ชาวบ้านวิจัย : แปลงเรียนรู้สูตรปุ๋ย


กิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามความต้องการอยากรู้ของชาวบ้าน และวิธีการปฏิบัติก็สามารถดำเนินการได้ในชีวิตประจำวัน

          วันที่ 9 ที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านที่บ้านหนองกอง หมู่ที่ 4 ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  ซึ่งเราได้นำการวิจัย PAR ไปดำเนินร่วมกับกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน  เพื่อร่วมกันผลิตข้าวให้ปลอดภัย  (ลิงค์อ่าน) 

          โดยกระบวนการผลิตของกลุ่มเพื่อผลิตข้าวให้ปลอดภัยนั้น มีหลายกิจกรรม และในวันนี้เป็นการเก็บเกี่ยวข้าวในแปลงเรียนรู้ของชาวบ้าน   ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งเป็นการวิจัยทดลองโดยการออกแบบและดำเนินกิจกรรมโดยสมาชิกของกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองกองเอง

          เริ่มต้นด้วยการเล่าความเป็นมา และ ลปรร.กับผู้สนใจ วันนี้ได้ใช้สถานที่ของสถานีอนามัยบ้านหนองกอง

 

  • แปลงเรียนรู้ของชาวบ้านที่ได้ทำร่วมกันนี้ ได้ออกแบบไว้ 6 รูปแบบ วันนี้ขอนำตัวอย่างมาให้ดูแค่นี้ก่อน

   <div style="text-align: center"></div><p> </p><p align="center">       </p><p align="center"> 
ทุกแปลงจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง</p><p> </p><ul><li>วันนี้ได้ร่วมกันสุ่มเพื่อประเมินผลผลิต โดยใช้ตารางสุ่มแล้วช่วยกันเกี่ยวและนวดข้าว และในวันที่ 10 พ.ย. จะทำการเกี่ยวข้าวทั้งแปลงเพื่อวัดผลผลิตอีกครั้งหนึ่ง  นอกจากนี้ยังมีแปลงส่วนตัวของชาวบ้านที่ได้ทำการทดลองไว้อีกส่วนหนึ่ง คาดว่าปลายเดือนนี้จะทำการสรุปผลในภาพรวม (ประเมินผล)</li></ul><p>    </p><p>          เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการเรียนรู้ของชาวบ้านนะครับ  เป็นการเริ่มต้นในการวิจัยโดยชาวบ้าน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามความต้องการอยากรู้ของชาวบ้าน และวิธีการปฏิบัติก็สามารถดำเนินการได้ในชีวิตประจำวัน  </p><p>          นักวิชาการอาจมองว่าไม่ถูกตามระเบียบวิธีมากนัก   แต่พวกเรานักส่งเสริมฯ ที่นำ KM เป็นเครื่องมือในการทำงานกลับมองว่า นี่เป็นการสร้างความรู้ขึ้นใช้เองโดยชาวบ้าน และเป็นพลวัตรหนึ่งของความรู้ที่เราอยากให้เกิดขึ้นในวิถีของการประกอบอาชีพการเกษตร ที่จะเดินไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด</p><p>บันทีกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ </p><p>วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

หมายเลขบันทึก: 58932เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียน น้องสิงห์ป่าสัก

           เอา PAR มาเป็นเครื่องมือในการผลิตข้าวให้ปลอดภัย   ชาวบ้านทำกันเอง เห็นกันจะๆอย่างนี้ น่าชื่นชมนะครับ ร่องรอยการเรียนรู้ของเกษตรกรอย่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงงานให้สูงขึ้นได้นะครับ ส่งไม้ หรือเชื่อมต่อกับ กศน.ได้ก็จะดีนะคราบ

     พลังของ PAR แบบนี้ ท่านพี่บวก L เข้าไปอีกตัวสิครับ จะเป็น PLAR ที่นี่เลยครับ http://gotoknow.org/post/tag/plar

 เรียน ครูนงเมืองคอน

  • กระบวนการอย่างที่ทำ ได้แนวคิดมาจาก PAR  แต่ก็ผสมผสานแบบอื่นๆ ด้วย (ช่วงเรียนรู้นี้ก็เลยเรียก PAR ตาม)
  • ตอนนี้น้องๆ ครูที่โรงเรียนใกล้ๆ ก็สนใจลงมาศึกษาและติดตามคอยให้กำลังใจชุมชนนี้อยู่นะครับ
  • จะลองทาบทาม กศน.ดูเพื่อส่งไม้ตามที่ครูนงแนะนำให้นะครับ
  • ขอบพรคุณมากครับที่เข้ามาให้กำลังใจ

เรียน  อาจารย์ชายขอบ

  • ขอบพระคุณมากครับที่ช่วยแนะนำบล็อกดีๆ ให้ มัวแต่ก้มหน้าก้มตา...
  • PLAR เห็นด้วยครับ เพราะเป้าหมายและวิธีการก็เหมือนกันอยู่แล้ว จะคอยติดตามและเข้าไป ลปรร.ต่อนะครับ

ดีใจจังเราจะมีข้าวดีที่ปลอดภัยกินบำรุงสุขภาพแล้ว

อยากอวยพรให้แตกหน่อขยายไปสู่ทุกๆที่ของไทยค่ะ

 เรียน  คุณพยาบาล PCU

     ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ   จะพยายามแตกหน่อต่อยอดขยายวงการเรียนรู้กันต่อไปครับ

  • ได้มีโอกาสไปร่วม รู้สึกทึ่งที่ชาวบ้านเป็นนักวิจัยแล้ว
  • มีภาคีต่าง ๆ ไปร่วม คุยกับอาจารย์ที่ทราบข่าวเรื่องนี้จากลูกศิษย์ในพื้นที่ จากโครงงานของลูกศิษย์ว่าบ้านเราก็มีเรื่องดี ๆ เช่นนี้
  • ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นการทำงานที่เกื้อหนุนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  • ขอบคุณคุณสิงห์ป่าสักคะที่เอาหัวใจไปใส่ในงานตลอดเวลา

เรียน ผอ.ธุวนันท์

  • ขอบพระคุณแทนเพื่อนๆ นักส่งเสริมการเกษตรของกำแพงเพชรมากครับ  ที่ทีมงานของกรมส่งเสริมการเกษตรลงไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจถึงภาคสนาม
  •  ชาวกำแพงเพชร และนักส่งเสริมการเกษตรทุกๆ คน ยินดีต้อนรับครับ   และโอกาสต่อไปคงได้ไปเยี่ยมเยียนกันอีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท