เผชิญความตายอย่างสงบ ตอน 3: ปัจจัยในการรับรู้เรื่องความตายของคนในปัจจุบัน


การรับรู้ของคนในปัจจุบันต่อความตาย และปัจจัยทีทำให้เป็นเช่นนั้น

คำถามชุดแรกนั้นเป็นคำถามของตัวเราเอง คำถามชุดที่สองเป็นคำถามให้เราประเมินว่า "คนในปัจจุบัน" เท่าที่เราเห็นๆกันมา จะเป็นอย่างไรกันบ้าง จากคำถาม 5 ข้อ

  1. คนส่วนใหญ่เวลาเผชิญความตายรู้สึกนึกคิดอย่างไร และตอบสนองอย่างไร

  2. เพราะเหตุใดคนจึงตอบสนองแบบข้อ 1

  3. คนส่วนใหญ่มักจะตกอยู่ในสภาพอย่างไร?

  4. เพราะเหตุใด คนถึงตกอยู่ในสภาพแบบข้อ 3

  5. ถ้าเราเลือกได้ กำหนดได้ เราเองอยากจะตายอย่างไร? 

เนื่องจากเป็นคำถามต่อเนื่อง ผมจะบันทึกสิ่งที่ผมได้คิด และได้ตอบไปในกิจกรรมนี้ทั้ง 5 ข้อก่อน ส่วนจะมีเพิ่มเติมนั้น ผมอยากจะให้คนอ่าน ท่านไหนที่สนใจ จะลอง share ก็ได้นะครับ ยิ่งเยอะยิ่งดี ยิ่งเพิ่มความรู้

  1. เท่าที่ผมเคยสังเกตมา ไม่ว่าคนจะรับได้ หรือรับไม่ได้ คนมักจะมีอาการเศร้าซึม ท้อแท้ และลดกิจกรรมต่างๆลงทีละน้อย จนเหลือน้อยที่สุด และจะอยู่กับตัวเองมากขึ้น แยกตัวเอง isolate ตนเองจากสิ่งแวดล้อมทีละน้อย
    • ตรงนี้อาจารย์เต็มศักดิ์เสริมว่า เราอาจจะแบ่งระยะคร่าวๆได้เป็นสามระยะ คือ ระยะ 1-3 เดือนสุดท้าย เป็นระยะที่อวัยวะกลุ่มกล้ามเนื้อ กลุ่มทางเดินอาหาร จะเริ่มหยุดทำงาน ก็จะมีอาการเบื่ออาหาร กินน้อย (หรือบางคนที่ feed อาหารทางสาย ก็จะพบว่ามี content เหลือระหว่างมื้อที่ไม่ย่อย ไม่ดูดซึมเยอะมากขึ่น เพราะร่างกายเริ่มไม่ต้องการอาหาร ไม่ต้องการพลังงาน) ระยะต่อมาคือระยะ 1-3 อาทิตย์สุดท้าย ก็จะเริ่มลดการทำงานของกลุ่มระบบขับถ่าย ระบบประสาท กล้ามเนื้อหูรูดต่างๆเริ่มไม่ดี มีถ่ายรด กลั้นไม่ได้ และระยะสุดท้ายก็เป็นกลุ่มระบบโลหิตและการหายใจ ก็จะมีความดันโลหิตตก ตัวเย็นลงเรือยๆ หายใจตื้นเบา หรือหยุดหายใจเป็นเฮือกๆ เสมหะค้างในลำคอ ไม่สามารถไอ ถ่ม ออกมาได้เอง
    • พระอาจารย์ไพศาลเปรียบเป็นการหยุดไปของธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุดินก็คือร่างกาย กล้ามเนื้อ ระบบอาหาร ธาตุน้ำก็คือระบบขับถ่ายต่างๆ ธาตุไฟก็คือระบบพลังงาน ความอบอุ่นของร่างกาย และสุดท้ายก็หยุดหายใจก็คือธาตุลม
    • สมาชิกในกลุ่มก็ให้รายการออกมาจนเหมือนกับของอลิซาเบธ คูเบลอร์ รอส ก็คือนอกเหนือจาก depression (เศร้าซึม) แล้ว ก็มี อาการโกรธ (anger) เช่น "ทำไมต้องเป็นฉัน ฉันทำบุญมาตั้งเยอะ ฉันไม่อยากตาย เพราะอะไรต้องมาตายตอนนี้ ช่างไมยุติธรรม" อาการปฏิเสธ (denial) เช่น "ฉันยังไม่เป็นอะไรหรอก เดี๋ยวหมอก็คงหาวิธีช่วยฉันได้ เดี๋ยวหมอก็อาจจะมาบอกว่าวินิจฉัยผิด จริงๆแล้วฉันไม่ได้เป็นอะไร" หรืออาการต่อรอง (bargaining) เช่น "ฉันขออยู่แค่ลูกเรียนจนปริญญา" หรือ "ฉันขออยู่ต่อให้เห็นลูกเป็นฝั่งเป็นฝา เห็นลูกบวช เห็นบ้านเสร็จ ฯลฯ" หรืออาการยอมรับ (acceptance) ที่จำนนต่อความจริงที่กำลังใกล้เข้ามา
  2. สาเหตุที่คน isolate ตนเองออกมาเพราะว่าคิดว่า ความตายเป็นเรื่องส่วนตัว  อาจจะเป็นกรรมเก่าของตนเอง เป็นภาระส่วนตัว เป็นหน้าที่ที่ตนเองต้องแบกรับไว้คนเดียว เป็นสิ่งที่ตนเองต้องยอมรับแม้ว่าจะไม่ชอบ ก็ต้องรับเอาไว้ จึงมีอาการเศร้าซึม เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่อง หรือภาระของคนอื่น ไม่อยากให้คนอื่นมารับรู้ ยุ่งเกี่ยว
    • ในปฏิกิริยาแบบอื่นๆ ก็ขึ้นกับความรู้สึก นึก คิด หรือความเชื่อ และบริบทในการรับรู้ของแต่ละคน รวมทั้งบทบาทของความเชื่อศรัทธาของศาสนาก็มีอิทธิพลเยอะ เช่น ศาสนาที่มีพระเจ้านั้น การตายเป็นอะไรที่ไม่น่ากลัว หลังจากตายไปแล้ว จะเป็นภพภูมิที่ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น ขอเพียงเป็นคนที่ระหว่างมีชีวิตอยู่ เป็นคนที่รักษาความรักและศรัทธาในพระเจ้าอย่างดี
    • บางครั้งคนที่เชื่อในเรื่องกรรม ก็จะนำมาใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นกรรมเก่าก็ต้องรับไป แต่บางคนก็อาจจะทำใจไม่ได้ เช่น นอกเหนือจากโชคร้ายที่ต้องเป็นมะเร็งแล้ว ยังหมายความว่าเคยเป็นคนเลวมาก่อนด้วย!! กลายเป็นคราเคราะห์ถึงสองเด้ง!!
    • การต่อรองบางทีก็มาในรูปเหตุผล เช่น ขออยู่ต่อแค่ลูกเรียนจบก็พอ (ลูกกำลังเรียนป.4 กว่าจะจบก็อีกเป็นสิบปี อย่างนี้ไม่ใช่ logic ธรรมดา แต่เป็น bargaining)
    • หลวงพี่ไพศาลเพิ่มว่าตามพระไตรปิฏกแล้ว มีคนสี่ประเภทที่มี ความเสี่ยง ทีจะมีทุกข์ หรือตายไม่ดี ได้แก่
      • ติดกามตัณหา อะไรก็ตามที่เป็นความชอบทางรูป รส กลิ่น เสียง
      • ติดตนเอง ยึดมั่นในตัวตน เข้าใจว่าอยู่ได้ถาวร
      • ไม่สะสมกุศล
      • ไม่ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามศาสนา ความเชื่อที่ตนใช้ยึดเหนี่ยว
    • ทางพุทธนั้นเป็นการ "ตายก่อนตาย" หมายถึง "ตายจากกิเลส ตายจากการยึดถือตัวตน" เป็นการตายก่อนที่จะตายจริงๆ ทำให้ไม่มีทุกข์ ปล่อยวางได้อย่างหน้าตาเฉย
  3. ผู้ที่ใกล้ตายส่วนใหญ่มักจะมีญาติแวดล้อม แต่ญาติจะไม่ค่อยรู้ว่าควรจะทำอะไร ควรจะทำตัวอย่างไร ไม่ทราบว่าจะคุย จะช่วยอะไรผู้ป่วย แค่มาล้อม มานั่งเฉยๆ เป็นความทุกข์ หรือว่ามาเพราะ social duty เฉยๆ จึงไม่ได้อยากจะทำอะไรมากไปกว่าได้มา บางกลุ่มก็อยากจะช่วยแต่จนปัญญาไม่ทราบจะทำอะไรดี บางทีก็จะจับกลุ่มคุยกันเอง หรือคุยกับครอบครัวคนไข้แทน
    • ไม่เหมือนกับศาสนาที่มีการกำหนดหน้าที่ผู้เยี่ยม หรือหน้าที่ของคนในครอบครัวชัดเจน กลุ่มนี้ญาติหรือเพื่อนๆมักจะทราบเป็นอย่างดี ว่าควรจะทำอะไร อย่างไร
    • บางคนมีการตระเตรียมมาก่อน ก็จะทราบว่าทำอะไรดี
    • บาง รพ. จะเอื่ออำนวยให้มีการทำกิจกรรม ก็จะได้ทำ เช่น การทำสังฆทาน การทำบุญ แม้แต่ตอนอยู่ในหอผู้ป่วย อย่างใน ม.อ. เราจะอนุญาตให้ทำกิจกรรมได้ และอนุญาตให้ญาติเฝ้าได้ 24 ชั่วโมงกรณีที่เป็น case palliative care เป็นต้น
    • บางแบบก็จะมีทุกข๋มาก บางทีญาติอาจจะดูทุกข์ทรมานกว่าคนไข้เสียอีกก็มี ทั้งนี้เพราะการไม่ได้มีการตระเตรียม เป็นสาเหตุสำคัญของความทุกข์ บางทีญาติไม่ให้บอกข่าวร้ายคนไข้ ก็จะไม่มีใครสามารถแสดงความในใจ แสดงความรัก ความปราถนาดี เป็นครั้งสุดท้ายต่อคนไข้ เพราะบริบทจะไม่ให้
  4. สาเหตุที่เป็นในลักษณะที่ไม่ทราบว่าจะทำอะไรดีเพราะความคิดที่ว่าความตายเป็นเรื่องที่ต้องทนเป็นการส่วนตัวนั้นเอง จากข้อหนึ่ง เมื่อคนไข้ไม่พร้อม หรือไม่อยากจะสื่อว่าตนเองอยากจะได้อะไร ญาติก็จะไม่ทราบ ไม่รู้จะทำตัวอย่างไร อยากจะช่วยจริงแต่ไม่มีเครื่องมือ ไม่มีวิธีอะไรที่ดี
    • การไม่ยอมบอกข่าวร้ายเป็นสาเหตุสำคัญของการที่มีความอึดอัดขัดข้องใจในการแสดงออก เพราะข้อเท็จจริงกลายเป็นสิ่งต้องห้าม ยิ่งปิดมานาน ยิ่งไม่กล้าบอกความจริง และบางครั้งตัดสินใจบอกทีหลัง ก็จะทำให้ relationship เสียหายได้ ถ้าไม่ทำให้ดี
  5. ตายดีเป็นเช่นไรบ้าง? ประเด็นนี้คิดว่าจะขอยกไปตั้งกระทู้ใหม่จะดีกว่านะครับ

ขอเชิญแสดงความคิดเห็น และอาจจะบอกความเห็นในแต่ละข้อมาเปรียบเทียบกันก็ได้ครับ เราจะได้ขยายความรู้มากยิ่งขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 85127เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 02:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอร่วมลปรรกับอาจารย์ครับ

ข้อที่1

  • คิดว่าคนส่วนมากจะรู้สึกกลัว  มีอาการเสียใจ ท้อแท้เศร้าร่วมอย่างมาก  ส่วนมากน่าจะซึมๆลง  มีน้อยที่จะออกแนววุ่นวาย

ข้อที่2 ครับ

  •  ผมคิดว่าเพราะว่าความคิดผูกยึดติด  อาลัยอาวร  และความไม่แน่ใจในภาวะหลังความตายครับ  แต่ชอบมากกับที่ทานพระอาจารย์สรุปคือความเสี่ยง ทีจะมีทุกข์ หรือตายไม่ดี ได้แก่
    • ติดกามตัณหา อะไรก็ตามที่เป็นความชอบทางรูป รส กลิ่น เสียง
    • ติดตนเอง ยึดมั่นในตัวตน เข้าใจว่าอยู่ได้ถาวร
    • ไม่สะสมกุศล
    • ไม่ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามศาสนา ความเชื่อที่ตนใช้ยึดเหนี่ยว

 ข้อที่3 ครับ

  • น่าจะอยู่ในที่ทีมีคนที่ตนเองรัก  แวดล้อมด้วยคนที่ผูกพันและห่วงใย 

ข้อที่4

  • เพราะเกิดความรู้สึกที่ไม่ต้องการพรากจากกันทีทั้งผู้ที่ยังอยู่และผู้ที่กำลังจะจากไปครับ
  • เพราะอาจจะทำให้รู้สึกว่าดีขึ้นครับ  ทำให้มีความหวังครับ

ขอบคุณครับ คุณ kamsabai

เราได้คุยกันถึงปฏิกิริยาต่างๆของผป.ที่รับทราบข่าวร้าย (เช่น การได้เป็นคนไข้ของหน่วยชีวันตาภิบาลเป็นต้น) ว่าอย่างไรยาก ง่ายแค่ไหน มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง

สำหรับความคิดของคุณ kmsabai คิดว่าในกระบวนการ 5 stages ตามแบบของอลิซาเบธ คูเบอลร์ รอส นั้น (depressed, anger, bargaining, denial และ acceptance) ประเภทไหนยากที่สุดที่จะดูแล และจากประสบการณ์ถ้าคุณ kasabai พอจะแลกเปลี่ยน ได้ทำอย่างไรบ้าง สำเร็จ/ไม่สำเร็จ และมีข้อคิดยังไงบ้าง อยากจะชอรบกวนช่วย share เพิ่มหน่อยได้ไหมครับ

สวัสดีครับอาจารย์

  -ขอบคุณครับ  ที่ทบทวนความรู้เรื่อง 5 stage

  - ผมยังไม่ค่อยมีประสบการณ์มากนักครับ

อาจารย์หมอสกล สรุปบทเรียนได้ละเอียด มั๊ก มากค่ะ สุดยอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท