เมืองไทยอยู่ตรงไหนในศตวรรษที่ 21


ในปี 2005 Thomas Friedman ซึ่งเป็นนักเขียนคอลัมน์ต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ New York Times ได้เขียนหนังสือยอดนิยมชื่อ The World is Flat: A Brief History of the Twenty-first Century หนังสือเล่มนี้ เป็นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญในช่วงรอยต่อของสหัสวรรษ

ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นับความถี่ของคำในดัชนีของหนังสือเล่มนี้ ได้กรุณาส่งไฟล์มาให้ผม พร้อมทั้งได้อนุญาตให้นำข้อมูลเขียนลงในบันทึกแล้ว; Friedman Index น่าจะบอกอะไรได้บางอย่าง ว่าโลกกำลังมองไปในทิศทางใด

ใน 74 คำในตารางข้างล่างนี้ มีที่เกี่ยวกับเมืองไทยโดยอ้อม อยู่คำเดียว คือชื่อ Delta Electronics บริษัทของไต้หวัน ซึ่งมีบริษัทลูกคือ บมจ.เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่เมืองไทยไม่ได้อยู่ในกระแสโลก ใครๆ ก็มองข้ามหัวเราไปหมด แม้แต่พัดลมยังส่วนหน้าเลย

คำ ความถี่ (ครั้ง)
Internet 160
Outsourcing 99
Microsoft (including IE, MSN, Office, Word, Windows, Xbox) 83
Supply chains 62
Muslims 47
PCs 44
Uploading 43
IBM 40
Open-sourcing (+ community developed software) 39
Nine/Eleven 9/11 33
Innovation 29
Dell Computer 28
Google 28
Wal-Mart 27
Hewlett-Packard (HP) 26
Work flow software 25
Osama Bin Laden 25
Arabs 24
al-Qaeda 23
Netscape 22
New York Times, The 22
Apple Computer (including iPod, iTunes, Macintosh) 22
Search engines 18
Gates, Bill 16
Infosys 15
Yahoo! 14
United Parcel Services (UPS) 14
WiPro Technologies 14
Poverty 14
Intel 14
McDonald's Corporation 14
Web browser 13
Trade Policies 13
Mundie, Craig 13
World Trade Organization (WTO) 13
Terrorism 10
Research and Development 9
World Wide Web 9
Linux 9
Kennedy, john F. 9
HTML and HTTP 8
Rolls-Royce 7
Southwest Airlines 7
Sony Corporation 6
Olympic Games 6
World Bank 6
Voice over Internet Protocol (VoIP) 6
Podcasting 6
Steve Jobs 5
Tata (Ratan, Motors, Consultancy Services) 5
Washington Post, The 5
Video games 5
Sun Microsystems 4
Enron 4
RFID, radio identification 4
Video-conferencing 4
Texas Instruments 4
Ozzie, Ray 3
Toyota 3
Malaria 3
Starbucks 3
New York Stock Exchange (NYSE) 2
Disney Corporation 2
Open Office.Org 2
Three-M (3M Corporation) 2
Palmisano, Sam 2
Gutenberg, Johann 2
Motorola 2
Venture capital 2
Torvalds, Linus 2
Hussein, Saddam 1
Delta Electronics 1
Hitachi 1
Oracle 1

ตารางถัดมาเป็นจำนวนครั้งที่ผู้เขียนกล่าวถึงประเทศต่างๆ

ประเทศ ความถี่ (ครั้ง)
India 239
United States 172
China (including names of companies in China) 171
Japan 60
Russia 27
Mexico 24
Britain 23
Iraq 22
Germany 21
Pakistan 21
Korea, North and South 21
Soviet Union 21
Saudi Arabia 19
Malaysia 16
Canada 15
Israel 13
Taiwan 13
Singapore 10
Jordan 10
Iran 9
Ireland 9
Spain 8
Egypt 8
Australia 7
Cambodia 6
Turkey 5
France 5
Philippines 5
Bahrain 5
United Nations 5
Sudan 4
Dubai 4
Lebanon 4
Venezuela 4
Vietnam 4
Syria 4
Thailand 4
Hong Kong 4
Italy 4
Poland 3
Netherlands 3
Laos 2
Hungary 2
South Africa 2
Portugal 2
Romania 2
Ghana 2
Haiti 2
Belgium 2
Austria 2
Finland 2
Morocco 2
New Zealand 2
Norway 2
Kuwait 1
Mali 1
Lithuania 1
Mongolia 1
Tunisia 1
Madagascar 1
Macedonia 1
Luxembourg 1
Uganda 1
United Arab Emirates 1
East Germany 1
Czech Republic 1
Cuba 1
Sri Lanka 1
East Timor 1
Dominican Republic 1
Puerto Rico 1
Ethiopia 1
Switzerland 1
Costa Rica 1
Colombia 1
El Salvador 1

ส่วนตารางสุดท้าย เป็นจำนวนหน้าในดัชนี ที่ชื่อของมหาวิทยาลัย ปรากฏขึ้น ถึงไม่บอกท่านผู้อ่านก็คงทราบว่าไม่มีมหาวิทยาลัยของไทยอยู่เลย (บันทึก: เจ้า world-class university นี่มันเป็นยังไงนะ? บล๊อก: นานาสาระกับอุดมศึกษาไทย)

มหาวิทยาลัย จำนวนหน้า
Harvard University 16
Georgia Institute of Technology 12
Massachusetts Institute of Technology (MIT) 10
Stanford University 10
UC Berkeley 7
Yale University 6
Columbia University 4
Princeton University 3
Tsinghua University 2
Rensselaer Polytechnic Institute 2
Duke University 2
Cambridge University 2
Washington University 2
Illinois, University of 2
New York University 2
Vanderbilt University 1
Hebrew University 1
Chicago, University of 1
Helsinki, University of 1
Haifa University 1
Oxford University 1
Ohio State University 1
North Texas, University of 1
George Washington University 1
North Carolina Agricultural and Technical State University 1
Peking University 1

คำถามที่แพงที่สุดสำหรับอนาคตประเทศไทยคือ วันนี้เราอยู่ตรงไหน ในอนาคตจะไปอยู่ที่ใด และจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อที่จะไปยืนที่เป้าหมายในอนาคตได้

อะไรเอ่ย ไม่มีทั้งเป้าหมาย ไม่มีทั้งวิถีทาง คนรู้ไม่ได้โอกาสแสดง คนทำมีแต่ทิฐิ กลับทิศทางทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายอำนาจ สมานฉันท์แต่แบ่งขั้ว ใช้เวลาทั้งหมดกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า วางแผนสำหรับอนาคตโดยการมองย้อนหลัง แล้วยังอยากจะอยู่ในกระแสโลกอีก

"คนวงนอก" ควรจะคิดไตร่ตรองและเริ่มทำเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังแล้วครับ มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อย่าถือว่าธุระไม่ใช่ ไม่ควรรอจนมีอำนาจก่อนหรอก เดี๋ยวจะสายเกินการ

หมายเลขบันทึก: 93978เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 03:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

Conductor......

เข้ามาเยี่ยม.....

เจริญพร

พระอาจารย์ไม่ยอมจำวัดอีกแล้วครับ

สวัสดีค่ะ

หนังสือเล่มนี้ (The world is flat) น่าสนใจมากค่ะ เพิ่งซื้อมาเหมือนกัน แต่ยังไม่มีเวลาอ่านเลย มาเจอคุณ Conductor ช่วยกระทุ้งต่อมให้อยากอ่าน :D

ขอบคุณค่ะ

ณิช

ยินดีต้อนรับคุณณิชนันทน์ (ลูกค้าผู้รับบล๊อกตามใจฉัน) ครับ

ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้ น่าสนใจในแง่ของพลวัตของกระแสโลกาภิวัฒน์ (globalization dynamics) มากกว่าเรื่องใครทำอะไร

สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือแนวคิดการจัดการเมืองไทยที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ยังเป็นแนวคิดดึกดำบรรพ์ครับ คือยังอิงกับภูมิศาสตร์อยู่มาก

เราหลงติดอยู่กับความสำเร็จในอดีต มากกว่าจะพิจารณาว่าวันนี้จะต้องทำอะไร เพื่อให้พรุ่งนี้ยังคงดีอยู่ เช่นเวียดนามมีโทรศัพท์พื้นฐาน 15.8 ล้านหมายเลขในขณะที่ไทยมี 7 ล้านครับ แล้วไม่รู้จะมาบ่นกลัวกันทำไมว่า FDI ย้ายไปลงเวียดนามหมด ในเมื่อตัวเราเองก็ไม่ทำงานที่ควรจะทำ

สวัสดีค่ะ คุณConductor

คิดในแง่ของการพัฒนาประเทศก็น่าเศร้าจริงๆ ค่ะ ที่ประเทศไทยไม่อยู่ในกระแสเลย โดนมองข้ามไปหมด

ดิฉันว่าโดยภาพรวมเกิดจากการที่เราไม่ได้พัฒนารากฐานของคนในประเทศอย่างจริงจังค่ะ การศึกษาสำคัญมาก แต่ตอนนี้เราเอาเงินไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันหมด ไม่ได้เตรียมเงินหรือกันเงินสำหรับการสร้างเพื่ออนาคต แต่ใช้ไปหมดกับการแก้ไข

เรื่องมหาวิทยาลัยไม่ติดอันดับน่ะ เป็นเรื่องที่ "ชัด" มากค่ะ ในมุมมองของคนทำงานในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างดิฉัน  แต่เท่าที่รู้มาบางภาควิชาของ ม.มหิดล หรือ จุฬาฯ ที่ติดอันดับในสาขาของเขาค่ะ น่าจะเป็นทางการแพทย์หรือสายเวชศาสตร์ประมาณนี้ค่ะ ...

ขอบคุณที่นำเรื่องนี้มา ลปรร นะคะ

ขอบคุณอาจารย์กมลวัลย์ที่แวะมาให้ความเห็นครับ

บางทีเรื่องราวต่างๆ ก็ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าที่ "คนนอก" จะทำอะไรได้ แล้วพาลท้อแท้ไปเสียอีก มองอะไรก็ขัดอกขัดใจไปเสียหมด เราลืมไปว่าความผิดหวัง ความไม่ได้ดั่งใจทั้งหลาย ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ดีพอที่จะท้อแท้ ถึงอย่างไรก็เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทุกคน หากสิ่งที่เป็นอยู่นี้ยังไม่ดีพอ ก็ควรจะช่วยกันหาหนทางวางแผนแก้ไขให้ดีขึ้น

สักวันหนึ่ง ให้อะไรๆ พร้อมกว่านี้หน่อย ผมอยากเชิญนักคิดบน Gotoknow มาร่วมร่างแผนแม่บทฉบับประชาชนครับ -- ทำแผนเล็กๆ ในระดับที่ปฏิบัติได้จริง โดยไม่ต้องอ้างโน่นอ้างนี่ -- แล้วไม่ต้อง map ให้ตรงกับการจัดรูปการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เอาปัญหาที่ประสบอยู่เป็นจุดเริ่มต้น { ผมคิดว่าบรรดาแผนแม่บทในปัจจุบันนี้ กลับหัวหมดเลยครับ คือเริ่มที่ว่ากระทรวงจะทำอะไร จะได้ตั้งงบประมาณถูก แทนที่จะเริ่มที่ประชาชนอยากได้อะไร }

P

ตามความเห็นในวงเล็บ  ... ผมคิดว่าบรรดาแผนแม่บทในปัจจุบันนี้ กลับหัวหมดเลยครับ คือเริ่มที่ว่ากระทรวงจะทำอะไร จะได้ตั้งงบประมาณถูก แทนที่จะเริ่มที่ประชาชนอยากได้อะไร }.. 

จับนัยว่า คัดค้านประชานิยม ...

แต่เสียง ประชา คือ เสียงสวรรค์

เจริญพร

Thomas Friedman has a knack/radar of picking popular  topics to write about.  No wonder his books kept showing up in class rooms' reading list. 

Anyway, software and technical services outsourced to English speaking in developing countries  made US headlines when there were a series of corporations' layoffs and shutdowns. Some lawmakers raised this concern and the Bush administration - being patriotic and all,  offered some incentives for corporations not to outsource. Although, the admistration itself does not practice what it preaches - i.e. security service provided to US embassy in Iraq was outsourced to a private company - and the reason? it's cost efficient.

So, buttomline continues to prevail when the world is flatter and borderless. The comment by MFEC's CEO pretty much reflected the nature of software industry. Although, country is not company, to  survive in this flatter world, Thailand Inc. and its governing bodies need to think outside the box.

I have not read the book yet. My guess if UNT (U of North Texas) got mentioned in Friedman's book, was because of its "world class" music program. Especially jazz, UNT started the program on jazz study when jazz was not taken seriously as music worth studying.

One more note on outsourcing, when I called Texas Energy that provides electricity to households, I talked to their customer service in the Phillipines!  

My request could have been handled by a robot but that was two years ago. I need to call them back to find out if they replaced cheap labor with a robot yet!

This does not mean that robot will rule the world, it means companies will find ways to improve their bottomlines. I read somewhere else that Thailand's economy is the size of Tennessee's - that's tiny in world's standard. I don't think we can compete in size with India or China. But we should be smart enough to pick a battle that we can win!

 

 

 

 

 

พระอาจารย์: เรื่องประชานิยมและรัฐสวัสดิการ ผมเห็นว่าเป็นการสร้างปัญหาระยะยาวแบบที่รุนแรงมากครับ มีตัวอย่างในยุโรป เป็นการปัดภาระไปให้ลูกหลานรุ่นต่อไป โดยส่วนตัวก็ไม่ได้เห็นด้วยครับ

แต่โดยนัยของข้อคิดเห็น ไม่ได้เขียนคัดค้านครับ เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่า เป้าหมายของการทำแผนแม่บท อยู่ที่กระบวนการ (คืองบประมาณในการขับเคลื่อน กระทรวงจะทำอะไร ผู้ทำแผนรู้ตัวว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง) แทนที่จะอยู่ที่เหตุ (คือประชาชนอยากได้อะไร มีปัญหาอะไร จัดลำดับความสำคัญอย่างไร ใช้วิธีการใดในการแก้ไข)

สองอย่างนี้ ดูๆ ไป ก็เกี่ยวข้องกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่การแก้ไขปัญหา ควรจะแก้ที่เหตุไม่ใช่หรือครับ ถ้าเราเริ่มต้นการทำแผนด้วยการตั้งคำถามที่ไม่ถูกต้อง คำตอบจะถูกต้องหรือครับ

แล้วนั่นอาจจะอธิบายได้ว่าทำไมแผนแม่บท จึงไม่ค่อยโดนใจจังๆ (แต่ก็ไม่ใช่ว่าเหลวเป๋วโดยสิ้นเชิง)

คุณ Bluebonnet: ผมเห็นด้วยกับคุณ Bluebonnet ว่าขนาดของเศรษฐกิจไทย ก็ไม่ได้ใหญ่จนใครๆ จะให้ความสำคัญ (ยกเว้นพวกเราคนไทยเอง)

แต่เราก็ต้องพยายามหา niche หาทางรอดให้ได้ครับ ผมไม่มีคำตอบเหมือนกัน เพียงแต่รู้สึกว่าทางออก คงไม่ด่วนเหมือนอาหาร fast food -- แต่เริ่มแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้ มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เลิกหลอกตัวเองเสียที น่าจะดีกว่าเลื่อนออกไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หรือครับ

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

เบิร์ดกะจะเขียนเรื่องนี้อยู่เหมือนกันแหละค่ะ..แต่ประเด็นของเบิร์ดคืออยากทราบว่าเราจะใช้พลังบล็อกเกอร์และอินเตอร์เน็ตที่มี..สร้างงานแบบ outsource งานจากประเทศอเมริกา -  ยุโรป เหมือนที่อินเดียหรือจีนทำได้ยังไงน่ะค่ะ

ขอบคุณมากนะคะสำหรับเรื่องนี้

เห้อ...ขอถอนใจหน่อยครับ

ตราบใดที่การเมืองไทยยังเป็นแบบนี้

.....................................................

 

 

-_-'

 

สวัสดีค่ะ

มหาวิทยาลัยจุฬา ได้ที่74ในสายสังคมค่ะ อักษรศาสตร์ค่ะ อาจารย์ แต่สายวิทย์ ไม่ทราบค่ะ

พอเลือกตั้งแล้วคงดีขึ้นค่ะ

คุณเบิร์ด: มีประเด็นเรื่องการบริการที่อาจจะรับได้ยากเริ่มไว้ตรงนี้ครับ คุณ Bluebonnet เคยเล่าให้ฟังว่าบริษัทไฟฟ้าในเท็กซัส outsource งาน call center ให้ฟิลลิปปินส์ (แต่ทิศทางของประเทศจะมุ่งเน้นไปในเรื่อง healthcare call center ซึ่งผมคิดว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีมากครับ เพราะเป็นตลาดใหญ่)

เมืองไทยกับอินเทอร์เน็ต อย่างน้อยคงอีกสักครึ่งชั่วอายุคนมั๊งครับ ตอนนี้ราคาแบนวิธระหว่างประเทศมีปัญหา แข่งขันในระดับภูมิภาคก็ไม่ได้ แต่ในสมัยหนึ่งกลับอยากจะเป็น telecom hub โดยไม่ได้ทำอะไร (ประชาสัมพันธ์เชิงรุก) การเชื่อมต่อเข้าสู่ backbone จากเมืองไทยไม่ดีพอ

อินเดีย มี infrastructure ที่ห่วยกว่าไทย แม้บังกาลอร์ก็เริ่มจากเป็น teleport มีจานดาวเทียมใหญ่สองสามอันซึ่งมองไม่เห็นสหรัฐ แต่เขาฉวยโอกาสสมัยการตื่น Y2k รับงานมาทำ; เขาทำเรื่องมาตรฐานและคุณภาพอย่างจริงจัง -- มีอดีตประธานบริษัทยักษ์อินเดียเคยพูดว่าเขาประสบความสำเร็จได้ โดยเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่งครับ คือรัฐอย่ายุ่ง!

ความสำเร็จเรื่อง outsourcing ของอินเดีย ไม่ได้มีเรื่องออนไลน์ไฮเทคเลยนะครับ

หาก จะเอาเมืองไทยเข้าแผนที่โลกอินเทอร์เน็ต ต้องหาวิธีให้ backbone วิ่งผ่านเมืองไทยครับ เส้นที่ดีที่สุดคือจากอันดามันขึ้นที่สตูล ข้ามมาสงขลา ผ่านอ่าวไทย กรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยา ไปเชียงแสน แม่น้ำโขง และจีนตอนใต้ แถวคุนหมิงครับ

ประชากรจีน 1.3 พันล้านคน แต่การเจริญเติบโตอยู่ทางฝั่งชายทะเลตะวันออกเท่านั้น ขืนปล่อยให้เกิดการอพยพเข้าเมือง โครงสร้างพื้นฐานก็จะไม่เพียงพอครับ จะเกิดการโกลาหลขนาดหนัก ดังนั้นเงินทุนสำรองของรัฐบาลจีน จึงใช้พัฒนาเขตจีนใต้ จีนตะวันตก และเขตทะเลทรายอย่างจริงจัง

ถ้ามี วงจรขนาดใหญ่ (ซึ่งวิ่งจากยุโรปมาอันดามันอยู่แล้ว) วกผ่าเมืองไทย เข้าจีนใต้ แล้ว ด๊อกแด๊กไปจนเจอทางรถไฟสาย Trans Siberia ซึ่งก็มีไฟเบอร์เดินอยู่แล้วล่ะครับ มันจะกลายเป็น loop ยุโรป-ตะวันออกกลาง-อินเดีย-เอเซียตะวันออกเฉียงใต้-จีน-รัสเซีย ครอบคลุมประชากรและระบบเศรษฐกิจกว่าครึ่งโลกเชียวนะครับ

ป.ล. ระวังตัวสะกดคำว่าอินเทอร์เน็ตด้วยครับ

คุณ bunpot ณ ฉะเชิงเทรา: การเมืองเน่าได้เท่ากับที่เราไม่สนใจครับ แต่การรู้จักปัญหาไม่ได้ช่วยแก้ไขอะไรเลย เราน่าจะเปลี่ยนเมืองไทยเป็นวังคมของการปฏิบัติครับ

คุณศศินันท์: ยังมีเรื่องที่ต้องทำอีกเยอะเลยครับ

P

อาจารย์คะ ขอโทษ เข้ามาอีกค่ะ

อาจารย์เป็นนักวิชาการเก่งมากนะคะ

อ้อ อาจารย์สะกดชื่อดิฉันถูกด้วย ไม่ได้มีเขียนไว้ในประวัติ มีแต่ภาษาอังกฤษ แต่ถูกต้องเลยค่ะ

ผมเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนครับ ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นนักวิชาการ แต่ใครๆ ชอบแต่งตั้งผมเป็นอะไรแปลกๆ เสมอ :-b

ที่แปลกที่สุดคือเคยมีเพื่อนเก่าบอกว่าไม่น่าเรียนในทางที่เรียนมาเลย น่าจะมาเรียน linguistics แต่ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเรียนอะไรมา ถ้าเรียนเป็นและไม่หยุดเรียน ก็เรียนอย่างอื่นได้ครับ

P
ขอโทษค่ะ ต่อไปจะเรียกคุณConductorค่ะ
P

นึกว่าสอนอยู่ด้วยค่ะ

เห็นด้วยจริงๆ ที่บอกว่า ไม่ว่าจะเรียนอะไรมา ถ้าไม่หยุดเรียน ก็เรียนอย่างอื่นได้อีกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับคำตอบและคำท้วงเรื่องอินเทอร์เน็ต..เพราะไม่งั้นเบิร์ดจะผิดไปมากกว่านี้

ที่เบิร์ดสนใจมากกว่านั้นคือเวลาที่เบิร์ดเข้ามาในบันทึกของคุณ Conductor...เบิร์ดจะสังเกตเห็นว่าตรงแพลนเน็ตที่รับบล็อกนี้จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินตรงชื่อเบิร์ด..และหัวข้อเรื่องก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินตามที่เบิร์ดเข้าไปอ่านด้วย..เบิร์ดลองวิ่งเข้า วิ่งออกตัวที่เปลี่ยนสีนี่ก็จะเป็นเหมือนเดิม..เบิร์ดลองไม่เข้าไปในบล็อกอื่น ( คุณมี 4 บล็อกนี่คะ ) บล็อกอื่นก็ไม่เปลี่ยนสีถ้าเบิร์ดไม่เข้าไป...เบิร์ดลองหายไป 2 วันแล้วมาเข้าใหม่..ตัวเปลี่ยนสีนี่ก็ยังอยู่และเป็นสิ่งที่บอกเบิร์ดว่าบันทึกไหนที่เบิร์ดอ่านไปแล้วบ้าง...ทำไมถึงเป็นแบบนี้คะ ?...( เบิร์ดเพลินกับเจ้านี่จนลืมอ่านบันทึกก็มีค่ะ ^ ^ )..แล้วจะแสดงให้เห็นเฉพาะตัวเบิร์ดหรือคุณ Conductor ก็ทราบด้วยว่ามีใครมาเยี่ยมบ้าง ?

คุณเบิร์ดเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นแล้วถามครับ คือว่าบล๊อกผมมีลิงก์มากจนบางคนกล่าวหาว่าเป็นโรคจิต

เพื่อไม่ให้งงว่าดูอะไรมาแล้วบ้าง ก็เลยแก้ CSS ที่ตกแต่งบล๊อก ให้ลิงก์ใหม่ที่ยังไม่เคยไปมาก่อนเป็นสีเขียว ส่วนลิงก์ที่เคยไปมาแล้ว ไม่ว่าอ่านจากที่ใดๆ ก็ตามเป็นสีน้ำเงินครับ (เพิ่มบรรทัดข้างล่างเข้าไปในตกแต่งบล๊อก สี #1144BB คือสีน้ำเงินเหมือนกับที่หน้าแรกของ g2k ใช้ครับ ถ้าไม่ชอบก็เปลี่ยนเอาเอง)

body a:visited {
    text-decoration: underline;
    color: #1144BB;
}

จะเป็นลิงก์สีเขียวหรือสีน้ำเงิน ผู้ชมแต่ละท่านจะเห็นไม่เหมือนกันครับ แล้วแต่ว่าใครไปดูอะไรมาบ้าง และผมก็ไม่รู้ว่าใครไปไหนมาครับ -- การแก้ไขนี้ ไม่ได้ทำให้การแสดงผลหรือ g2k ทำงานช้าลงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท