นวตกรรม : "มีเธอแล้วหายใจสะดวก"


  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในงานตลาดนัดความรู้และ CQI ของสถาบันบำราศฯ ที่จะจัดในระหว่างวันที่ 31 ต.ค. 2549 - 3 พ.ย. 2549 นี้ ทางชุมชนคนชุดเขียวได้เตรียมนำเสนอผลงานนวตกรรม 3 เรื่องเพื่อให้พี่น้องชาวบำราศฯ ได้รับทราบถึงผลงานที่น่าภาคภูมิใจ งานนี้ชาวชุมชนคนชุดเขียวกระตือรือร้นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะนำเสนอดิฉันจึงรีบนำเสนอให้พี่น้องชาว G2K ที่ไม่ได้มาร่วมในงานตลาดนัดของสถาบันได้ทราบก่อนใครเลยนะคะ เรื่องแรกที่จะนำเสนอคือ "มีเธอแล้วหายใจสะดวก"</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> การความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการพยาบาลห้องผ่าตัด คือ การเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกกระบวนการของการพยาบาล  การเคลื่อนย้ายก็เป็นจุดหนึ่งที่มีความเสี่ยงได้  จากการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดพบว่า  รถเปลนอนรับ-ส่งผู้ป่วยของงานห้องผ่าตัดไม่มีถังออกซิเจน O2   กรณีที่ผู้ป่วยหอบหรือมีปัญหาทางเดินหายใจต้องใช้ O2 พนักงานจะต้องนำถัง O2พร้อมที่แขวนมาติดกับรถเปลนอน  ซึ่งบางครั้งเจ้าหน้าที่ขาดการสื่อสารทำให้พนักงานต้องกลับลงมานำถัง O2จากห้องผ่าตัดไปติดตั้ง  ทำให้การรับผู้ป่วยล่าช้า  หรือระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงมาถ้าต้องการใช้ O2 กะทันหัน  จะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้และถ้าพนักงานติดตั้งด้วยความรีบร้อนอาจทำให้ถังหลุดจากที่แขวนได้  จึงได้เกิดแนวคิดที่จะติดตั้งถัง O2  กับรถเปลนอนรับ-ส่งผู้ป่วย  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ O2</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> <div style="text-align: center"></div> <p align="center">   รถเข็นเปลนอกที่ไม่มีถังออกซิเจน (O2)  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สาเหตุและแรงจูงใจ</p>

1.     เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนขณะเคลื่อนย้าย

2.     เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความสุข

3.     เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.     เกิดเหตุการณ์พนักงานต้องลงมานำถังออกซิเจน  จากห้องผ่าตัดไปติดตั้งรถเปลนอนฉุกเฉิน  = 0 % 

2.     เพื่อลดความเสี่ยงผู้ป่วยขาดออกซิเจน ขณะเคลื่อนย้าย  =  0 %  

วิธีการประยุกต์และติดตั้งถัง O2 กับรถเปลนอน 

  1. เหล็กแผ่นจำนวน 8 เส้น
  2. นำเหล็กแผ่นมาดัดเข้ารูปให้มีขนาดที่สามารถนำถังออกซิเจนใส่ได้
  3. เชื่อมแผ่นเหล็กให้ติดกันเพื่อขึ้นรูป
  4. นำโครงเหล็กที่ขึ้นรูปแล้วไปเชื่อมติดกับรถเปลนอน
  5. นำถังออกซิเจนใส่ในตะแกรงที่ติดตั้งกับเปลนอกเรียบร้อยแล้ว
  6. ติดหัวเกย์ออกซิเจนและสายเพื่อเตรียมพร้อมใช้ตลอดเวลา

  <div style="text-align: center"></div> <div style="text-align: center">ภาพแสดงการติดตั้งถังออกซิเจนกับรถเปลนอน</div>  <div style="text-align: center"></div>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">ภาพแสดงการใช้ออกซิเจนที่เตรียมพร้อมใช้กับผู้ป่วย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <div style="text-align: center"></div> <p align="center">       ภาพแสดงการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจเมื่อให้ออกซิเจนแล้วผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยขณะเคลื่อนย้าย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สรุปผลการปฏิบัติที่ได้ดำเนินการแล้ว</p>

1.     ไม่เกิดเหตุการณ์พนักงานต้องลงมานำถังออกซิเจน จากห้องผ่าตัดไปติดตั้งรถเปลนอนฉุกเฉิน

2.     ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนตลอดเวลา  สามารถเคลื่อนย้ายมาที่ห้องผ่าตัดหรือกลับตึกได้โดยไม่ขาดออกซิเจนมีความปลอดภัย "มีเธอแล้วหายใจสะดวก" จริง ๆ

3.     เจ้าหน้าที่ (  พนักงาน ) มีความพึงพอใจและสบายใจขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย "มีเธอแล้วผมสบายใจ...โล่งอกเลยครับ" 

อ้อ...ดิฉันขอกระซิบบอกอีกนิดว่าผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานของ 4 หนุ่มแห่งชุมชนคนชุดเขียวอีกแล้ว...ช่างขยันขันแข็งจริงเลย...ทำให้ห้องผ่าตัดของเรามีผลงานเพิ่มอีกแล้ว ใครจะนำไปใช้ก็ได้...ไม่สงวนลิขสิทธิ์หรอกค่ะ    

</span></strong>

หมายเลขบันทึก: 56199เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2006 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ครูอ้อยคารวะ เลยค่ะ  เยี่ยมจริงๆ  แต่ครูอ้อยไม่อยากนอนค่ะ อิอิ
ยอดเยี่ยมทั้งผลงานและภาพประกอบเลยค่ะ ยก 10 นิ้วให้เลยนะคะ
  • ขอบคุณคุณชาญวิทย์ ครูอ้อยและพี่มอมค่ะ
  • ความดียกให้พนักงานสุดหล่อทั้ง 4 คนที่ช่วยกันสรรค์สร้างนวตกรรมใหม่ ๆ ตลอด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท