TPM : ระบบบำรุงรักษาเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ


เป็นความต่อเนื่อง ที่พวกเราชาวฮีมาโตช่วยกันทำ ช่วยกันพัฒนามาโดยตลอด...
เพราะการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อเป็นการพัฒนางานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการอยู่เสมอ.....หน่วย "ฮีมาโต" ก็เช่นกันค่ะ นำเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการทดสอบ CBC จนปัจจุบันจัดว่าเป็นเครื่องมือหลักของหน่วยงานเลยก็ว่าได้
แน่นอนค่ะเพื่อให้การใช้เครื่องมือให้ได้ประโยชน์สูงสุด  เราจึงต้องสร้างระบบการบำรุงรักษาเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ ขึ้นมาใช้ในหน่วยงาน
  • เริ่มต้นด้วย มีตารางการบำรุงรักษาประจำวันของเครื่อง โดยให้ผู้ปฏิบัติงานในจุดนั้นๆเป็นผู้รับผิดชอบ  ตารางนี้ประกอบด้วยบันทึกการทำ quality control บันทึกการเปลี่ยนน้ำยาแต่ละชนิด และบันทึกปริมาณงานประจำวัน (Autonomous maintenance)   
เรามีเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติถึง 4 เครื่อง ทำให้เราต้องสร้างความมั่นใจได้ว่า เครื่องของเราสามารถรายงานผลการทดสอบได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน โชคดีที่เรามีเครื่องมาตรฐานสำหรับเป็นต้นแบบ(gold standard) เครื่องนี้ได้รับการประกันจากบริษัทผู้ผลิตว่ามีความถูกต้องแม่นยำ ผ่านการประเมินก่อนนำมาติดตั้ง และทุกๆวันเราก็ได้ประเมินคุณภาพเครื่องด้วยการทดสอบค่าควบคุม ส่งกลับไปให้บริษัทวิเคราะห์ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติในการทำงานทางบริษัทก็แจ้งกลับมาให้เรารับทราบและแก้ไขทันที (Quality maintenance)
  • เราก็ใช้เครื่อง gold standard เป็นเครื่องมาตรฐานค่ะ  กำหนดให้มีการสอบเทียบเครื่องทุกๆ 2 เดือน นำผลที่ได้มาบันทึกในตารางที่เราจัดทำด้วยโปรแกรม excel เพื่อคำนวนความคลาดเคลื่อน เมื่อพบว่ามีความคลาดเคลื่อนก็จะดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที ในขั้นตอนนี้กำหนดให้ สี่ดรุณี เป็นผู้รับผิดชอบหมุนเวียนกันปฏิบัติ (Planned maintenance)  
  • อีกระบบหนึ่งคือ เราบันทึกข้อมูลการซ่อมเครื่อง การแก้ไขปัญหา และวิธีการติดต่อช่างให้ ทันสมัยอยู่ตลอดในสมุดบันทึกการปฏิบัติงานของสี่ดรุณี  ดังนั้นเมื่อต้องทำการซ่อมเมื่อมีปัญหา ทุกคนก็สามารถติดต่อกับช่างได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด
  • เราพยายามสอนให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเองได้ จัดระบบ เพื่อน(เรา)ช่วยเพื่อน(เรา) ช่วยให้การปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างราบรื่น(Training)
  • เราพัฒนาระบบปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เท่าที่เราจะทำได้ เช่นการเลือกใช้สารกันเลือดแข็งในการเก็บสิ่งส่งตรวจเป็นต้น(Kaizen)
...แรงบันดาลใจให้เขียนบันทึกนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้อ่านเรื่องราวของ TPM ที่ท่านเอื้อได้เขียนไว้ในวารสารสายใยพยาธิ และนำมาถ่ายทอดลงในบันทึกชื่อ ร่วมกันลดความสูญเสียด้วยระบบ TPM เพียงแต่ว่า...ระบบฯของเราอาจจะไม่ใช่นวัตกรรม แต่เป็นความต่อเนื่องที่เราชาวฮีมาโตพยายามช่วยกันทำ ช่วยกันพัฒนามาโดยตลอดระยะเวลาที่เราเริ่มนำเครื่องอัตโนมัติมาช่วยในการทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ระบบการดำเนินงานของเครื่องอัตโนมัติมีปัญหาน้อยที่สุด เพื่อให้ความสูญเสียเกิดได้ยากที่สุดนั่นเอง
จนถึงวันนี้ หน่วยฮีมาโตของเราจึง "พร้อม" ที่จะเสนอการทดสอบด้วยเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ เข้าขอรับรองมาตรฐาน ISO15189 เพราะเรามั่นใจใน "ระบบบำรุงรักษาเครื่องมือ" ของเราค่ะ
หมายเลขบันทึก: 29238เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากชมอะไรที่มันมากกว่า "เยี่ยมยอด" ค่ะ แต่ยังหาไม่ได้ เอาอันนี่ไปก่อนละกันนะคะ

ระบบการจัดการดูแลรักษาเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติของห้อง Chem เรายังตามมาแบบเห็นฝุ่นตลบนิดๆค่ะ

อย่างที่คุณโอ๋ว่า อยากชมอะไรที่ใช้คำว่ามากกว่า "เยี่ยมยอด" จริงๆ

ทีมงาน ISO ที่รับไปดูเรื่องการดูแลเครื่องมือ ช่วยรายงานด้วยว่าไปถึงไหนแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท