ชุมชนอินทรีย์ภาคปฎิบัติ ที่ ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ. นครศรีฯ


การเสนอโครงการภายใต้งบประมาณ ตามยุทธสาสตร์อยู่ดีมีสุขรอบนี้ต้องเป็นโครงการภายใต้แผนชุมชนจริง ๆจึงะได้ผ่านน
          เมื่อวาน ( วันที่  5 มิ. ย ) ได้มีโอกาสไปช่วยจัดกระบวนการเรียนรู้แกนนำหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายในโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครรุ่นที่ 3 ของตำบลท่าพญา อ.ปากพนัง ซึ่งจัดวงเรียนรู้รวมกัน 4 หมุ่บ้านทีเหลือ คือหมู่ที่ 2 ,3 .4 และหม่ที่ 10   ร่วมกับทีมคุณอำนวยตำบล ซึ่งก็มี ครู กศน เจ้าหน้าที่อนามัยประจำตำบล  ส่วนสาเหตุที่ได้ไปช่วยตำบลนี้เนื่องจากแกนนำหมู่บ้านรุ่นที่ 1 และรุ่นที่2 เคยขอร้องให้ไปช่วยและเคยทำงานร่วมกันในประเด็นการพัฒนาที่ พอช ได้เข้าไปมีส่วนในการสนับสนุนตำบลนี้ในประเด็นงานพัฒนาอื่น ๆเช่น การแก้ปัญหากรณีการที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง การแก้ปัญหาสิทธิในการครอบครองที่ดินทำกิน การฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม และงานฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น    ทำให้ได้เข้าไปช่วยกันจัดเวทีร่วมกับพี่น้องครูกศน ปากพนัง  การจัดเวทีครั้งนี้เป็นการจัดเวทีที่ 3 ชุมชนได้มีการสำรวจข้อมูลครัวเรือนโดยแกนนำ 8 คนมาแล้ว จัดทำเป็นแผนระดับหมู่บ้าน บางหมู่บ้านได้นำเสนอโครงการเพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดภายใต้ยุทธศาสตร์อยุ่ดีมีสุข แล้ว และมีประสบการณ์จากการนำเสนอโครงการครั้งนี้ที่น่าสนใจ โดยผู้ใหญ่ถวิล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เล่าว่าในการทำโครงการครั้งนี้ลำบากมากครั้งแรกไม่เข้าใจกันมีแกนนำบางส่วนจัดทำโครงการจัดซื้อถังน้ำเพื่อแจกจ่ายให้กับลูกบ้าน เสนอไป ปรากฏว่า ไม่ผ่าน กลับมาแก้ใหม่เป็นโครงการจัดซื้อท่อส่งน้ำ ก็ไม่ผ่านอีก คราวนี้ก้กลับมาปรึกาหารือกันใหม่ว่าถ้าทำโครงการแบบเดิมคงไม่ได้แล้วประกอบกับได้รับการแนะนำจากหลายฝ่ายว่าโครงการนี้เขาเน้นที่การอยู่ดีกินดีภายใต้แผนชุมชนและแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำโครงการใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน คือโครงการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน   ปรากฏว่าโครงการผ่าน จากบทเรียนครั้งนี้ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้และเข้าใจประโยชน์ของการจัดทำแผนชุมชนมากชึ้น เวทีวันนี้ มาคิดต่อยอดกิจกรรมการพัฒนาของกลุ่ม ยกระดับการบริหารจัดการทำอย่างไรจะทำให้กลุ่มเลี้ยงไก่ยั่งยืน มีการคิดให้เกิดการหมุนเวียน การต่อยอดสู่กิจกรรมการพัฒนาอื่น ๆ ต่อไปเช่น สู่การเกิดกองทุนสวัสดิการจากกำไร หรือการหมุนเวียนผู้รับประโยชน์ในรุ่นต่อไปอย่างทั่วถึง เป็นต้น   กลุ่มกิจกรรมอื่นๆก็เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ (Tags): #ชุมชนอินทรีย์
หมายเลขบันทึก: 101219เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ยินดีที่ได้รู้จัก พอช. ปากพนังครับ...ผมรู้จัก พอช. ครั้งแรกเมื่อมีโอกาสได้ไปร่วมงานกับระยอง...ตอนผมคงจะมาร่วมงานกับปากพนังมากขึ้น (ประมาณว่าพเนจรไปเรือยครับ)

ที่ปากพนังผมร่วมทำงานกับชุมชนโดยผ่านมหาวิทยาลัยชีวิตปากพนังครับ...คงจะมีโอกาสได้ร่วมทำงานชุมชนในโอกาสต่อไปนะครับ...

น้องพัชนี

          งานคืบเยอะเลยนะครับ ทีมคุณอำนวยตำบลแข็งขันน่าดู ดีใจที่ได้เห็นชาวบ้านเรียนรู้การปรับปรุงโครงการในแผนชุมชนพึ่งตนเอง ให้เป็นโครงการที่เรียนรู้มากขึ้น ปรับหลายรอบก็ไม่เป็นไร ช้าแต่ดี ยั่งยืน ก็ไม่มีปัญหา...ให้กำลังใจคนทำงานครับ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะคุณพัชนี

ดิฉันอ่านเรื่องราวด้วยความสนใจค่ะ

ประการแรก  ปากพนังเป็นอำเภอที่ทั้งพ่อทั้งตาเคยเดินทางไปซื้อขายข้าว ตัวเองก็เคยไปตอนเด็กๆ และรับทราบว่า ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ที่เคยมีฐานะทางเศรษฐกิจดี เป็นพื้นที่ที่มีปัญหามากอยู่  คล้ายๆกับอำเภอที่เกิด  จึงค่อนข้างสนใจว่า พื้นที่จะพัฒนาไปอย่างไร

ประการที่สอง  การเล่าประสบการณ์ของชาวบ้านเช่นนี้ ทำให้คนอยู่ห่างไกลพื้นที่ได้เรียนรู้และเข้าใจปัญหามากขึ้น  เข้าใจว่า ชาวบ้านทำอะไร และภาครัฐจะเข้าไปมีบทบาทแก้ปัญหาถึงระดับชาวบ้านอย่างไร

อ่านแล้วคล้ายๆกับว่า เรื่องน้ำเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่  แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมข้อเสนอของชาวบ้านจึงไม่ผ่าน ทั้งๆน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต  และการทำกิจกรรมต่างๆก็ต้องใช้น้ำ  หรือ ว่าโครงการของชาวบ้านเป็นเพียงจัดการน้ำเพื่อการบริโภค ไม่สามารถใช้ในการผลิตได้   หรือว่า  ปัญหาเรื่องน้ำไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง  หรือติดปัญหาว่า  เป็นการซื้อวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับโครงการ (ทั้งๆที่เชื่อมโยงกิจกรรมได้ ?) ถ้าน้ำเป็นปัญหาจริงๆและจัดการภายใต้โครงการไม่ได้  เราจะแนะนำให้เขาแก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างไร  (ติดต่อกรมโยธาฯ? เกษตรอำเภอ?)

อยากอ่านประสบการณ์ทำนองนี้เยอะๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

      เรียน อ.ปัทมาวดี          ความเข้าใจของอาจารย์ถุกแล้วค่ะที่โครงการของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ไม่ผ่านในตอนแรกเนื่องจากถูกตีความไปในลักษณะการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ประกอบกับมองว่าการแก้ปัญหาเรื่องน้ำน่าจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน เช่น อบต, ถ้าเป็นการแก้ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรก็น่าจะเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายแต่ในการทำโครงการอยู่ดีมีสุขครั้งนี้แนวโน้มจะเน้นการแก้ปัญหาระดับครัวเรือนการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย อะไรทำนองนี้นะค่ะ ต้องขอบคุณอ.มากคะที่กรุณามีความเห็นเข้ามา
       เรียน คุณสวัสดิ์    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยม ความจริงได้มีโอกาสรูจักทีมงานมหาวิทยาลัยชีวิตหลายคน คราวหน้าคงมีโอกาส ลปรร. กันอีกนะคะ

สวัสดีค่ะน้อง...

P
ขอบคุณมากน่ะค่ะที่ทำให้เวทีในครั้งนี้มีสีสรร และได้เรียนรู้  ความรู้มากมายในครั้งนี้  ทีมงานกศน.  คุณอำนวยตำบล ไม่โดดเดี่ยวและวันที่ 19  มิ.ย.นี้ พี่ในฐานะคุณอำนวยตำบลก็คงต้องสานต่อค่ะ ขอบคุณอีกครั้ง

พี่ พัช

ดีได้แก้ไขรูปถ่ายแล้วนะ อ่านบล็อกของชาบีอา แล้วพางพิง คนใน สนง.พอช.ภาคใต้ ใครบ้างคน เลยปรับแก้ไข ไม่อยากมีปัญหากับใคร

รุสดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท