ประชุมเครือข่ายการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับท้องถิ่น


ภาพการประชุม

          การประชุมองค์กรเครือข่ายการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับท้องถิ่น วันที่ 30 พ.ค.2550 ที่ผ่านมามีวัตถุประสงค์ก็เพื่อติดตามการขับเคลื่อนของกลุ่มเครือข่ายทั้ง 5 เครือข่ายของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้แก่

  1. เครือข่ายยมนา
  2. เครือข่ายแผนแม่บทชุมชน
  3. องค์กรเครือข่ายการเงินชาวบ้านเมืองนคร
  4. เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วัดป่ายาง

พร้อมกับเสนอรายชื่อบุคลเป็นอนุกรรมการกองทุน ตามโครงสร้าง ทั้ง 5 เครือข่ายนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมาซึ่งหลายแห่งก็มีความคืบหน้าไปบ้างพอควรแล้วไม่ว่าจะเป็น การออกแบบฟอร์มที่ใช้ในการสำรวจ การลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการท้องถิ่น

ซึ่งในที่ประชุมเห็นว่าการประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆที่ผ่านมานั้นยังไม่ทั่วถึง ยังคงทราบกันแค่เพียงกลุ่มของแกนนำ ดังเช่นกรณีของโครงการภายใต้งบประมาณอยู่ดีมีสุขที่ผ่านมา หลายคนมองว่าการเสนอโครงการของบประมาณหลายๆโครงการยังคงเป็นงบประมาณโครงการในรูปแบบเดิมๆ เช่นโครงการซื้อของต่างๆ โอ่ง เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งไม่ได้ล้อตามวัตถุประสงค์ของโครงการ(แล้วจะนำเอารายละเอียดโครงการอยู่ดีมีสุขมาเล่าสู่กันฟังอีกสักรอบ ต้องขอเวลาไปทบทวนกันก่อนนะคะ) ซึ่งหลายๆท่านก็ตั้งข้อเสนอ(ถกเถียงกันไปบ้าง)ไว้มากมายเพียงแต่ทว่ายังไม่เห็นว่ามีส่วนไหนจะอาสาก่อให้เกิดการปฏิบัติจริง เช่น โครงการเสียงตามสาย การลงพื้นที่เป้าหมาย การออกหนังสือจากหน่วยงานหรือการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่น(และอีกหลายๆช่องทางที่จะนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด) ใครจะเป็นคนทำ จากการประชุมหลายๆครั้งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมสังเกตเห็นว่าแทบทุกครั้งจะมีการตั้งข้อเสนอแนะและแนวทางไว้มากมาย เข้าเรื่องบ้างนอกเรื่องบ้างซึ่งก็ล้วนน่าสนใจ แต่เท่าที่ดูก็ยังคงเป็นได้แค่ คำว่าข้อเสนอแนะ ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมเสียที

สาระการประชุมวันนี้นอกจากประเด็นเรื่องการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเรื่องการจัดสวัสดิการแล้ว ช่วงบ่ายก็เข้าเรื่องประเด็นการหาตัวแทนภาคประชาชน 4 คนที่จะเข้าไปนั่งอยู่ในส่วนของคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด ตามสัดส่วนโครงสร้างที่ได้ออกแบบไว้

รัฐ : ท้องถิ่น : ปชค. : ปชช. : ที่ปรึกษา(ผวจ.) : เลขา(พมจ.)  = 4:2:3:4:1:1

หมายเลขบันทึก: 100219เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สัดส่วนอนุกรรมการคือ4:3:3:4 โดยมีพมจ.เป็นเลขาและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา ในส่วนของท้องถิ่น3คนไม่ใช่2คน คือผู้แทนอบจ.1คน เทศบาล1คนและอบต.1คนครับ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูลที่ถูกต้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท