เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ... (3) สุขภาพผู้สูงอายุไทย : สถานะปัจจุบัน และสิ่งท้าทายในอนาคต


Active aging เป็นกระบวนการเตรียมตัวเราเอง ในการเตรียมสังคม เรื่องของบุคคล ครอบครัว รัฐ ที่จะต้อง active ที่จะเตรียมตัวด้วยความไม่ประมาท ที่จะทำให้สังคม หรือตัวเราสามารถอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด ให้นานที่สุด ให้อยู่ในช่วงที่แย่ ให้น้อยที่สุด และมีหลักประกันว่า เราสามารถช่วยเหลือกันได้ อย่างให้ชีวิตถึงบั้นปลาย และอย่างสมเหตุสมผล เป็นเรื่องของ optimization

 

ช่วงนี้ ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาเล่าให้ฟังกันค่ะ มุมมองของอาจารย์ก็คือ

  • ผมมองที่คุณภาพหลายๆ องค์ประกอบ กระบวนทัศน์ใหม่ๆ และประเด็นที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ
  • ข้อเท็จจริง
    ... ประการแรก จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเร็วมาก
    ... ประการที่สอง ที่เพิ่มเร็วที่สุด คือ the old-old คนที่อายุ 80 ปีขึ้นไป และจะเป็นอย่างนี้ไปตลอด
    ... ประการที่สาม ประเทศเราจะแก่เร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
    ... เราแก่ก่อนรวย ประเทศอื่นเขารวยก่อนแก่
  • เราต้องมองถึงสิ่งที่ optimize หรือ sustainable ซึ่งก็สอดคล้องกับปัจจุบัน ... เศรษฐกิจพอเพียง
  • ที่ต้องเข้าใจ คือ อายุมากขึ้น โรคก็ยิ่งมากขึ้น ฐานะพึ่งพาก็ยิ่งมากขึ้น เราก็ต้องใช้ทรัพยากรทางด้านสุขภาพมากขึ้น ... นี้เป็น fact ว่า ทุกประเทศเหมือนกันหมด แม้เรากำลังจะบอกว่า จะทำให้คนๆ หนึ่งมีสุขภาพที่ดีที่สุด แต่สุดท้าย ก่อนจะจากไป ก็ต้องนั่ง นอน และต้องพึ่งพา เพียงแต่เราหวังว่า สัดส่วนตรงนั้นถ้าเราทำได้ดี จะสั้น และเรามีระบบรองรับที่ทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นในบั้นปลาย
  • มีการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบโรคชัดเจน จากเมื่อ 10-20 ปีก่อน โดยเฉลี่ยภาระหรือปัญหาทางด้านสุขภาพส่วนใหญ่มาจากโรคติดเชื้อ ในปัจจุบัน โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ มะเร็ง จะมีสัดส่วนที่สำคัญ ประมาณ 50% ของทั้งหมด โรคทางเดินประสาท และจิตใจ ประมาณ 10% และ accident ประมาณ 10% แนวโน้มต่างๆ เหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • รูปแบบโรคที่เปลี่ยน มากับ aging population มากับความชราของประชากร
  • ตัวเลขของประเทศไทย ปี 2544 กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็น Bed bound คือ คนสูงอายุที่ไม่สามารถลุกนั่งได้ ต้องมีคนดูแล ... ในปี 2000 มีประมาณ 45,000 คน ปัจจุบันมี 60,000 คน และในปี 2515 น่าจะมี 80,000 คน
  • ขณะเดียวกัน พวกที่ Home bound ที่ออกจากบ้านเองไม่ได้ ต้องมีคนพาออกไป ... ปัจจุบันมี 300,000 คน
  • และมี self-care need คือ ต้องดูแลถึงระดับส่วนตัว มี 400,000 – 500,000 คน
  • สถานะทางสุขภาพของประชาชนในประเทศไทยอาจจะไม่ได้ดีอย่างเดิมทั้งหมด ที่น่าเป็นห่วง เรากำลังติดตามว่า การเจ็บป่วยในบ้านเราจะขยายตัวถึงไหน มันจะเพิ่มขึ้นแน่ๆ ตามสัดส่วนของผู้สูงอายุ ตาม age specific group คือ ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น และแก่มากขึ้น จำนวนนี้ก็จะมากขึ้น
  • กระบวนทัศน์ใหม่ ... มองเรื่องของ Health promotion & prevention อยู่แค่ Primary risk factor ไม่ได้ ปัจจุบันเรามองถึง Intermediate risk factor คือ ทุกโรคเรื้อรัง หรือโรคบางอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ Disability ... ต้องมองกลุ่มพวกนี้เป็นกระบวนการ prevention
  • ความจริงก็คือ
    - Family structure เปลี่ยน ... ครอบครัวขยายหมดไปเรื่อยๆ ปัจจุบันมีครอบครัวหลัก 2 อย่าง คือ ครอบครัวเดี่ยว กับ Bin home family 1-2-3 ตา-ยาย พ่อ-แม่-ลูก หรือยายคนเดียว แม่คนเดียว และลูก
    - Life style และ social value เปลี่ยนแน่นอน ... เรื่องของ self วัย teen age สูง
    - ผู้หญิงกับแรงงาน ปัจจุบัน ผู้หญิงทำงานมากกว่าผู้ชาย และไม่แต่งก็มี
    - Migration ข้ามจังหวัด ข้ามอำเภอ ข้ามหมู่บ้าน หางาน ไปเรียน
    - Intergeneration relationship เป็นผลจากทุกอย่างที่ตามมา
  • Trends
    - มีคนสูงอายุอยู่คนเดียวมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย 2 เท่า และอีกจำนวนหนึ่งอยู่กับใครก็ไม่รู้ที่ไม่ใช่ญาติ
    - ผู้สูงอายุที่จะอยู่กับ family member 1-2 คน และ family member ต้องทำงานตลอด
    - คนในวัยกลางคน ในอนาคตอันใกล้ และผู้สูงอายุจะเป็นคนที่แบกรับภาระงานทั้งหมด ดูลูก ดูพ่อแม่ที่แก่ และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
    - การดูแลภายในครอบครัว หรือชุมชนเอง ความสามารถในการดูแลมี trends ที่จะไม่ match กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
  • สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เราได้รู้ว่า เราจะต้องทำอะไรบ้าง
    ... ที่แย่ที่สุด คือ ผู้สูงอายุที่มีลูกหลานน้อย ที่ไหน
    ... ประการที่สอง คือ ระดับการศึกษาของลูกหลาน พบว่า ยิ่งมีการศึกษามาก ยิ่งออกจากบ้านมาก
    ... ประการที่สามคือ social class คือ การอ่านออกเขียนได้ ไม่ได้ คนยิ่งจนยิ่งลำบาก
    ... ประการที่สี่ คือ Family structure
    ... อันสุดท้าย คือ ความเป็นปึกแผ่น ความเป็นชุมชน ความเอื้ออาทรที่เปราะบางที่สุด
  • คำตอบ คือ ในเมือง ... ในชนบทยังมีความแน่นหนากว่า
  • กระบวนทัศน์ใหม่ ตั้งแต่ปี 2521 เรามี primary health care หรือ สาธารณสุขมูลฐาน ... ปัจจุบัน ไม่พอ ... มันถึงเรื่องของ long term care ... ถึงเรื่องของ chronic disease ... เรื่องของ disability ... ถึงเรื่อง home based care ... ต้องพูดถึงเรื่องของ interdisciplinary approach การทำงานระหว่างสาขาวิชาชีพ
  • primary health care ที่เน้นชุมชนทำ เราจะต้องมี community health service ที่จะต้องเข้าไปถึง อันนี้คือ home based care นี่เป็นส่วนที่ต้องเกิดขึ้นใหม่ภายใน 20-30 ปีข้างหน้า และต้องทำให้สำเร็จ
  • เรื่อง disability (ความพิการ) เรื่องการดูแลรักษาให้ดี จะดีขึ้นมาก
    ... เพราะฉะนั้นการจัดการดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ
    ... Equipment อุปกรณ์ช่วย wheel chair ไม้เท้า รวมถึงอุปกรณ์ที่ รถ แท็กซี่ที่รับคน disable (บ้านเรายังไม่มี) เรื่อง security กริ่งกดเรียก สิ่งนี้ช่วยให้ภาวะ disable ของเขาดีได้ระดับหนึ่ง
    ... Environment สภาพแวดล้อม ... ห้องน้ำ disable ทางเดินลาด (1:12 ขึ้นไป) ทำให้คนเข็นได้
    ... เพื่อน และครอบครัว ทำให้ Disability reverse ได้
    ... Welfare
  • เราพูดเรื่องคนแก่ในอนาคต เรื่องสิ่งที่เป็นวงจรในชีวิต พูดถึงคนในปัจจุบัน กระบวนการในปัจจุบัน เพราะเขาจะเป็นคนแก่ในอนาคต อันนี้เป็นกระบวนการที่ต้องมองในกระบวนการระยะยาวทั้งหมด
  • สิ่งนี้จะนำมาสู่สิ่งที่องค์การอนามัยโลกกำลังผลักดัน คือ Active aging เป็นกระบวนการเตรียมตัวเราเอง ในการเตรียมสังคม เรื่องของบุคคล ครอบครัว รัฐ ที่จะต้อง active ที่จะเตรียมตัวด้วยความไม่ประมาท ที่จะทำให้สังคม หรือตัวเราสามารถอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด ให้นานที่สุด ให้อยู่ในช่วงที่แย่ ให้น้อยที่สุด และมีหลักประกันว่า เราสามารถช่วยเหลือกันได้ อย่างให้ชีวิตถึงบั้นปลาย และอย่างสมเหตุสมผล เป็นเรื่องของ optimization
  • นี่เป็นมุมมองของ Active aging ไม่ได้เป็นเรื่องของ individual หรือ family หรือสังคม เป็นเรื่องของทั้งหมด เป็นเรื่องของ life long process
  • วัฒนธรรม มี 3 ขา ขาแรกคือ สุขภาพ independence (ความอิสระ) ขาที่สอง คือ ความมีส่วนร่วม มีส่วนที่จะทำอะไรให้สังคม ไม่ว่าครอบครัว หรือชุมชน และการที่เรามีความสามารถเราก็เตรียมตัวในเรื่องสังคมได้ ความมั่นคง การเข้าถึง การดูแลรักษา การมีผู้ดูแล ก็เป็น security เป็นสิ่งสำคัญ
  • เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมสำหรับ older age
    การต้องเตรียมให้กับผู้สูงอายุในระดับ public

 

หมายเลขบันทึก: 87171เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณที่เล่าเรื่องดี ๆ เพื่อให้อยู่ในความไม่ประมาทครับ

 

  • สวัสดีค่ะ อ.wwibul
  • เรื่องนี้ ถ้าฟังต่อเนื่องแล้ว จะทำให้รู้สึกว่า อนาคตของเราอันตรายนะคะ (เพราะจะเข้าสู่วัยสูงอายุพอดีเลย)
  • และการเตรียมพร้อมของภาครัฐ ที่จะรองรับประชากรผู้สูงอายุในช่วงนั้น ยังไม่มีจริงๆ ค่ะ
  • ขณะนี้ หลายๆ ส่วน ก็กำลังช่วยคิดกันเรื่อง การให้บริการกลุ่มผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ กันมากขึ้น ค่ะ
  • อาจารย์ ช่วยร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่มาเยี่ยมเยียน

สวัสดีค่ะ คุณหมอนนท์

ได้อ่านที่คุณหมอสรุปประเด็นสำคัญในการประชุมเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ แล้วน่าสนใจมากค่ะ ในฐานะที่ตนเองเพิ่งมาเริ่มงานเกียวกับผู้สูงอายุนั้น

จึงได้รู้ว่างานผู้สูงอายุมีอะไรที่ต้องทำอีกมาก และแต่ละเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญทั้งนั้น

และที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็ได้เข้าใจว่ายังมีอีกหลายคนที่หันมาสนใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะคนที่ทำงานผู้สูงอายุอย่างเดียว

ขอแสดงความนับถือ

29/03/2550

 

คงจะมีเรื่องราวที่ต้องศึกษา และเรียนรู้ต่อกันอีกมากค่ะ ... เราก็มาร่วมมือกันบูรณาการงานกันต่อไปนะคะ คุณสายใจ

... ถ้าสนใจก็มาเปิด blog (เปิดแล้วหรือยังคะ) และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดกันไปเรื่อยๆ สิคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท