เก็บมาฝากจากที่ประชุมวิชาการ “สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ภาคส่วนวันแรก


พระบรมราโชวาท ความว่า “ความมีใจจริงที่ขาดไม่ได้ในการทำงานมี 2 ประการ ประการที่ 1 คือ ความจริงใจต้อผู้ร่วมงาน ซึ่งมีลักษณะประกอบด้วย ความซื่อตรง เมตตา หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือกันทุกขณะทั้งในฐานะผู้ที่มีจุดประสงค์ที่ดีร่วมกัน และในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติ ร่วมโลกกัน ประการที่ 2 ความจริงใจต่องานมีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐาน หรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มกำลัง”

     ผม “คนชายขอบ” ขอเก็บมาฝากจากที่ประชุมวิชาการ "สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนจังหวัดพัทลุง" ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2548 ณ โรงแรม บีพีแกรนด์ทาวเวอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
     ในส่วนของวันแรก คือวันที่ 26 กันยายน 2548 ผมต้องขึ้นเวทีเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการด้วย แต่ด้วยการเลื่อนกำหนดการหลายครั้ง อีกทั้งต้องคอยประสานกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ในการเตรียมนำเสนอด้วย ก็อาจจะทำให้สูญเสียสมาธิไปบ้าง (ประปรายนะครับ) และจะขอสรุปนำเสนอไว้ดังนี้
     เริ่มต้นก็เป็นการลงทะเบียน ดูบรรยากาศแล้วเหลือเชื่อ มากมายเหลือเกิน อีกทั้งไมค่อยมีคำว่า “สาย” อย่างเช่นการจัดที่ ห้องประชุมของสำนักงานฯ เลย เมื่อสอบถามจากพี่ลี่ พี่ปุ้ม และทีมงาน คนสวย ๆ โดยเฉลี่ย และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ผู้จัดฯ เที่ยวเดินหน้าบานเท่ากระด้งอยู่ ...แซวนะครับ...) ก็พบว่าเกินกว่าที่ตั้งไว้ประมาณ 10 คน (เป้าหมาย 250 คน มาจริงประมาณ 260 คน ขณะนี้ยังได้ยอดจริงไม่ครบเนื่องจากต้องจัดให้ลงทะเบียนเพิ่ม และบางคนไปขอสังเกตการณ์ก็ยังไม่ได้ลงทะเบียนให้ถูกต้องในวันนี้) ตอนพิธีเปิดโดย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง (นพ.ยอร์น  จิระนคร) ก็ยังแซวเลยว่าไม่มาสายกันเลย แปลกใจมาก สงสัยต้องจัดที่หาดใหญ่บ่อย ๆ มีการมอบรางวัลผู้ที่ได้รับการคัดเลือกผลงานดีเด่น และรางวัลชมเชย จากนั้นก็เป็นมอบรางวัลแก่หน่วยงานที่มีผลการพัฒนาคุณภาพดีเด่น เสร็จแล้วก็เป็นการกล่าวเปิดประชุม ซึ่งท่านได้ให้ข้อคิดและเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้น เช่นถ้อยคำที่ท่านกล่าวว่า
          “การเป็นนักวิชาการ ไม่ใช่นักวิชาการโดยตำแหน่ง แต่ขอให้เป็นนักวิชาการโดย =หัวใจ= และขอให้เป็นโดย =การปฏิบัติ= ” คมไหมท่าน อีกตัวอย่างนะ
          “ขอให้ใช้เวทีนี้ เป็น =เวทีแห่งการเรียนรู้= เป็น =เวทีที่ได้จุดประกายความเป็นวิชาการ=” อันนี้เข้าทางเลย คุ้น ๆ ว่าหมอคงได้ข้อสรุปจากเวทีไตรภาคีฯ เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา และนำมาใช้ด้วย หรือไม่ก็ตรงใจมาก ยิ่งเห็นเครือข่ายฯ เราเดินมาตรงทางเป็นที่สุด
     คล้าย ๆ กับรายละเอียดที่เคยนำเสนอไว้แล้วที่ การ "สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ของชาวสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง เมื่อพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้น ท่านไม่ได้ลงจากเวทีหรอก ท่านแปลงตัวเป็นวิทยากรต่อทันที [สงสัยถ้า(ลุก)รุก กลัวเสียม้า ฮา...] ในประเด็น “ทิศทางงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2549” ผมถูกให้นั่งแถวหน้าสุด ลำดับที่ 2 นับจากซ้ายมือท่านประธานบนเวที (เรียงตามผลงาน) ก่อนหน้าก็เป็นพี่ชุติมาฯ จาก รพ.เขาชัยสน และถัดจากผมไปเป็นพี่ จันธนาฯ จาก รพ.พัทลุง
     เรามาดูกันว่าท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง จะทั้งขู่ ทั้งปลอบ และเสริมพลัง (Empowerment) ให้อย่างไรบ้าง เท่าที่ผมบันทึกได้นะครับ
                แนวทางการดำเนินงาน ปี 2549
     # ทำเหมือนปีที่แล้ว แต่ขอให้มากและดีขึ้นกว่าเดิม (ขอบคุณครับที่ไม่สั่งอะไรเพิ่ม แต่...หอบ)
     # ปัญหาเอดส์ จังหวัดพัทลุงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดในเขตฯ 12 (รู้นะ คงไม่ต้องสั่งอะไรเพิ่ม...หอบ)
     # อัตราการใช้ถุงยางอนามัย ข้อมูลจากการสำรวจอยู่ที่ร้อยละ 94 ยังถือว่าต่ำมาก
     # การใช้แนวคิดเวชปฏิบัติครอบครัว ยังไม่ค่อยเห็นความชัดเจน ซึ่งต้องชัดเจน อันนี้ผมจะไล่เบี้ยกับสาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ฮา...ไม่ออก)
     # ฉะนั้น ปี 49 นี้ขอเข้าเรื่อง (อ้าวที่ผ่านมายังไม่เข้าเรื่องทีนะ น้ำจิ้ม...)

             $ ปัจจัยนำเข้า Input -- > @ นโยบาย    -- > เมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand)
                                                                          -- > หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC)
                                                    @ ปัญหาพื้นที่   -- > ไข้เลือดออก
                                                                              -- > เอดส์
                                                                              -- > เบาหวาน
                                                                              -- > ความดันโลหิตสูง
                                                    @ ปัญหายุทธศาสตร์   -- > การใช้ยาฆ่าแมลงในเกษตรกร
                                                    @ ปัญหาพิเศษ             -- > เอดส์
                                                                                         -- > การฆ่าตัวตาย (สูงมาติดต่อกันหลายปีแล้ว)
                                                                                         -- > การสูบบุหรี่/การดื่มสุรา
                                                                                         -- > การออกกำลังกาย
             $ กระบวนการ Process 3 ระดับ คือ
                                                   @ การป้องกันระดับปฐมภูมิ
                                                   @ การป้องกันระดับทุติยภูมิ
                                                   @ การป้องกันระดับตติยภูมิ
             $ กลยุทธ์ Strategy   @ ด้านบริการ -- > สร้างความเข้มแข็งบริการปฐมภูมิ
                                                                     -- > สร้างความเข้มแข็งแก่การทำเวชปฏิบัติครอบครัว
                                                                     -- > หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำครอบครัว
                                                                     -- > บริการที่ดี (องค์รวม บูรณาการ คุณภาพ ตรวจสอบได้)
                                                                     -- > ระบบข้อมูลและการใช้ประโยชน์
                                                                     -- > สมุดสุขภาพประจำตัว
                                                                     -- > มาตรฐานบริการ HA HPH PCU Standard
                                             @ ด้านบริหาร -- > การจัดการระดับอำเภอ (คปสอ.)
                                                                     -- > แผนฯระดับอำเภอ
                                                                     -- > แผนชุมชน สำหรับพื้นที่ (เชื่อมต่อด้านสุขภาพ)
                                                                     -- > ธรรมาภิบาล (ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว)
                                                                     -- > การรวมกลุ่มของ สอ. เพื่อจัดบริการ
                                             @ ด้านวิชาการ -- > พัฒนาบุคลากร
                                                                     -- > การนิเทศงาน (นิเทศงาน ไม่ใช่จับผิด)
                                                                     -- > การประเมินผล
                                             @ คำสำคัญ  key words -- > สมุดสุขภาพประจำตัว
                                                                                   -- > เยี่ยมบ้าน
                                                                                   -- > ระบบข้อมูล
                                                                                   -- > มาตรฐาน PCU
                                                                                   -- > ธรรมาภิบาล
                                                                                   -- > แผนชุมชน
                                                                                   -- > บริหารแบบรวมกลุ่ม

     ก่อนที่จะจบการบรรยายพิเศษ ท่านได้อัญเชิญพระบรมราโชวาท ความว่า
          “ความมีใจจริงที่ขาดไม่ได้ในการทำงานมี 2 ประการ ประการที่ 1 คือ ความจริงใจต้อผู้ร่วมงาน ซึ่งมีลักษณะประกอบด้วย ความซื่อตรง เมตตา หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือกันทุกขณะทั้งในฐานะผู้ที่มีจุดประสงค์ที่ดีร่วมกัน และในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติ ร่วมโลกกัน ประการที่ 2 ความจริงใจต่องานมีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐาน หรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มกำลัง”
                                                                                         22 มิถุนายน 2521

 

     ช่วงบ่ายได้มีการอภิปรายกลุ่มภายใต้ประเด็น "บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและการดำเนินงานเวชปฏิบัติครอบครัว" ในการประชุมวิชาการ "สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนจังหวัดพัทลุง" วันที่ 26 กันยายน 2548 ณ โรงแรม บีพีแกรนด์ทาวเวอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดย นพ.ธีรวัฒน์  กรศิลป์ สุภร ยุรพันธ์ และจิตรทิพย์ จันมณี จาก คปสอ.ระโนด  ดำเนินการอภิปรายโดย สวาท  กรศิริลักษณ์ สรุปได้ดังนี้

     โครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข ---> ได้การสนับสนุนจาก EU ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้อนของโอกาสที่ได้ทำ หลังจากที่คิดแล้วทำไม่ได้เนื่องจากติด้วยระเบียบราชการ
     Primary Care ---> เป็นสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุด ในขณะที่เป็นจุดแข็งมากที่สุดที่จะทำให้ระบบบริการสุขภาพทั้งระบบเข้มแข็งจริง
     การปฏิรูปการเงินการคลัง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการให้บริการได้
     ฐานต้องแน่นในการจัดการเรื่องสุขภาพ ฐานสุขภาพคือ ฐานที่ระดับชุมชน ซึ่งจะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมที่ดีจริง ๆ
     ศูนย์สุขภาพชุมชน คือ Community Health Center สถานีอนามัย คือ Health Center ฉะนั้นเหมือนกัน แต่เน้นใหม่ที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งสถานีอนามัยเองก็ต้องมีส่วนนี้เพิ่มเติมด้วย (แต่จริง ๆ มีอยู่นานแล้ว)
     มิติของ Primary Care 3 ด้าน เพื่อสุขภาวะ คือ
            1. กาย จิต สังคม และวิญญาณ (ปัญญา)
            2. ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
            3. บุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม
     EQESA เป้าประสงค์ในการทำ Health Care Reform (E = Equity, Q=Quality, E=Efficiency, SA=Social Accountability)
     ระบบประกันสังคม จะเน้นที่การทำสัญญากับ CUS หรือ รพ.ใหญ่ ๆ ในขณะที่ ระบบหลังประกันสุขภาพ (UC) จะทำสัญญากับหน่วยคู่สัญญาหลัก CUP นี่คือความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ในเรื่องแนวคิดของการจัดการกับระบบสุขภาพ
     ข้อคิดในการปฏิบัติงาน Primary Care
          นัดชุมชนแล้ว อย่าให้ผิดนัดโดยเด็ดขาด
          การทำอะไรให้ได้ตามมาตรฐานนั้น จะต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมต้องทำ จะทำไปทำไม ทำแล้วเกิดประโยชน์อะไรบ้าง
          การเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือ (tool) ต่าง ๆ ที่มี เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะทำให้การดำเนินงานสำเร็จ
          การดูแลแบบองค์รวม คือ ง่าย ๆ เหมือนดูแลญาติพี่น้องเราเอง มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

     สำหรับการนำเสนอผลงานทางวิชาการดีเด่น ประเภทโครงการ และงานวิจัยนั้น จะได้นำเสนอไว้ และเชื่อมโยงให้ในภายหลัง (ขณะนี้อยู่ในระหว่างการติดต่อขอแฟ้มข้อมูลอยู่ครับ)

                           อนุชา  หนูนุ่น บันทึกไว้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2548

หมายเลขบันทึก: 4522เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2005 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท