เหตุเพราะเสื้อกาวน์ผิดแบบ ??


เสื้อกาวน์แบบแขนยาวรัดข้อมือ (ยางยืด) แขนเสื้อไม่เกะกะ รูดขึ้นลงได้สะดวกไม่ต้องพับ และยังป้องกันผู้ทำแล็บได้ดีกว่า

        เมื่อวันก่อนเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ  ระหว่างทำงาน   คือ culture medium หกรดตัว  ผลก็คือ เปียกเลอะเทอะและเสีย medium ไปประมาณ 100 ml.    เนื่องจากระหว่างที่กรอง medium อยู่นั้น   แขนของเสื้อกาวน์ (เสื้อกาวน์แขนยาว)   ไปเกี่ยวกับตะขออะไรซักอย่างของเครื่อง suction     เลยเกิดการชะงักต่อเนื่อง  (เสียจังหวะ)    สุดท้ายขวดล้มและ medium หกรดเสื้อกาวน์และกระโปรง   โชคดีที่เป็น culture medium ธรรมดา   ไม่มีอันตรายใดๆ   

        เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ทั้งหมดแล้ว   สรุปได้ว่าสาเหตุเกิดจากแขนของเสื้อกาวน์ผิดแบบ   คือเป็นแขนยาวแบบธรรมดา    แขนเสื้อแบบนี้อาจจะเกะกะหรือเกาะเกี่ยวกับอะไรบางอย่างได้    คราวหน้าคงต้องเปลี่ยนเป็นเสื้อแขนสั้น    แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบ  เสื้อกาวน์แบบแขนยาวรัดข้อมือ (ยางยืด)  มากกว่า    เพราะแขนเสื้อไม่เกะกะ  รูดขึ้นลงได้สะดวกไม่ต้องพับ   และยังป้องกันผู้ทำแล็บได้ดีกว่า   เหมือนที่คุณ ringo เคยนำเสนอไว้    เสียอย่างเดียวเสื้อแขนยาวมันร้อน   ไม่เหมาะกับอากาศเมืองไทย

หมายเลขบันทึก: 24472เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2006 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)


คุณ nidnoi คิดเหมือนกันไหมคะว่า อะไรบางอย่างที่เราปฏิบัติกันมาตลอด เมื่อได้คิดสักนิดก็จะรู้ว่า มันไม่เหมาะสมแล้วนะ จะต้องปรับปรุงกันได้แล้ว นี่ละคะ KM

วันก่อน ดิฉันดูข่าว มีอัยการหนุ่มของศาลในอังกฤษออกข่าวว่า จะต่อต้านกฏการใส่วิกผมเวลาขึ้นบัลลังก์ศาล ซึ่งเป็นกฏที่ใช้กันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว เหตุผลเพราะ วิกผมมันทำให้คันศีรษะ และ ทีสำคัญ เชยไปสำหรับทนายวัยหนุ่มอย่างเขา :)

  • จริงค่ะอาจารย์    อย่างเรื่องเสื้อกาวน์เนี่ย   ตัวเองมีแบบที่แขนรัดข้อมือตัวหนึ่ง (สั่งตัด)   เพราะคนที่เคยไปญี่ปุ่นมาแนะนำว่าที่โน่นเค้าใส่แบบนี้    แต่พอซื้อสำเร็จรูปจะมีแต่แบบธรรมดา    ซึ่งก็ไม่ได้คิดอะไรมาก   แต่พอเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา    ต้องคิดมากขึ้นแล้ว
  • สงสัยว่าที่อังกฤษ   คงจะมีทนายความหรืออัยการหลายคนเป็น  "รังแค"  แน่ๆ เลยต้องออกมาต่อต้านกัน 

ตอนนี้เสื้อกาวน์ที่พี่ใส่เวลาทำ Lab จะเป็นแบบที่พี่ใช้ตอนทำ Lab อยู่ที่ Royal Perth Hospital ซึ่งเป็นแบบที่เหมือนเสื้อในห้องผ่าตัด คือผ่าหลัง มีเชือกผูกด้านหลัง ดังนั้นด้านหน้าจะกันเปื้อนได้หมด แขนยาว และรูดที่ข้อมือ เมื่อสวมถุงมือก็จะปิดคลุมได้หมด

พี่มีความเห็นว่านี่คือแบบที่เหมาะสมที่สุดกับการทำงานในห้อง Lab แบบที่พี่ทำอยู่ เพราะมันสามารถป้องกันการปนเปื้อนให้เราได้ทั้งตัว ผ้าที่ใช้ตัดก็ไม่ต้องหนาหนักอะไร ใส่ได้ไม่ร้อนค่ะ กำลังขาย idea อยู่เหมือนกัน ถ้าคุณ nidnoi สนใจ เรามาเป็นแนวร่วมกันได้นะคะ เผื่อจะทำให้มันแพร่หลายได้บ้าง

รูปแบบเสื้อกาวน์ที่ชอบคือเสื้อกาวน์ที่ยาวคลุมเข่า แขนสั้น ผ้าไม่หนาเกินไป เคยเห็นของบางคนเป็นเสื้อกาวน์แขนยาวแบบรัดข้อมือด้วยยางยืด ดูแล้วก็เหมาะสมดี เพราะป้องกันได้เพิ่มขึ้น
เสื้อกาวน์ที่ใช้ตอนนี้มีหลายแบบ ครบเกือบทุกแบบที่ว่ามา ทั้งแขนสั้น แขนยาว แบบรูด ไม่รูด แต่ที่ชอบคือแบบที่รูดแขน ตอนสั่งตัด เพิ่มเงินอีกนิดให้เขาทำแขนรูดมาให้เลยค่ะ คุณ nidnoi
น่าจะดูความเหมาะสมในการใช้งานด้วยนะคะ!
  1. เช่น ทำงานที่อาจมีสารติดเชื้อปนเปื้อนผิวหนัง หรือสารเคมีประเภทกรดด่างที่ทำลายผิวหนัง ก็น่าจะใส่อย่างที่ปิดแขนมิดชิด(รูด) ตัวยาวคลุมเข่าอย่างที่คุณโอ๋ใส่
  2. ถ้าทำงานที่มีการปนเปื้อนธรรมดา ป้องกัน contaminate ทั่วๆไป หรือเพียงไม่อยากให้เสื้อผ้าเลอะเทอะ เช่นใส่ในห้องsterile ใส่เพื่อการย้อมสี น่าจะใส่เสื้อกาวน์แค่ป้องกันเสื้อผ้าตัวในไม่ให้ปนเปื้อนก็พอ เช่นกาวน์ยาวแขนสั้น เพราะส่วนผิวหนังนั้นทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
  3. ถ้าเป็นกาวน์แขนยาวไม่รูดปลายแขนอย่างคุณหน่อยใส่ ในบันทึกนี้ ใส่เพื่อเพิ่มความอบอุ่น ส่วนวัตถุประสงค์อื่นเช่นเดียวกับข้อ 2.
  4. ถ้าใส่เป็นแบบฟอร์มแสดงตนก็กาวน์สั้นไปเลย เป็นแค่เสื้อตัวหนึ่ง..
  5. อย่าลืม...ใช้บริการปักชื่อกับคุณ ไปรวิน นะคะ! ไทยช่วยไทย..ไทยเจริญ..ไชโย้...
  • เห็นด้วยค่ะว่าเราควรพิจารณาเลือก  "ใส่เสื้อ" ให้เข้ากับงานที่จะทำ  (ถึงแม้จะมีเสื้อหลายตัวหลายแบบ  แต่ปกติไม่ค่อยได้เลือก  มักจะใส่ตัวที่มีอยู่ขณะนั้น)
  • อยากได้เสื้อกาวน์ที่เหมาะกับงานทุกแบบน่ะค่ะ    แบบว่าตัวเดียวใช้ได้หลายงาน  จะเป็น 3 in 1 แบบกาแฟ   หรือ 7 in 1 แบบครีมลดริ้วรอย  ยิ่งดีมากๆ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท