ตรวจ 5 ส. โดยผู้ตรวจจากสมาคม ไทย-ญี่ปุ่น


เมื่อวาน มีการตรวจประเมิน 5 ส โดยผู้ตรวจประเมินจากสมาคมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น  อันเนื่องจากคณะแพทย์ มอ. สมัครเข้าชิง Thailand 5S award ซึ่งจัดโดยสมาคมนี้   งานนี้ ทำให้มีอะไรๆ amazing มากๆ ในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมาก่อนที่เขาจะมาตรวจ  เช่น..

  • การทำความสะอาดยกใหญ่  การซ่อมพื้นตามจุดต่างๆ  และ การทาสีฝ้าเพดาน ทั่วรพ. จนดูขาวสะอาดตาไปทั่ว  แต่มีของแถมคือ กลิ่นของสีใหม่ ที่อบอวลไปทั่ว
  • การขอซ่อมแซมส่วนต่างๆ จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทั้งที่บางรายการส่งไปนานแล้ว
  • หัวหน้าภาค เพิ่งได้รับการสื่อสารอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ก่อน.
  • ฯลฯ

ซึ่งอันที่จริง คณะฯ ก็มีกิจกรรมการตรวจประเมินภายใน 5 ส. กันมาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา  ก็เลยแปลกใจ (นิดหน่อย) ว่าเหตุใด จึงต้องมาเตรียมอะไรกันฉุกละหุกกันปานนี้

ที่จริง ก็แอบคิดอยู่ในใจว่า เราน่าจะยังไม่พร้อมพอ  แต่พอติด 1 ใน 10 ของผู้สมัคร ที่เขาจะมาตรวจเยี่ยมสถานที่จริง หลายคน โดยเฉพาะผู้บริหาร ก็แอบหวังต่อว่าจะติด 1 ใน 5 ที่จะเข้ารอบ ซึ่งจะมีผู้ตรวจเยี่ยมจากแดนกำเนิด 5 ส คือ ญี่ปุ่นมาเยี่ยม

แต่ถึงจะติด 1 ใน 5 หรือไม่ การได้รับการมาตรวจเยี่ยมจากมืออาชีพครั้งนี้ ก็เรียกว่า คุ้ม กับ คุ้ม  เพราะ ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องก้าวเดินอีกพอสมควร ก่อนที่จะถึงเส้นชัยของ 5 ส.

เวลาประเมิน 15.30 ห้อง M104 exit conference
เมื่อถึงเวลาสรุปการตรวจด้วยวาจา ท่านผู้ตรวจฯ ก็เริ่มด้วยการพูดติดตลกว่า ขออภัยที่มาช้าไปหน่อย เพราะต้อง load ภาพเยอะมาก (ภาพถ่ายจากจุดต่างๆ ในระหว่างการตรวจประเมิน)  load ไม่หมด มันมากเหลือเกิน !!!

ท่านผู้ตรวจฯ บอกว่า เท่าที่ท่านสัมภาษณ์คนหน้างาน ยังไม่รู้ว่าแต่ละ ส. คืออะไร และ ทำไปเพื่ออะไร แสดงว่า การถ่ายทอดเรื่องนี้ ยังไม่ลงไปถึงระดับล่าง 

ท่านจึงบรรยาย concept ของ 5 ส.ให้ฟังสั้นๆ ก่อนการรายงาน ซึ่งเป็นประโยชน์กับพวกเรามาก เพราะท่านพูดได้กระชับ และ เป็นแก่นของ 5 ส. ตั้งแต่ บอกว่า แต่ละ ส.คืออะไร  ทำเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และ มีตัววัดอย่างไร  พร้อมวิธีการดำเนินการในแต่ละ ส.สั้นๆ เช่น..

ส1 (สะสาง) (ภาษาอังกฤษใช้ว่า organization) คือการจัดสิ่งของหรือระบบงานให้เป็นระบบ
        ทำเพื่อ ลดความสูญเปล่า
        ตัวชี้วัด: จำนวนสิ่งของ หรือระบบที่สูญเปล่า หรือ ซ้ำซ้อนที่ถูกกำจัดออก

ส2 สะดวก (neatness)
 ทำเพื่อ เพื่อประสิทธิภาพ
 ตัวชี้วัด: หยิบของที่ต้องการได้ภายใน 30 วินาที

ส3 สะอาด (cleaning)
 ทำเพื่อ  ตรวจสอบผิดปกติ (ส่วนความสะอาดนั้น เป็นผลพลอยได้)
 ตัวชี้วัด: จำนวนสิ่งผิดปกติที่พบ

 ส4 สร้างมาตรฐาน (standardization)
 ทำเพื่อ ลดความผันแปร หรือลด risk
 ตัวชี้วัด: พนักงานในหน่วยงาน ทำแทนกันได้

ส5 สร้างวินัย (ไม่ใช่สร้างนิสัย เพราะทำยากส์)
 ทำเพื่อ รักษามาตรฐาน และระบบของ 5 ส.
 ตัวชี้วัด: ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา (วัฒนธรรมองค์กร)

หลังจากเล่าให้ฟัง ท่านก็รายงานผล เป็นการรายงานด้วยภาพ มากมาย ... ทีทำให้พวกเราได้เรียนรู้อะไร ต่ออะไรเพิ่มขึ้นอีกมาก

ความคิดเห็นส่วนตัว

  • เห็นด้วยกับวิทยากรว่า เรามีแนวคิดเรื่อง 5 ส.ที่ไม่แข็งแรง เมื่อฐานไม่แข็ง การดำเนินการต่อจากนั้น ก็อาจหลงทิศได้
  • อีกประเด็นหนึ่ง เรื่องการถ่ายทอดแนวคิดและการปฏิบัติ ยังไม่ทั่วทั้งองค์กร อันนี้ พวกเราในคณะฯ รู้กันดี  นอกจาก คนหน้างานระดับล่าง ที่ไม่ได้รับการถ่ายทอดแล้ว จริงๆ อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มอาจารย์  เป็นกลุ่มที่ได้รับอภิสิทธ์ ที่ไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้  เวลากรรมการภายในคณะฯ มาตรวจ 5 ส. เขาก็จะ skip ห้องทำงานอาจารย์แพทย์ให้ด้วยความเกรงใจ
  • อีกอย่าง ส่วนหนึ่ง เพราะเรามีเรื่องที่ต้องทำมากมาย จากนโยบายเบื้องบน ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นคนละเรื่องเดียวกัน  หากเราได้บูรณาการแนวคิดและวิธีปฏิบัติ 5 ส ไปกับ กระบวนการพัฒนาอื่นๆ ของคณะฯ ไม่ว่าจะเป็น HA, TQA Patient safety  ฯลฯ เราก็จะไม่เหนื่อยทำหลายงาน ด้วยกรรมการชุดต่างๆ ที่ต่างแนวคิด และ ความเข้าใจที่แตกต่างกัน 

ชื่นชม
อย่างไรก็ตาม แอบชื่นชมท่านผู้บริหารคือ ทั้ง ผอ.รพ. และ คณบดี มากๆ ถึงแม้เราจะได้รับ feed back มากมายดังกล่าว ท่านก็ยังยิ้มแย้ม และ พูดจาปราศรัยชื่นชม และให้กำลังใจทุกๆ คนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ 

และ ชื่นชม คณะผู้ตรวจประเมินชุดนี้อย่างมาก ท่านมืออาชีพจริงๆ  ท่านสามารถสื่อสาร จุดบอดของพวกเรา โดยที่ทำให้เรายิ้มและหัวเราะได้เป็นระยะ พร้อมๆ ไปกับยอมรับจุดบอดนั้น  และเชื่อว่า ท่านได้สร้างแรงฮึกเหิมให้พวกเรา มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าในเส้นทาง 5 ส.ต่อไปได้ไม่น้อยทีเดียว 

                                       -- จบการรายงาน--

คำสำคัญ (Tags): #5ส#ตรวจประเมิน
หมายเลขบันทึก: 108446เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ...รศ.พญ. ปารมี ทองสุกใส

  • ครูอ้อยสนใจเรื่อง 5 ส ค่ะ  และมั่นใจว่า  การทำงานด้วยหลักการ 5 ส นี้จะทำให้การปฏิบัติได้คล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพค่ะ

ขอบคุณอาจารย์หมอ..ข้อมูลจากอาจารย์หมอที่ยอดเยี่ยมค่ะ

เข้าไปนั่งฟังอยู่ด้วยเช่นกันค่ะ และเก็บรายละเอียดอื่นๆได้จากผู้ที่เดินตามทีมตรวจด้วย

  • แว้บแรก....อืมม์....หลงทาง...เพราะพื้นฐานความรู้เรื่อง 5ส ยังอ่อนแอ จนไปตีความกันว่า 5ส คือการทำความสะอาด สะอาด และสวยงาม...แล้วก็จบ...
  • แว้บต่อมา...อ้อ...ขาดการเชื่อมโยง...เพราะคนที่ทำ 5ส ยังมองไม่เห็นว่าทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไรต่อตนเอง ต่องานที่ทำอยู่ และต่อองค์กรบ้าง  ทำให้ขาดแรงจูงใจที่ดีในการทำกิจกรรม

พี่เม่ยเก็บประเด็นที่น่าสนใจจากการนั่งฟังได้บ้าง ขอนำมาฝากไว้ที่บันทึกนี้ด้วยนะคะ...

  1. เน้นเรื่อง visual control มาก..ก..ก..เรื่องอะไรก็ตามที่สามารถใช้ visual control ได้....ควรทำ
  2. TPM ค่ะ...การใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา แผนการบำรุงรักษา ผู้รับผิดชอบเครื่อง....ควรมีสำหรับทุกเครื่อง (ส่วนใหญ่มักละเลยเครื่องเล็กๆที่ใช้กันจนเคยชิน และคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำ..) 
  3. ตัวชี้วัดผลกิจกรรม 5ส  จากเดิมที่ไม่เคยมีก็น่าจะต้องมองให้เห็นเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว เช่นหากมีการสะสางเพื่อทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานมากขึ้น ก็ต้องวัดเวลาที่ลดลงออกมาให้ได้....
  4. แรงจูงใจ ที่ต้องเริ่มจากความเข้าใจในกิจกรรม และมองให้เห็นประโยชน์จากการทำกิจกรรมนี้ให้ได้ก่อน
  5. ทำให้เนียนในงาน สร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

เรียน คุณหมอปารมีค่ะ

           ก่อนอื่นขอชื่นชมทีมบริหารของคณะแพทย์มาก ๆ เลยค่ะ ที่มักจะนำสิ่งดี ๆ มาให้หน่วยงานเสมอ

           การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ 5 s Award ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของของคณะแพทย์ ซึ่งนั่นย่อมส่งผลต่อความสำเร็จในภาพรวมของมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ

         เห็นด้วยกับอาจารย์ตรงแนวคิดที่ว่า การเข้าร่วมโครงการนี้นั้น ความสำเร็จ คือชัยชนะ ไม่ใช่จุดหลัก  แต่สิ่งหนึ่งคือ การได้คำชี้แนะ การได้เห็นสิ่งอะไรใหม่ ๆ จากทีมงานมืออาชีพ นี่สิ คือสิ่งที่เราไม่สามารถหามาได้ง่าย ๆ

         ท้ายสุด ขอฝากชื่นชมบุคลากรของคณะแพทย์ทุกท่านค่ะ เป็นต้นแบบในสิ่งที่ดี ๆ ให้พวกเราอยู่เสมอ ๆ

สวัสดีตอนเช้าค่ะ ครูอ้อย

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ว่า 5 ส. ทำให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพและคล่องแคล่ว  ความสำเร็จของ 5 ส.ขององค์กร น่าจะอยู่ที่ทุกคนตระหนัก และ เริ่มที่ตนเองก่อน แต่ตรงนี้หละค่ะ ไม่ง่ายเลย เพราะเรามักทำตามความเคยชินและความสะดวกของตนเอง  เท่าที่ดู การทำ 5 ส. ต้องมีวินัยในตัวเองมากทีเดียว

 

ขอบคุณพี่เม่ยค่ะ ที่ช่วยเติมเต็ม กำลังคิดว่า ภาควิชาฯเราคงต้องดูแลเรื่องนี้ กันอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็เสริมกับ ISO ที่เราทำกันอยู่

คุณรัตติยา

ผู้บริหารคณะแพทย์เขา active มากค่ะ มีเรื่องโน้นเรื่องนี้ มาให้เราทำตลอด ทำให้เราผู้ใต้บังคับบัญชาต้อง acitve ไปด้วย แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็เพื่อองค์กรของพวกเราค่ะ

เรียน อาจารย์ หมอปารมี เรียกว่า สูงสุด คืน สุ๋ สามัญ ๕ ส ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์หมอปารมี 

  • อ่าน 5 ส. มาหลายบทความ แต่พออ่านบันทึกนี้ของอาจารย์หมอปรามี แล้วถึงบางอ้อเลยครับ
ชอบ concept 5 ส. ชิ้นนี้ที่สุดเลยค่ะ อาจารย์ น่าจะพิมพ์เอามาติดให้เห็นชัดๆกัน เพราะว่าชัดเจนมากๆถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้ 5 ส.อย่างจริงจัง ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่เก็บมาฝากพวกเราที่ไม่ได้ไปฟังเองค่ะ

คุณโอ๋ เป็นคำแนะนำที่ดีมากเลยค่ะ  ทางคณะเขาขอ ppt จากวิทยากรไว้ด้วย แล้วจะหาเวลาสรุป มาติดบอร์ดในภาควิชา 

อ.JJ และ คุณบอย

ความดีของบันทึกนี้ ต้องยกให้ท่านผู้ประเมินแหละค่ะ (แล้วจะหาชื่อมาท่านมาใส่ในบันทึก) 

คุณหมอปารมี

ขออนุญาต นำไปเผยแพร่ในกองนะครับ

คุณเที่ยง มีอีก 1 บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่นี่ โดยคุณหมอฉลองค่ะ

อาจารย์ครับ ทำไมต้องเป็น 5s ครับ เพราะภาษาอังกฤษที่อาจารย์เขียนเล่ามานั้น ก๋เห็นจะมีแต่ standardization เท่านั้นที่ขึ้นต้นด้วย s

ที่ตามมาอ่านเพราะพี่โอ๋ส่งมาครับ

ได้ความรู้ขึ้นมาก

ขอบคุณครับ

อาจารย์แป๊ะ

S มาจากต้นตำรับญี่ปุ่นเขาค่ะ

SEIRI (เซริ),
SEITON (เซตง)
SEISO (เซโซ)
SEIKETTSU (เซเคทซึ)
SHISUKE (ชิทสึเกะ)

  เรื่อง 5 ส.นี้ พวกอาจารย์และหมอทั้งหลาย ดูเหมือนจะบอกว่าไปห่างๆ เลย  แต่หากเปิดใจรับฟังข้อมูล (ที่ถูกต้อง) ก็จะเห็นประโยชน์มันค่ะ

เรื่อง 5 ส.นี้ ดูเหมือนว่าพวกอาจารย์และหมอทั้งหลายจะบอกว่าไปห่างๆเลย ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ

  • ไม่มีใครมาบอกเราตรงๆว่าสำคัญยังไง เมื่อบอกว่าให้ทำ ก็แน่นอนที่จะมีต้านทานไว้ก่อน แล้วคราวนี้ เมื่อมีคนพยายามมาทำความเข้าใจให้ ก็ไม่มีใครสนใจแล้ว
  • คนที่รู้เรื่องและรับผิดชอบ มักจะเป็นผู้บริหาร ลูกน้องก็เลยไม่เห็นความสำคัญ เพราะมีคนจัดการเรื่องราวให้เสร็จ
  • ขาดการสร้างความเข้าใจอย่างแท้จริง

แล้วเราจะมีทางแก้ไขไหมครับ

  • เรียกอาจารย์และแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ต่อยอด มานั่งคุยกันใหม่
  • ถ้าเป็นภาคผม เราสะดวกที่จะไปจัดจริยธรรมนอกสถานที่ครับ ขังไว้ในรีสอร์ตเลย ไปไหนไม่ได้
  • ความร่วมมือ น่าจะมาจากการร่วมกันคิด ร่วมกันหาแนวทาง
  • เมื่อกลับบ้านราวๆเดือนพย. ผมจะลองหารือหัวหน้าภาคดูครับ ว่าพอจะเป็นไปได้ไหม
  • ปล. ตอนนี้เขาก็รอผมกลับไปจัดงานแล้ว ตอนแรกว่าจะทำเรื่อง palliative care ครับ ผมวางแผนว่าจะเชิญแพทย์ประจำบ้านจาก ศิริราช รามา จุฬา มช. มข. และที่อื่นๆมาร่วมด้วย
  • ถ้าได้จัดเรื่อง 5 ส. อาจารย์จะไปกับภาคผมไหมครับ พาลูกไปด้วย (พี่พิทักษ์ด้วย)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท