้hotel rwanda อีกครั้ง


ไม่ชอบทำมากเพื่อป้องกันความเสียหาย ชอบทำน้อยรอให้เสียหายมาก

ด้วยคุณสมบัติใหม่ของ gotoknow ผมได้รับmailจากคุณ วิลาสินี เกี่ยวกับเรื่องการฆ่ากันในรวันดา อันเนื่องมาจากหนังเรื่อง hotel rwanda ผมก็เลยเขียนตอบแล้วถือโอกาสมาแบ่งปันให้ท่านอื่นได้อ่านเป็นความรู้ พร้อมกระตุ้นความคิดหน่อยครับ

คุณวิลาสินีบอกว่า

"เมื่อวันก่อนได้ดูหนังเรื่อง "โฮเทล รวันดา" แล้วรู้สึกสะท้อนใจมากๆเลยคะ วันนี้เลยมาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ เปิดหาข้อมูลจากอินเตอร์เนต ก็ทำให้เข้าใจเรื่องราวมากขึ้นคะ แต่ที่ยังติดค้างใจอยู่เรื่องหนึ่งก็คือว่า องค์กรที่มีอำนาจต่างๆอย่างยูเอ็น ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากกว่านี้เลยหรือคะ คำถามที่อยากได้คำตอบคือ ถ้าเราเป็นยูเอ็น เราจะมีบทบาทในเรื่องนี้อย่างไรดีคะ รบกวนเวลาช่วยตอบด้วยนะคะ อยากทราบแนวคิดมากๆ ขอบคุณค่ะ"

ผมไม่แน่ใจว่าคุณวิลาสินีได้อ่าน blog ที่ผมเขียนเกี่ยวกับหนังเรื่อง sometimes in April ที่เกี่ยวกับกรณีเดียวกัน แต่เป็นหนังของ HBO หรือเปล่านะครับ  ( http://gotoknow.org/blog/learningsociety/15246 )

บังเอิญผมเองก็ได้ดู hotel Rwanda ด้วย เลยจะขอแลกเปลี่ยนความคิดว่าด้วย UN ในฐานะคนที่เคยเข้าไปยุ่งกับองค์กรระหว่างประเทศอยู่บ้าง แต่ไม่การเมืองจ๋าเหมือน UN กลาง แค่องค์การชำนัญพิเศษอย่าง WHO มันก็เห็นชัดว่ากลไกของ UN ส่วนใหญ่ต้องคอยฟังใคร

ผมขอยกตัวอย่าง WHO กับกรณี ธุรกิจยา กรณีบุหรี่ และกรณีเอดส์ ทั้งสามกรณีนั้นในฐานะ องค์กรวิชาการ WHO ต้องทำไปตามหลักวิชาที่ถูกต้อง แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังว่าเจ้ามือใหญ่อย่าง อเมริกาจะว่าไง เพราะฉะนั้น ethical guideline for marketing of pharmaceutical products ของ WHO ที่มุ่งจัดการเรื่องการผูกสัมพันธ์กับ บุคลาการทางการแพทย์ จึงไม่ถูกเผยแพร่อย่างจริงจัง

หรืออย่างกรณีบุหรี่ก็ไปถูลู่ถูกังอยู่ในกระบวนการภายในอยู่นานจนกระทั่งได้ผู้นวยการใหญ่อย่าง ดร บรุนแลน ที่เคยเป็นนายกนอร์เวย์มาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ และมาผลักดันจึงออกมาเป็น framework convention ที่ให้ทั่วโลกใช้เป็นข้ออ้างอิงกำหนดนโยบายประเทศเพื่อป้องกันคนในประเทศจากภัยของบุหรี่ 

หรืออย่างกรณีเอดส์ที่ผู้อำนวยการคนล่าสุดชาวเกาหลี          (ที่เพิ่งตายไป)มาส่งเสริมให้มีการให้ยาต้านไวรัสภายใต้ชื่อแผนงาน 3 by 5 ก็มีข่าวว่ามีอเมริกาและธุรกิจยาอยู่เบื้องหลัง

สำหรับผมตอนดูหนังทั้ง 2 เรื่องแล้วพบว่าถ้า UN intervene อาจจะช่วยลดความสูญเสียได้ แต่ก็ไม่ intervene เสียทีผมก็แปลกใจเหมือนกัน ว่าทำไม

เพราะว่าไปแล้วก็ไม่เห็นมีประเทศยักษ์ใหญ่อยู่เบื้องหลัง

ผมมีข้อสรุปส่วนตัวว่ากลไกUN เป็นกลไกใจดำ จะเข้าไปยุ่งเฉพาะเมื่อมี visibility

การฆ่ากันตายภายในประเทศเล็กๆในอาฟริกา เนื่องจากความขัดแย้งทางชนชาติภายในประเทศเดียวกัน ไม่ทำให้ UN มี visibility ก็เลยไม่เข้าไปดูว่าจะรุนแรงแค่่ไหน และถ้าเข้าไปช่วยจะลดความสูญเสียได

้ แถมยังมีข้ออ้างว่าเป็นความขัดแย้งภายใน และความรุนแรงไม่เข้าข่าย genocide เพราะถ้าเข้าข่าย genocide จะมีสิทธิเข้าไปแทรกแซงได้

ประเทศราวันดาเป็นประเทศเล็กๆ คนในประเทศจะเป็นจะตายก็คงไม่มีประเทศอื่นเดือดร้อนจะมาเป็นปากเป็นเสียงด่าทอ UN ให้ได้อาย ดังนั้นอยู่เฉยๆจะดีกว่า

แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมี politics ใน UN เพราะเบลเยียมเจ้าของเรื่องดั้งเดิมก็ใช่ว่าจะกระจอกไม่มีอะไรใน UN เพราะเป็นถึงเมืองหลวงของยุโรป (กรุงบรัสเซลเมืองหลวงเบลเยี่ยม) อาจจะไม่อยากให้เข้าไปยุ่งก็ได้ (แต่ผมเองคิดว่าสาเหตุนี้น่าจะมีน้ำหนักน้อย เพราะตอนเบลเยียมอยรวันดาู่เขาสนับสนุนฝ่ายที่กำลังถูแก้แค้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก็ไม่รู้ว่าเขาอาจจะคิดว่าถึงเวลาแล้วก็ปล่อยให้ฆ่ากันไปจนเหลือเผ่าเดียวก็แล้วกัน แก้ปัญหาง่ายดี

ผมแปลกใจที่มีนักการเมืองในสหรัฐพยายามกระตุ้นให้รัฐบาลคลินตันทำอะไรซะอย่าง และก็แปลกใจต่อไปที่รัฐบาลคลินตันไม่ยอมทำอะไร

เป็นไปได้ว่าไม่มีใครสนใจจริงจังที่จะประเมินว่าความเสียหายมันมากมายจน UN น่าจะเข้าไปช่วยได้แล้ว

โดยรวมผมเชื่อว่ามันสะท้อน ความเฉยเมยของผู้มีอำนาจ (ประเทศยักษ์ใหญ่ที่นั่งใน UN ซึ่งควรจะเอาเรื่องนี้มาคุยกันแล้วหาทางช่วยเหลือตั้งแต่ต้น) เพราะมันไม่ได้ทำให้เขาเดือดร้อน แล้วคนใน ประเทศนี้ก็มีเส้นสายที่จะเข้าถึงกลไกอะไรที่มีพลังขนาดที่จะมาทำให้ UN ขยับได้

คุณวิลาสินีถามว่าถ้าเราเป็น Un จะทำอะไรบ้างผมก็เลยขอสมมุติว่าถ้าเป็นผมไปเป็นเลขา UN (ไม่ได้อยากเป็นนะครับ แต่พูดให้มันเว่อร์จะได้เห็นภาพ) ผมจะตั้งกลไกที่คอยสอดส่องปัญหาสำคัญๆในประเทศต่างๆ (โดยมีการกำหนดcriteria คร่าวๆว่าอะไรเป็นกิจของ UN ที่น่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย) แล้วเอาข้อมูลที่ได้จากทีมม้าเร็วมาเป็นinput ในการประเมินสถานการณ์อย่างจริงจัง โดยไม่สนใจว่าเป็นเรื่องระหว่างประเทศหรือในประเทศ

เป็นไปได้ว่าทางUN อาจมีกลไกแบบที่ว่าอยู่แล้ว แต่ผลการประเมินของเขาต่อกรณีรวันดาก็คือว่า "ไม่น่าเป็นห่วง มันแค่ดูเหมือน genocide ยังไม่ใช่ genocide " " (แบบที่ถูกเอามาพูดถึงแบบถากถางอยู่ในหนังทั้งสองเรื่อง) เพราะฉะนั้น wait and see ไปก่อน

พูดง่ายๆคือ อะไรหลบได้หลบไว้ก่อน ไม่งั้นเดี๋ยว UN จะเดือดร้อน เป็น attitude แบบกลัวผิด ไม่เสี่ยง เอา sure ไว้ก่อน แทนที่จะทำมากไว้เพื่อป้องกันความเสียหาย กลับเอาแบบทำน้อย รอให้เสียหายมากๆก่อน

ผู้มีอำนาจหลายคน หรือในหลายประเทศก็มี attitude แบบนี้ แต่ผมว่า เราคงจะไปเปลี่ยน UN ไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ

ขอปิดท้ายครับ ทราบใช่ไหมครับว่าผู้จัดการโรงแรมคนเก่งในหนังเรื่องนี้ ไม่เคยกลับประเทศตัวเองอีกเลย แม้เหตุการณ์จะสงบแล้ว และเมื่อไม่นานก็เกิดเหตุถกเถียงกันในระหว่างผู้มีอำนาจของประเทศนี้ (ซึ่งก็เป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มที่ก่อเรื่องในคราวนั้น) มาพูดวิจารณ์ผู้จัดการโรงแรมคนนี้ทำนองว่าเขียนเรื่องราวเอาดีเข้าตัว แต่ความจริงแล้วไม่ได้รักชาติ หรือคนรวันดาอย่างที่คนดูหนังเข้าใจหรอก เรื่องแบบนี้คงมีแต่เจ้าตัวเท่านั้นที่รู้ดี

เขาทำสิ่งที่ดีช่วยชีวิตคนได้มากมายก็เอาแล้วล่ะครับ

ออสการ์ ชินเลอร์ ที่ช่วยยิวไว้หลายคนและถูกเอามาทำหนังเรื่องดัง (schindler list) ก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ความจริงเป็นนักธุรกิจที่ชอบเอาเปรียบผู้คน แต่ครั้งหนึ่งในชีวิตก็สะเทือนใจกับความโหดร้ายที่ผู้คนกระทำต่อกัน จนอดที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยไม่ได้

ช่วยไม่ได้ทั้งหมด ได้แค่ไหนก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยครับ์

หมายเลขบันทึก: 38158เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2006 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ มสช. ...

  • อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วเห็นในชาวรวันดามากขึ้น...
  • เพราะดูเหมือนการ "เข้าไปแทรกแซง" จะขึ้นกับ "ผลประโยชน์" และ "ความคุ้มทุน" ของมหาอำนาจไม่กี่ประเทศ

ขอขอบพระคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท