หน่วยประสานความร่วมมือ(2)


รูปแบบการทำงานที่เน้นภาคประชาชนเป็นแกนกลาง

ผมเห็นว่า หน่วยประสานความร่วมมือมีแนวคิดปนๆกันระหว่าง
ผู้แทนภาคประชาชนกับคนทำงานเพื่อชุมชน
ในฐานะคณะกรรมการกับเจ้าหน้าที่
ซึ่งก็คล้ายๆกับคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชนที่เป็นทั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ซึ่งควรมีบทบาทและทักษะความรู้ที่ต่างกัน

เมื่อมีความชัดเจนแล้วก็ทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด

หน่วยออกแบบให้เป็นคณะทำงานเพื่อประสาน/สนับสนุนการทำงานของคนเอาธุระในตำบล การสนับสนุนจะเน้นเรื่องการเรียนรู้เป็นหลัก ไม่มีงบประมาณล่อ โดยที่คณะทำงานจะมีกองเลขาและหน่วยงานสนับสนุนหลักคือพอช.หนุนช่วยอยู่

ก็เป็นรูปแบบการทำงานที่เน้นภาคประชาชนเป็นแกนกลางที่เป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงกับจังหวัดและเครือข่ายต่างๆ

ผมนึกถึงการจัดวงเรียนรู้3ตำบลของเรา ที่ใช้วงเรียนรู้คุณอำนวยเป็นแกนในการทำงาน (เรียนรู้พัฒนาตนเอง)

ในการจัดวงเรียนรู้50ตำบล บทเรียน3ตำบลของเราจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง?

ทีมงาน3ตำบล เข้าร่วมในที่ประชุมหลายคน เขียนสะท้อนความเห็นแลกเปลี่ยนกันดูครับ

หมายเลขบันทึก: 69668เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
    เพิ่งได้จังหวะเข้ามาอ่าน หลังจากที่ได้โทรคุยทบทวนทางโทรศัพท์แล้ว ต้องขอบคุณพี่ภีมที่ช่วยให้กระบวนการผ่านไปด้วยดี ความจริงพัชเองเกร็ง ๆเล็กน้อยเนื่องจากมีบทเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานเลยระมัดระวังให้เวทีเป็นกลาง ๆไม่ใช่วงเรียนรุ้ที่มีพอชเป็นคนจัดกระบวนเป็นหลักแต่อยากให้เป็นวงของภาคประชาชนคนคอนจริง ๆ    แต่อยากขอแรงการสนับสนุนจากที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดประใยชน์ร่วมกันในทุกฝ่าย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท