การประเมินทักษะทางภาษา (17)


แนวคิดและความสำคัญของการประเมินทางภาษา ในการจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
กรอบแนวคิดในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร (Communication Competence)  มีประเด็นที่เป็นกรอบแนวคิด  ในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสารที่ครูผู้สอนควรรู้  และควรทำความเข้าใจหลายเรื่อง  
ประเด็นต่างๆได้แก่   การทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร ซึ่งท่านสนใจและอ่านได้ในบันทึกนี้ค่ะ  การประเมินทักษะทางภาษา (16)  
คราวที่แล้วครูอ้อยได้กล่าวถึง   วิธีการทดสอบทักษะทางภาษา  เมื่อทราบเกณฑ์การสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสารและลักษณะของภาระงานที่ใช้ในการประเมินทักษะทางภาษาตามสภาพจริงแล้ว   ครูผู้สอนควรทราบถึงวิธีการการทดสอบทักษะทั้ง 4 เพื่อจะได้สามารถเลือกไปใช้ได้ตามความเหมาะสม  สอดคล้องกับจุดประสงค์ของตน  โดยเรียงลำดับต่อไปนี้ 
1.  การทดสอบทักษะฟัง  ซึ่งประกอบด้วย  การทดสอบการจับใจความสำคัญของคำพูด (Skimming)  การทดสอบความเข้าใจข้อความ  ( Oral Comprehension)   การทดสอบรับข้อมูล (Perception)    การทดสอบคำพูด  หรือ  เรื่องราว  (Transfer the oral messages)  การเขียนตามคำบอก  (Dictation) 
2.  การทดสอบทักษะการพูด  วิธีการทดสอบทักษะพูด  เพื่อความเข้าใจ  และทักษะพูดในขั้นสื่อสาร  แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ  การพูดที่มีการควบคุม  และ  การพูดโดยอิสระในสถานการณ์การสื่อสารอย่างแท้จริง   
การพูดโดยอิสระในสถานการณ์การสื่อสารอย่างแท้จริง   มีวิธีการทดสอบ  ดังนี้  
     1)  ให้นักเรียนบรรยายเหตุการณ์ในภาพชุด  ถ้าเป็นระดับเริ่มเรียนอาจให้คำสั่งเป็นภาษาแม่ 
     2)  ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องง่ายๆ  
     3)  ให้นักเรียนพูดตามหัวข้อที่กำหนดให้  ครูอ้อยจะให้หลายๆหัวข้อ  เพระนักเรียนอาจจะคล่องในหัวข้อหนึ่งมากกว่าหัวข้อหนึ่ง  ก็เป็นได้ 
     4)  นักเรียนบรรยายวัตถุอย่างหนึ่ง  โดยใช้ภาษาที่เรียน  ถ้าเป็นระดับกลาง  วัตถุนั้นอาจจะไม่สลับซับซ้อนมากนัก  แต่ถ้าเป็นระดับที่สูงขึ้น  อาจเป็นสิ่งที่ซับซ้อนขึ้น 
     5)  ให้พูดเพื่อสนับสนุนความคิดของตนเอง  โต้แย้ง  ปฏิเสธ  พูดหักล้างข้อโต้แย้ง 
     6)  การสนทนาและสัมภาษณ์  เป็นวิธีการทดสอบทักษะพูด  ที่เหมาะสม  นิยมใช้  และเป็นธรรมชาติมากที่สุด  แบบสอบสมรรถภาพทางการพูด  จะเป็นแบบสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษา  ตามหน้าที่หรือความสามารถในการสื่อสาร  ก็ต่อเมื่อแบบสอบนั้น  ให้โอกาสแก่ผู้เข้าสอบ  ในการแสดงความสามารถที่จะเรียบเรียง  ส่วนประกอบต่างๆของคำพูดให้สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม  เนื้อหาในการสัมภาษณ์  ควรเลือกให้เหมาะสมกับระดับความสามารถและความสนใจของนักเรียน 
     7)  ให้พูดเสนอข้อมูลจากสื่อต่างๆ  เช่น  บทความ  ภาพ  ภาพประกอบบทความ 
     8)  ให้พูดสรุปจากเอกสาร 
     9)  ให้พูดเชิงวิเคราะห์  โดยนำเสนอหน้าชั้น 
กิจกรรมที่ใช้วัดความสามารถทางการพูด    จำแนกได้ตามสัมพันธภาพที่ผู้พูดมีกับตัวกระตุ้น  ซึ่งอาจเป็นคำสั่งในการสอบ  หรือตัวกระตุ้น  ที่เป็นข้อคำถามและข้อความที่เป็นประเด็นการสอบ  แบ่งออกเป็น  3  ประเภทคือ 
        1)  แบบสัมพันธภาพคงที่  ได้แก่

             -  การบรรยายสิ่งของ  หรือ  ภาพ

             -  บอกให้คู่สอบวาดภาพ หรือ แผนภูมิ

             -  บอกให้คู่สอบประกอบชิ้นส่วน  เครื่องมือ  หรือกลไกอย่างใดอย่างหนึ่ง

             -  อธิบาย  หรือ บอกคู่สอบ  วิธีการจัดเรียนสิงใดสิ่งหนึ่ง

             -  บอกทางไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

       2)  แบบสัมพันธภาพแบบที่เป็นพลวัต  ได้แก่ 

             -  การเล่าเรื่อง  ซึ่งมีการเปลี่ยนบทตัวละคร  เวลา  สถานที่  ตามท้องเรื่อง

             -  การให้ปากคำในฐานะพยานรู้เห็นอยู่ในเหตุการณ์  เช่น  ในอุบัติเหตุทางท้องถนน  การลักทรัพย์

       3)  แบบสัมภาษณ์ภาพที่เป็นนามธรรม  ได้แก่

             -  การแสดงความคิดเห็น

             -  การให้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง 

ครูอ้อยขอจบบันทึกแค่นี้นะคะ  ต้องไปเขียนบันทึกอีกบล็อกหนึ่งค่ะ 
สำหรับบันทึกนี้คราวหน้าครูอ้อยจะเขียนเรื่องค่ะ  การทดสอบทักษะการอ่าน    โปรดติดตามอ่านนะคะ  ขอบคุณค่ะ 
หมายเลขบันทึก: 77776เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
โอ...มาพบบันทึกของตัวเอง..ที่เขียนเรื่องสำคัญที่..จะต้องนำมาใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรม..ดีจัง..ที่มองเห็นการณ์ไกล
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท