อาจทำให้เกิดทั้งปัญหา และประโยชน์ในเวลาเดียวกันได้เช่นกันครับ

ขอบคุณที่กระแทกใจครับ องค์กู

ขอบคุณ

P

ทักทายกันครั้งแรก สั้นๆดีนะครับ

นึกว่าใครที่ไหน ชาว มมส. ของเรานี้เอง แต่อยู่ตึกเดียวกันแท้ๆ แต่ผมไม่เคยเห็นตัวจริงเลยครับ

กฏระเบียบก็ต้องปฏิบัติตามครับ ยิ่งในฐานะหน่วยราชการแล้วด้วยยิ่งต้องทำตาม

ผมเองเคยอยู่ในหน่วยงานเอกชนก่อนที่จะเข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเอกชน (มีกฏระเบียบพอประมาณ) ตอนแรกอึดอัดมากครับ ปรับตัวอยู่นาน

การทำตามกฏระเบียบเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทำครับ แต่ทุกกฏระเบียบคงต้องมีการใช้วิจารณญาณ ความถูกต้อง ความเป็นธรรมและความมีน้ำใจประกอบกันด้วยครับ แต่ที่ข้อยำคือต้องยืนอยู่บนความเข้าใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยครับ จึงจะได้ทั้งงานและมิตรภาพ และไม่ต้องเข้าตาราง

  • องค์กรของเราต้องร่วมกันศึกษาและให้บุคลากรทราบโดยทั่วกัน
  • โดยเฉพาะจุดอ่อน จุดแข็ง หรือโอสในการพัฒนาค่ะ
  • ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ..แต่ก็เชื่อว่าทุกคนสามารถช่วยกันพัฒนาองค์กรได้
  • หน่วยงานไหนคิดแบบคุณแจ็คหลายๆคนก็ดีค่ะ จะได้มีส่วนร่วมในองค์กรมากกว่าแค่ทำงานประจำผ่านไปวันๆ

 

 

ขอบคุณครับท่านอาจารย์มณฑล

P

กฏมีไว้ทำตาม ไม่ใช่มีไว้แหกครับ แต่ก็มีคนบางจำพวกที่ชอบขวางโลก เจออะไรๆใหม่ๆ จะดีหรือไม่ดี ไม่สนใจอ่านรายละเอียด ปฏิเสธอย่างเดียว คนจำพวกนี้ก็อาจจะมี 1 ใน 100

เห็นด้วยครับการทำงานเป็นทีม บนพื้นฐานของเป้าหมาย ธงที่ปักไว้เดียว โดยมีข้อบังคับ ระเบียบ นโยบายเป็นแผนที่เดินทางครับ

ขอบคุณคุณน้องครับ

P

เราต้องมาร่วมวิเคราะห์สภาพแวดล้อม หรือ นักวิชาการเขามักเรียกว่า swot ฟังแล้วดูหรูหราดีมากครับ

แต่ความเป็นจริงหลายๆหน่วยงาน วิเคราะห์ตนเอง จากคนๆเดียว  แล้วก็ประกาศก้อง

ทำให้การแก้ปัญหา หรือการดำเนินการไม่ถูกจุด เพราะไม่ได้มาจากการมีส่วนร่วม

อย่างไรก็ดีเมื่อเรา หรือหน่วยงานทราบถึงจุดอ่อน ปัญหาต่างๆ แล้ว ทั้งที่รู้มานานแล้ว หรือเพิ่งรู้ก็ตาม เราต้องมาทำความเข้าใจกันตั้งต้นใหม่ไปพร้อมกันๆ เพื่อให้ประวัติศาสตร์ ไม่ซ้ำรอยครับ

โดยอย่าไปโทษคนนั้นคนนี้ หาคนผิดให้ได้ นั้นคงไม่ใช่ทางออกที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท