ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (19) KM กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


เขาให้ความสำคัญกับคนทำความสะอาดมาก เพราะว่าพวกนี้จะต้องคอยเก็บทุกข์ของคนอื่น เขามีเกียรตินะ เวลาที่มีรางวัลอะไรก็แล้วแต่ คุณวิภาจะให้คนเหล่านี้ไปรับรางวัล

 

คุณจิตติมา ได้มาเล่าเรื่องการใช้ KM ในงานส้วมสาธารณะไทยค่ะ เขามีอะไรกันที่นี่ ลองฟังดูได้นะคะ

  • โครงการพัฒนาส้วมสาธารณะไทย เป็นโครงการพิเศษ และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของกรมอนามัย กองฯ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เพราะฉะนั้นจะทำทั้งเรื่องขององค์ความรู้ และ Implement ไปด้วย
  • เป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 48 และการจัดการความรู้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเรื่องนี้
  • เราจะให้มีการประกวดสุดยอดส้วมแห่งปี ตั้งแต่ปี 2543 และจากการที่เราจัดประกวดสุดยอดส้วม ทำให้เราได้ความคิดดีดีหลายที่ ได้ขุนพลคนเก่งหลายที่ ทำให้เรามีความรู้สึกว่า Best practice เหล่านี้ หรือขุนพลเหล่านี้ ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนให้กับกลุ่มเป้าหมาย ว่า ให้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเรื่องส้วมจะต้องดีแน่ๆ
  • กลุ่มเป้าหมายของเราทั้งหมดแบ่งเป็น setting คือ วัด โรงเรียน ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน เยอะมากเลย และเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก
  • มีการจัดประชุมส้วมโลก ไปเมื่อประมาณ ปี สองปีที่แล้ว World Toilet ทำให้ตอนนั้น กระแสเรื่องส้วมนี่ แรงพอสมควรทีเดียว และที่สำคัญ เรื่องส้วมเป็นประเด็นโดนใจ บอกใครก็ใช่เลย ทำเถอะ อะไรประมาณนั้น
  • แล้ว KM กับส้วมมันเชื่อมกันได้อย่างไร
  • ตัวเองเป็น CKO ของกองฯ ก็ยังไม่ได้ไปขับเคลื่อนสักเท่าไร เพราะอย่างที่ได้เรียนว่า กองฯ เป็นกองวิชาการ ก็ไม่รู้จะเอามาทำอย่างไร
  • บังเอิญ กพร. มีแนวทางที่จะต้องนำ KM มาบูรณาการกับการทำงาน ก็เลยไปขายไอเดียกับคุณปริยะดา ที่เป็นเจ้าของโครงการส้วม บอกว่า พี่ โครงการนี้ดีนะ เพราะว่าเป็นโครงการสำคัญ
  • โครงการส้วมมีเสน่ห์ มีจุดเด่นอะไรหลายอย่างๆ เช่น เรื่องของการมี Best practice เรื่องของการไปเคลื่อนอย่างเรื่องขุนพลนี่ Tacit เขาเยอะเลย ก็เลยไปบอกกับพี่เขาว่า น่าทำนะ ทำเถอะ
  • และท่าน ผอ.ธีชัช ก็ได้ให้นโยบายเสมอว่า เอา KM มาทำนี่ ให้มันเนียนไปเนื้องานนะ เพราะถ้าไม่เนียนไปในเนื้องานละก็ไม่มีใครทำของคุณหรอก เพราะว่ามันเป็นภาระ
  • ความจริงตัวเองก็ไปได้เคลื่อนอะไรมาก พอเห็นโอกาสตรงนี้ ก็ไปคุยกับพี่เขา พี่เขาก็บอก เอา ทำ ทำ แต่ก็บอกกับพี่ว่า ทำก็ต้องช่วยกันนะพี่ เพราะว่าถ้าตัวเองทำ ก็จะทำให้เนื้อหากระบวนการเป็นหลัก แต่เนื้อหาจะอยู่ที่พี่เขา เพราะว่าพี่เขาค่อนข้างจะ Expert ในเรื่องนี้ค่ะ
  • พอตกลงใจกันทำ ผอ.เห็นด้วย ทำยังไงล่ะ ทีนี้
  • ... ก็นึกขึ้นได้ว่า กรมอนามัยมีทีม KM กรมฯ ก็ไปเรียนปรึกษาพี่ศรีวิภาว่า จะทำแล้วจะทำยังไง พี่เขาก็ว่า มาคุยกันก่อน เพราะว่าเป้าหมายที่อยากได้มันคืออะไรกัน เราจะได้มา design โครงการกัน
  • ก็มีการมาทำ BAR คุยกันนอกรอบ ว่าอยากได้อะไร และต้องทำยังไง ก็บอกกับพี่เขาว่า อยากได้เป็นเหมือนกับเป็นเอกสารที่รวบรวม tacit ทั้งหมด และเหมือนกับการจัดเวทีครั้งนี้ ต้องมีการศึกษาดูงาน และการศึกษาดูงานต้องแบบไม่ใช่ไม่มีทิศทาง บอก อ้อ งั้นได้เลย
  • พอวันแรกที่เราให้แต่ละท่านมาถ่ายทอด หรือมาแลกเปลี่ยนนี่ต้องมีการมาจับ หรือ capture ปัจจัยความสำเร็จ Best Practice เหล่านี้ มาทำเป็น Check list ให้เห็น เพราะว่าเวลาไปทำแต่ละที่ บางทีเขาไปทำเรื่องส้วมในพื้นที่ บางทีก็อีกนิดหนึ่ง เขาก็จะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ถ้าเขามี Bencemark หรือมี Best practice ให้เขาเห็น เขาก็จะรู้ว่า เขาอยู่ในระดับไหน และตอนที่เขาไปศึกษาเขาก็ควรจะรู้ว่า เขาจะดูในเรื่องอะไร ที่นี่มีจุดเด่นในเรื่องอะไร เขาก็จะได้ไปดูได้ อย่างนี้เป็นต้น
  • พี่บอก ถ้าทำแบบนี้ต้องแข็งนะ มี Note taker หรือเปล่า ก็มี แต่เป็นเด็กๆ รุ่นใหม่ๆ แต่ยังไม่มีประสบการณ์ ... พี่บอก ถ้างั้นมาคุยกัน และเราก็บอกกับน้องว่า เคยทำมั๊ย ไม่เคย ไม่เป็นไร จดมันทุกตัวน่ะแหล่ะ เขาก็ OK เขาบอก ท้าทาย เขาก็ยอมรับที่จะทำ นี่คือ Note taker ที่จะต้องเตรียมทีม
  • อันที่สองเราต้องเตรียม Facilitator และเราก็โชคดีที่คนที่จะมาเป็น Facilitator ของเราคือ ท่านรองอธิบดี 2 ท่าน เรื่องแรกคือ การเป็น Toilet embassador หรือฑูตส้วม คือ กลยุทธ์ของการทำเรื่องส้วมนี้ เรามีการแต่งตั้ง Toilet embassador เพี่อที่จะให้เขาได้เป็นคนบอกต่อ ว่า ส้วมเป็นอย่างไร หัวปลาคือ การเป็น Toilet embassador เป็นยังไง และทำอะไรบ้าง หัวปลาอันที่สอง คือ อย่างที่เรียนว่า จากการประกวดสุดยอดส้วม เรามี Best practice เยอะ การที่ Best practice ก็คือเขาทำ จนส้วมเขามีความสำเร็จ ช่วยมาเล่าให้ฟังหน่อยว่า ทำยังไง จึงมีความสำเร็จขนาดนั้น มันก็มีหัวปลาอยู่ 2 หัว และมีท่านรองอธิบดี รองฯ โสภณ และรองฯ ประดิษฐ์ รับเป็น Fa ให้เรา
  • และก็มารู้ว่าท่านรองฯ ประดิษฐ์ ตอนที่ไป brief ท่านอยู่ในห้องอธิบดีกรมอนามัย ตอนที่ brief ก็ brief ต่อหน้าท่านอธิบดีด้วย ท่านจะบอกว่า เตรียมกันขนาดนี้เลยหรือ เพราะว่านี่ก็ brief ไม่เหมือนกับการบรรยาย ก็ต้องบอกว่า เราอยากได้อะไร เราก็ต้องบอกท่าน ให้ดึง หรือ capture ออกมาให้ได้ แต่ละท่านมี background หรือภูมิหลังอะไร มีสิ่งอะไร ที่น่าสนใจ
  • ... ท่านพงษ์ศักดิ์ที่ท่านทำเรื่องส้วม ท่านก็จบนิติศาสตร์ ทำไมมาทำเรื่อง ประมาณนี้ละค่ะ
  • ... หรือหลายท่านที่ภูมิหลังที่สนใจเรื่องนี้ เขาก็มีอะไรที่โดดเด่นแน่ๆ ก็ใช้อะไรประมาณนี้ละค่ะ ก็จะไปเตรียมท่าน
  • ท่านรองฯ โสภณ ท่านก็ค่อนข้างให้ความสำคัญเรื่อง KM อยู่แล้ว เรื่องนี้ก็คือว่า คนที่มาพูดบนเวทีนั้นเราก็ต้องเตรียม เพราะคนที่เราเชิญเขาในเวทีอภิปราย เขาจะพูดเยอะมากค่ะ เรื่องคุมเวลาเขาไม่ได้ Fa ก็ลำบากใจ เราก็ประมาณเหมือนต้องเจาะเลย ว่า ต้องการให้เขามาพูดเรื่องอะไร โดยที่บอกว่า ไม่ต้องมี Powerpoint เอาแต่ในส่วนของเขา เพราะฉะนั้นตัวของเขาก็ต้องเตรียมตัว
  • และอันที่สอง Fa ก็ต้องรู้ว่า ต้องการอะไรจากเขา อันนี้สำคัญ เพราะไม่เช่นนั้น คุณจะไม่ได้อะไรจากเขาเลย
  • เตรียมอะไรอีก ... สิ่งที่บอกตัวเองหนักเรื่องกระบวนการ แต่พี่ปริยะดา หนักเรื่องเนื้อหา และต้องทำการบ้านเยอะมาก ต้องวิ่งไป brief ผู้ใหญ่ KM ก็ไม่ใช่ง่ายเลยนะคะ เพราะว่าต้องเตรียมงานเยอะมาก เพราะฉะนั้นการที่ BAR ดีนี่ มันมีชัยไปกว่าครึ่ง มันเหมือนกับมีเป้าหมายชัดเจน
  • เมื่อเตรียมเรียบร้อย การประชุมก็ผ่านฉลุยเลยนะคะ คนเต็มห้องประชุม และสิ่งที่ภูมิใจมาก คือ 4-5 โมงเย็นคนก็ยังเต็มห้องประชุม ประมาณ 80-90% ไม่ได้ลุกไปไหนเลย และคนที่พูดก็เก่งด้วย เทคนิคของเขาเยอะค่ะ
  • เสร็จแล้วพอจบวันแรกปุ๊บ สิ่งที่เราทำทันทีคืออะไร AAR ค่ะ ทันทีทันใด เรานั่งสรุป เชิญน้องที่เป็น Note taker มาทั้งหมด ต้องการประเมินว่า สิ่งที่น้องจดได้อะไรกันบ้าง น้องจดดีมากเลย จดเร็ว และจุดทุกตัวอักษร พอถามเรื่อง capture ก็ทำได้ด้วย พอถามเขา คิดว่าปัจจัยอะไรที่คิดว่าประสบความสำเร็จ ก็แย่งกันตอบเลย พอได้สิ่งเหล่านี้ออกมา มันก็จะเป็น Check list ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในสิ่งที่จะทำให้ส้วมมันเคลื่อนไป จะมีอะไรบ้าง ก็จะได้เป็น Guideline ในการที่เราจะไปดูงาน เช่น มีการจัดการที่ดีเน๊าะ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ก็ดีแล้วละ ที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญ วันรุ่งขึ้นก็ไปหาในรายละเอียด และจะไปคุยต่อกับเขาอย่างไร มันก็จะเป็นการไปศึกษาดูงานอย่างมีทิศทางละค่ะ
  • วันรุ่งขึ้น เขาก็ต้องมีแบบฟอร์มนี้เพื่อบันทึกการไปดูงาน เราแจกให้เขา แต่ไม่ได้ inform มากนัก แต่ที่ได้เปิดดู้ มีคำถามปลายเปิดอันหนึ่งที่เราใส่ไว้ คือ วันแรกที่คุณได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือที่คุฯได้รับฟังแล้ว คุณกลับไปคุณจะทำอะไร อยากให้เขามีไอเดีย ปิ๊งแว่บว่าจะทำโน่นทำนี่ และประเมิน เราก็คิดว่าได้ผล แต่ในความเป็นจริงก็ต้องตาม จากที่ในเวทีวันนั้น เขาได้ไปทำการเคลื่อนไหวในเรื่องอะไรบ้าง
  • เราจัดเวทีครั้งที่ 1 ที่ รร.วังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี เพราะว่า Best Practice เรามีอยู่ 3 ที่ ในจังหวัดใกล้เคียง กลุ่มเป้าหมายที่เราเชิญมา หลักๆ คือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์อนามัยที่ 1-12 เพราะว่าทั้ง 12 ศูนย์ฯ จะต้องเป็นคนที่เอาเรื่องส้วมไปเคลื่อน ในส่วนของ อปท. เทศบาล อบต. และพื้นที่ใกล้เคียง เราก็เชิญเขาเข้ามาด้วย เพราะว่าใน Best practice ก็มีเทศบาลนครอุดรธานี ที่เขาทำเรื่องส้วมได้ดีมาก เราก็เชิญเขามาแลกเปลี่ยน นี่คือเวทีในครั้งที่ 1 ทุกคน Happy ทุกคนพอใจ ก็เลยมีเวทีในครั้งที่ 2 ที่อุดรธานี
  • นี่คือตัวอย่างของ Tacit knowledge ที่ดึงมาจากตอนที่ มาแลกเปลี่ยนบนเวที
  • ... ท่านวินัย ปทุม ตอนนี้ท่านเป็นรองอธิบดีกรมการปกครอง สมัยนั้นท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ท่านเคยทำในเรื่องส้วมของจังหวัดชุมพร เพราะว่าชุมพรเป็นจังหวัดที่ไม่ค่อยโดดเด่น ท่านก็บอกว่า ส้วมนี่ละเป็นจุดขายได้นะ และท่านเองเป็นคนใช้ จะมีกรณีของปั๊มนี่ ที่นี่ดีมากเลย ท่านไปคอยให้กำลังใจตลอด ว่า ปั๊มต้องทำห้องน้ำให้ดีนะ แม้กระทั่งสวนนายดำจังหวัดระยอง ท่านก็ไปแนะนำว่า สวนนายดำต้องมีปลูกไม้หอมนะ สวนนายดำเขาก็ปลูกไม้หอม เขาก็จะปลูกเช้า สาย บ่าย เย็น ก็จะเอาพันธุ์ไม้ เวลานี้ดอกนี้หอม ต้นนี้หอม ก็สลับกันไปเรื่อยค่ะ ... สิ่งที่ท่านทำ ในส่วนของท่านคืออะไร ท่านก็บอกว่า “ผมเหรอ ผมก็ให้ทิศทาง ผมก็ไปบอกว่า จะไปทางไหน ผมไป encourage นะ ไปจูงใจ ไปประชาสัมพันธ์ ไปสร้างกระแส ไปย้ำนโยบายบ่อยๆ นี่คือสิ่งที่ท่านทำ ทำแล้วก็คือ ชุมพรเคลื่อนได้ เคลื่อนทั้งจังหวัด”
  • ... คุณจันสุดา เป็น ผอ.กองทะเบียนราษฏร์ ที่อุดรฯ เทศบาลนครอุดรฯ ได้รางวัลสุดยอดส้วมด้วยนะคะ เราก็เชิญเขามาแลกเปลี่ยนในฐานะที่เขาเป็นหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขาบอกของเขาเกี่ยวพันกับคนตั้งแต่เกิดจนตาย คนจะมาใช้ที่เทศบาลเยอะมาก เขาก็เลยบอกว่า "ถ้ามาใช้อย่างนี้ เขาก็อยากให้คนมาใช้สบายใจ" ก็คือ เรื่องส้วมนี่ละ ทำเป็นจุดขาย เพราะเขาต้องการให้คนที่มาใช้บริการมีความพึงพอใจ ส้วมเขาตอนที่ไปดู ส้วมประชาชน สะอาดกว่าส้วมเจ้าหน้าที่ค่ะ นี่คือสิ่งที่เขาจะบอกว่า "ลูกค้าต้องมาก่อน ประชาชนต้องมาก่อนนะ" เขารู้สึกว่าทำได้ อยู่ที่จะทำหรือเปล่า เห็นเขาบอกว่า concept ของเขาต้องสะอาด เพราะว่าสะอาดนะ คนต่อไปจะเกรงใจ ไม่กล้าทำสกปรก
  • ... คุณวิภา เป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน ปั๊มสาวดาวที่ชุมพร ปั๊มเขาดีมาก ถึงแม้เขาเป็นภาคเอกชน แต่เขาจะบอกว่า "เราต้องให้เขา ก่อนที่เราจะรับจากเขา ... ห้องน้ำเป็นหัวใจ เราต้องทำหัวใจให้แข็งแรงนะ" และที่สำคัญ เขาให้ความสำคัญกับคนทำความสะอาดมาก เพราะว่าพวกนี้จะต้องคอยเก็บทุกข์ของคนอื่น เขามีเกียรตินะ เวลาที่มีรางวัลอะไรก็แล้วแต่ คุณวิภาจะให้คนเหล่านี้ไปรับรางวัล อันนี้เหมือนเป็นแรงจูงใจค่ะ ว่า คนทำความสะอาดนี่ เขาทำเต็มที่นะ
  • ... คุณพงษ์ศักดิ์ ที่สวนนายดำ มีเทคนิคเยอะมาก เขาบอกว่าในฐานะ Tiolet embassador นะคะ เขาบอกว่า "เขาล้างห้องน้ำได้เอง ทุกอย่างทำได้หมด" และบอกเลยว่า แต่ก่อนเขาทำสวนส้มมาไม่ดังเลย มาดังตอนที่กรมอนามัยให้สุดยอดส้วมนี่ และเขาก็บอกว่า กรมอนามัยมาถูกทางแล้ว เราเดินไปด้วยกันนะ
  • ... คุณชัยรัตน์ เป็นเจ้าของร้านอาหารตำนานป่า ที่ระยอง ตอนนั้นเขาเจอวิกฤตเศรษฐกิจ เขาก็คิดว่าจะทำยังไงให้เขาฟื้นตัว เขาก็บอกว่า ส้วมนี่เป็นจุดขาย ถ้าใครได้มีโอกาสไปที่ร้านอาหารตำนานป่านี่จะบอกเลยว่า ส้วมของเขาสุดยอดมาก เขาค่อยๆ ทำค่ะ เขาบอกว่า "เขาแพ้ไม่ได้ ถ้าเขาแพ้ เขาก็ไม่มีวันชนะหรอก" ทำได้ยังไง กำลังใจยอดเยี่ยมมาก
  • ... ท่านพระครูสุทธิปัญญาโสภณ เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าการ้อง ท่านบอกว่า "ทำเรื่องนี้มา 7 ปี ตั้งแต่กรมอนามัยยังไม่ได้ทำมาเลย ทำจนเขาหาว่าบ้า ... ท่านบอกทำตรงนี้เพราะใจรัก ทำแล้วมีความสุข" นี่คือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของท่าน ท่านบอกว่า "ท่านเป็นฑูตส้วมนี่ พระได้เปรียบ พอได้รับกิจนิมนต์ ท่านก็จะไปชี้บอกเลยว่า ผู้ว่าฯ ทำนี่ ทำนี่ ทำ เพราะว่าเวลาไปเทศน์ ไปรับนิมนต์ ก็พูดเรื่องส้วมตลอดเลย" ท่านบอก "ต้องปลุกจิตสำนึกละ ตอนนี้จะมาบอกว่า เป็นหน้าที่ใครไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยกัน"
  • อันนี้เป็น Feedback ค่ะ เพราะว่าหลังจากที่จบเวที KM ก็แปลกใจว่า ทำไมท่านอธิบดีท่านรู้สึกดี พี่เขาก็เลยไปเรียนถามท่าน
  • ท่านก็บอกว่า ก็ดีแล้ว "เพราะว่าสิ่งที่ทำนี่มันทำให้คนฟังเกิดไอเดีย เพราะอะไร เพราะมันมี Common goal ก็คือ ความสะอาด ได้มาตรฐาน แต่การทำให้สะอาดมันมีหลายทางนะ" เห็นจากโมเดลมีตั้งหลายโมเดลแน่ะ เพราะเรามีกลุ่มเป้าหมายหลาย settings มันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนี้ Fix แบบนี้นะ มันมีตั้งหลายทางที่จะไปได้ ถามว่าไปถึง Goal นะ ไปได้ มันขึ้นกับสถานการณ์ ขึ้นกับบริบทของงาน มี Bandit มี Pattern คือ การที่เราทำแบบนี้ มันทำให้เขาเกิดไอเดียที่จะทำของเขาค่ะ การที่บอกว่า คนไหนที่บอกว่าทำไม่ได้ ก็บอกว่า มีคนทำได้แล้ว ทำได้ ทำอย่างไรจึงจะมารู้สถานการณ์ และแลกเปลี่ยนกัน

อยากทราบว่า Best Practice ของส้วม มีอะไรที่เป็นเกร็ดที่จะให้เราได้กลับไปทำบ้าง ? ... คุณเบ็ญจภัทร

  • อย่างเทศบาลนครอุดรธานี เขาเป็น อปท. ที่เขาจะมีการสร้างภาพลักษณ์ และที่สำคัญ คือ ท่านผู้บริหารให้ความสำคัญ คือ ท่านนายกเทศมนตรี เต็มที่ สถานที่เขาจะสวย หรือการบริการเขาก็เยี่ยม เข้าใจว่า เขาเอาลูกค้ามาก่อน ผู้บริหารให้ความสำคัญ
  • อย่างสวนนายดำ เป็นร้านอาหาร เป็นหนึ่งในเป้าหมายของเรา สวนนายดำทำเป็นลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวด้วยซ้ำไป และก็ของเขาจะมีไอเดียไม่เหมือนกัน มีห้องน้ำคุณผู้หญิง มีห้องน้ำเด็ก ห้องน้ำทาร์ซาน ไอเดียต่อไปเขาจะทำห้องน้ำแย๊ มันเป็นจุดขายของเขาตลอด และเขาเป็นผู้ให้ เขาบอกว่า "มาที่นี่ เขาไม่เคยเก็บเงินค่าเข้าห้องน้ำ" เขาบอกว่า "เป็นส้วมที่ทุกคนมาถ่ายรูปหน้าห้องส้วม" เขาทำโดยเขาไม่ได้หวังผลตอบแทน และเขารู้สึกว่าเขามีความสุข เขาได้ให้ความสุขกับคน คือที่มาถ่ายรูป เขามีทุกข์ การที่เขาสถานที่ให้ดี คนมาปลดทุกข์แล้วสบายใจ อยู่กับธรรมชาติ มีน้ำตก เขาทำไม่ได้หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่จะทำ
  • ... ตอนนี้เขาไปเคลื่อนที่ รร. ด้วยซ้ำ เขาก็พยายามที่จะไปขับเคลื่อนใน รร. เพราะเขารู้สึกว่า ปัญหาเรื่องส้วมใน รร. เป็นปัญหาที่สาหัสสากัลป์มาก เขาก็พยายามลงไปขยายผล เขาก็จะบอกว่า นี่คือบทต่อที่เรามอบให้เขาเป็น Toilet embassador
  • และ Toilet embassador อีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทชัดเจนคือ คุณที่เขียนหนังสือคู่สร้างคู่สม ไปเขียนเรื่องส้วมตั้ง 5-6 หน้าในหนังสือ 5-6 ฉบับที่แล้ว
  • ถามว่า Toilet embassador ได้อะไรตอบแทนไหม ไม่ได้ค่ะ
  • ... ที่คุณพงษ์ศักดิ์ ได้รับคำรับรองเป็นช่วงๆ นี่ โดนล้อด้วยซ้ำไป ก็ต่างๆ นานา เขาก็ภูมิใจที่จะทำ เพราะมันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่ารังเกียจ เขาบอกว่าเขาไม่
  • ... อย่างที่ท่านพระครูท่านบอกค่ะ ต้องรักที่จะทำ ไม่รักไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้น ใจต้องมาเต็มที่

ทำไมถึงเลือกรูปแบบนี้ในการทำ KM ในการทำเรื่องส้วมนี้ ?

  • อย่างแรกคือ การทำโครงการส้วมไม่ใช่ง่าย เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายน้อยมาก บังเอิญพี่ศรีวิภา เขาชี้ให้เห็นเรื่องการประกวดสุดยอมส้วม ถ้าไม่ทำประกวด เราก็จะไม่รู้ส่วนที่เป็น Best practice มีที่ไหนบ้าง
  • อันที่สองเรื่องของกระแส อย่างที่ว่าตอนนี้ กระแสเรื่องส้วมค่อนข้างจะดีทีเดียว เมื่อกระแสดี ผู้บริหารให้ความสำคัญ ทุกอย่างก็เหมือนจะไป
  • และอีกอันเมื่อมี Best practice มีขุนพลที่สุดยอดแบบนี้ ทำไมเราไม่เอาเขามา ลปรร. ให้เกิดการต่อยอด อย่างที่เรียนว่า บางคนเขาอาจหมดกำลังใจไปแล้ว แต่บางคนเขาทำได้ ก็มาเรียนรู้ว่าทำได้เพราะอะไร อย่างที่บอก บางที่น่ะ เรามีมาตรฐาน HAS อีกนิดเดียว ก็ผ่านแล้ว ประมาณนี้ ถ้าเขาไป อู๊ย อีกนิดเดียวเอง เขาก็ผ่านแล้ว หรือบางคนไม่คิดที่จะทำ เพราะว่ามันหมดกำลังใจ พอมาทำแบบนี้ ก็รู้สึกว่า มีกำลังใจนะ  ว่ามันทำได้นะ ทำไมทำไม่ได้ มันมีหลายอย่าง ซึ่งมันไม่ยากเกินไปที่จะทำ
  • มันมีเสน่ห์ตรงนี้ละค่ะ เพราะมันมี Best practice มีขุนพล มีความเด่นอยู่ในตัวเขา ถ้าเราจะไปต่อก็ไม่น่าจะยาก นี่คือ เข้าใจว่า เป็นเสน่ห์ของโครงการนี้
  • อย่างที่บอกไว้ ว่าตัวเองไม่ได้ทำโครงการนี้ ทำอยู่อีกงานหนึ่ง แต่ไปประสานงานแล้ว เขาค่อนข้างน่ารัก อย่างบอกว่า พี่อย่างนี้ต้องเอาเขามาแลกเปลี่ยน ไม่งั้นก็จะอยู่ในวงแคบๆ ก็ไม่รู้กัน
  • ก็ไปปรึกษา KM กรมฯ พี่เขาก็เห็นด้วย และก็มา design กัน มันคงไม่ใช่แค่จะเวทีวิชาการธรรมดา เรารู้สึกว่า ไม่ใช่เวทีวิชาการที่เราเคยจัดทั่วๆ ไป มันมีจุดมุ่งหมายมากกว่านั้น ถ้าจัดแล้วไม่ได้บอกเขาว่าไปดูอะไร มันก็คงไม่มีอะไรมากกว่านั้น

นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นตอนนี้ เป็นการที่จะเอา Best practice รูปแบบต่างๆ ขึ้นไป โดยให้เจ้าของกิจการส้วมแบบต่างๆ เข้ามารับฟัง Best practice ในวันแรก และวันที่สองไปดูงาน รูปแบบเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ?

  • กลุ่มเป้าหมายหลักๆ คือ ศูนย์อนามัย 1-12 เพราะว่าเขาก็มีคำถามเหมือนกัน เวลาที่เขาไปทำงาน เพราะเขาก็คงไปไม่ถูก ถ้าเขาเห็น Best practice เขาก็จะเกิดไอเดียว่าทำอย่างนั้น อย่างนี้ อันนี้สำคัญ เพราะว่าแกนหลักของศูนย์ฯ เขาต้องไปเคลื่อนต่อ
  • อีกกลุ่มคือ อปท. เราเชิญเขามาด้วย เรามีรูปแบบของส้วมต่างๆ ให้เขาเห็น พยายามที่จะให้หลากหลายรูปแบบให้เขาเกิดไอเดีย เพราะว่าแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
  • โครงการส้วมไม่ได้มีกลยุทธ์เดียวแต่มีหลายกลยุทธ์ อันนี้เป็นกลยุทธ์หนึ่ง
  • เช่น ในเรื่องปั๊มน้ำมัน เราทำ MOU เชิญปั๊มใหญ่ๆ มาทำร่วม และเห็นผลค่อนข้างเป็นรูปธรรม

มีวิธีการอย่างที่ว่า เลือกคุณกิจที่เข้ามาคุย และมาแลกเปลี่ยน ?

  • ความที่บอกว่า เขาเป็นสุดยอดส้วมระดับประเทศ เราก็รู้อยู่แล้วว่า เขาต้องมีลักษณะเด่นอยู่แล้วที่เขาประสบความสำเร็จได้ และเมื่อไปคุยปุ๊บนี่ก็จะรู้สึกได้ว่า เวลาที่ไปคุยกับคุณกิจ เขาจะมี Service mind เขาจะมีเหมือนกับเป็นผู้ให้
  • จะบังเอิญไหม ก็ไม่ใช่ ลักษณะเด่นของเขาเป็นผู้ให้กันทั้งนั้น ไม่หวังผลตอบแทน เรื่องส้วมคงเป็นเรื่องที่ใครๆ ไม่อยากทำหรอกค่ะ เพราะว่าเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ คนที่ทำได้เขาก็จะมีจิตใจแบบนี้ และเขาก็ยินดีที่จะ Share ไม่มีกั๊กไว้เลย มีอะไรให้หมด อาจจะเพราะว่า เขาเองก็อยากเห็นว่า อยากให้เรื่องส้วมนี่มันดีขึ้น เป็นลักษณะพิเศษ

คุณหมอนันทาเสริมเรื่องต่อยอดให้ค่ะว่า เราน่าจะทำอย่างไรกันต่อไป

  • ตอนที่เราเริ่มที่เอาเรื่อง Best practice เพราะว่าคนพวกนี้เขาจะมีพลังในตัวที่จะไปกระตุ้นคนอื่นได้ แต่
  • ถ้าเราทำไปสักพัก เราก็ต้องเอาคนที่มี Good practice หรือมีความสำเร็จบางส่วนมา Share
  • เพราะไม่เช่นนั้น จะมีคนส่วนหนึ่งที่บอกว่า ต้องเป็นคนอย่างนี้สิ ต้องอย่างนี้ อย่างนั้น
  • แต่ความจริงถ้าเราเอาคนที่หมายความว่า ได้ทำสำเร็จบางส่วนมา Share มันก็จะเกิดพลังต่อ
  • อย่างอันนี้เหมือนกับว่า สร้างกระแส และผลักดัน กลุ่มที่ว่านี้ ก็คือ คนที่จะไปผลักดันต่อ ก็เลยนำกลุ่มที่หลากหลายมา ลปรร. แต่พอถึงจังหวะหนึ่งที่เขาจะไปทำต่อ มันก็กลายเป็นเอาคนทำเรื่องส้วม เอาคนที่ทำความสะอาดส้วมมา Share กันก็ได้ ก็จะเห็นไอเดียของตรงนั้นด้วย
  • อย่างเช่นเทศบาลเขาพูดชัดเลยว่า ถ้าเป็นหน่วยงานราชการ สิ่งที่เรามักจะเจอกันบ่อยๆ คือ ห้องน้ำเจ้าหน้าที่ใส่กุญแจ และความสะอาดจะต่างกัน แต่จะเห็นว่า ความคิดของคนที่ทำเรื่องนี้จะมองตรงกันข้ามกันเลย มันก็เป็นการกระตุ้น
  • อันนี้ก็เป็น KM แบบหนึ่ง แต่ก็อย่าไปหวังว่า เอา Best practice เท่านั้นมา Share และการมา Share แล้ว ก็จะเกิดเครือข่ายขึ้นมาได้

มีเรื่องเล่าเรื่อง "ส้วม" อยู่ที่นี่ค่ะ ... รวมเรื่อง เบื้องหลังความสำเร็จ ... การจัดการความรู้สู่การพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ... สุราษฎร์ธานี ...

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 



ความเห็น (2)

เรียนคุณหมอนนท์

ได้อ่านแล้วรู้สึกภูมิใจมากเลยค่ะ ที่ได้มีโอกาสนำเสนอและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จในการขับเคลื่อน KM ของกรมอนามัย เมื่อตอน Open House ให้กับหน่วยงานภาคีภาคราชการค่ะ

  • มันก็น่าปลื้มจริงๆ นี่คะ หนูกบนอกกะลา CKO วัยเอ๊าะ ของเรา
  • มีคนตั้งฉายาให้จ้ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท