เรียนรู้เรื่องสมองก่อนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ Backward Design


ได้เข้าเรียนเรื่องสมองเมื่อวานนี้ ในขณะที่โรงเรียนกำลังอบรมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ซึ่งเป็นเรื่องเก่าๆ แต่นำไปใส่กล่องที่ชื่อ Backward Design นั่นเอง
ในขณะที่นั่งอ่านการบรรยาย   ผนวกกับความรู้และข้อมูลที่ได้รับมาตลอด 3 สัปดาห์  จึงทำความเข้าใจด้วยตนเองว่า....ครูอ้อยควรจะยืนและจับมั่นในสิ่งใด  
ดีแล้วสมควรแล้วที่.......ผละออกมาจากการอบรมเรื่อง..Backward Design  .แล้วมาเข้าอ่านการบรรยายด้วยตนเองในครั้งนี้  
ยังมีอีกหลายแขนงที่ต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะจัดหรือออกแบบการเรียนรู้   
ซึ่งทางราชการได้กำหนดให้ครู  และเป็นเรื่องสำคัญด้วย   ที่ครูจะต้องนำความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนรู้แบบ   Backward Design  เพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ....
ได้มีเพื่อนครู  ได้วัดแววกับครูอ้อยเรื่องนี้  ถามแบบเข้าใจ  แต่ครูอ้อยก็เรียนตอบไปตามความเข้าใจ   เรื่องนี้  มิได้เป็นสูตรตายตัวที่จะนำไปใช้ให้เหมือนกันได้    ยังต้องนำความรู้นี้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องราวของตนเอง   นั่นคือประเด็น 
ทำไมครูอ้อยจึงถอย...และไม่เข้ารับการอบรมเรื่อง..Backward Design  ก็เพราะครูอ้อยได้ถึงปลายทางแล้ว   และจะรีบเดินทางต่อไปในทางใหม่   โดยเพื่อนๆครูยังเดินทางสายเก่าอยู่..นั่นเอง...
วันนี้  ในบันทึกนี้   ...สรุปมาจากการเรียนรู้เมื่อวานนี้  เรื่องของสมอง  ..
สมองจะเรียนรู้ได้ดี..เมื่อมีสิ่งที่จูงใจ   สิ่งจูงใจจะชักนำให้สมองสนใจผลิตความรู้  และบันทึกข้อมูลในเรื่องที่ต้องการให้เรียนรู้  เป็นการตะล่อมสร้างกรอบให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปตามเจตจำนงของครูผู้จัดการเรียนรู้  ซึ่งเป็นผู้หาสิ่งจูงใจต่างๆ  นั้นมานำเสนอ  ถ้าสิ่งจูงใจนั้นไม่สามารถจูงใจสมองได้  สมองจะจัดการบันทึกข้อมูลแบบไม่มีคุณภาพ  หรือ  ไม่ยอมบันทึกไว้เลย.... 
สมองจะเรียนรู้ได้ดี..เมื่อมีสิ่งนั้นน่าสนใจ   สมองไม่มีความสามารถที่จะทำงานกับข้อมูลทุกอันได้   สมองจึงมีกระบวนการเลือก  คัดกรอง  เฉพาะสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้นเข้าสู่การรับรู้ของสมอง   ....
สมองจะเรียนรู้ได้ดี..เมื่อมีความตั้งใจ  ความตั้งใจเป็นกระบวนการของจิตใจ  เป็นสิ่งกำกับกระบวนการเรียนรู้   ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เมื่อเราสนใจ  เรามักจะมีความตั้งใจด้วย  ถ้านักเรียนมีเหตุผลเพียงพอ   หรือ  มีเป้าหมายของตนเอง  นักเรียนจะกระตุ้นตัวเอง  และขับเคลื่อนให้เกิดความตั้งใจ  เพื่อดำเนินกระบวนการให้ไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างรู้ตัว  
สมองนักเรียนขับเคลื่อนโดยเป้าหมาย....แรงบันดาลใจ  ความทะยานอยาก  ความใฝ่ฝัน  และการวางแผนของนักเรียนเอง  ทุกๆเป้าหมาย  ทุกๆความฝัน  จะมุ่งอนาคตของตัวนักเรียนเอง  เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย  จึงเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 
สมองเลือกเรื่องที่จะเรียน.....สมองเรียนรู้ได้ดี  เมื่อตัดสินใจว่า  จะเรียนรู้  เช่น  เมื่อนักเรียนตัดสินใจว่า  จะหัดขี่จักรยาน   หรือจะหัดว่ายน้ำ  สมองเรียนรู้ได้ดี  มีประสิทธิภาพอย่างน่าอัศจรรย์ 
สมองไม่เรียนเรื่องไร้เป้าหมาย....สมองมักจะดูเชื่องช้า  งุ่มง่าม  เมื่อสมองรู้สึกว่า  เรื่องที่จะเรียนนั้นไร้เป้าหมายที่แน่ชัด  เช่น  เมื่อเรียนเรื่อง  สมการ  หรือหัดสะกดคำ  ตามที่ครูสอน 
สมองเรียนรู้ได้ดี...เมื่อสมองมีเวลา  สร้างความหมาย  ให้ข้อมูล  การเรียนรู้ส่วนมาก  มักเน้นสอนเนื้อหาจำนวนมหาศาลให้แก่นักเรียน  ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่มีเวลาพอ  สำหรับสมองนักเรียนที่จะ  สร้างความหมาย  ให้แก่ข้อมูลที่รับเข้าไป  เมื่อข้อมูล..ไม่มีความหมายสำหรับสมอง  สมองจะไม่บันทึกข้อมูลนั้น  หรือบันทึกไว้ในระบบความทรงจำระยะสั้น (Short Term Memory)  
เราบอกให้นักเรียนตั้งใจเรียนได้ไหม.....  ถ้าทำได้  ความตั้งใจนั้นจะอยู่ในระยะสั้น  เพราะเป้าหมาย ....เพียงเพื่อทำตามที่ครูขอร้อง    หรือ  ไม่ให้ถูกทำโทษ  แต่น่าจะใช้พอได้  เฉพาะช่วงชั้น..ประถมปลายเท่านั้น  เพราะโดยทั่วไปความสามารถควบคุมโดยเหตุผล  และการวางแผนระยะยาว  ซึ่งควบคุมโดยสมองสั่งการล่วงหน้า (Perfrontal Cortex) ยังพัฒนาสมบูรณ์ไม่มากพอที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  จนกว่า  จะถึงวัยทำงานที่มีความรับผิดชอบ  ...
จะเห็นได้ว่า  การทำงานของสมองนั้น  มีความสำคัญที่เรา...ครูผู้จัดการเรียนรู้  จะต้องคำนึงถึงอย่างมาก 
ครูอ้อยเปินครูระดับชั้นประถมศึกษา  ยัง...บังคับให้นักเรียนสนใจเรียน..ตั้งใจเรียนได้อยู่  เพราะนักเรียนยังอยู่ในวัยที่ต้องทำตามคำสั่ง....ครูอ้อยต้อง..นำ..  สิ่งที่จูงใจ   สิ่งนั้นน่าสนใจ   ความตั้งใจ     เป้าหมาย   สร้างความหมาย   บอกให้นักเรียนตั้งใจเรียน   ผนวกกัน  ให้กลมกลืน   แล้วจึงนำมาใช้ในการออกแบบการจัดการาเรียนรู้แบบ Backward Design ต่อไป
เมื่อนักเรียนก้าวเข้าสู่วัยมัธยม   ครูผู้จัดการเรียนรู้จะบังคับนักเรียนไม่ได้แล้ว....ง่ายๆแค่นี้เอง  การเรียนรู้เรื่องสมองก่อนการจัดออกแบบการเรียนรู้...
หมายเลขบันทึก: 100387เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2007 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • จริงจริงจริง ไม่น้อย ครูอ้อยพูด
  • ครูพิสูจน์ ยอมรับ สนับสนุน
  • เรื่องสมอง ต้องมีเป้า เข้าเป็นทุน
  • ถึงจะลุ้น รับรู้ สู่วิญญาณ์
  • ทั้งเรื่องเด็ก มัธยม ที่ผมสอน
  • สิริพร พูดดี มีคุณค่า
  • เรียนอะไร ครูจัด เด็กศรัทธา
  • หมดปัญหา เกิดปัญญา น่าสนใจ
  • ทำอะไร เพราะฝืน ขืนบังคับ
  • สมอง มันไม่รับ รับไม่ไหว
  • เส้นโลหิต ปริแหก หรือแตกไป
  • ไม่ได้ใช้ หมื่นสอง ลอยล่องลม

ครูอ้อยขออนุญาตเรียก..พี่พิสูจน์ดีกว่านะคะ

  • เก่งจังพี่ชาย..เขียนคำกลอนได้ไพเราะ  คล้องจองกันพอดีมีความหมายสละสลวย..
  • ฟ้าประทานพี่มาให้น้องได้รู้จัก  จริงๆเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครูอ้อย คุณครูพิสูจน์ด้วยค่ะ

 

ป้าแดงได้ความมากมายเลยค่ะ

ไม่ผิดหวังเลยจริงๆที่เข้ามา G2K

ได้พบเจออะไรที่นอกเหนือองค์การของเรา

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องแดง...pa_daeng

  • พูดเหมือนครูอ้อยเปี๊ยบเลยค่ะ
  • ครูอ้อยไม่ได้ออกไปไหนเลย  วนเวียนแค่ gotoknow  ทั้งที่มี google  yahoo..geocities  blogliness  journalspace 
  • สนุกกว่าที่อื่น  เพราะที่อื่นต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษค่ะ..ความลับเปิดเผย
  • มาทักทาย
  • ไหนราดหน้าอยู่ที่ไหน
  • หิวๆๆๆๆ ไม่ได้กินอะไรมาสองวันแล้ว
  • ฮือๆๆๆๆ

มาอ่านครับ ไปอบรม Backward Design มาแล้วครับ ก็ได้ความรู้มาว่า ให้กลับจากหลังมา (ไม่แน่ใจครับว่าจะถูกหรือเปล่า)เพราะมึน)) กลับมากลับไปหรือกลับไปกลับมา  เอ้อ ตามนักคิดเขาไปนะ ไม่เหมือนปราชญ์เดินดินนะ อยู่ซ.9 รักคุณแป้งแน่นอนเลยนะครับพี่อ้อย

สวัสดีค่ะน้อง..นาย ณรงค์ เพ็ชรเส้ง

  • โชคดีแล้วล่ะค่ะที่ได้อบรม Backward Design
  • ต้องทำตัวตามกระแสค่ะ..และเป็นประโยชน์ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในการเลื่อนวิทยฐานะด้วยค่ะ
  • มึนไปก่อนค่ะ..เพราะครูอ้อยอบรมมา 3 ครั้งก็มึนเหมือนกันค่ะ..ต้องลงมือทำกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

    ขอบคุณครูอ้อย ได้นำหิ่งห้อย มา ลปรร ในบล๊อก เดี๋ยวหิ่งห้อยจะนำเข้าแพลนเนตของหิ่งห้อยด้วย  ช่วงนี้หิ่งห้อยได้ยิน Back ward design บ่อย แต่ก็ยังเฉยๆ ใจก็คิดว่าเป็น เหล้าเก่าในขวดใหม่หรือเปล่า เหมือนกับ การพัฒนาBrain based learning ของเด็กปฐมวัย ช่วงนั้นครูปฐมวัยอบรมกันมากมาย ไม่แน่ใจว่าครูปฐมวัย เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้แค่ไหน  เพราะในการจัดกิจกรรมการสอนซึ่งมีหก กิจกรรมหลักที่สำคัญ ครูปฐมวัยเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด    ถ้าครูปฐมวัยเข้าใจและทำได้ถูกหลักการ  สมองเด็กจะได้พัฒนาอย่างเต็มที่อยู่แล้ว  ...(หิ่งห้อยจบการศึกษาปฐมวัย สอนเด็กอนุบาลมาเกือบ 20 ปี เพิ่งมาอยูราชภัฏได้ 10ปี) ....ดีใจที่ครูอ้อย เข้าใจ และมองเห็นแนวทาง ไม่ต้องเสียเวลา ย่ำอยู่กับที่ ....พัฒนาและเดินไปข้างหน้าดีกว่า นะคะ (ทั้งหมดที่ ลปรร เป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ อาจไม่ถูกก็ได้).....ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

P

เรื่องจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design  เป็นเรื่องเก่าๆ แต่นำไปใส่กล่องใหม่ที่ชื่อ Backward Design อย่างที่ครูอ้อยว่า

แต่ดีค่ะ เพราะมีการจัดระเบียบแนวคิดให้ดีกว่าเดิมอีกค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง...หิ่งห้อย

  • การเรียนรู้ไม่มีวันจบฉันใด  การเรียนรู้แบบใหม่ก็ไม่มีวันหมดฉันนั้น..ค่ะ
  • นักวิชาการ  เกิดขึ้นมากมาย  นำของต่างประเทศเข้ามาก็มี  นำมาทั้งดุ้น  หรือ มาย่อยให้ครูก่อนก็มีค่ะ
  • จริงๆแล้ว   ที่เราและท่านจัดการเรียนรู้กันอยู่นี้ก็ดีอยู่แล้ว   ต้องจัดการไปและวิเคราะห์ๆไปด้วยว่า...สิ่งใหม่นี้  เหมาะสมกับนักเรียนของเราหรือไม่ 
  • สำหรับครูอ้อย...จะเลือกใช้ Backward Design กับหน่วยที่นักเรียนไปทัศนศึกษาเท่านั้น
  • เพราะ  หลักการสอนภาษาอังกฤษเพิ่อการสื่อสาร และตามธรรมชาติ  นักเรียนของครูอ้อยก็มีความสุขกับการเรียนรู้อยู่แล้ว  
  • ยังมีครูอีกหลายท่านที่หลงทางในการนำ Backward Design มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ซึ่งครูอ้อย...ขอฟันธงว่า..จะใช้เพียงแค่  1  หน่วยการเรียนรู้เท่านั้น

ขอบคุณค่ะ 

 

  • ครูอ้อยโชคดีที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็น 
  • และโชคดีที่ใช้ GotoKnow ให้เป็นประโยชน์ 
  • แต่โชคร้าย..ที่เกิดมานานแล้วค่ะ..

อิอิ..ล้อเล่น

สมองของผมบันทึกสิ่งดีๆที่ครูอ้อยได้เขียนบันทึกไว้แล้วครับ...ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์...นาย ศิลป์ชัย เทศนา

ยินดีเสมอค่ะ..ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

- เป็นจริงค่ะที่ครูอ้อยกล่าวค่ะ

- ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท