librarian-C
นางสาว วิรงค์รอง ศรีสวัสดิ์

อยากเห็นบริการใหม่แกะกล่องของห้องสมุดไหมคะ?


"บริการใหม่ๆ" "ในห้องสมุด" "ในใจคุณ"

     ห้องสมุดหลายๆ แห่ง พยายามปรับปรุงงานบริการของตนให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ โดยมากมักจะเป็นงานบริการที่พัฒนามาจากการเรียนรู้พฤติกรรมและปัญหาการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้บริการ งานบริการส่วนใหญ่จึงเป็นบริการพื้นฐานทั่วไปที่ห้องสมุดแต่ละแห่งควรจะมี

     เอ....บรรณารักษ์ชักอยากจะทราบซะแล้วสิว่า ถ้าหากไม่ใช่บริการธรรมดาๆ ทั่วไปแล้ว ผู้ใช้บริการอย่างคุณ อยากจะเห็นบริการใหม่ๆ ทันสมัย ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้แก่ผู้ใช้อย่างไรบ้าง.......อยากทราบจากใจจริงค่ะ

    เสนอความคิดเห็นวันนี้ รับทันที "น้ำใจงามๆ" จากบรรณารักษ์แดนไกลเชียวนะคะ :-)

Librarian-C

    

หมายเลขบันทึก: 60215เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

บริการของห้องสมุดที่แคนาดาที่ชอบนะคะคือ

  • เปิดดึกๆค่ะ 
  • สามารถหาบทความวิชาการ online ได้ (มหาวิทยาลัยยอมจ่ายค่า subscription หลายๆวารสารหน่อย)
  • มี email notification ว่าถึงเวลาคืนหนังสือ
  • มีบริการต่ออายุการยืมได้ online
  • มีอบรมการค้นหาข้อมูล เช่น OVID, EBSCOHOST หรือ แม้กระทั่ง google นี่แหละ
  • ที่สำคัญคือ มีบริการ interlibrary loan ที่ให้บริการฟรีค่ะ
  • บางที่มีห้องเดี่ยวแยกให้จองเพื่อ ประชุมกลุ่ม (ประมาณ 6-8 ที่นั่ง พร้อมกระดานขาว (white board) หรือ Flip chart มี internet connection)
  • บางที่มีห้องเดี่ยวแยกให้เช่า มีประดูปิดเก็บเสียง สำหรับทำเป็นออฟฟิศส่วนตัว ห้องเล็กๆ มีแค่โต๊ะ (แบบที่มีชั้นวางหนังสือด้วย) กับเก้าอี้ 1 ตัวพอ
  • มีเครื่อง scan เอกสารออกมาเป็น pdf file ไม่ต้องเปลืองกระดาษถ่ายเอกสาร (Xrox)
  • ที่เด็ดมากคือ ถ้าเกินเวลาคืนหนังสือ ให้จ่ายเป็นของบริจาคได้ แล้วห้องสมุดจะเอาไปบริจาคต่อให้องค์กรการกุศล  ส่วนมากเค้าให้จ่ายเป็น อาหารแห้ง เอาไปให้คนไม่มีข้าวกินหน่ะค่ะ (Food Bank)

เป็นชุดเลยค่ะ : P หลายๆอย่างทำได้อยาก (มาก) แต่ บางอย่างอาจทำได้เลย เอาใจช่วยนะคะ

ไม่ได้เกี่ยวข้องกับห้องสมุดเลยนะ  แค่อยากลองเสนอข้อคิดเห็นบ้าง  ห้องสมุดแม้จะเลิศขนาดใหน ถ้าไม่บริการด้วยใจ (service mind) ห้องสมุดแห่งนั้นก็ไม่น่าเข้าใช้บริการ  ขอเป็นกำลังใจให้นะ  บริการด้วยใจ เอาวิญญาณเข้าไปด้วยจะเป็นการบริการที่ประทับใจ 

        ขอบคุณคุณมัทนามาก-มากที่สุดเลยนะคะ นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน มีบางข้อที่ห้องสมุด มอ.ปัตตานี ได้มีให้บริการบ้างแล้ว แต่ในรายละเอียดบางอย่างยังไม่เด็ดเท่าที่เสนอแนะมาค่ะ เช่น มีห้องประชุมกลุ่มย่อย แต่ไม่มี white board หรือ Flip chart มี internet connection และ โดยเฉพาะข้อสุดท้าย หากทำได้จะดีมากเลยค่ะ "รับน้ำใจงามๆ จากบรรณารักษ์แดนไกลไปแล้วเต็มๆ"

วิรงค์รอง 

 

ใช่แล้วค่ะ เห็นด้วยกับคุณสุรศักดิ์ และเชื่อแน่ว่าบรรณารักษ์ทุกคนอยากจะเป็นเช่นนั้น ขอบคุณมากนะคะสำหรับกำลังใจ งั้นรับน้ำใจงามๆ ไปด้วยนะคะ

วิรงค์รอง

เข้าไปห้องสมุดทีไรมักจะมีมุมมืดๆให้คนอ่านเป็นคู่ๆ บางทีก็ไม่ได้อ่านหนังสืออย่างเดียว เข้ามาอ่าน เข้ามานอน เห็นแล้วหม่นหมองใจครับ โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย บางครั้งเข้าไปจะอ่านหนังสือแต่ก็หาที่นั่งไม่ได้เซ้งครับ หัวใจคนชอบอ่าน

เชื่อว่าห้องสมุดหลายแห่ง คงประสบปัญหาอย่างที่คุณ bluewide เคยเจอ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้เบื้องต้นโดยการลดมุมอับ จัดบรรยากาศในห้องสมุดให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น มีความสว่างเพียงพอ เพิ่มที่นั่งอ่านรายบุคคล แต่ก็อาจจะไม่ได้ผล100 % สิ่งสำคัญอยู่ที่จิตสำนึกซึ่งสร้างกันยากด้วยสินะคะ เอาเป็นว่าห้องสมุดมีหน้าที่ดูแลความพร้อมในการให้บริการรอบด้าน และที่สำคัญคือต้องคิดหาแนวทางสร้างจิตสำนึกในการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการด้วย ห้องสมุดจึงจะเป็นห้องสมุดในใจของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง

     ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ อย่าลืมรับน้ำใจงามๆไว้ด้วยนะคะ

วิรงค์รอง

12 ธันวาคม 2549
       ในโลกของเทคโนโลยี ทุกวันนี้ ห้องสมุดสมัยใหม่ ที่ จะต้องเป็น คือ เมื่อเข้าไปที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะพบ ทรัพยากรอยู่เพียง 3 รูปแบบเท่านั้น ได้แก่ หนังสือตำราที่อยู่ในรูปแบบกระดาษรวมเล่ม, สารสนเทศที่บันทึกไว้บนแผ่น CD , และ information resources online(InterNETs) ผู้ใช้จะเป็นผู้เลือก หรือ จำเป็นต้องเลือก ว่าจะใช้บริการแบบใด ในโลกของ cyber ทุกวันนี้  หนังสือตำราบนกระดาษ จะถูกเปลี่ยนแบบการบันทึกจัดเก็บไปเรื่อยๆ ในอนาคตอาจจะกลายเป็นตำรากระดาษ ที่เป็น rarebook เท่านั้น และห้องสมุดมหาวิทยาลัย ก็จะเปลี่ยนแปลง เป็นงานสองระบบอยู่ด้วยกัน งานหลักของบรรณารักษ์ คือ จัดทำ OPAC ให้สมบูรณ์มากที่สุด มี Keyword สืบค้นมากมาย บอกแหล่งของทรัพยากรให้สมบูรณ์มากที่สุด ที่จะสามารถเชื่อมไปยังสิ่งที่เกี่ยวข้องได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และงานอีกแบบคือ แปลงจาก paper ให้เป็น paperless อนาคตที่น่าสนใจของบรรณารักษ์ ถ้าเราไปถึงขั้นของ virtual library ทรัพยากรสารสนเทศแทบทุกชนิดจะอยู่ในระบบ online ที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องมาที่ห้องสมุด ก็สามารถเข้าถึงแหล่ง หรือ ต้นฉบับความรู้ได้โดยไม่ต้องมาถึงตัวอาคารห้องสมุด
องหลับตานึกถึงภาพ ของการใช้งาน โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมขึ้นทุกที และอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าโทรศัพท์มือถือ สามารถเรียก/สืบค้น สารานุกรม encyclopedia  /dictionary or e-books ทั้งหลายได้ทันที่ งานบรรณารักษ์ จะต้องทำอะไรดีต่อไป โลกเปลี่ยน สังคมขององค์ความรู้เปลี่ยน วิธีการแสวงหาความรู้เปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน ห้องสมุดก็จะต้องเปลี่ยนกระบวนการสืบค้น/จัดเก็บ/บริการ ซึ่งเป็นภาพของอนาคตที่น่าสนใจยิ่งในทุกวันนี้ ใครสามารถตอบได้ว่า ห้องสมุดนั้นอยู่ที่ไหน ี้ี้

เห็นด้วยกับคุณ sc21 นะคะ ห้องสมุดของเราต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานทั้งการผลิต จัดหา จัดเก็บ และการบริการ ให้สอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ใช้ก็เปลี่ยนใหม่ด้วยสิค่ะ แต่น่าสงสารผู้ที่ด้อยโอกาสนะคะ พวกเขาเหล่านั้นมักจะเป็นผู้(จำเป็น)ต้องตามเทคโนโลยีสารสนเทศเสมอ หากห้องสมุดของเราก้าวเป็น virtual library ได้ และในขณะเดียวกันก็ไม่มองข้ามกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย ห้องสมุดคงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่สำหรับชนทุกระดับอย่างแท้จริง......อืมมมม......ฝันของเราคงจะเป็นจริงในเร็ววันนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องซี

  •  ตามมาอ่านข้อเสนอเรื่องบริการดีๆ ในใจผู้ใช้บริการด้วย เผื่อจะเก็บไปต่อยอดพัฒนางานที่ห้องสมุด ม.น. บ้างค่ะ
สว้สดีค่ะ พี่วันเพ็ญ ด้วยความยินดีอย่างยิ่งค่ะ ซีได้แอบเข้าไปอ่านเรื่องราวประทับใจในบล็อกของพี่วันเพ็ญ แล้วบอกเล่าให้พี่ๆ ที่สำนักฯ ฟังด้วย เวลาที่ยุ่งๆ ก็จะมีคุณสายลมแสงแดด แฟนพันธุ์แท้ของพี่วันเพ็ญ คอยแจ้งให้ทราบว่ามีประสบการณ์จากพี่วันเพ็ญมาใหม่อีกแล้ว คราวหน้าจะไม่แอบแล้วนะคะ จะมาให้เห็นเลย อิๆ คิดถึงนะคะ ซี

20 ธค.49

    อยากเรียนถามว่า ถ้ามีบริการใหม่ๆ เช่นการนำโปรแกรมระบบการสืบค้นรุ่นใหม่ล่าสุดมาใช้บริการการสืบค้นสารสนเทศ ที่หอสมุดแล้ว จะมีบริการการสืบค้นด้วย keywords แบบต่างๆ เพิ่มเติมจาก Subject heading เหมือนกับโปรแกรมของต่างประเทศใช่ไหม? และความสำคัญ ของKeywords ที่ใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสำนักหอสมุดนั้น สำคัญอย่างไร แตกต่างจาก Subject heading  ที่เคยชินกันมาอย่างไร?

ลองเปรียบเทียบคำสืบค้นแบบ Subject Heading กับ keywords ที่ปรากฎในระบบงาน คอมพิวเตอร์ทั่วไป อาทิเช่น keywords แบบต่างๆ KWIC, KWAC, KWOC, KWUC รวม 4 แบบ หอสมุดจะนำไปใช้ในโปรแกรมสืบค้นรุ่นใหม่อย่างไร? ปัจจุบันคำสืบค้นเหล่านี้ แพร่หลายนิยมกันใน งานสืบค้นคำของ InterNETs มากกว่าในระบบงานของหอสมุดเสียอีก.

เรียนเสนอให้เพิ่มห้องสมุดเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลที่พร้อมครับพร้อมบรรณารักษ์ที่เข้าใจบริบทของท้องถิ่น การศึกษา และเด็ก

สวัสดีค่ะคุณ sc21mc พูดถึงรายการสืบค้นแบบออนไลน์ หรือ OPAC นั้น ศักยภาพของระบบจะแตกต่างกันไปตามแต่ละระบบ และในแต่ละระบบก็ มีการพัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ให้ระบบมีความสมบูรณ์มากขึ้น สำหรับ OPAC ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาขณะนี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบที่พัฒนาโดยบริษัทต่างประเทศ การใช้งานระบบ มีความสมบูรณ์ แต่มีค่าใช้จ่ายสูง ทาง สกอ. จึงส่งเสริมให้เราหันมาพัฒนาระบบขึ้นใช้เอง เช่น มอ. มวล. สจล. การพัฒนาระบบระยะแรกก็สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง และมีการปรับปรุงระบบให้ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หากต้องการให้ระบบสมบูรณ์จริงๆนั้น ต้องอาศัยเวลาค่ะ แต่เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายแล้ว นับว่าคุ้มค่าจริงๆ การพัฒนาระบบสืบค้นก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของ OPAC โดยมากทุกระบบจะมีทางเลือก keywords และSubject เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ความสำคัญ ของ Keywords หรือทางเลือกคำสำคัญ ที่ใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศ ในห้องสมุดนั้น สำคัญตรงที่ว่าจะเป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ใช้ระบุคำค้นตามข้อมูลที่ผู้ใช้ทราบ โดยระบบจะค้นหาคำที่ระบุนั้นจากหลายขอบเขต เช่น จากส่วนชื่อเรื่อง สารบัญ ส่วนโน้ต ชื่อชุด เป็นต้น ผลการสืบค้นที่ได้จะปรากฏคำที่ระบุไว้ อีกทั้งช่วยเชื่อมโยงให้ผู้ใช้ทราบคำค้นที่เกี่ยวข้องได้เพิ่มมากขึ้น แต่อาจจะพบรายการที่ไม่เกียวข้องมากขึ้นเช่นกัน ระบบส่วนใหญ่จึงสามารถระบุคำสำคัญได้มากกว่า 1 คำ เพื่อให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้การใช้ทางเลือกคำสำคัญในบางระบบมีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถค้นคำที่มี 2 พยัญชนะได้ ดังนั้นการประเมินระบบการสืบค้นใดก็ตาม ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดนี้ด้วย ส่วนทางเลือก Subject เป็นการค้นตามคำที่ห้องสมุดกำหนดใช้ตามหลักการกำหนดหัวเรื่อง หากคำที่ผู้ใช้สืบค้นไม่ตรงกับคำที่ห้องสมุดกำหนดใช้ ก็จะทำให้ค้นไม่พบเรื่องที่ต้องการ และเข้าใจว่าในห้องสมุดไม่มีเรื่องนั้นๆ ในทางกลับกันหากผู้ใช้ทราบคำค้นที่ห้องสมุดกำหนดใช้ ผลการสืบค้นจะตรงมากกว่าการค้นทางคำสำคัญ และช่วยขจัดปัญหาเรื่องการใช้คำต่างกันแต่สื่อความเดียวกันของผู้เขียนแต่ละคนได้ ทางเลือกทั้ง 2 มีทั้งข้อดีข้อด้อยต่างกันไป การสืบค้นสารสนเทศเพื่อให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงตามความต้องการ ควรใช้ทางเลือกทั้ง 2 ควบคู่กันค่ะ รับรองว่าคุณจะไม่พลาดข้อมูลที่ต้องการแน่นอน ขอบคุณมากๆ สำหรับความคิดเห็นนะคะ วิรงค์รอง
สวัสดีค่ะ คุณออต เป็นความคิดที่ดีมากทีเดียวค่ะ แม้ว่าความเป็นจริงจะเกิดขึ้นได้ยาก ด้วยข้อจำกัดในด้านงบประมาณ หรือ ด้านบุคลากร แต่ก็ทำให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีความพร้อมในหลายๆด้าน ได้แนวคิดหนึ่งที่จะเพิ่มบริการเชิงรุกใหม่ๆ ให้สามารถเข้าถึงเด็กๆในพื้นที่ส่วนตำบลได้ อืมมมมม...น่าสนใจ :-) ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ
26 December 2006
      บริการใหม่ในห้องสมุด  หัวใจหลักใหญ่ของบริการห้องสมุดในปัจจุบัน ที่เป็นหน้าด่านแรกในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆในห้องสมุด คือ การสืบค้น information retrieval from OPAC ถ้างานสืบค้นมีประสิทธิภาพสูง และมีรายการให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงฐานข้อมูล Informations  ต่างๆ ที่ห้องสมุดมีอยู่ สะดวกรวดเร็วและตรงตามความต้องการ เท่านั้นยังไม่พอต้อง ชี้นำไปสู่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง หรือมีสหสัมพันธ์ทางวิชาการให้กว้างขวาง ลึกซึ้งได้อีก
ดังนั้นนอกจาก Subject Heading ซึ่งเป็นคำหลักโดยทั่วไปแล้ว ยังมีคำที่จะต้องเข้ามาช่วยเสริม และสืบค้นให้มากยิ่งขึ้น คือ keywords ต่างๆ ที่บรรณารักษ์ จะต้องช่วยสร้างเสริมต่อเติมให้กับผู้ใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น
อีก ในการให้คำค้นเหล่านี้ นอกจาก subject heading ที่มีมากกว่า 1 แล้ว ยังต้องให้ keywords เพิ่มเข้าไปให้อีกด้านหนึ่งด้วย และเราจะพบว่า ถ้ามีลักาณะเช่นนี้ใน OPAC จะทำให้ เอกสารความรู้เรื่องนั้นมีคุณค่ายิ่งขึ้น ที่หลายๆศาสตร์ สามารถเข้าถึงได้หลากหลายมากขึ้น keywords เหล่านี้ถุกนำมาใช้อธิบายในการสืบค้นไว้ ตั้งแต่ 1978 โดย ศาสตราจารย์  Gerard Salton แห่ง MIT  นอกจากนี้ ยังมี keywords ที่กำลังพัฒนาเพื่อช่วยในการสืบค้น คือ keywords จากเสียงพูดของมนุษย์ และ จากลายมือเขียน สิ่งเหล่านี้ คือ พัฒนาการของการสืบค้นของระบบห้องสมุดในปัจจุบัน
KWIC ย่อมาจาก  keyword in context
KWOC ย่อมาจาก keyword out of context
KWAC ย่อมาจาก keyword analysis from context
             or keyword alongside context
KWUC ย่อมาจาก keyword utilities by context
      ทั้งหมดนี้ บรรณารักษ์ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากร จะต้องทำงานหนักขึ้น นอกเหนือจาก คู่มือของ subject heading ที่มีให้ลอกลงรายการเพียงอย่างเดียว ตามโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ 
จะมีช่องให้ลงรายการ keyword ให้ป้อนข้อมูลเ้ข้าด้วย ในหลายโปรแกรม ในต่างประเทศ ปัจจุบันจะไม่มีการสืบค้นจาก title or subject or author แต่ให้ผู้ใช้บริการพิมพ์คำค้นจาก ช่องทาง keyword ได้เอง สามารถสืบค้นได้ทันที นี่คือ บริการใหม่ๆของการสืบค้นในห้องสมุดที่จะต้องทันสมัยให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ประการหนึ่งที่จะช่วยในการสืบค้น และช่วยในการตอบคำถามในการสืบค้น คือ การป้อนรายการ รายละเอียดของเอกสารความรู้เพิ่มเติมเข้าไปอีก คือ ช่งรายการ summary or abstract และรายการสารบัญ content ตลอดจนรายการ Note แสดงคำอธิบายต่างๆอย่างละเอียด บางโปรแกรม จะมีช่องทางเชื่อมต่อไปยัง  e-accessต่างๆ ของเอกสารฉบับนั้นได้ด้วย คล้ายใน oclc ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร ลองเข้าสืบค้นที่ ตัวอย่างของห้องสมุดในต่างประเทศ ที่ใช้ Innopac, horizon, etc. จะมีรายการแสดงให้ปรากฎตัวอย่างเหล่านี้ การสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ เป็นหน้าเป็นตาสำคัญของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถ้ายังไม่แน่ใจในคำอธิบายที่อาจจะถูกๆผิดๆ ไปบ้างก็ลองเข้าสืบค้นดูจากต้นแบบที่ website 2 ชื่อนี้
1. http://www.itcompany.com/inforetriever/
2. http://www.libraryspot.com
   เหล่านี้น่าจะเป็นบริการใหม่ ทันสมัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมากกว่า

ขอบคุณมากๆนะคะ คุณ sc21mc สำหรับข้อมูลและข้อคิดเห็นที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นประโยชน์มากทีเดียวค่ะ และยังมีของแถมช่วยชี้แหล่งสืบค้นเพิ่มเติมให้อีกด้วย ไม่เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมไม่ได้ซะแล้ว

  • librarian-C

บริการใหม่ๆ ก็คงต้องรองรับวิถีชีวิตที่แปรเปลี่ยนไปของผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้หนะค่ะ  ซึ่งโลกปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งต้องอาศัยเวลาและงบประมาณอย่างมาก แต่ที่หวั่นใจคือบรรณารักษ์และบุคลากรเป็นคนในยุคที่กำลังจะถูกก้าวผ่าน แต่วิถีชีวิตของคนปัจจุบันจะเป็นคลื่นยุคใหม่ ซึ่งมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแตกต่าง ดังนั้นการพัฒนาบริการบนเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน

ก็ใคร่ขอแสดงความฝันต่อบริการที่สามารถพัฒนาบนศักยภาพต้นทุนบุคลากร ณ ตอนนี้ น่าจะสร้างบริการใหม่ๆ ได้บ้าง เช่น

-การสร้างระบบรับฝาก Note book  หากผู้ใช้นำมาใช้ในห้องสมุดและต้องการไปเข้าห้องน้ำ โดยไม่ต้องเสียเวลาปิดเครื่องและไม่ต้องกลัว Note book หาย

-สร้างเครือข่ายในการไปแนะแนวศักยภาพห้องสมุดต่อกความสำเร็จในการศึกษา กับโรงเรียนมััธยมศึกษา เป็นการบริการชุมชนและขายภาพลักษณ์ของห้องสมุด ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่อาจเชิญชวนให้นักศึกษามาสมัครเป็นนักศึกษาของสถาบัน (มหาวิทยาลัยน่าจะชอบในภาวะที่ต้องแย่งจำนวนนักศึกษากัน)

-เปิด blog ในห้องสมุด ให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบน blog  เป็นการเผยพแร่ความรู้แก่ชุมชน สร้างความเข้มแข็งในกับหน่วยงาน และผู้บริหารสามารถประเมินแนวความคิดของบุคลากรได้ด้วย

แฮะๆ นึกได้แค่เนี๊ยะ เข้าทางบ้างหรือเปล่า

-

  • ดิฉันจึงเห็นด้วยกับคุณสิริพร  ว่าห้องสมุดไม่ควรมองข้าม การดึงมวลชนจากชุมชนเข้าเป็นพวกค่ะ เมื่อไหร่ก็ตามที่ชุมชนเห็นว่าเราพร้อมบริการเขา ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง เขาจะเข้ามาช่วยเรา (อันนี้ดิฉันได้มาจากการไปเป็นวิทยากร KM workshop มีโรงเรียนจุฬาภรณ์ พิษณุโลก มีกลุ่มผู้ปกครองที่เข้มแข็ง ทำให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปราบรื่นมากขึ้น น่าจะเอามาปรับใช้กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยของเราได้)
  • การดึงชุมชนเข้ามาเป็นแนวรวมเห็นทาง ม.ขอนแก่น ม.สารคามทำอยู่ ของ ม.น. ทำโดย ไม่คิดค่าบริการผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลภายนอก และ มีกิจกรรมไปจัดห้องสมุดให้ชุมชนและโรงเรียนห่างไกล (เผื่อจะมีคนสนใจมาเรียน ม.น. เพิ่ม) อันนี้ผลพลอยได้ค่ะ
  • เป็นบรรณารักษ์ หรืออาชีพไหนๆ ยังไงก็ต้องปรับตัวและตามให้ทันเทคโนโลยี ขณะที่มองไปข้างหน้าก็น่าจะมองและให้ความสำคัญคนที่ไม่มีโอกาสในสังคมด้วยค่ะ
  • มีคนบอกดิฉันว่า คนไทยเราชอบ  ทำอะไรให้ดูดีแต่ไม่ดี
    เช่น มีเทคโนโลยีทันสมัยแต่ไม่มีอะไรข้างใน มีคอมพิวเตอร์ระบบ touch screen ให้บริการ แต่ผู้ใช้ไม่กล้าแตะต้อง เป็นต้น
  • ส่วนเรื่อง key word ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติในปัจจุบันก็มีให้ผู้ใช้เลือกค้นข้อมูลแบบตามใจได้อยู่แล้ว เพียงแต่เขาจะเสียเวลา เคียะ ขยะที่ตามมาอีกกองใหญ่ๆ อาจทำให้เสียเวลามากขึ้น ในฐานะบรรณารักษ์บริการที่มีหน้าที่แนะนำการสืบค้นให้ผู้ใช้บริการ ดิฉันยังเห็นด้วยกับบรรณารักษ์รุ่นเก่าๆ ที่ใช้ระบบคำค้น การลดจำนวนขยะตั้งแต่ต้นด้วยการใช้ + - and or not * ? เครื่องหมายเหล่านี้ถ้าเสียเวลาทำความเข้าใจก่อนดิฉันว่า  เสียเวลาน้อยกว่าการมานั่งคุ้ยข้อมูลที่ต้องการจากขยะกองโตที่ได้จากการสืบค้นด้วย Keyword เยอะเลยค่ะ

ขอบคุณคุณtuk-a-toon และพี่วันเพ็ญมากๆนะคะ ที่ได้ให้ข้อคิดที่มีประโยชน์ และเห็นด้วยทุกประการค่ะ รับรองว่างานนี้มีเรื่องเล่าให้พี่ๆบรรณารักษ์ ที่สำนักฯ ได้ฟังกันเพียบเลย:-)) ดีใจและภูมิใจจังที่มีเพื่อนร่วมวิชาชีพร่วมบอกเล่าประสบการณ์ผ่านบันทึกนี้ แล้วเจอกันใหม่นะคะ :-)....C
27 Dec.06
   ขออธิบายเพิ่มอีกทีเรื่อง keywordsใน OPAC
  ใคร? เป็นผู้สร้าง kw กำหนด-บันทึกเก็บไว้ ใน OPAC
   kw ? นั้นได้มาจากไหน ? ก็จาก ตำรา/หนังสือ/วัสดุความรู้ ที่กำลังลงรายการ/ cat.อยู่ในขณะนั้น แล้วขยะนั้นจะมาจากไหน ??? ?  ใคร? จะเป็นคนทำไว้ ก็คนที่ cat.และลงรายการ
   เมื่อทำรายการใน OPAC เพื่อสืบค้น โปรแกรมห้องสมุด ที่ออกแบบไว้จะ ถูกออกแบบไว้เพื่อควบคุม KW ตามที่มีอยู่ในระบบเท่านั้น ถ้าบรรณารักษ์ ไม่ป้อนขยะเข้าไป ก็ไม่น่าจะมีขยะเกิดขึ้นมากมาย
การสืบค้นแบบ Boolean นั้น เป็นแบบโบราณที่ใช้กันในระบบโปรแกรม CDS/ISIS
ใช้กันต่อเนื่องยาวนานมากแล้ว ซึ่งส่วนมากทำงานจะทำงานภายใต้เงื่อนไขของ Subj. KW ในงานของบรรณารักษ์ เป็นอีกกลวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มเติมเข้ามาให้กับผู้ใช้บริการ ที่ทำงานกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ XP & Longhorn, Java, OO language ในปัจจุบัน
   ถ้านำเอา KW ที่ปรากฏใน  search engine ทั่วไปมาใช้ร่วมกับระบบงานบน OPAC รับประกันได้ว่าขยะนับพันนับหมื่นปรากฎเหมือนที่ว่าแน่นอน KW  ในงานของ บรรณารักษ์ฝ่ายจัดหมู่ทำรายการ จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ OPAC  ดังนั้น ในขณะที่ดำเนินการ retrieval ไม่น่าจะมีขยะปรากฎขึ้นบนหน้าจอภาพ ตรงนี้แหละ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกแบบโปรแกรมห้องสมุด กับ บรรณารักษ์บริการตอบคำถาม และ บรรณารักษ์ฝ่ายcatalogue จะต้องพิจารณาให้สามารถควบคุม และเลือกใช้ได้เหมือน subj.
   ข้อที่น่าสนใจ ในทุกวันนี้ KW ปรากฎใช้กันแพร่หลายในงานสืบค้นจาก Networks ถ้าห้องสมุด และบรรณารักษ์ สามารถทำให้ KW  ในกระบวนการสืบค้นความรู้จากห้องสมุดให้ประจักษ์ชัดเจน แเละมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือนิยม จะนำไปสู่ KW  ที่มี standardization ในอนาคตต่อไป
บทบาทของห้องสมุด ก็จะเป็นงานระดับสากลเหมือนกับปรากฏการณ์ ที่เป็นมาแล้วในปัจจุบัน ที่ Subj. เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอยู่แล้ว.
ในโลกของ cyber นั้นมีความหลากหลายซับซ้อน มากมายเหมือนกับความหมายของคำว่า CHAOS หมายถึงความไร้ระเบียบ แต่ในแต่ละอณู ของความไร้ระเบียบนั้น กลับมีกระบวนการขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนอยู่ในตัวของมันเองเสมอ
เราจะใช้ประโยชน์จากความเป็น CHAOS เหล่านี้ได้อย่างไร ?

โอ้โห  ใครว่า งานบรรณารักษ์ เป็นงานง่าย ๆ แค่คนเฝ้าหนังสือ ที่ไหนได้  พี่ว่า ไม่ง่ายเลยนะคะ ที่เราจะมีบรรณารักษ์ ที่รอบรู้ ใส่ใจผู้ใช้บริการ ที่สำคัญ สามารถดึงความรู้จากผู้เยี่ยมเยียน มาได้แบบยอดเยี่ยมเลยจริง ๆ ค่ะ

ห้องสมุด ม.อ. เรา รับรองว่า เป็นหนึ่งในการให้บริการได้แน่ ๆ เลยค่ะ

  • สมัยก่อนภาพของบรรณรักษ์ ผู้หญิงเกล้าผมทรงสูง ใส่แว่น สวมเสื่อขาว กระโปรงสีน้ำเงิน ท่าทางเย็นๆ เงียบๆ ลึกลับ
  • ต่างจากบรรณารักษ์สมัยนี้ที่ต้องพร้อมจะรวบรวมข้อมูล ตำราความรู้ ฯลฯ มีระบบใหม่ๆ cyber สำหรับค้นคว้าข้อมูล....ตลอกเวลา
  • สู้ สู้ ค่ะ
ขอบคุณพี่รัตติยา และ อ.ภาวดี สำหรับกำลังใจที่มอบให้นะคะ งานนี้สู้ๆ สู้กันเป็นๆ เลย ^--^

บทความอีกหนึ่ง ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบริการจากวารสารวิทยาการการจัดการและสารสนเทศศาสตร์  ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 2549 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร

บทความกล่าวถึง แนวทาง บริการที่ดีในยุคปฏิรูปราชการ โดยเน้นถึงการให้บริการด้วยใจรัก  ยิ้มแย้มแจ่มใส มีทัศนะคติที่ดีต่องานบริการ กล่าวคือ ควรตระหนักถึงการบริการห้องสมุดหรือแหล่งการเรียนรู้ มีหัวใจอยู่ที่งานบริการ ความคุ้มค่าในการการลงทุน คือคุณค่าของงานให้บริการ ที่คุ้มค่าเหนือกว่าการคุ้มค่าทางรายได้   ไม่ควรคิดว่าเราไม่มีคู่แข่ง แต่ต้องตระหนักว่า แหล่งการเรียนรู้ที่
ด้อยคุณภาพ จะกลายเป็นเพียงคลังสินค้าที่ไร้ประโยชน์  ควรมองลูกค้าเป็นผู้มาเยือนคนสำคัญและการบริการคือหน้าที่ของผู้ให้บริการ ไม่ควรคิดว่าการบริการอย่างสุภาพ อ่อนน้อม เต็มใจ บริการอย่างง่ายๆ ไม่มากเรื่อง ลดขั้นตอน จะเป็นการลดคุณค่าแห่งตนลง แต่กลับตรงข้าม คือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานที่สร้างสรรค์ อันเป็นสิ่งพึงประสงค์ของหน่วยงานราชการยุคปฏิรูป 

นอกจากนั้น ยังต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของแต่ละคน แม้แต่นักศึกษาเองก็อาจจะไม่รู้วิธีค้น ไม่เข้าใจการจัดชั้น รวมถึงขั้นตอนการใช้บริการ เนื่องจากบางแห่งไม่มีการเรียนวิชาทางด้านนี้

มาร่วมแสดงความคิดเห็น เพราะอยากได้ น้ำใจงามๆ ครับ

ที่ผมต้องการจากห้องสมุด (ดูแล้วไม่ค่อยใหม่) คือการค้นหาข้อมูลที่ง่ายดาย เช่น จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออย่างอื่น แล้วสามารถเดินตรงไปยังชั้นนั้นๆ อย่างง่ายดาย อาจมีแผนผังของชั้นหนังสือบอกไว้ด้วย หรือห้องสมุดมีหลายชั้น ก็บอกชั้นด้วย หากหาหนังสือได้ภายใน 5 นาที การบอกทางนั้นสอบผ่านครับ

ไม่แน่ใจว่าห้องสมุดคุณทำได้อย่างนี้แล้วหรือเปล่าครับ

 

สวัสดีค่ะ ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

  • เอ....แล้วซีจะรู้จักผู้ไม่ประสงค์จะออกนามได้มั๊ยเนี่ย ^๐^ ไม่ยอมนะ รู้จักซีฝ่ายเดียว จะตอบดีมั๊ยน้า.........
  • ล้อเล่นค่ะ ต้องตอบอยู่แล้ว แต่อยากรู้จักผู้ไม่ประสงค์จะออกนามอย่างเป็นทางการในบล็อกจัง คงมีสักวันใช่มั๊ยค่ะ และเร็วๆนี้ด้วยใช่มั๊ย
  • ที่ฝ่ายหอสมุดฯ มอ. ปัตตานี มีบริการอย่างที่เสนอแนะมาค่ะ แต่เนื่องจากทักษะการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้แตกต่างกัน การแก้ปัญหาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่สามารถขจัดปัญหาได้ทั้งหมด
  • ฝ่ายหอสมุดจึงให้ความสำคัญทั้งการปรับปรุงป้ายบอกทาง การปรับปรุงระบบการจัดชั้นให้ค้นหาได้ง่าย ทั้งยังเพิ่มบริการใหม่แกะกล่อง คือ บริการ PR Services (proactive reference services) บริการตอบคำถามเชิงรุก เพื่อนช่วยค้น ช่วยหาหนังสือ ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ไหน หากเจอทีมงานเจ็คเก็ตเหลือง สามารถสอบถามหรือขอความช่วยเหลือได้ เราจึงคาดหวังว่าปัญหาของผู้ใช้ก็จะลดน้อยลงค่ะ
  • แล้วเจอกันใหม่นะคะ
  • ซี

2 feb.07

สวัสดีครับ

     อยากจะฝากคำถาม และข้อเสนอแนะ เป็นการบ้านให้กับ บรรณารักษ์ทั้งหลาย ทีกำลังทำหน้าที่บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า คือ ท่านเคยเข้าไปสืบค้น ช่วยหาคำตอบจาก wikipedia หรือเปล่า 

สิ่งเหล่านี้เป็นเอกสารอ้างอิงได้ หรือไม่, ถ้าผู้ใช้บริการต้องการนำไปอ้างอิงในงานรายงานวิชาการ จะทำได้อย่างไรดี 

และ wikipedia คืออะไรแน่ มันจะแตกต่างกับ Americana,Britannica,etc. อย่างไรบ้าง? wikipedia ที่เริ่มปรากฎในทุกวันนี้ ส่งผลกระทบต่อระบบการให้บริการ

ตอบคำถามช่วยการค้นคว้าอย่างไรบ้าง ????....ตื่นเต้นไหมเอ่ย??

   สอบถามเรื่อง website 2 webs ที่ฝากให้ลองเข้าไปสืบค้นดู ได้ผลประการใดบ้าง น่าสนใจไหม ถ้าดีช่วยเผยแพร่ต่อให้ด้วยนะ บางที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์ท่านอื่นๆได้บ้าง

ขอบคุณมากๆไว้ ณที่นี้ 

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ oho นะคะ เยี่ยมยอดมาก เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

  • "การบริการอย่างสุภาพ อ่อนน้อม เต็มใจ บริการอย่างง่ายๆ ไม่มากเรื่อง ลดขั้นตอน ไม่ได้เป็นการลดคุณค่าแห่งตนลง แต่กลับตรงข้าม คือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานที่สร้างสรรค์"
  • Thank Youรับน้ำใจงามๆ ไว้ด้วยนะคะ
  • วิรงค์รอง

สวัสดี คุณ sc21mc

  • ได้ฝากคำถาม และข้อเสนอแนะ ถึงบรรณารักษ์กลุ่มงานบริการฯ แล้ว คงจะมีข้อคิดเห็นให้ร่วมแลกเปลี่ยนกันเยอะเลยค่ะ
  • บรรณารักษ์ส่วนใหญ่รู้จัก และคุ้นเคยกับ wikipedia ซึ่งเป็นสารานุกรมเสรี ที่มีให้เลือกหลากหลายภาษาบนอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งเข้าถึงความรู้ไม่ต่างกับแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ทั้งยังเข้าถึงได้สะดวก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
  • และไม่ว่าจะเป็นแหล่งความรู้ใด จะมีความน่าเชื่อถือเพียงใด ผู้ค้นคว้าคือผู้ที่จะตอบคำถามได้ดีว่า ข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด และมีคุณค่าเพียงพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงหรือไม่ ทั้งนี้โดยการตัดสินด้วยความรู้ที่ตกผลึก จากการค้นคว้าข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง นั่นคือสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ     Hummingbird
บรรณารักษ์ห้องสมุดทุกวันนี้  จ้างแต่คนที่ไม่จบสาขาบรรณารักษ์มาโดยตรง  ที่เข้าทำงานในหน่วยงานต่างๆได้ก็เพราะเส้นสายทั้งนั้น  จึงทำให้บรรณารักษ์ในสายตาผู้ใช้เป็นผีร้ายที่หน้าไม่รับแขก  ดังนั้นคนที่จะมาทำงานในห้องสมุดได้ต้องจบจากบรรณารักษ์เท่านั้น  เพราะบรรณารักษ์ได้เรียน วิชางานบริการผู้ใช้มา  

สวัสดีค่ะ คุณประกายดาว

  • ดูเหมือนความคิดเห็นหลักของคุณประกายดาว คือ "บรรณารักษ์มักจะขาดจิตบริการ" เพราะจบไม่ตรงสาขา
  • ในมุมมองของ librarian-C บุคลากรทางบรรณารักษ์ไม่จำเป็นต้องจบทางบรรณารักษ์เสมอไป บุคคลที่จบสาขาอื่นสามารถทำงานในหน้าที่บรรณารักษ์ได้ดีไม่ต่างกันค่ะ เช่น สาขาการจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีการศึกษา หรือการสื่อสาร เป็นต้น เพราะวิชาชีพบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้บริการสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นผู้ผลิต รวบรวม และให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ด้วย จึงจะทำหน้าที่บรรณารักษ์ได้อย่างสมบูรณ์
  • ในทำนองกลับกัน ผู้ที่ศึกษาทางสาขาบรรณารักษศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องจบมาเพื่อทำงานบรรณารักษ์เพียงอย่างเดียว
  • ในต่างประเทศ หากบรรณารักษ์มีปริญญาในสาขาวิชาอื่นร่วมด้วย จะช่วยเพิ่มเติมขอบเขตความรู้ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
  • ประเด็นสำคัญสุดท้าย "บรรณารักษ์" กับ "จิตบริการ" เป็นของคู่กัน ซึ่งต้องสั่งสม ปลูกฝังจิตบริการ การคิดแง่บวก ตั้งแต่ช่วงการศึกษา แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอค่ะ เราควรต่อเติมเสริมสร้างจิตบริการในช่วงของการทำงานด้วย โดยหน่วยงานสามารถให้การสนับสนุน ส่งเสริมเพิ่มพูนจิตบริการให้บุคลากรได้ด้วย อาจโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา เป็นต้น
  • หากบรรณารักษ์มีจิตบริการที่เกิดขึ้นจากแรงผลักภายในตนเอง มิใช่ผู้อื่นยื่นให้ บรรณารักษ์ก็จะสามารถนั่งอยู่ในใจของผู้ใช้บริการได้ตลอดไป
  • ขอบคุณที่ร่วมเสนอความคิดเห็นดีๆ นะคะ

 

1 พค2550

สวัสดีวันกรรมกร จงเจริญ

      ไม่ได้พบกันนาน คิดถึงเลยเขียนมาถามความเห็นจาก

web site 2 ชื่อ ที่เคยให้ไว้ ลองค้นหาอ่านแล้วยัง คุณคิด

อย่างไร กับ 2 web นั้น น่าสนใจไหมเอ่ย หรือ ยังไม่มีเวลาอ่าน

 ถ้าคิดเห็นอย่างไร ลองแนะนำให้ บรรณารักษ์ ทั้งหลายเข้าไป 

ทดลองศึกษาดู แล้วเราจะทำแบบนั้น ในบ้านเราได้ไหม?

    อีกข้อเสนอหนึ่ง ถ้าคุณๆบรรณารักษ์ ที่น่ารักทั้งหลาย จะลอง

ช่วยกัน ส่งเสริมการอ่าน ด้วยการจัดให้มีการประกาศ ชื่อวรรณกรรม

ยอดเยี่ยมในแต่ละสาขาวิชา ประจำปี โดยบรรณารักษ์ห้องสมุด

มหาวิทยาลัย เป็นผู้ร่วมกันประกาศตัดสิน ซึ่งน่าจะมีความน่าเชื่อถือ

และเป็นพลังอำนาจ ที่น่าสนใจยิ่งอย่างหนึ่ง ในการส่งเสริม

การอ่านของประเทศ

     และที่ต้องแยกเป็นสาขาวิชาย่อยๆมากด้วย เพราะในหลายๆวิชา

ได้ถูกหลงลืมความสำคัญไปจากสังคมการอ่าน และสังคมการเรียนรู้

เช่น วรรณกรรมยอดเยี่ยมสาขาฟิสิกส์, วรรณกรรมยอดเยี่ยมสาขาชีววิทยา,

วรรณกรรมยอดเยี่ยมสาขาเคมี ฯลฯ ประเทศเรากำลังตกอยู่ในสภาพที่

อนาคตการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เริ่มมีปัญหาที่มีคนเรียนน้อยลงทุกๆที่

เราจะกลายเป็นสังคมของ การไร้เหตุผล ไร้การพิสูจน์ ไร้การแสวงหาความจริง

มักจะสรุปเอาว่าเป็นแบบนั้น ตามๆกันไป และไม่ค่อยจะยอมรับในกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ นี่คือปัญหาในกระบวนการศึกษาที่กำลังมาถึง

ในปี 2555 คุณว่าจริงไหม? 

สวสดีค่ะพี่ซี แอนเห็นพี่ซีบ่อยครั้งเวลามีประชุมของห้องสมุดนะค่ะ พี่ซีน่ารักมากๆค่ะ ไม่หยิ่งด้วย ยังยิ้มกับแอน    ไม่แน่ใจว่าจำแอนได้ไหมค่ะ แอนทำงานบริการอยู่เช่นกัน เห็นบล็อกพี่ซีรู้สึกชอบมาก ๆเพราะมีประโยชน์สำหรับบรรณารักษ์งานบริการ ค่ะสำหรับแอนคิดว่างานบริการใหม่ๆ ที่น่าจะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัย ส่วนของนิสิตนะค่ะ เราน่าจะมีการดึงหรือจัดกลุ่มนิสิตให้มีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ เช่น จัดโครงการบรรณารักษ์ร่วมกับนิสิตเล่านิทาน สอนหนังสือทำมือ เป็นต้น นอกสถานที่ เพื่อเป็นเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการค่ะ  ได้ประโยชน์2ทาง คือ ได้ทั้งทัศนคติเชิงบวก และบริการชุมชนค่ะ ส่วนกลุ่มของอาจารย์แอนว่ที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้วค่ะ เช่น ที่ส่งหนังสือให้อาจารย์แบบรวดเร็วทันใจ แอนก็กำลังจะขอยืมมาใช้ที่นี่บ้างพี่ซีคงอนุญาตนะค่ะ มีอีกบริการหนึ่งที่ห้องสมุดทำอยู่ คือ การให้บริการออกบู๊ตหนังสือตามตึกคณะ โดยบรรณารักษ์ไปตั้งโต๊ะพร้อมแคตตาล็อกหนังสือ เพื่อให้นิสิตและอาจารย์เลือก โดยกำหนดระยะเวลา บริการนี้น่าสนใจมากๆนะค่ะ ตรงทั้งความต้องการ และสร้างความพึงพอใจด้วยค่ะ

วันนี้แค่นี้ก่อนนะค่ะ

ขอบคุณพี่ซีสำหรับบล็อกดีๆ ที่ทำให้บรรณารักษ์ฝ่ายบริการได้พัฒนางานไปอีกระดับนะค่ะ

อยากขอความช่วยเหลือหน่อยคะ คือว่าที่ห้องสมุดที่ทำงานอยู่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าไหร่ อยากทราบว่ามีโครงการอะไรดีๆ ที่จะเรียกความสนใจของผู้ใช้บริการได้บ้าง ช่วยหน่อยนะคะ ขอบคุณคะ

สวัสดีค่ะ น้องแอน สาวน้อยจาก ม.ทักษิณ

  • ดีใจจัง เจอคนหัวใจตรงกัน ก็...ข้อคิดเห็นของน้องแอนเรื่องการดึงกลุ่มนิสิตนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดโครงการดีๆ นอกสถานที่ร่วมกับบรรณารักษ์ อืม...พี่เห็นด้วยนะคะ (อย่างยิ่ง)
  • เด็กสมัยนี้ไอเดียเค้าเก๋ไก๋ ไปไกล และรู้ใจคนวัยเดียวกันดีซะด้วย บางครั้งศักยภาพของนิสิตและนักศึกษาเอง อาจเป็นผู้ดำเนินโครงการอย่างเต็มตัวได้ดีด้วย โดยมีบรรณารักษ์เป็นพี่เลี้ยง เป็นคุณอำนวยให้ น่าจะดีทีเดียว นักศึกษาก็จะมีผลงานเป็นประสบการณ์ที่น่าภาคภูมิใจด้วย
  • การให้บริการออกบู๊ตหนังสือตามตึกคณะ ที่น้องแอนทำอยู่ก็เข้าถึงผู้ใช้ได้ดีมาก ที่มอ. ปัตตานี ก็มีการออกบู๊ตหนังสือเพื่อให้นศ. อาจารย์ และบุคลากร ได้เลือกหนังสือจากตัวเล่มจริงกันเลย แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างเรายังทำได้ไม่บ่อยนัก และยังไม่กระจายไปถึงคณะ
  • กระทั่งทางสำนักพิมพ์ให้เครดิตห้องสมุดเป็นผู้จำหน่ายหนังสือเอง เราก็ยอม แม้ว่าเราจะต้องเป็นผู้ขาย และพัฒนาโปรแกรมขายหนังสือเอง ก็ยอม เอ๊า! เพื่อผู้ใช้เราสู้เต็มที่ 
  • นอกจากนี้ ห้องสมุดก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดตลอดเวลาที่ห้องสมุดเปิดทำการ โดยเราจะรับพิจารณาทุกรายการค่ะ  
  • ขอบคุณน้องแอนมากๆ แล้วแวะมาบอกเล่าบริการดีๆ บ่อยๆ นะคะ
  • พี่ซี^-^

สวัสดีค่ะ คุณ Lek  

  • เอ....ถ้าจะให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อคุณ Lek  จริงๆ เห็นทีต้องเดาประเภทห้องสมุดที่คุณเล็กทำงานอยู่ ว่าน่าจะเป็นห้องสมุดประชาชนเป็นแน่
  • สำหรับดิฉันเอง โครงการดีๆ ที่จะเรียกความสนใจของผู้ใช้บริการนั้น เรามีตัวอย่างให้เห็นกันเยอะค่ะไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าห้องสมุดของคุณเล็ก คือห้องสมุดประชาชนจริงๆ ปัญหาที่น่าคิดก็คือ เราจะนำโครงการตัวอย่างดีๆ ที่เรารับรู้มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของห้องสมุดของเรา ซึ่งมีงบน้อย บุคลากรนิด(หนึ่ง)  อย่างไรนี่สิค่ะ ต้องคิดกันแล้ว  อืม....ขอคิดแป๊บ
  • เอาเป็นว่าระหว่างคิดไป ขอแกะความในใจมาบอกก่อนดีกว่า ตัวดิฉันเองมีความคิดว่า  ถ้าดิฉันจะสนใจอะไรสักอย่างแล้ว มักจะประเมินจากลักษณะภายนอกก่อนเป็นลำดับแรก (มันเป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงจริ๊ง) แล้วค่อยล้วงลึกถึงคุณค่าภายใน ไม่ต่างกับบริการของห้องสมุด หากจะให้ผู้ใช้สนใจ ต้องยกออกมาตั้งให้เห็นกันจะๆ ไปเลยค่ะ
  • ขอยกตัวอย่างง่ายๆ  ห้องสมุดประชาชนปัตตานี เค้ามีสวนสมุนไพร  ด้านข้างห้องสมุด เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักหน้าตาสมุนไพรกัน เอ....หากเพิ่มเติมสรรพคุณของสมุนไพร โดยการคัดเลือกหนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรมาจัดแสดงไว้ให้สังเกต และหยิบอ่านได้ง่ายก็จะยิ่งดี ....แต่ที่ว่ามานั้น บางครั้งยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวเท่าที่ควร ก็ชวนให้คิดต่อไปว่า......  ห้องสมุดที่นั้น มีข้อได้เปรียบทางลักษณะทางกายภาพ  ที่มีบริเวณห้องสมุดและสวนริมถนน มีผู้คนสัญจรไปมา  Rubber Duck เอ...ถ้ามีบู๊ตเล็กๆ แจกจ่ายน้ำสมุนไพรจอกเล็กๆ   เหมือนในห้างเชิญชิมน้ำต่างๆ ก็น่าจะดีนะคะ ระหว่างที่มีการชิมน้ำสมุนไพร ก็เชื้อเชิญไปเดินชมสวนสมุนไพร หากอยากรู้ว่าสมุนไพรแต่ละชนิดมีดีอย่างไร ก็แนะให้เข้าไปอ่านหนังสือในมุมสมุนไพร อันนี้เป็นโครงการที่เห็นกันจะๆ  แบบครบวงจร และใช้งบประมาณไม่มากนัก และน่าจะทำได้หากมีบุคลกรน้อยนิด และไม่ต้องคิดเตรียมการอะไรมากเลย  (พูดมากชักเริ่มหิวน้ำสมุนไพรซะแล้ว)
  • สำหรับตัวอย่างโครงการดีๆ ที่เคยทราบมาบ้าง มีเยอะมากๆ ค่ะ ขอยกตัวอย่างบางโครงการนะคะ เช่น
  • โครงการหนังสือวิ่งได้  (การจัดหนังสือใส่กล่องให้บริการนอกห้องสมุด)     
  • กิจกรรมพี่เล่า น้องวาด (เก็บเรื่องราวจากการอ่านสู่ภาพวาด)     
  • กิจกรรมเสริมกำลังใจผู้สูงอายุ (อ่านหนังสือให้คนชราฟัง)
  • กิจกรรมสะท้อนผลจากการอ่าน (ตอบปัญหา ประกวดคำคม ชิงรางวัลเล็กๆ เช่น ยืมหนังสือเพิ่มมากขึ้น หรือนานขึ้น เป็นต้น)
  • กิจกรรมเปิดท้ายให้ความรู้ยามเย็น  (บอกเล่าเรื่องราวดีๆ จากหนังสือ ในบรรยากาศชิวๆ)      
  • โครงการสอนวิชาต่างๆ ณ ห้องสมุด (เช่น การทำผ้าบาติก การทำน้ำสมุนไพร หรือ ผักผลไม้)     
  •  โครงการแบ่งสรร ปันการอ่าน (การแลกเปลี่ยนหนังสือของผู้ใช้หมุนเวียนมาให้บริการในห้องสมุด)     
  • โครงการน้องช่วยห้องสมุด (เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการช่วยงานห้องสมุด และให้ประกาศนียบัตร)
  • กิจกรรม 100 หนังไทยที่เยาวชนควรดู
  •  ทุกๆ กิจกรรม หากดำเนินการโดยยกกิจกรรมออกมาให้เห็น อย่างเช่นตัวอย่างสมุนไพร หรือการทำกิจกรรม ณ ลานหน้าห้องสมุด จะดีมากค่ะ เพราะการเคลื่อนไหวแค่เพียงภายใน อาจดูเหมือนไม่มีอะไรใหม่ก็เป็นได้
  • ขอเอาใจช่วยนะคะ คุณเล็ก สู้
  • Librarian-C
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท