วิวัฒนาการสังคมฐานความรู้


หลายคนบอกว่า เราต้องสร้างสังคมฐานความรู้ ผมคิดว่า จริงๆแล้วเราไม่ต้องสร้างหรอก ยังไงมันก็เกิดขึ้น เราเป้นแต่เพียงพยายามปรับตัวให้ก้าวเข้าสู่สังคมฐานความรู้อย่างมั่นใจมากกว่า

                     เราพบเสมอว่า หากมองย้อนอดีตไปเรื่อยๆ เราจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง ไม่มีวันหวนกลับ ไม่รอใคร เป็นไปตามธรรมชาติของมัน อัลวิน ทอล์ฟเลอร์ นักอนาคตวิทยา ได้เคยเขียนหนังสือไว้ในเรื่อง The Third Wave กับ Power shift แต่ตอนนี้เรากำลังไหลลื่นไปบนคลื่นลูกที่ 4 ที่ 5 และคงจะเป็นลูกอื่นๆมาอีกไม่มีหยุดนิ่ง 

                    ในการไปบรรยายในเรื่องการจัดการความรู้ของผม ในตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ผมจะเน้นย้ำให้ผู้ฟัง ได้มองภาพวิวัฒนาการเหล่านี้ของสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเวลา ดังนี้ 

1.  Hunter society: ยุคนักล่า สังคมมนุษย์ยุคดั้งเดิม จะเป็นยุคหินเก่า หินใหม่หรือยุคโลหะ ผู้คนอาศัยอยู่ตามถ้ำ อานาจที่สำคัญในยุคนั้นก็คือ กำลังและฝีมือส่วนตัว ใครมีกำลังและฝีมือมากกว่าดีกว่าคนนั้นจะได้เป็นผู้นำเป็นหัวหน้าเผ่า ได้ปัจจัยในการดำรงชีวิตดีกว่าคนอื่นๆ ยุคนี้ดำรงอยู่หลายพันปี

2.  Agricultural society : ยุคเกษตรกรรม พอคนยุล่าสัตว์เริ่มเรียนรู้ ก็พบว่าต้นไม้บางอย่างปลูกไว้เองได้ สัตว์บางอย่างเอามาเลี้ยง ฝึกให้เชื่อง ไว้ใช้งานหรืออาศัยเป็นแหล่งอาหารได้ คนเริ่มรุ้จักสรางที่อยู่อาศัยเองที่คุ้มแดด กันฝน หลบภยันตรายต่างๆได้ ขับเคลื่อนให้สังคมก้าวไปสู่ยุคเกษตรกรรมที่ใครมีที่ดินและแรงงานมาก คนนั้นเป็นผู้ที่มีอำนาจมากเหนือคนอื่นๆ ประเทศเล็กๆเป็นประเทศราชของประเทศใหญ่ๆ สิงคโปร์จึงเป็นเมืองขึ้นของไทยได้ยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อ 150-200 ปีก่อน

3.  Industrial society : ยุคอุตสาหกรรม ท่ามกลางการใช้แรงงานคน สัตว์ คนกลุ่มหนึ่งกลับครุ่นคิดเทคนิค วิธีที่จะทุ่นแรงได้มากกว่าเดิม จนเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น ยุคนี้ใครมีเงินทุนและเครื่องจักรมากกว่า คนนั้นมีอำนาจ หลายประเทศในเอเชียจึงตกอยู่ใต้อาณานิคมของชาวตะวันตก ที่คิดค้นเครื่องจักมาใช้งานได้ก่อน ยุคนี้สิ้นสุดเมื่อ 50-150 ปีก่อน

4. Information society: ยุคข้อมูลข่าวสาร การปฏิวัติทางอุสาหกรรมส่งผลให้การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมามาก รวมทั้งการอุบัติขึ้นของคอมพิวเตอร์ที่มีวิวัฒนาการเร็วขึ้นเรื่อยๆ สังคมยุคนี้ใครมีข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information is power)มากกว่า คนนั้นมีอำนาจ มีพลังต่อรองมากกว่า  สหรัฐอเมริกาหรือสหภาพโซเวียต จึงต้องมีหน่วยข่าวกรองหรือหน่วยสืบราชการลับเพื่อหาข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจ โลกยุคนี้สิ้นสุดไปเมื่อ 20-50 ปีที่แล้ว

5.  Knowledge based society: สังคมฐานความรู้ เป็นสังคมที่เริ่มต้นจากเมื่อ 20 ปีก่อนมาถึงปัจจุบัน จากการที่คนเริ่มมองว่าข้อมูลข่าวสารที่มีอยุ่มากมายตามสารพัดสื่อนั้น ไม่ได้มีประโยชน์ทั้งหมด ข้อมูลข่าวสารมีอยู่มากมายจนผู้คนพากันสำลักข้อมูล (Information aspiration) คนจึงเลือกเก็บเอาเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์เท่านั้นมาใช้ สิ่งนั้นก็คือความรู้ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคน ขององค์กร ของประเทศ  ยิ่งคนของประเทศไหนมีความรู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีคุณค่าต่อประเทศมากขึ้นเท่านั้น ก่อให้เกิดทฤษฎีใหม่ในการแข่งขันที่เรียกว่าการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive advantage) ของ ไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ ไม่ใช่ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative advantage) เหมือนสังคมในยุคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม ไม่ต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ไม่ต้องมีจำนวนคนมากๆก็เป็นผู้มีอำนาจหรือกุมอำนาจสำคัญๆไว้ได้ ดังเช่นญี่ปุนหรือสิงคโปร์หรือบิล เกตส์ ที่มีบริษัทที่คนทั่วโลกต้องเป็นทาสความรุ้ของเขาในรูปของการใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์และบริษัทของเขาก็มีกำไรมากกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของหลายๆประเทศในโลกนี้ โลกยุคนี้ใครมีความรู้และคนที่มีความรู้(Knowledge Worker) คนนั้นมีอำนาจ ที่เรียกว่า Knowledge is power

6.  Wisdom society : สังคมอุดมปัญญา ในทางกายภาพโลกยังคงหมุนในอัตราเร็วเท่าๆเดิม แต่ในทางสังคม โลกหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ การขับเคลื่อนจากสังคมยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่งใช้เวลาน้อยลงเรื่อยๆ สังคมฐานความรู้กำลังถูกท้าทายเพื่อจะขับเคลื่อนไปสู่สังคมใหม่ ที่เรียกว่าสังคมอุดมปัญญา คนส่วนหนึ่งในสังคมตระหนักว่า คนที่มีความรู้มากๆแต่มีไม่กี่คนในองค์การ หากลาออกไป เกษียณไปหรือตายไป องค์การก็จะสูญเสียความรู้นั้นไปทันที หรือคนที่มีความรู้มากๆแต่ทำประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องอย่างเดียว สังคมก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วย มีแต่แย่ลงจากการเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ รวมทั้งความรู้ที่มีอยู่มากหลายในเอกสาร ในตำรานั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์ทั้งหมดหรือนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ทั้งหมด หากขาดความรู้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นพลังสำคัญจริงๆในการขับเคลื่อนผลิตผลของโลก ทำให้เกิดงาน เกิดสิ่งดีๆ เป็นความรู้ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการสร้างงาน ทำงาน ความรู้เหล่านี้ซ่อนอยู่ในตัวคน แฝงอยู่ในศักยภาพของคน ถ้ามีความรู้แบบนี้อยู่มากๆในคนหลายๆคนที่ไม่เห็นแก่ตัว จะเกิดพลังอำนาจมหาศาลในการสร้างสังคม สังคมยุคนี้จึงเชื่อว่าความรู้ที่ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติ(ปัญญา)และการแบ่งปันความรู้ คือพลังอำนาจที่แท้จริง (Knowledge sharing is power) คาดว่าอีกไม่นาน สังคมโลกจะก้าวสู่สังคมยุคนี้ เราจะเริ่มเห็นคนที่มีความรู้ที่ใช้ความรู้อย่างร่ำรวยหันกลับมาช่วยเหลือสังคมโดยเฉพาะการสรางความรู้ให้กับคนในสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตนอย่างเช่นบิลเกตส์ ที่ตั้งมูลนิธิเพื่อสังคม คนมีความรู้ที่กอบโกยจนร่ำรวยจะอยู่ได้ลำบากขึ้น ล่าสุด ดร.สิวทย์ เมษินทรีย์ ได้เขียนออกมาสอดคล้องกันนี้โดยเรียกว่าเป็นสังคมยุคหลังสังคมฐานความรู้ (Post Knowledge -based society) หาอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสอืพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ 30 กรกฎาคม 2550 ของคุณลมเปลี่ยนทิศ ที่นำมาเล่าถึงข้อเขียนดังกล่าวนี้

                  การก้าวผ่านของสังคมแต่ละยุค เป็นไปตามวิถีของมัน ตัวขับเคลื่อนสำคัญของสังคมยุคฐานความรู้ไปสู่สังคมอุดมปัญญาคือเครื่องมือสำคัญทางการบริหารตัวหนึ่งก็คือการจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการบริหารภูมิปัญญา

หมายเลขบันทึก: 119319เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับคุณหมอพิเชฐ
  • ตามมารับความรู้ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • สวัสดีครับคุณหมอพิเชฐ
  • ขออนุญาต นำสิ่งดี ๆ ไปบอกต่อครับ
  • http://gotoknow.org/blog/phyto/119630
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท