ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบนแม่นำสาละวินที่ไทยไม่ควรมองข้าม


สาละวิน กับความหลากหลายในชาติพันธุ์
สรุปข้อมูลความคืบหน้าโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน
ณ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๙

ข้อมูลเกี่ยวกับความสูง พื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วมและพลังการผลิตของแต่ละเขื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามหน่วยงานต่างๆ  ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดนัก ทั้งนี้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงการวางแผนและไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นทางการ

เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามใน Memorandum of Understanding (MOU) กับกระทรวงพลังงานไฟฟ้า ของรัฐบาลพม่าเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนมูลค่า หลายหมื่นล้านบาทบนแม่น้ำสาละวินและตะนาวศรี

MOU นี้เป็นกรอบใหญ่สำหรับการศึกษาการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าทั้งลุ่มน้ำสาละวินและตะนาวศรี ข้อมูลปัจจุบันชี้ว่ามีโครงการที่ถูกผลักดันมากที่สุดทั้งสิ้น ๖ แห่ง ได้แก่

๑) ท่าซาง ตั้งอยู่ในรัฐฉาน ขนาด ๗,๑๑๐ เมกกะวัตต์ เขื่อนแห่งนี้จะเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดบนลุ่มน้ำสาละวินและจะสูงที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ ด้วยความสูงถึง ๒๒๘ เมตร เป็นโครงการของบริษัทเอกชนไทย MDX ซึ่งระหว่างปี ๒๕๓๙-๒๕๔๑ กองทัพพม่าบังคับอพยพประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวถึง ๓ แสนคน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่มีการศึกษาโครงการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบโครงการ และมีรายงานว่าบริษัทฯ ได้ก่อสร้างถนนจากชายแดนไทยที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าถึงหัวงานเขื่อน โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และอาคารบ้านพักคนงาน 

๒) ยวาติ๊ด ๖๐๐ เมกกะวัตต์ อยู่ในเขตรัฐคะเรนนี ประเทศพม่า  

๓) เว่ยจี หรือสาละวินชายแดนตอนบน,๐๐-๕,๖๐๐ เมกกะวัตต์ ความสูง ๒๒๐ เมตร ตั้งอยู่ที่ เว่ยจีบนชายแดนประเทศไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรงข้ามกับรัฐกะเหรี่ยง เป็นโครงการของกฟผ. ส่วนหนึ่งของพื้นที่โครงการอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ขณะนี้มีการตัดถนนเลียบแม่น้ำสาละวินไปจนถึงด่านออเลาะ ใกล้หัวงานเขื่อน

๔) ดา-กวิน หรือสาละวินชายแดนตอนล่าง ๕๐๐ หรือ ๗๙๒ หรือ ๙๐๐ เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ใกล้บ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นโครงการของกฟผ. อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแห่งนี้จะยาวไปจนจรดฐานของเขื่อนบน

๕) ฮัตจี  ในรัฐกะเหรี่ยง พื้นที่โครงการตรงข้ามกับจังหวัดตาก เขื่อนตั้งอยู่ท้ายน้ำจากชายแดนที่สบเมยลงไปในประเทศพม่าประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร ระดับเก็บกักน้ำของเขื่อน (Head Water) อยู่ที่ระดับประมาณ ๔๘ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และ crest + ๖๐ เมตร ซึ่งเป็นข้อมูลที่คาดการณ์เท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน      ทั้งนี้ กฟผ. ระบุว่า เขื่อนกักเก็บน้ำอยู่ที่ระดับ ๔๘ มรทก. จึงจะไม่ท่วมในประเทศไทยเลย พื้นที่อ่างเก็บน้ำจะท่วมเฉพาะในเขตพม่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา กำลังผลิตติดตั้ง คาดว่าอยู่ในระดับ ๖๐๐-๑,๒๐๐ เมกกะวัตต์ เขื่อนฮัตจีเป็นโครงการที่มีการผลักดันมากที่สุดในขณะนี้ โดยกฟผ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA)กับกรมไฟฟ้าพลังน้ำพม่า ในการร่วมทุน และล่าสุดได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับบริษัท Sinohydro รัฐวิสาหกิจของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ รายงานข่าวระบุว่ากฟผ. จะกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากประเทศจีนเพื่อลงทุนสร้างเขื่อนแห่งนี้ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว ๓,๘๐๐ ล้านบาท

๖) ตะนาวศรี ๖๐๐ เมกกะวัตต์ อยู่บนแม่น้ำตะนาวศรี หรือภาษาพม่าเรียก ตะนิ้นตะรีตรงข้ามกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ข้อมูลจากเครือข่ายแม่น้ำเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ 78 หมู่ 10   ถ.สุเทพ  ต.สุเทพ  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่ 50200
 Southeast Asia Rivers Network (SEARIN)  78 Moo 10,  Suthep Rd, Tambol Suthep,  Muang,   Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel.: (66)-(53)-278-334, 280-712    Fax : 283-609         Email: [email protected]
 

 รายงานล่าสุดการสร้างเขื่อนของพม่า ที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยได้รับความเดือดร้อน         

สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 หลังจากที่รัฐบาลพม่าและรัฐบาลจีนเริ่มก่อสร้างเขื่อนมิตโซนบนแม่น้ำอิระวดี รัฐคะฉิ่น หนึ่งในเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในพม่าเมื่อสองเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากต้องไร้ที่อยู่ และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางจากทหารพม่าเขื่อนมิตโซนเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่กำลังดำเนินการสร้างอยู่บนลุ่มน้ำอิระวดีทางตอนเหนือและห่างจากเมืองมิตจีนา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่นเป็นระยะทาง 42 กิโลเมตร
แหล่งข่าวรายงานว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พบวิศวกรชาวจีนและพม่ากำลังทำงานในพื้นที่สร้างเขื่อน รวมถึงคนงานก่อสร้างกว่า 300 คนจากบริษัทเอเชียเวิลด์ของนายทุนมิ้นหน่าย นักธุรกิจที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับรัฐบาลพม่า ซึ่งคนงานที่สร้างที่พักใกล้บริเวณสร้างเขื่อนได้ระเบิดใต้น้ำเพื่อทำลายก้อนหินและเคลียร์พื้นที่ 

 สื่อท้องถิ่นเดอะนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ของรัฐบาลพม่ารายงานเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาว่า โครงการสร้างเขื่อน 7 แห่งบนแม่น้ำอิระวดีนั้นจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 13,360 เมกกะวัตต์ ขณะที่เขื่อนมิตโซนที่กำลังดำสร้างอยู่ในขณะนี้จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 3,600 เมกกะวัตต์ ซึ่งบริษัทไชน่าเพาเวอร์อินเวสท์เมนท์ คอร์ปอร์เรชั่นของรัฐบาลจีนและรัฐมนตรีด้านพลังงานของพม่าหมายเลข 1 ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวเมื่อปลายปี 2549
อย่างไรก็ตาม  ขณะที่มีการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนอยู่นั้น ชาวบ้านในพื้นที่เปิดเผยว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง หลังจากทหารพม่ากองพันที่ 121 เข้ามาประจำในพื้นที่เพื่อดูแลความปลอดภัยในพื้นที่สร้างเขื่อน

ชาวบ้านในพื้นที่คนหนึ่งกล่าวว่า ทหารพม่าไม่ได้อยู่ในค่ายทหารแต่กลับยึดห้องสมุดของหมู่บ้านตังแป (ห่างจากพื้นที่สร้างเขื่อน 5 กิโลเมตร)เป็นทีพัก และทำทุกอย่างตามอำเภอใจ ทั้งรีดไถเงินจากพ่อค้าหรือหยิบของในร้านไปโดยไม่จ่ายเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ทหารพม่ายังเก็บพืชผักที่ชาวบ้านปลูกไว้ หรือแม้กระทั่งหมูและไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ติดมือไปด้วยเสมอเมื่อเข้ามาในหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ไม่กล้าที่จะพูดอะไรเนื่องจากถูกทางการพม่าข่มขู่ไม่ให้ติดต่อกับชาวต่างชาติและสื่อนอกประเทศ

หน่อละ ผู้ประสานงานขององค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมคะฉิ่น(KEO) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เปิดเผยว่า หากมีการสร้างเขื่อน มรดกทางธรรมชาติของชาวคะฉิ่นในพื้นที่มิตโซนจะถูกทำลาย หมู่บ้านกว่่า 40 แห่งจะจมอยู่ใต้น้ำ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนทหารพม่าในพื้นที่สร้างเขื่อนจะก่อให้เกิดการบังคับย้ายถิ่นฐาน ทรัพยากรป่าไม้จะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอีกหลายระลอก

หน่อละกล่าวเพิ่มเติมว่า  รัฐบาลพม่าควรที่จะบอกให้ชาวบ้านได้รับรู้ถึงผลกระทบที่จะตามมาโดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่นับตั้งแต่มีเริ่มโครงการ ชาวบ้านไม่ได้รับการติดต่อประสานงานจากทางการพม่าเลย
อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่บางส่วนได้เตรียมการย้ายไปอยู่ในเมืองมิตจีนาก่อนหน้านี้ ขณะที่ประชาชนบางส่วนต้องย้ายอยู่บนภูเขาใกล้กับหมู่บ้านของตัวเอง 

เจ้าหน้าที่ของกลุ่มสมัชชาที่ปรึกษาคะฉิ่นกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการส่งจดหมายร้องเรียนถึงรัฐบาลพม่าเพื่อเรียกร้องให้ล้มเลิกโครงการดังกล่าว โดยในจดหมายระบุว่า การสร้างเขื่อนนั้นจะทำลายชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านในพื้นที่  ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า แต่รัฐบาลพม่าไม่ได้สนใจต่อคำเรียกร้องดังกล่าวแต่อย่างใด
ปัจจุบัน รัฐบาลพม่าได้ลงนามความร่วมมือในโครงการสร้างเขื่อนหลายโครงการทั่วประเทศร่วมกับจีนและไทย โดยรัฐบาลพม่าคาดหวังว่า โครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2552 
 

(ศูนย์ข่าวสาละวิน 29 มกราคม 51)

 

..........การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำอิรวดี  โดยเพาะการสร้างเขื่อนสาละวิน ที่ กฟผ. ของไทยส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง  ประเทศไทยจะมองข้ามไม่ได้เป็นอันขาด    ทางฝั่งไทย ประชาชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอย่างน้อย ๕๐ ชุมชนที่อาศัยอยู่ไกล้กับแม่น้ำสาละวิน ซึ่งจะเป็นประชาชนกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสร้างเขื่อน  ประชาชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงเรียกร้องความเป็นธรรมมาตลอด ไม่มีใครมาสนใจ  หรือว่า ประชาชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ไม่ใช่คนไทย    อีกอย่าง  แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดน ไทยพม่า ที่มีชาติพันธุ์อาศัยอยู่หลายชาติพันธุ์   แน่นอนการสร้างเขื่อนชาวบ้านที่อยู่เหนือเขื่อน ต้องย้ายถิ่นฐาน  จะมีการใหลทะลัก ของชนกลุ่มน้อย เข้ามาในประเทศไทย ปัญหาที่สำคัญคือ จะมีการเพิ่มประชากรในศูนย์ผู้ลี้ภัย มากขึ้น และอื่นอีกมากมาย ที่ไทยจะต้องเตรียมรับมือกับมัน

       คงไม่คุ้มแน่  ยิ่งร้ายกว่านั้น ประเทศไทยคงเป็นเป้าสายตาของนานาชาติ และถูกรุมประณาม ว่า ร่วมมือกับพม่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน  และต้องตามแก้ปัญหานานัปการที่จะเกิดขึ้น

 ขอให้สันติภาพจงมาสู่โลก   ขอให้สันติภาพ   จงมาสู่พี่น้องชนกลุ่มน้อยทั้งหลายด้วยเถิด
หมายเลขบันทึก: 163697เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

P
1. คำแสนดอย
เมื่อ พ. 06 ก.พ. 2551 @ 15:34
539086 [ลบ]

สวัสดีค่ะ มาอ่าน และให้กำลัง

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก แต่เสียงเรียกร้องสิทธิ มนุษย์และคนในสังคม ก็ยังไม่เท่ากันอยู่ดี

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ เป็นกำลังใจให้

P ครูข้างถนน
    ขอบคุณมาก  สำหรับข้อความคิดเห็น

ปัญหา จะใหญ่แค่ไหน ถ้าเราร่วมใจกันแก้ไข

โดยไม่ยึดติด เรื่อง"อัตตา" ปัญหานั้นก็จะน้อยลง

    ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

มอบเพลงนี้ตอบแทนละกันครับ

ชื่อเพลง : สาละวิน  คำร้อง : พิเศษ สังข์สุวรรณทำนอง : พิเศษ สังข์สุวรรณ น้ำเย็นยะเยือก   จากเทือกเขา        ไหลเชี่ยวเลี้ยวลดไหลไปกำเนิดเกิดสาย   สาละวิน   ฮืม........ เมื่อหิมะละลัย   กลายเป็นสายธารา  จากเขาสูงเสียดฟ้า   ไหลลงมาสู่อันดามัน   ผ่านแผ่นดินหลากหลายผ่านคนมากมายเผ่าพันธุ์ ล้านๆ เม็ดน้ำรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น   สาละวิน    ผู้คนอยู่ริมฝั่งน้ำ   ชุ่มชื่นฉ่ำด้วยน้ำอาบกิน   สายน้ำเลี้ยงคนทั้งสิ้น ไม่เลือกถิ่น   ไม่เลือกเผ่าพันธุ์แต่คนนั้นต่างจิตต่างใจ   เดี๋ยวรักใคร่   เดี๋ยวทำร้ายกัน   ไม่เอื้อเฟื้อช่วยเหลือแบ่งปัน มุ่งฟาดฟันฆ่ากันให้บรรลัย*   สาละวิน   มีทั้งสิ้นกี่หยดน้ำ      มนุษย์ตาดำๆ มีทั้งสิ้นกี่ผู้คน  หยดน้ำแห่งสาละวิน รวมกันทั้งสิ้นเป็นหนึ่งสายชลแต่มนุษย์ผู้น่าฉงน  มีไม่กี่คนกลับไม่เคยรวมกัน**   สา...ละวิน   สา...ละวิน สา...ละวิน   สา...ละวินสา...ละวิน   สา...ละวิน  สา...ละวิน   สา...ละวิน

 

ตอนนีผมกำลังเรียน กม.ระหว่างประเทศ และได้ทำรายงานในเรื่องของการสร้างเขื่อนในนำสาละวิน จึงอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นทางกฎหมาย รวมถึงประเด็นอื่นด้วนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท