ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (20) KM สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม


ถามว่า เรารู้ม๊ย ตอนแรกเราก็ไม่ทราบ ก็คิดว่า เราทำตามปกติของเรา และกรมอนามัยคือ กรมวิชาการ ที่เรามีศูนย์วิชาการต่างๆ มีองค์ความรู้ เอกสาร คู่มือ แต่ ณ วันนี้เอา KM เพื่อที่จะเอาความรู้ที่มีอยู่จากผู้ปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนกัน และเป็นแนวทางความรู้ที่จะสามารถถ่ายทอดต่อผู้ที่จะต้องปฏิบัติงาน ก็คือ คุณกิจ ที่จะเป็นคนสำคัญในการพัฒนางานตรงนี้ และเรา หรือส่วนของศูนย์ฯ เขต หรือ สสจ. หรือคุณเอื้อ ที่ช่วย และจะไปสู่หัวปลาทู ที่จะตั้งเป้าฯ ไว้ เพื่อการ แลกเปลี่ยนกัน

ที่สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม วันนี้คุณฉันทนา และคุณนงลักษณ์ พร้อมด้วย CKO คุณสมปอง มาเล่าให้ฟังในเรื่องของการใช้ KM ในงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

  • เริ่มที่คุณฉันทนา เล่าเรื่องศูนย์เด็กเล็ก ก่อนนะคะ ซึ่งจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมในวันนั้น จะมีจากหลายส่วน มีทั้งสถานีอนามัย ศูนย์เขต สสจ. อปท. อบต. และหลายสหสาขาฯ
  • ผู้ที่เข้ามาร่วมในวันนั้น จะมีส่วนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแล้ว และส่วนที่กำลังจะก้าวสู่ความสำเร็จ คือ ตามที่จะเข้าสู่เกณฑ์ระดับดี ถึงดีมาก จึงได้จัดให้มีการมา ลปรร. กัน
  • มีการจัดแบ่งกลุ่มทั้งหมด 7 กลุ่ม ตอนแรกคนเล่าที่จะเข้ากลุ่มมีประมาณ 10 ท่าน ได้ปรึกษาสำนักที่ปรึกษา คุณฉัตรลดา และคุณศรีวิภา ... ซึ่งพอถึงวันจริง มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่าที่เราคิดเอาไว้ ทำให้บางกลุ่ม มีถึง 13-15 คนก็มี
  • เราก็ได้ให้คนของเราทำหน้าที่เป็น Fa และ Note ซึ่งเป็นนักวิชาการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม และศูนย์ฯ เขตด้วย ซึ่งในการทำหน้าที่เป็น Fa และ Note ก่อนที่เราจะมีการจัดประชุมกลุ่ม ก็ได้มีการแนะนำผู้ที่เป็น Fa และ Note ให้ และคุณฉัตรลดาได้ช่วยในเวทีการแบ่งกลุ่มแล้ว ที่จะเล่า เริ่มยังไง
  • ซึ่งตรงนั้น ทุกคนที่ได้เข้ากลุ่ม ก็มีการเล่า เรียนรู้กัน เราได้มีขุมความรู้ออกมามากมาย และขุมความรู้นั้น คงจะรวมกันเป็นแก่นความรู้ ก็ทำ AAR ต่อไป
  • ก็อยากจะหยิบยกเรื่องที่ได้จากเวทีมาเล่าให้ฟัง ว่า
  • ... ตรงนั้นมีการเล่าประสบการณ์ ซึ่งคนที่เป็นคุณกิจ ผู้ปฏิบัติ เป็นพี่เลี้ยงเด็ก จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่ง เป็นศูนย์เด็กเล็กที่ตั้งอยู่ใน รร. ซึ่งพอปฏิรูปราชการเมื่อปี 2545 ก็ย้ายไปอยู่สังกัดของ อบต.
  • ... และศูนย์เด็กเล็กนั้น จากที่เขาเล่าก็มีสภาพทรุดโทรม ปลวกกำลังจะกิน และเขาก็รู้ว่า เจ้านายคนใหม่เขาคือ อบต. ก็ไปถามว่าจะมาช่วยเหลือเขาอย่างไร อบต. ยังไม่ได้สนใจที่จะให้การสนับสนุนในการพัฒนาของเขา
  • ... เขามีพี่เลี้ยงอยู่แค่ 2 คน ซึ่งก็จับเข่าคุยกันเองว่า จะทำยังไงกันดี เขาก็คือพี่เลี้ยงเด็ก อาชีพหนึ่งที่มีเงินเดือนไม่มากมายอะไร ก็คุยกันว่า ต้องไปหาคนมาช่วย ตรงนี้ก็คือการสร้างภาคี การมีส่วนร่วม
  • ... หลังจากนั้น เขาก็ได้ความคิดขึ้นมาอันหนึ่ง ว่า ต่อไปนี้เขาจะต้องเป็นผู้ประสานสิบทิศ ใครก็ได้ที่เขามีโอกาสที่เขาจะได้เข้าไปพบ ใครก็ได้ที่เข้ามาช่วยเหลือ เขาก็จะประสานหมด ... เราก็มาดูว่า เขาประสานสิบทิศอย่างไร
  • ... มีวันหนึ่ง ผู้อำนวยการหัวหน้าเขื่อนมาตรวจเยี่ยม รร. ... กลุ่มก็ถามว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเขา เพราะของเขาคือ จุดเล็กๆ ที่เอาสถานที่ รร. เป็นที่ตั้ง เขาบอกว่า ผอ. มาตรวจ รร. เขาเข้าไปแจมด้วย ก็เชื้อเชิญไปเยี่ยมดูเด็กเล็กๆ
  • ... เข้าไปดู เขาก็เห็นช่องที่เขาได้เห็นบรรยากาศ ได้เห็นสภาพต่างๆ ของศูนย์เด็กเล็กตรงนั้น เป็นที่มาที่เขาได้ไปประสานสิบทิศ กับหัวหน้าเขื่อน และทำให้เขาได้รับงบประมาณมา 6 แสนบาทจากเขื่อน แจ้งว่าเพื่อการพัฒนา
  • ... แต่ว่าคงไม่สามารถสร้างตึกใหม่ได้
  • ... เขาก็ใช้วิธีการสร้างภาคี ประสานสิบทิศ กับคนในชุมชน 3 หมู่บ้าน …
  • ... เขาใช้ทรัพยากที่มีอยู่ในชุมชน ประสานกับวิทยาลัยเทคนิคจังหวัดอุตรดิตถ์ มาช่วย เพราะว่าที่วิทยาลัยเทคนิคฯ มีสารพัดช่างอยู่ ช่างโยธา ไฟฟ้า ประปา มีหมดเลย ก็เลยมาช่วยเขา และร่วมกับชุมชน ทำให้เข้าสร้างศูนย์เด็กเล็กได้
  • ... หลังจากที่เขาสร้างตัวอาคาร สร้างอะไรได้แล้ว ก็เป็นช่วงที่ทาง อบต. ก็เริ่มเติบโตขึ้น ... ช่วงแรกๆ เขาอาจมองไม่เห็นคุณค่าการทำงานตรงนี้ แต่พอมีการฟื้นตัว เขาก็ได้รับการสนับสนุน ให้พี่เลี้ยงได้เรียนต่อ
  • ... ณ วันนี้ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เขาประสบความสำเร็จ
  • และก็มีขุมความรู้ ในเวทีนี้อีกหลายๆ เรื่อง บางที่เขาก็ได้จากการไปประสานกับผู้ว่าฯ บางส่วนก็ อบต. ซึ่งมีแหล่งเงินใหญ่ และก็เป็นความรู้ใหม่ ที่เราก็ได้ไปเรียนรู้กับเขา ว่า เขามีอีกช่องทางหนึ่ง สมาคมแม่บ้านสาธารณสุข ... เขาก็สามารถที่จะได้เงิน บางแห่งก็ได้เงินระดับหมื่น บางแห่งก็ได้เงินระดับแสน มาพัฒนาต่อ
  • ... นี่คือสิ่งที่ได้จากการ ลปรร. ซึ่ง ตรงนี้ ขณะนี้การดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กของกรมอนามัย ก็ทำงานได้ระดับหนึ่ง แต่ส่วนที่จะผ่านระดับ ดี กับดีมาก ยังเป็นส่วนที่เป็น Hard core อยู่
  • จากเวทีตรงนี้ จะมีส่วนที่สำเร็จ ใกล้ๆ จะสำเร็จ ก็มา ลปรร. กัน และก็คงจะได้ความรู้ที่จะเอาไปพัฒนาการดำเนินงานต่อ นี่ก็คือ กลุ่มที่เราได้ทำในการนำ KM เข้ามา
  • ถามว่า เรารู้ม๊ย ตอนแรกเราก็ไม่ทราบ ก็คิดว่า เราทำตามปกติของเรา และกรมอนามัยคือ กรมวิชาการ ที่เรามีศูนย์วิชาการต่างๆ มีองค์ความรู้ เอกสาร คู่มือ แต่ ณ วันนี้เอา KM เพื่อที่จะเอาความรู้ที่มีอยู่จากผู้ปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนกัน และเป็นแนวทางความรู้ที่จะสามารถถ่ายทอดต่อผู้ที่จะต้องปฏิบัติงาน ก็คือ คุณกิจ ที่จะเป็นคนสำคัญในการพัฒนางานตรงนี้ และเรา หรือส่วนของศูนย์ฯ เขต หรือ สสจ. หรือคุณเอื้อ ที่ช่วย และจะไปสู่หัวปลาทู ที่จะตั้งเป้าฯ ไว้ เพื่อการ แลกเปลี่ยนกัน

การทำงานรูปแบบนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ที่เอาศูนย์ฯ ที่ประสบความสำเร็จมานั่งทำ พอใช้รูปแบบนี้ มีความดี หรือเสียต่างจากรูปแบบก่อนๆ อย่างไร ?

  • ขณะนี้เรายังไม่เห็นผลเสีย แต่เราเห็นผลดีที่เกิดขึ้น
  • ถ้าถามว่า ในการดำเนินงานแบบเดิมๆ ของเรา คือ เชิญผู้ประสบความสำเร็จมาเล่าบนเวทีใหญ่ แต่ถ้าใช้กระบวนการ KM เข้ามา เราเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยากเข้ามาเรียนรู้ ได้มีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มย่อย แทนที่จะฟังจากผู้เล่าความสำเร็จบนเวทีอย่างเดียว และเขามีโอกาสที่จะซักถาม มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในการที่จะเรียนรู้ ตรงนี้ที่ว่าเป็นผลดีค่ะ
  • เพราะการเล่าบนเวทีใหญ่ บางทีจะถามก็ไม่กล้าถาม เวลาจำกัด และทุกคนไม่มีอิสระในการที่จะคิด หรือแลกเปลี่ยน
  • แต่เมื่อเรามีการจัดกระบวนการ KM เข้ามานี่ ก็มีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนมากขึ้น และก็มีการเรียนรู้ได้ ในสิ่งที่เขาทำ และมี Fa และ Note ที่จะช่วยในการ ลปรร. ตรงนี้ละค่ะ

เหมือนกับเราทำ KM ในลักษณะของ Hardware เหมือนว่า ขาดเงิน ขาดงบประมาณ และก็ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ตัวอาคารขึ้นมา แล้วพอหลังจากนั้น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ ความน่าอยู่มันตีความได้หลายอย่าง เช่น เรื่องของอาคารน่าอยู่ ตัวอาคารเข้าไปแล้วน่าอยู่ แต่ภายในซึ่งเป็นเรื่องของ Software เรื่องของจิตใจ เรื่องของการดูแล นี่ค่ะมันจะน่าอยู่อย่างนั้นจริงมั๊ย เรามีการเอา KM เข้าไปจับอย่างนั้นจริงมั๊ย ?

  • เนื่องจากกลุ่มนี้มีเวลาน้อย เผอิญไม่ได้นำเรียนว่า ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ความจริงเขามีมาตรฐานกรมอนามัย คำว่า ผ่านมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ด้าน มีเรื่องของการพัฒนาเด็กด้วย
  • และในเวทีวันนั้น ได้ยกตัวอย่างของเรื่องที่เขาเป็นผู้ประสานสิบทิศ และสิ่งที่เขาต้องการพัฒนา คือ ตัวอาคาร แต่มันไม่ได้จบแค่ตัวอาคารอย่างเดียว
  • เพราะบัดนี้ เขาเป็นศูนย์เด็กเล็กที่ผ่านมาตรฐานดีมาก เป็นต้นแบบ เพราะฉะนั้นในองค์ประกอบตรงนั้น มันจะครบถ้วนทุกอย่าง รวมทั้งเรื่องการเลี้ยงดูด้วย
  • เราก็มีขุมความรู้อีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเป็นภาคเอกชนที่เราเชิญมาร่วมในเวทีวันนั้น
  • เขาเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเอกชน และคิดว่า เขาห่างไกลจากภาครัฐ เพราะการใส่ใจดูแลขับเคลื่อนด้วยตัวเขาเอง เขามีการประกอบอาชีพ และมีรายได้ แต่เขาพยายามที่จะเข้ามาหาภาครัฐ เพื่อที่จะเรียนรู้ มีองค์ความรู้จากภาครัฐใหม่ๆ เข้าไป
  • แล้วสิ่งที่เขาได้แลกเปลี่ยนกับในเวทีนี้ ก็คือ ศูนย์เด็กเล็กแห่งนี้ เป็นศูนย์เด็กเล็กเอกชนที่อยู่ในบ้านจัดสรรแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี ตัวเจ้าของเองมีความตั้งใจ และเขาเปิดมาก็คือ เขาอยากเลี้ยงเด็ก และจากสภาพแวดล้อมที่เขาเลี้ยงดู เขาสามารถได้บทเรียนในการที่จะดูแลเด็ก และสามารถแก้ปัญหาเด็กออทิสติกได้ นี่คือตัวอย่างซึ่งพวกเราก็ดีใจ ที่ขณะนี้ โดยภาพของงานสาธารณสุขเราเอง พยายามทำงานตรงนี้อยู่
  • แต่ขณะเดียวกัน ผู้หญิงเล็กๆ คนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการแห่งหนึ่ง ก็สามารถดำเนินการได้ โดยที่ตัวของเขาเป็นคนที่ใส่ใจ ไม่ได้แต่ว่าเลี้ยงแล้วให้เขากินอย่างเดียว แต่เขาสังเกต และเขาก็บอกว่า สิ่งที่ทำให้คนเอาลูกมาเลี้ยงกับเขา คือ ความคาดหวัง กับการเลี้ยงดู ก็สามารถแก้ปัญหาเด็กออทิสติกได้ 1 คน
  • และจากผลสำเร็จตรงนี้ ปากต่อปากของผู้ปกครองที่บอกต่อกัน ณ วันนี้ มีคนส่งเข้ามา เขาก็สามารถแก้ปัญหาให้เด็กกลุ่มนี้ได้หลายคนแล้ว แต่ก็เป็นภาระที่เขาเหนื่อย แต่เขาก็อยากจะทำ ตั้งใจทำ และเขาก็มองว่า การที่พี่เลี้ยงเด็กเล็กของเขา การที่เขาจะสอนอย่างเดียว มันพัฒนาได้ช้า เขาก็หาโอกาสที่จะให้เด็กไปเข้าหลักสูตรการอบรมต่างๆ อันนี้ก็เป็นมุมหนึ่งที่เขาเป็นภาคเอกชน

 

ตอนที่ Fa มีการแบ่งกลุ่ม และมีการจับประเด็น เตรียม Fa กันอย่างไร ?

  • Fa กับ Note เราขอความช่วยเหลือทางสำนักที่ปรึกษามาช่วยติวให้ ใช้เวลาสั้นมาก และแมวมองก็มองกันอยู่ เราใช้ Note ของสำนักฯ และศูนย์ฯ เขตด้วย ก็มองอยู่เพราะว่าเราเคยทำงานร่วมกันทั้งสำนักฯ และ นวก. ทุกคนก็ทำหน้าที่นี้ได้ แต่ดีขนาดไหนไม่ทราบ แต่ก็ได้ขุมความรู้เยอะเลยค่ะ เอามารวมกันยังไม่เสร็จ

คุณศรีวิภาเพิ่มเติมในรายละเอียดให้

  • ประเด็นเพิ่มเติมคือ กรมอนามัยมีเกณฑ์การจัดการความรู้ มี 4 องค์ประกอบ กระบวนหนึ่งก็คือ คนของเราจะต้องเป็น Fa และ Note ที่สามารถ ถ้าไม่นับ 1 เมื่อไร ก็ถามว่า
  • เวลาที่ติดต่อเข้ามาที่ทีมกลาง เราจะมีข้อกำหนดเลยว่า เราจะไม่เป็นให้ ท่านต้องเป็นเอง ผลักลงน้ำ แต่เราอยู่ข้างๆ ท่านก็จะอุ่นใจ และเราก็จะเดินเข้าไปช่วย แต่ถ้าไม่นับ 1 ก็จะไม่มีวันที่จะสามารถ ถ้าท่านจะไปเริ่มก็ต้องเริ่มเลย เหมือนกับจะขึ้นจักรยาน ถ้าไม่ขึ้นก็ไม่ออก

คุณนงลักษณ์ได้เล่าเรื่อง PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียงต่ออีก 1 เรื่อง

  • สิ่งที่เรานำเสนอในที่นี้ เรามีความภาคภูมิใจ จะมี 3 ส่วน คือ
  • ... ส่วนแรก เป็นเรื่องของการตอบ PMQA 90 ข้อ รวมกับการจัดทำจุดแข็ง และโอกาสในการปรับปรุง แต่นี่ยังเป็นร่างอยู่
  • ... เนื้อหาที่สองที่เรานำเสนอให้ดู เมื่อเข้าไปในเวปของสำนักฯ (การขับเคลื่อน PMQA สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่นี่ค่ะ) จะเป็นเรื่อง AAR ที่เราอยากจะคุยให้ฟัง AAR นี้เราทำหลังจากที่มีเรื่องการเรียนการสอน PMQA ในทุกๆ ครั้งที่เราจัด เราก็ให้มี AAR … เข้าไปชมได้ว่า แต่ละครั้งที่ เราทำ AAR แต่ละครั้งเราสรุปมา เราพบอะไร
  • เรื่องที่สามที่เรานำเสนอ คือ เรื่อง PMQA ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • ... หลังที่เราได้ทำเรื่อง PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง กับการจัดการความรู้ และใช้เครื่องมือ AAR นี่ สำนักฯ พบอะไร ...
  • ความเป็นมาของเรื่องนี้ เริ่มต้นจากที่เราลงนามคำรับรอง กพร. 17 ตัวชี้วัด เรากำหนดผู้รับผิดชอบ มีเนื้องานที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกคนก็มุ่งที่งานของตนเอง KM มาเกี่ยวตรงไหน KM เป็นตัวชี้วัดที่ 12 PMQA ก็เป็นตัวหนึ่ง ตัวชี้วัดที่ 16 เมื่อไปดู content ตัวที่ 12 ในนั้นก็มี PMQA อยู่ด้วย
  • เพราะฉะนั้น พอ KM ตรวจดูแล้วว่า ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ก็มีความเชื่อมโยง เข้าบูกัน ตอนที่เราบู ก็บูไม่ง่าย นะคะ บรรยากาศที่เกิดขึ้นก็ขึ้งเครียด เพราะทุกคนมุ่งเน้นงานของตัวเอง เรามุ่งงานอยู่แล้ว ในเนื้องานนี่เราทำ แต่จะมาบู ทำยังไง
  • และ KM เราก็มี CKO CKO มาแนะนำว่า จะเชื่อมโยงเข้ามาในเนื้องานของ PMQA และมี Flight บังคับว่า จะทำในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี่ทำยังไง แต่ว่ารอคุณกิจ PMQA ยังไม่เข้าใจ เราไม่รู้ และก็เครียด นะคะ ไม่ยิ้มให้กันแล้ว เพราะว่า เอางานมาให้เราทำ
  • ต่อมา ก็มี KM กรม เข้ามาเป็นจุดเชื่อมนะคะว่า ถ้า CKO ยังไม่เข้าใจ ทีมของ KM กรมอนามัยก็จะช่วย เข้ามาอธิบายวิธีการให้กับเรา ว่าจะต้องทำอย่างไร พอเราเริ่มเข้าใจ ขอเรียนว่า บันไดขั้นแรกสำคัญ ตอนที่ขึ้นบันไดขั้นแรกนี้ หงุดหงิดนะคะ และเต็มไปด้วยความขึ้งเครียดว่า ไม่รู้จะไปทางไหน CKO ก็จะต้องเป็นเพื่อนของเรา จะต้องมาช่วยกันแบกปัญหา เราเรียกร้องอย่างนี้ตลอด
  • ปรากฎว่า ท่าน ผอ.สำนักฯ ประกาศว่า KM เป็นนโยบายขององค์กร KM นี้ไม่ใช่แค่ลงเนื้องาน ขอให้อยู่ในชีวิตประจำวันของสำนักฯ ทุกคน ท่านก็ประกาศเป็นนโยบาย เพื่อช่วยผลักดันให้
  • พอเรามี KM กรมอนามัยเข้ามาช่วย ... ขั้นแรกต้องศึกษาองค์ความรู้ และเลือกเครื่องมือที่จะเอามาใช้ เราดูแล้วตัวที่ง่ายที่สุด ที่เราจะเอามาใช้ได้ คือ AAR ซึ่งตอนนั้นเป็นอย่างไร เราก็ยังไม่รู้จัก ก็เอามาจากกรมฯ นี่ละ มีคำถามอยู่ 4 ข้อ เราก็เอามาประยุกต์ใช้
  • เมื่อเราเรียน PMQA ไปแต่ละครั้ง แต่ว่า เราเรียนไปแล้ว 3-4 ครั้ง ก็มาทำย้อนหลัง
  • แล้วตอนที่ทำ KM ครั้งนี้ คุณกิจเป็นคนทำ ทำโดยการที่ประยุกต์กับการทำกลุ่ม ความจริงรู้ว่า เกิดอะไรขึ้น และเอาอันนี่มาขยายผล คุยกัน
  • สิ่งที่ลักษณ์ภูมิใจก็คือว่า ตอนที่เราทำ AAR นี่ แจกไปให้กับทุกๆ คน เพื่อตอบคำถาม 4 ข้อ ของกรม และอีก 2 ข้อ ที่เราคิดขึ้นมาเอง เพื่อเอาไว้ใช้งาน ขอเรียนว่า ทุกคนไม่ได้เข้ารับการอบรม KM มาก่อน ความเข้าใจเรื่อง AAR ก็ต่างกัน งงมากน้อยต่างกัน เข้าใจต่างกัน การถ่ายทอดเพียงครั้งเดียว ในเวลาอันสั้นๆ เพราะว่าทุกคนก็มีภารกิจเร่งด่วน ทุกคนกระจัดกระจาย เลยทำให้ AAR ที่เราได้มา กระพร่องกระแพร่งไม่สมบูรณ์
  • แต่ที่ภูมิใจก็คือมี อยู่วันหนึ่ง เราเดินสวนกัน ระหว่างคุณฉันทนา และนงลักษณ์ ... พี่ฉันบอกว่า นี่นงลักษณ์ พี่เข้าใจแล้วว่า ทำไม PMQA ถึงได้ถามคำถามเยอะแยะ AAR ที่แจกมานี่ พี่เข้าใจแล้ว มันเป็นเรื่องของ KM เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งของ KM ดูให้ดีนะ นี่คือชีวิตของความเป็นจริง คนที่ต้องทำงาน ต้องใช้เครื่องมือนี้ 2 กลุ่ม คือ ศูนย์เด็กเล็ก และ PMQA
  • ในที่สุด 2 กลุ่มนี้ละ เป็นกลุ่มแรกที่รู้จัก AAR และใช้จริงในสำนักฯ แต่ว่า เรายังไม่ได้รู้เนื้อแท้นะคะ เรารู้เพียงว่า เราต้องทำงาน และเอาไปใช้ เพราะฉะนั้น ศูนย์เด็กเล็กก็ได้เรียนรู้ AAR และก็ไปใช้ในรูปแบบ มีกระบวนการชัดเจน แต่ของ PMQA เราลัดขั้นตอนเอามาใช้
  • ขอเรียนว่า ในการทำเรื่องนี้ ไม่ได้สำเร็จได้ง่ายๆ ตอนที่เราทำ PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง เราต้องใช้วิทยากรคนนอก เข้ามาช่วย ... อาจารย์พรพรรณ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน PMQA และพูดเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง แล้วก็เชื่อมโยงถึงการวิเคราะห์ กับบริบทของสำนักฯ เป็นวิทยากรที่กรมอนามัยให้การยอมรับ และสถาบันเพิ่มผลผลิต ผู้เป็นองค์กรหลักของ PMQA ยอมรับ คนในสำนักฯ ฟัง และคล้อยตาม และให้ความร่วมมือในการตอบ AAR
  • ในการที่จะร่วมคิด PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทของสำนักฯ แต่ขอโทษนะคะ ออกจากห้องประชุมก็ละลายหายไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำต่อก็คือ ต้องมีทีมเล็กๆ มาสร้างให้เป็นรูปธรรมออกมาต่อไป
  • ก็คือ วันที่ 24 กค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของสำนักฯ ทำ AAR เหมือนกัน แต่ครั้งนั้นทำให้เกิดผลผลิตอีก 2 ชิ้น ซึ่งเราไม่ได้นำเสนอในที่นี้
  • เพราะเรานำเสนอ PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นความพอเพียงในบริบทของสำนักฯ ถ้าทุกคนในสำนักฯ มีทั้ง นวก. และธุรการ ได้อ่าน เขาเกิดความคิดหลากหลาย แตกแขนงออกไป มีคำถามว่า คุณจะใช้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเหตุ หรือเป็นผล มีคำถามว่ คุณจะใช้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเครื่องมือ หรือเป็นหลักปรัชญา หรือเป็น Outcome เป็นผลลัพธ์ ก็ขอตอบว่า ใช้ได้ทุกตัวเลย
  • เพราะฉะนั้น version แรกที่เราทำให้นี่ จะเห็นว่า เราใช้ในลักษณะของการเป็นกรอบความคิด เป็นธงหลักชัย และใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ
  • อีก 2 version ที่เราทำ คือ ความเชื่อมโยงระหว่าง PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าท่านใดเปิด สำนักงาน กพร. ดู จะเห็นว่า เขาทำไว้ 3 ด้านด้วยกัน คือ PMQA เศรษฐกิจพอเพียง และด้านพุทธศาสนา มรรค 8 จากในขณะนั้นมีแค่ 2 ระดับ คือ PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง
  • มิติสุดท้าย ก็คือ การนำเนื้องานในการวิเคราะห์ PMQA กับเศรษฐกิจพอเพียง ในลักษณะที่ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็น Outcome เป็นผลลัพธ์ นี่คือ เกิดขึ้นจากการที่เราทำ AAR เมื่อวันที่ 24 ทำให้เกิดการแตกความคิดออกมา 2 ชิ้น แต่ผลผลิตนี้ยังไม่ได้มานำเสนอในที่นี้ เพราะต้องผ่านการกลั่นกรองก่อน
  • ขอเรียนว่า ทำวันนี้ไม่ง่ายเลย วันนี้เรายิ้มได้ทุกคน พร้อมที่จะให้เข้าดูเข้าชมได้ แต่ระหว่างช่วงเดือน พค. ถึงวันนี้ ไม่ได้ยิ้มให้กัน ขึ้งเครียด เดินผ่านก็มองหน้า ไม่รู้ทำอะไร ทำไมเต็มไปด้วยแบบสอบถาม และก็เรียกประชุมอีกแล้ว และก็สรุปอะไรมา ไม่ตรงกับใจเขา และก็จะถามหาทฤษฎี และถามหาว่า ใครรับรอง
  • ทีมที่ทำงานทุกคนก็ค่อนข้างลำบากใจ แต่เมื่อสำเร็จเป็น output เราภูมิใจ แต่สิ่งที่เราพูดกันๆ นี่ มันเป็นนามธรรม บัดนี้เรามีรูปธรรมให้ทุกคนได้ดู แล้วก็ขอเรียนว่า
  • สิ่งที่ลักษณ์อยากจะยกย่องชมเชย ก็คือ ทีม KM ของกรมอนามัย เพราะจริงๆ แล้ว ถ้าถาม ลักษณ์ก็ทำไปเรื่อยๆ แต่ทีม KM กรมฯ บอกว่า คุณทำได้ คุณทำได้ ทำเลย จะได้เป็นนำร่องของกรมฯ ขอบคุณค่ะ

มีคำถามว่า ผ่านความเคร่งเครียดมาได้อย่าง ?

  • ขอเรียนว่า สลายไม่ง่ายค่ะ
  • ตอนที่เคร่งเครียดครั้งแรกคือ ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไร
  • เคร่งเครียดครั้งที่ 2 คือ ใช่งานของเราหรือเปล่า
  • เคร่งเครียดครั้งที่ 3 คือ ทำมาแล้วนี่ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่า
  • ... เพราะฉะนั้นครั้งแรกที่ไม่รู้ ขอบอกว่า ไม่รู้จะสลายยังไงเหมือนกัน เครียดอยู่หลายวัน ทั้งทีม คุยกันเองในกลุ่มและพายเรืออยู่ในอ่าง ที่สุดแล้วบอกว่า ไม่ได้แล้ว คุยกัน CKO ... CKO บอกว่า โน่น โน่น พี่เลี้ยงใช้ประโยชน์ได้ เพราะฉะนั้นคนที่ทำให้เริ่มเครียดน้อยลงคือ ทีม KM กรมฯ เขาทำหน้าที่เป็นทั้งพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาไปพร้อมๆ กัน Coaching and Mentoring และ Consult ให้ด้วย
  • ... เคร่งเครียดที่สอง วิธีสลายคือ เดินไปพบ ผอ. ก่อนที่จะไปพบ ผอ. พบ CKO ของเราก่อน หลังจากนั้นก็ตะลุย ... ไปพบ ผอ. ก็ระบายทั้งหมดเลย ผอ. บอกว่า ได้ทั้งหมดเลย เปิดห้องให้เข้ามาพบ เมื่อไรก็ได้ที่ผมอยู่ ท่านบอกมาเลย ให้นโยบายว่า ยินดีต้อนรับ ผอ.รับฟังปัญหา และท่านได้ปลดปล่อยปัญหา เพื่อรักษาสุขภาพจิต และบอกว่า ลงมือทำงาน เพราะฉะนั้นตอนลงมือทำ เพราะว่า ทำได้นิดหน่อย เริ่มมีกำลังใจ ... ไม่ง่ายนะคะ เวทีของเรากันเอง ตอนสอนกันทุกวัน มุ่งมั่น มุ่งมั่น นะ เราก็มาคุยกัน
  • KM เขาก็บอกว่า ให้ทำในเนื้องานของตัวเอง แล้วก็ ผอ. บอกว่า ให้ทำใน 3 เรื่อง เป็นชีวิตประจำวัน และสุดท้าย CKO วิ่งเข้ามาหาเรา ไม่ได้รอให้เราวิ่งเข้าไปหา บอกว่าต้องใช้กรมฯ เข้ามาช่วย ทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่ได้ขาดคน และเลือกวิทยากรต้องเก่ง สมานฉันท์ หันมายิ้มใส่กับ รับฟังกันได้
  • พวกเราทุกคนนับถือตัวเองว่าเป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ต้องพูดกันได้ เปลี่ยนความคิดได้ และโลกมันเปลี่ยนทุกวัน ถ้าเราไม่เปลี่ยน ก็ตายได้

เข้มข้นไหมค่ะ สำหรับ KM สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม 

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 126976เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท