ความเป็นมาของอำเภอเกาะช้าง "ตอนจบ"


ยุทธนาวีเกาะช้าง  วันที่  ๑๗  มกราคม  ๒๔๘๒
ในปี  พ.ศ. ๒๔๘๔ ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เกิดสงครามอินโดจีน  ฝรั่งเศสส่งกองทัพรุกรานไทย  ส่งเครื่องบินมาโจมตีจังหวัดนครพนมก่อน และวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔  ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือรบมารุกรานน่านน้ำไทย  ต้องการทำลายสถานีของกองทัพเรือที่เกาะง่าม  เป็นเกาะที่อยู่ใกล้เกาะช้างทางทิศใต้  ฝรั่งเศสมีเรือรบลาดตระเวนลาม็อดปีเกต์  ระวางขับน้ำ  ๙,๓๕๐ ตัน  เป็นเรือธง  พร้อมด้วยเรือปืน ๔ ลำ  เรือสลูป  ๒  ลำ  รวม  ๗ ลำ  แยกออกเป็น  ๓ หมู่  หมู่ ๑  มีเรือลาม็อดปีเกต์  ลำเดียว  รุกเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะหวาย และเกาะใบดั้ง  หมู่ ๒  มีเรือสลูป ๑ ลำ  เรือปืน ๒  ลำ  เข้ามาทางด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ ๓ มีเรือสลูป ๑ ลำ เรือปืน ๒ ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตกระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลม
บางเบ้า  ส่วนราชนาวีไทย  มีเรือรบหลวงธนบุรี (เรือปืน)  มี  น.ท. หลวงพร้อม  วีรพันธ์   เป็น ผบ.เรือ ระวาง
ขับน้ำ ๒,๒๐๐ ตัน   เรือรบหลวงสงขลา (เรือตอร์ปิโด) มี น.ต.ชั้น  สิงหชาญ  เป็น ผบ.เรือ  เรือรบหลวงชลบุรี
มี ร.อ.ประทิน  ไชยปัญญา  เป็น ผบ.เรือ  ระวางขับน้ำลำละ ๔๗๐ ตัน รวม  ๓ ลำ การสู้รบฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินเข้ามาลาดตระเวนและทิ้งระเบิด แต่ถูกเรือรบหลวงสงขลาและเรือรบหลวงชลบุรียิงเครื่องบินลาดตระเวนของฝรั่งเศสตก  ฝรั่งเศสได้โจมตีอย่างหนักขึ้นเป็นผลให้เรือรบหลวงสงขลาและเรือรบหลวงชลบุรีถูกยิงจมลง  ส่วนเรือรบหลวงธนบุรีถูกยิงหลายแห่ง  และถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดไปถูกกาบเรือจนไม่สามารถขับได้  ต้องใช้เรือลากจูงมาเกยตื้นที่ทะเลหน้าแหลมงอบ  และปล่อยให้น้ำเข้าเป็นการจมตัวเอง  ส่วนเรือลาม็อดปิเกต์ของฝรั่งเศสได้ถูกเรือรบหลวงธนบุรียิงถูกสะพานเรือและป้อมปืนท้ายพังถึงไฟลุกท่วมเรือเอียงไป  ต้องให้เรือรบลำอื่นประคองลำถอยไปในน้ำลึกแสดงว่าเสียหายมาก   และไม่โผล่มาลำแดงฤทธิ์อีกเลย เป็นความสามารถของกองทัพเรือไทยที่สามารถขับไล่ผู้รุกรานให้ล่าถอยไปได้  แต่ไทยต้องสูญเสียกองเรือและทหารกล้าไปจำนวนหนึ่ง  ซึ่งถ้าไม่มีหน่วยเรือรบแห่งราชนาวีไทยขัดขวางในวันนั้น จังหวัดตราดอาจจะถูกเรือ     ลาม็อดปิเกต์บอมบ์จนราบเป็นหน้ากลองไปก็ได้  สำหรับซากเรือรบหลวงสงขลาและเรือรบหลวงชลบุรี  ขณะนี้ยังจมอยู่บริเวณยุทธนาวีเกาะช้างครั้งนั้น  ซึ่งทางจังหวัดตราดได้จัดงาน  “ยุทธนาวีเกาะช้าง”  ทุกวันที่  ๑๗  มกราคม   เป็นประจำของทุกปี  เพื่อรำลึกวีรกรรมอันหาญกล้าของทหารเรือเหล่านั้น
 

๓๐  เมษายน  ๒๕๓๗  จัดตั้งกิ่งอำเภอเกาะช้าง
เกาะช้างมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของแหลมงอบตลอดมานับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒  โดยมี  ๑  ตำบล  ๘ หมู่บ้าน  เมื่อวันที่  ๓ สิงหาคม ๒๕๓๓ ทางอำเภอแหลมงอบได้แบ่งแยกออกเป ็น ๒ ตำบล   คือ  ตำบลเกาะช้าง  มี ๔ หมู่บ้าน และ ตำบลเกาะช้างใต้  มี ๔ หมู่บ้าน  เนื่องจากเกาะช้างมีสถานธรรมชาติที่สวยงาม มีน้ำตก  หาดทราย   ทิวเขาเขียวขจี  มีเกาะแก่ง ๒๘ เกาะ มีแนวปะการังและแหล่งตกปลา จึงมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเที่ยวเกาะช้างมากขึ้นทุกปี  เกิดโรงแรม  รีสอร์ท  ขึ้นมากมาย นักลงทุนมาดำเนินกิจการท่องเที่ยว ขนส่ง ประชาชนมีอาชีพ ทำสวนและประมง  มีรายได้จากภาษีประเภทต่าง ๆ มาก  แต่เกาะช้างยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเกาะช้างขึ้น เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๗ รวมเวลาที่จัดตั้งอำเภอเกาะช้าง  ตั้งแต่  ปี พ.ศ. ๒๔๔๐  จนถึงปัจจุบัน  รวมเป็นเวลา  ๑๐๕ ปี

หมายเลขบันทึก: 46921เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท