มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (3)


วันนี้จริงๆเป็นวันหยุด ไม่ต้องดูคนไข้ เพราะว่าผู้ช่วยลา

แต่พอ 11 โมงครึ่งก็มีโทรศัพท์มากจากคลีนิกที่มหาวิทยาลัย ขอให้ไปบ้านพักคนชรา แวะไปดูคนไข้ให้หน่อย เพราะลูกสาวของคุณยายคนนี้โทรมาบอกว่า ฟันปลอมล่างต้องซ่อม ฟันหลุดหายไปซี่หนึ่ง

ผู้เขียนก็รอให้ใกล้บ่ายโมง เพราะรู้ว่าถ้าออกไปเลย ก็ไปเจอะเวลาทานอาหารเที่ยงของที่บ้านพักคนชราอยู่ดี

พอบ่ายโมงตรงผู้เขียนก็เข้าไปที่ nurse station ถามพยาบาลว่าห้องคนไข้ไปทางไหน ปรากฎว่าคุณยายท่านนี้พักอยู่ในส่วนพิเศษ ที่ล็อคไว้ ต้องมีรหัสผ่าน (กันไม่ให้คนที่หลงลืมขนาดเดินไม่รู้ทิศทาง เดินหลงออกไป - wandering)

คุณพยาบาลใจดีเดินไปส่งผู้เขียน พร้อมกดรหัสผ่านให้

โชคดีคุณยายอยู่ในห้องพอดี แต่คุณยายเป็นคนจีน เราสื่อสารกันด้วยภาษามืออย่างเดียวเลย แต่ก็ทำการตรวจจนสำเร็จผ่านไปด้วยดี (ปรากฎว่าฟันที่หายไปเป็นฟันแท้ซี่หน้าที่ผุจนคอฟันหัก เหลือแต่ตอ)

พอตรวจเสร็จ ผู้เขียนก็กลับออกมาที่ nurse station หยิบแฟ้มผู้ป่วยหนาเตอะออกมาบันทึกใน

Interdisciplinary Progress Note ว่าเรามาทำอะไร กี่โมง ตรวจพบอะไร แวงแผนการรักษาอย่างไรต่อไป

เขียนเสร็จแล้วถึงกลับได้ (ขั้นตอนต่อไปคือกลับไปที่มหาวิทยาลัย แล้วเขียนลง dental chart อีกที แล้ว ผู้จัดการคลินิกจะโทรหาลูกสาวคนไข้เพื่อนนัดมารักษาที่มหาวิทยาลัยอีกที)

ตอนเดินกลับออกมาก ได้พบกับคุณยายอีกท่านหนึง ท่าน(ยัง)ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นี่ แต่วันนี้มาดูสถานที่กับลูกสาว มีเจ้าหน้าที่ของบ้านพักคนชราเดินมาส่งพร้อมอธิบายโน่นนี่ให้ฟัง

พอเดินถึงห้องโถง (lobby) คุณยายท่านนี้หันมาจับมือผู้เขียนพร้อมบอกว่า "โอ้ว ดีใจที่ได้เจอกันอีก แหมขอโทษที เพิ่งเห็น ไม่ได้ทักทาย ยายนี่ไม่มีมารยาทเลย" แล้วก็หัวเราะร่วน

ผู้เขียนก็ยิ้มรับแล้วบอกว่า "สวัสดีค่ะ" (เปล่าค่ะ ไม่เคยเจอกันมาก่อนเลย)

คุณลูกสาวเห็นก็หันมายิ้มกับผู้เขียน แนวๆว่า แฮะๆ ขอโทษนะคะ ที่คุณแม่ของฉันหลงๆ

แล้วคุณลูกสาวก็บอกคุณยายว่า "แม่ ได้เวลากลับบ้านแล้ว"

เราสามคนเดินออกประตูหน้าพร้อมกัน แล้วคุณยายก็ร้องเพลง

You Are My Sunshine
My only sunshine.
You make me happy
When skies are grey.
You'll never know, dear,
How much I love you.
Please don't take my sunshine away

ร้องคนเดียว มีความสุขอยู่คนเดียว จนถึงรถ

ผู้เขียนต้องขอบคุณคุณยายมากๆที่ทำให้วันนี้ผู้เขียนอารมณ์ดี 

ถ้าแก่ไปแล้วเราเป็นอัลไซเมอร์ เราขอเป็นแบบคุณยายคนนี้ด้วยเทอญ : )

-------------------------------------------------------------------------------

คลิกเพื่ออ่าน:

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (1)

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (2)

 

หมายเลขบันทึก: 168386เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่ารักดีนะคะ
  • ก็ขอให้เมื่อแก่แล้ว ให้มีความสุขอย่างคุณยายท่านนี้ด้วยคน
  • และก็หวังว่า คนรอบข้างเราจะทนได้ด้วยค่ะ อิอิ

ขอบคุณครับ

อันนี้เป็นโรคฮิต ใช่ไหมครับ  กลัวเป็นจัง

You Are My Sunshine
My only sunshine.
You make me happy
When skies are grey.
You'll never know, dear,
How much I love you.
Please don't take my sunshine away


ชอบจังเพลงนี้ นึกถึงภาพยนต์เรื่องมหาลัยเหมืองแร่ ....ใช้เพลงนี้ประกอบเป็นเพลงประกอบภาพยนต์ ครับ

สวัสดีค่ะ อ.มัท

  • เรื่องเล่าน่ารักเทียว  พี่แอมป์อ่านแล้วอมยิ้ม  :)  ชอบเพลงนี้จัง  ครูเคยให้ร้องพร้อมๆกันในชั่วโมงภาษาอังกฤษค่ะ
  • แต่อ่านเนื้อเพลงจากบันทึกนี้แล้วซึ้งกว่าเยอะ....
  • ผู้เฒ่าผู้แก่ที่พี่เคยพบมา บางท่านอายุมาก ชรามากแล้วก็เกิดหลงๆลืมๆ  เรียกว่า(มี)อาการ"หลง" ซึ่งฟังดูไม่ร้ายแรงอะไร  แต่หากใช้คำว่า(เป็น)โรค  นำหน้าอาการใด  ก็ทำให้อาการนั้นดูน่ากลัวขึ้นมาอีกหน่อย
  • ภาษาที่เราเลือกใช้นี่ก็สำคัญจริงๆเนอะ
  • สงสัยอีกแล้วอะค่ะ  รหัสผ่านตรงส่วนพิเศษนี่ใช้วิธีการใดเหรอคะ   ต้องล็อคประตูแบบใช้การ์ดรูดเลยรึปล่าวคะ
  • พี่แอมป์ถามได้เรื่อยเทียว  ไว้ว่างๆค่อยตอบเน้อ  พี่แวะไปอ่านลิงก์  wandering มาแล้วค่ะ ชอบข้อมูลแบบที่ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ผู้อื่นที่อยู่ร่วมโลกใบเดียวกันแบบนี้จัง
  • ขอบคุณ อ.มัทมากนะคะ :)

ขอบคุณมากค่ะพี่หมอนนท์ (เพื่อนร่วมทาง), อ. พันคำ,   กวินทรากร, พี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล)

  • โรคนี้ฮิตมั้ย?

ถ้าดูกันที่ความชุก (Prevalence) ของโรค vascular dementia และ Alzheimer's รวมกัน ตามที่องค์กร Alzheimer’s Disease International ได้รวบรวมข้อมูลในประเทศที่เค้าเรียกว่าพัฒนาแล้วในอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย พบอัตราต่อประชากรดังนี้ค่ะ

Age          Prevalence
group       rate %
65-69       1.4
70-74       2.8
75-79       5.6
80-84       11.1
85+          23.6

และเนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราความชุกจะเพิ่มขึ้นถึง 37% ในปีค.ศ. 2010 (เทียบกับเมื่อปีค.ศ. 1990)

แหล่งข้อมูล: Alzheimer’s Disease International FACTSHEET 3, APRIL 1999


ที่นี้ก็กลับมาที่ประเด็นการเรียกชื่อ ...

  • หลง หรือ โรค?

แม่นแล้วค่ะ ภาษาและกรอบความคิดนั้นสำคัญมาก จะมองว่าอะไรเป็น normal variation อะไรเป็นโรค อะไรปกติ อะไรไม่ปกตินี่ มันก็คนเรานี่แหละค่ะที่ "จัดกลุ่ม" แล้วก็ "มอบชื่อ" (label) ให้กันเองทั้งนั้น

 

มัทเคยเรียนวิชา "Aging from interdisciplinary perspective" เป็นสัมมนาที่ให้นักศึกษาหลายๆสาขาอาชีพมาเรียนด้วยกัน มัน(ส์)มากค่ะ ฟังนักศึกษา/อาจารย์สังคมสงเคราะห์กับนักศึกษา/อาจารย์แพทย์ (psychitrist) ถกกันเรื่องนี้

แต่ก่อน(นานมากแล้ว)ผู้สูงอายุที่หลงๆลืมๆเราก็เรียกกันว่า กาก้า ท่านก็อยู่ร่วมสังคมกับคนอื่นได้ นั่งหลงๆพูดคนเดียวอยู่มุมหนึ่งของตลาดในชุมชน หรือ อยู่ในบ้านก็ว่าไป แต่พอสังคมเปลี่ยนไป ช่วงอุตสาหกรรมเฟื่องฟู (ช่วงที่ฟูโกได้เขียนถึงไว้อย่างยาวในหนังสือ  madness and civilization: the birth of the asylum) ใครที่ดูผิดปกติ ก็จะถูกรวบให้ไปอยู่ในที่ที่ "ไกลหูไกลตา"

อาการกาก้า ก็กลายเป็น ชื่อโรคมากมายแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ

ฟังดูวงการหมอเป็นผู้ร้าย แต่ก็อย่าลืมว่า โลกมันก็เปลี่ยนมาเรื่อยๆ  มีการเน้นการมองคนให้เป็นคนไม่ใช่โรคหรือ"เคส"มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วการที่หมอเค้าพยายามวินิจฉัยให้ได้ว่า แค่หลงๆ หรือ เป็นโรค เพราะว่าสมัยนี้พอมียาที่จะชลออาการได้หลายปี อย่างน้อยก็ให้คนรอบข้างได้เตรียมพร้อมได้ทัน

เรื่อง dementia หรือ Alzheimer's ไม่ค่อยมีใครมีปัญหาในการจัดกลุ่ม อ่านได้ที่บันทึก อัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่หลงๆลืม (คลิก)

แต่ ไอ้ Mild Cognitive Impairment (MCI) ที่มัทเคยเขียนถึงในบันทึก ขี้หลงขี้ลืมขนาดไหน ถึงจะเรียกว่าผิดปกติ (คลิก) นี่สิค่ะที่ยัง controversy มากๆมัทว่าหลงๆนิดๆหน่อยๆ ก็รับได้ ไม่ต้องให้ชีวิต perfect อะไรมาก จะได้เตือนลูกหลานได้ด้วยว่า ชีวิตมันก็อนิจจัง

 

พี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล): ลืมตอบเรื่องล็อค (เห็นไหมเราก็ลืม เฮอะๆ)

เป็นแป้นตัวเลขให้กด 4-5 หลักค่ะ บางที่จะให้จำรหัสเอง บางที่มีติดรหัสไว้ เพราะว่าไอ้แป้นนี่ติดอยู่บนฝาผนังสูงราวๆ เอื้อมสุดมือมัทอ่ะค่ะ คงราวๆสองเมตรกว่าๆจากพื้น ผู้สูงอายุเอื้อมไม่ถึงแน่ๆ บางที่จะล็อคแค่ประตูที่ลงบันได (เพื่อความปลอดภัย) แล้วให้ใช้ลิฟท์ได้ แต่จะมีเจ้าหน้าที่ที่ประตูหน้าคอยกันไม่ให้คนที่ wander ออกไปหน่ะค่ะ แบบนี้ดีนะคะ บางที่ล็อคหมดเพราะไม่มีคนเฝ้าค่ะ
ก็ดูเหมือนโดนขังเหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะคุณมัท หายไปซะนาน คิดถึงจริงๆพอเห็นไปเยี่ยมที่บล็อกพี่เป็นสัญญาณว่าพอมีเวลาบ้างแล้ว ดีใจค่ะ คนแก่ที่หลงแล้วอารมณ์ดีร้องเพลงได้เรื่อยๆทั้งวันก็ยังดีนะคะที่ท่านมีความสุขอยู่กับสิ่งนั้น และลูกหลานก็ดูแลเอาใจใส่อย่างดีโดยมีความสุขไปด้วย

สวัสดีค่ะ คุณหมอ น้องมัท ของครูอ้อย

 

  • สำหรับครูอ้อย  ยังไม่แก่เท่าคุณยายท่านนี้  ก็ร้องเพลงนี้แล้วค่ะ
  • ฮา..ก๊ากกกก
  • สนุกมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท