ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (18) KM สำนักส่งเสริมสุขภาพ


ปี 50 เราทำงานเด็กไทยทำได้ใน รร.ส่งเสริมสุขภาพระดับประเทศ ก็ได้ถูกมอบหมายจากกรมฯ ให้นำ KM มาใช้ในการจัดประชุม ... ก็เป็นโจทย์ที่ยากมากสำหรับนักจัดประชุมมือใหม่อย่างสำนักส่งเสริมสุขภาพ เพราะเดิมเราวางแผนงานไว้ ผู้เข้าประชุมประมาณ 600 คน

 

บ้าน KM กรมอนามัย ห้องแรก ... สำนักส่งเสริมสุขภาพ ค่ะ คุณหมอชื่น เตชามหาชัย มาเล่าให้ฟัง

  • สำนักส่งเสริมสุขภาพมีกลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสร้างเสริม กลุ่มสนับสนุน และฝ่ายบริหาร เป็นการทำงานตามกลุ่ม มีข้าราชการทั้งหมด 70 ท่าน ลูกจ้าง 143 ท่าน
  • ท่านผู้อำนวยการเป็นคุณเอื้อ ผมเป็นประธานคณะกรรมการจัดการความรู้ของสำนักฯ
  • เป้าหมายคือ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักฯ ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นการรวบรวมคลังความรู้เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ และเป็นการพัฒนาองค์กรของสำนักฯ เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • จุดเริ่มต้น ปี 48 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ มีตัวแทนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมในโครงสร้าง
  • ปี 49 ถือเป็นหน่วยงานต้นแบบ
  • ภาพกิจกรรมสื่อสารสร้างความเข้าใจ
  • ... ยุคเริ่มต้น ผอ. มีการชี้แจงเรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ของสำนักฯ
  • ... เมื่อปี 48 ในช่วงนั้นมีการรณรงค์ มีการสื่อทำความเข้าใจ มีการถ่ายทอด เพื่อให้ข้าราชการในสำนักฯ ทุกท่าน ได้ทราบนโยบาย
  • ... มีการทำเอกสารเพื่อติด เป็นตู้เผยแพร่ ปชส.
  • ... มีเวปไซต์ของสำนักฯ (ที่  )
  • ... มีการประกาศตัวเมื่อ พย.49 เนื่องจากในวันนั้นเรามีการประกาศนโยบายในเรื่องสถานที่น่าอยู่น่าทำงาน เราก็เอาการจัดการความรู้เข้าไปประยุกต์รวมอยู่ด้วย จึงทำให้เกิดสีสัน ประกาศเป็นนโยบาย Big Cleaning Day วันประกาศทุกคนมาร่วมกัน คนที่รับคำประกาศ เป็นหัวหน้าทั้ง 6 กลุ่มงาน
  • บรรยากาศทำ CoP ช่วงแรกๆ เราทำทุกวันพุธ ช่วงหลังมีความห่างขึ้น
  • คณะกรรมการฯ ติดตามเดือนละครั้ง ทุกกลุ่มงานทราบนโยบายแล้ว ก็ไปดำเนินในกลุ่มงาน และสอดแทรกเข้าไปในงานประจำไป
  • มีการพูดคุยบรรยายกัน ว่า KM เป็นยังไง อธิบายวิธีการดำเนินงาน และการเป็น Facilitator และ Note taker
  • ตัวอย่างการทำ Storytelling เช่น การศึกษาวิจัย ทำให้รู้ว่า วิธีการที่จะได้ทุน ทำอย่างไรที่จะได้ หรือไม่ได้ มีการมาแลกเปลี่ยนกัน เครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพ Events ของที่สนามหลวงที่จัดใหญ่ๆ คนที่ทำหน้าที่ประสานทำกันอย่างไร รวดเร็วทันใจ และทำยังไงโครงการถึงได้ใหญ่ขนาดนั้น มีสารสนเทศ มาแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งเรื่อง ประสบการณ์ความรู้จากการประชุม อบรม สัมมนาต่างๆ
  • ส่วนที่ไปทำกับคนข้างนอกก็มีหลายๆ เรื่อง เช่น รณรงค์มะเร็งเต้านม มีโครงการมะเร็งเต้านม ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การส่งเสริมสุขภาพ Thallasemia, Home Health Care ในผู้สูงอายุ เด็กไทยทำได้
  • คณะอนุกรรมการจัดการความรู้ก็รวบรวม Tacit k พิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม และเผยแพร่
  • สิ่งที่วางแผนต่อก็คือ
    1. สนับสนุนให้เกิด CoP ในหน่วยงานเพิ่มขึ้น2. ประเมินติดตามว่า ได้มีการนำความรู้ไปพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรมากน้อยเพียงใด

เล่าเรื่องเวทีเด็กไทยทำได้ โดยคุณศศิวิมล ค่ะ

  • เด็กไทยทำได้ เป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัยนำมาใช้การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเด็ก และเยาวชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 2541
  • พอปี 2548 เราได้นำกลยุทธ์การมีส่วนร่วมมาเพิ่มใน รร.ส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ชื่อว่า โครงการเด็กไทยทำได้ใน รร.ส่งเสริมสุขภาพ และเน้นประเด็นที่เป็นปัญหา เป็น Hot issue 3 เรื่อง คือ อาหารสะอาดปลอดภัย สุขาน่าใช้ และเด็กไทยฟันดี
  • ตั้งแต่เราได้ดำเนินงาน รร.ส่งเสริมสุขภาพมา ก็จะมีการจัดเวทีสัมมนาระดับประเทศ เพื่อที่จะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายการศึกษา และการสาธารณสุข เข้ามา ลปรร. และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากที่คนอื่นๆ เขาทำ และประสบความสำเร็จ แทบทุกปี บางครั้งก็จะมีการแจกเกียรติบัตรด้วย
  • ปี 50 เราทำงานเด็กไทยทำได้ใน รร.ส่งเสริมสุขภาพระดับประเทศ ก็ได้ถูกมอบหมายจากกรมฯ ให้นำ KM มาใช้ในการจัดประชุม ... ก็เป็นโจทย์ที่ยากมากสำหรับนักจัดประชุมมือใหม่อย่างสำนักส่งเสริมสุขภาพ เพราะเดิมเราวางแผนงานไว้ ผู้เข้าประชุมประมาณ 600 คน
  • ได้ปรึกษากับคุณหมอนันทา และสำนักสนับสนุนการจัดการความรู้ มาเตรียมงานกันหลายครั้ง ว่า ... จะทำ KM อย่างไรในคน 600 คน
  • ก็สรุปลงตัวที่ว่า ในการกิจกรรมการประชุมในครั้งนี้ จะมีการบรรยายจากวิทยากร และมีประชุมกลุ่ม ซึ่งจะมีการนำเสนอความสำเร็จ เรื่องเล่าความสำเร็จ เรื่องเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เรื่องอาหารสะอาดปลอดภัย สุขาน่าใช้ เด็กไทยฟันดี และกินผักทุกวันเด็กไทยทำได้ โดย
  • ... เรื่องเล่าความสำเร็จ ผู้เล่าจะมาจากเครือข่าย รร.ส่งเสริมสุขภาพ 6 เครือข่ายทั่วประเทศ
  • ... อีก 4 ห้อง เป็น รร. ซึ่งศูนย์อนามัยเป็นผู้คัดเลือก รร. หา รร. ที่โดดเด่นในด้านต่างๆ
  • ก็จะมีโจทย์อีกโจทย์หนึ่งซึ่งยากมากว่า แล้วคนอีกประมาณ 400-500 คน ซึ่งเป็น Participant จะไปอยู่ที่ไหน ระหว่างที่เราทำเรื่องเล่า ... ก็ได้ข้อสรุปว่า ให้เขาเข้าฟังด้วยในห้องที่เขาสนใจ และมีการใช้วิธีการเพื่อให้เขาได้ share ว่า สิ่งที่เขาได้รับฟังนั้นมันเกิดมีจุดของความสำเร็จตรงไหน และปัจจัยความสำเร็จเป็นอย่างไร
  • สรุปประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อได้ใช้ KM ในการประชุมสัมมนาในครั้งนี้
  • ... ได้เผยแพร่แนวคิด และผลงานของการทำ KM มาใช้ในกรมอนามัย แทรกไปตามงานต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายศึกษา กระทรวงศึกษาฯ และฝ่ายสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้รับทราบ
  • ... จุด ลปรร. คือ มีการจัดนิทรรศการ รร. ก็จัดได้ตามแนวคิด ว่า รร. อยากนำเสนออะไร
  • ... คณะทำงานได้ประสบการณ์การเรียนรู้จากการทำงานจริง เอา KM มาใช้
  • ... ประโยชน์กับภาคีเครือข่าย หรือผู้เข้าประชุม ก็ได้รับ Feedback มาว่า เป็นสิ่งใหม่ซึ่งกรมอนามัยได้นำมาใช้ และเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ และนำกลับไปใช้กับหน่วยงาน

รวมเรื่องเล่า เวทีเด็กไทยทำได้

ข้อซักถามเพิ่มเติม (1) ... เวทีเด็กไทยทำได้ มีประเด็นเขาทำอะไรได้บ้าง เพราะว่ายังไม่เคยรู้เรื่องค่ะ

  • เด็กๆ เขาก็จะมีชมรมเด็กไทยทำได้ บทบาทหน้าที่ของเด็กๆ ในชมรม เขาจะเฝ้าระวัง 3 เรื่อง ก็คือ อาหารสะอาดปลอดภัย สุขาน่าใช้ และเด็กไทยฟันดี และเราจะมีการประเมินด้วย ประเมินลักษณะงานของเขา ว่า ชมรมมีการทำงานอย่างไร เหมือนการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ให้เฝ้าระวังเรื่องสุขภาพ เพราะว่าพฤติกรรมของเด็กจะส่งผลกับครู ผู้ปกครอง กับชุมชนที่แวดล้อม ขนาดเด็กยังทำได้ ผู้ใหญ่ก็น่าจะทำได้

ข้อซักถามเพิ่มเติม (2) ... อยากรู้เรื่องการกำหนดหัวปลา ต้องมีการกำหนดทุกครั้งหรือเปล่า

  • ต้องมีการกำหนดค่ะ เพราะว่า รร.ที่เข้ามาก็มีหัวปลาที่ชัดเจนอยู่แล้ว ในเรื่อง ความสำเร็จในเรื่องนั้น เรื่องนี้

คุณพั๊งค์ เป็นนักโภชนาการ เล่าเพิ่มในการเล่าเรื่องของห้องกินผัก ถึงเรื่องเป้าหมายหัวปลา ว่า

  • เป้าหมายของเรานั้นเด็กต้องกินผักได้กี่ช้อน เด็กก็จะรู้ว่า ทำอย่างไร และคนที่มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นครูอนามัย ครูผู้สอน ผู้นำ ผอ. เขาจะมีนโยบายการมีส่วนร่วมที่เด่นชัด
  • เด็กของเขาก็จะไปคิดตามกิจกรรมที่ รร. ได้ทำ หมายถึงว่า กิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการ บริบทของตัวเองก็คือ เด็กต้องรู้ตามเรื่องการเรียนการสอน ต้องพัฒนาผู้เรียน และมีอาจารย์ช่วยเสริม เขาก็จะมีการเรียนรู้ เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ และพฤติกรรมที่ดี
  • เพราะฉะนั้น แต่ละห้องจะมีเป้าหมายที่เด่นชัด ที่เขาบอกว่า เขาจะกินผัก อีกห้องหนึ่งแปรงฟัน และสุขาน่าใช้
  • เพราะฉะนั้นคนที่เข้ากลุ่มของเรา เขาเข้ามาด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน และอยากได้บทเรียน คาดหวังว่าจะไปต่อยอด เชื่อมต่อได้ และทำให้ขยายตัวได้

คุณศรีวิภา เล่าเคล็ดเล็กๆ แลกเปลี่ยนค่ะ

  • ประเด็นของการจัดงานใหญ่ๆ อยู่นี่ เขาจะมีหัวปลาใหญ่ คือ เวทีเด็กไทยทำได้ และหัวปลาย่อยก็จะแบ่งออกไปห้องกินผัก ห้องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ หัองแปรงฟัน ห้องส้วม และห้องอาหารสะอาด
  • หัวปลาต้องชัด เพราะกว่าจะได้ก็ขึ้นมาบนเวทีเพื่อเล่าแลกเปลี่ยน ก็มี Tricks ที่ควรจะนำไปใช้ คือ ต้องหาคุณกิจ ที่ชัดๆ และเจอความสำเร็จจริงๆ
  • และโทรฯ เข้าไป (เขาเรียก BAR – Before action review) ให้ชัดๆ ว่า คนที่จะเล่า ต้องเล่า microsuccess ในประเด็นที่สำเร็จจุดนั้น ไม่เล่าอารัมภบท ไม่เล่า Life story ถ้าเจออย่างนี้ก็จะชัด ห้องนั้นก็จะทำได้ดี
  • การเตรียมก็ต้องซักซ้อมการเล่า ถ้าไม่งั้น คนจะเคยชินกับการบรรยาย 30 นาที แต่เราจะบอกทุกคนว่า เนื่องจากประเด็นมันน้อย และเวลาเป็นสิ่งสำคัญ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การ ลปรร. เพราะฉะนั้น เขาก็เข้าใจกติกา ก่อนที่จะ clear กติกา ว่าจะต้องทำยังไงกัน
  • แล้วคนข้างล่างที่เป็นผู้ฟังจะต้องเรียนรู้อย่างไร
  • เขาก็เรียกว่า จะเตรียมคุณกิจที่จะเป็นผู้เล่า และจะเตรียมผู้ฟังด้วย ว่าต้องฟังแบบไหน และช่วงเวลาไหนที่ ลปรร. กัน
  • นี่ก็คือ หัวปลาที่ต้องมีแน่นอน และต้องชัด ประเด็นต้องตรง เพราะว่าเวาน้อย
  • และสิ่งที่เราเลือก ต้องเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จ ในเวทีใหญ่ๆ อย่างนี้ คือ คุณกิจที่มีความสำเร็จเป็นตัวจริง มีความหลากหลาย ในกระบวนการหลากหลายของความสำเร็จ มีอาจารย์บางท่านเป็นนาฏศิลป์ อาจารย์ก็ยังทำงานเรื่องผักได้อันนี้เป็นความต่าง บางท่านก็เป็นครูที่จบคณิตศาตร์ มันก็จะเป็นประเด็นที่ช่วยจูนคนคิดว่า วิธีการทำงานปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ว่า ต้องจบ Specialist มาหรอก แต่มันมาด้วยใจ และมีเทคนิคของการทำงานให้สำเร็จต่างกัน นี่คือประเด็นที่พยายามเอา KM เข้ามาใช้
  • แต่ประเด็นที่หนักอกของ Organizer คือ มันใหญ่ การ control ผู้ฟังเป็นสิ่งที่ยาก เพราะว่าเรามี background ที่หลายคนไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของ KM แต่ถูกเอา KM เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ ก็มีผลสะท้อนให้เห็นเหมือนกันว่า ถ้าห้องที่จัดการได้ดี คนฟังจะเกิดการ appreciate ร่วมชื่นชม
  • ขณะเดียวกันก็คือ เด็กเป็นนัก capture ที่ดี จัดเก็บความรู้ได้ดี เราจะพบว่า เราไม่สามารถจะไปกำหนดตายตัวได้หรอกว่า ผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดี เปล่าเลย แต่ละคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ได้หมด
  • และเราก็จับเด็กนั้นขึ้นเวที ว่าเขาเก็บอะไรได้ และเขาจะไป apply ต่ออย่างไร เด็กเขาก็จะบอกว่า เขาจะทำอย่างนั้น อย่างนี้
  • แล้วเราก็ใช้พื้นที่ของห้อง เป็นพื้นที่ ลปรร. หมดเลย
  • เนื่องจากเวทีใหญ่ เพราะฉะนั้น เราส่งไมค์ให้ทุกคนพูดไม่ได้ แต่เราไปใช้กระดาษ ตัดกระดาษ ให้ทุกคนได้เขียน ว่า 1) คุณฟังเสร็จแล้ว คุณ capture ได้อะไร 2) จะ apply ยังไง เพราะฉะนั้น เราก็จะได้ เห็นวิธีการ 1) งานเราทำสำเร็จไหม และ 2) คนเรียนได้เรียนอะไรต่อยอดไหม อันนี้ก็คือ การนำเอาไปใช้ในเวทีใหญ่
  • แต่ก็มีข้อจำกัดของกระบวนการ ลปรร. ไม่ได้ F2F โดยตรง เพราะใช้เครื่องมือช่วยเหมือนกัน เมื่อเอา KM ไปใช้ในงานใหญ่ๆ ไม่สามารถใช้โดดๆ ได้ ต้องผสมผสานไปในกระบวนการอื่น
  • หัวใจสำคัญของ KM อยู่ ที่ BAR ถ้า BAR ทำการบ้านได้ดี เชื่อว่า มีพลัง
  • แต่แม้จะเตรียมกันอย่างดี บางคนก็มีข้อจำกัดของตัวเอง ว่า เคยชินกับวิธีการเก่าๆ และอยากบอกเรื่องราวที่ผ่านมา มันก็จะทำให้กระบวนเรียนรู้ จุดที่สำคัญก็จะถ่ายทอด tactics ก็จะหายไป เพราะว่าเวลาหมดไป และบางคน shock กับเวลาสั้นๆ ให้เล่าน้อยๆ แต่ไม่เป็นไร เพราะว่าเราถือว่าเป็นเรื่องของการเรียนรู้ นี่เป็นประสบการณ์จากห้องกินผัก
  • ประเด็น Hi-light ถ้าเราคัดความสำเร็จให้หลากหลาย พอเรื่องเล่าออกมา คนฟังจะต่อยอดกันเอง ด้วยวิธีการ 1 คน + อีก 1 คน งั้นตัวนี้จะเป็นตัวที่ช่วยยกระดับของงานเรา
  • เพราะไม่งั้นเขาจะเห็นแต่ในมุมพื้นที่ของเขาเอง เราควานหาสิ่งที่ต่างกัน ภาคเหนือ ภาคอีสาน และตอนจบ ความสำเร็จจะถูกนำมาร้อยต่อกันหมด เราจะเห็นความต่อยอด และคนก็จะกลับไปนึกออกว่า จะกลับไปใช้อย่างไร และที่คนรู้สึกว่ามันยาก เขาก็ยากเหมือนเรา แต่เขาสำเร็จด้วยวิธีการอย่างนี้
  • อันนี้คือเวทีที่เราไปพยายามใช้ในเวทีใหญ่ๆ ว่า จะเห็นว่า เขาจะเอาไป apply ยังไง เราก็จะเห็นว่าเขาจะเอาไปประยุกต์ตรงนี้ และเขาก็คาดหวังว่าจะช่วยให้ยกระดับการทำงานที่ดีขึ้น
  • แต่ที่เห็น โดยธรรมชาติ คือ เขาขอเบอร์โทรศัพท์กันเองเลย เพื่อที่จะไปเรียนรู้กันต่อ

คุณหมอชื่น สรุปเรื่องเล่าของ KM ในสำนักส่งเสริมไว้ว่า

  • เรื่องการทำ KM มีหลากหลายวิธี ก็แล้วแต่บริบทที่จะนำเอาไปประยุกต์ใช้ เพราะในกลุ่มเวทีเด็กไทยทำได้ เป็นกลุ่มใหญ่มาก กระบวนการ KM ของเขา นอกจากจะใช้ KM แล้ว ก็ไปประยุกต์กับการร่วมรับฟัง ในนั้นด้วย
  • แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนที่มาฟัง ถ้าอยากได้ประโยชน์ก็ต้องเป็นคุณกิจตัวจริงที่มีประสบการณ์ในการทำเรื่องนี้ และคนเล่าก็ต้องมีประสบการณ์จริง เอาเรื่องจริงมาเล่า จากความสำเร็จ ซึ่งอาจจะมีเล็กมีน้อย แต่คนที่เกี่ยวข้องสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้
  • เพราะการทำ KM จุดที่สำคัญที่สุด คือ รู้แล้วเอาไปทำต่อยอดมากกว่า

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 126471เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท