การฝึกสำรวจพื้นที่ชุมชนในชนบทนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีชนบท


การสำรวจชุมชน, เทคโนโลยีชนบท

ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้นำกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในวิชา ทย.393 การฝึกภาคสนาม ในระหว่างวันที่ 30 มีนาคม  – 21   เมษายน 2550

โดยใช้พื้นที่ตั้งที่สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดอุทัยธานี  และพื้นที่ตามคุ้มของหมู่บ้านดังนี้

วันแรกสำรวจและทำแผนที่ทรัพยากรของ หมู่บ้านบึงเจริญ

วันที่สองสำรวจและทำแผนที่ทรัพยากรของหมู่บ้านเขาเขียว

วันที่สามสำรวจและทำแผนที่ทรัพยากรของหมู่บ้านห้วยร่วม อีซ่าพัฒนา และกุดจะเลิศ

 โดยในการฝึกภาคสนามดังกล่าวนี้ เราได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ต้องเรียนในรายวิชานี้ ได้มีโอกาส ลงพื้นที่สัมผัสชุมชนชนบท และได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยใช้กระบวนการ RRA ที่ได้มีการ adapt มาแล้วให้เกิดความเหมาะสมกับการศึกษาของภาควิชาฯ ซึ่งอาจจะเหมาะหรือไม่เหมาะกับหน่วยงานอื่นๆ เพราะเป้าประสงค์ที่แตกต่างกันไป 

 ภาคสนามครั้งนี้ไม่ได้มีหน่วยงานใดสนับสนุน เพราะเป็นการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา และเรามีประสบการณ์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ที่อาจจะมาแชร์ให้ท่านทราบเฉพาะแง่บวก เท่านั้น ส่วนแง่ลบของเก็บเอาไว้ในใจก่อน เพราะไม่ค่อยเหมาะสม ที่จะนำมาเผยแพร่ 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 89045เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2007 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ภาพแผนที่ดาวเทียมพื้นที่ที่เราสามารถหาได้ (ถ้าไม่มีเมฆบังซะก่อน) จากเว็บไซต์ pointasia.com

 http://gotoknow.org/file/supet-gis2me/bj01.jpg

นำมาตรึงพิกัดด้วยโปรแกรม และทำการใช้ประกอบการสำรวจพื้นที่ด้วย GPS ของทีมนักศึกษา ในพื้นที่หมู่บ้านบึงเจริญ

นักศึกษาจะต้องทำการสำรวจทรัพยากร โดยต้องจำแนกดังนี้

 ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรมนุษย์สร้างขึ้น
ทรัพยากรกลุ่ม
ทรัพยากรบุคคล

ที่มีอยู่ในชุมชน ประกอบกับการสัมภาษณ์ บุคคลสำคัญในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำแผนที่ทรัพยากร หรือเรียกว่า แผนที่รอบนอก

นักศึกษาจะต้องหาวิธีการในการเข้าสัมพันธ์ชุมชน โดยวิธีการทางสังคม การดึงความรู้สึกเป็นกันเอง ระหว่างตัวนักศึกษาและประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้าน ให้ได้ เมื่อเราดำเนินการช่วงกลางวันเสร็จ

นักศึกษาก็จะได้แชร์ประสบการณ์ของแต่ละคนกันในยามกลางคืน

ยามร้อนแสนร้อน ยามหนาว ก็หนาวถึงใจ

อันนี้เป็นจริงสำหรับพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี

ทีมนักศึกษาและอาจารย์ที่นั่งทำงาน ยามบ่ายที่หลังจากเดินทางไปเก็บพิกัด และสัมภาษณ์ประชาชนในหมู่บ้านบึงเจริญ ก็มานั่งทำงานกันต่อไป

ใช้ทั้งเทคโนโลยี และใช้แบบดั้งเดิม Manual ผสมผสานกัน ให้เหมาะสมและกลมกลืนกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจสำหรับการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของชุมชนต่อไป

 

หลังจากที่นำเข้าข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจแบบเดินเท้า และให้นักศึกษาได้ลองทำแผนที่เดินดิน ด้วยระบบ Manual เพื่อทวนสอบความถูกต้องของทรัพยากรแล้ว ประกอบการอธิบายประวัติ

ทีมงานนักวิจัยได้จัดทำแผนที่ในรูปแบบ GIS ประกอบขึ้นมาดังรูป

 

 

 

ผลลัพธ์ที่ได้รอปรับแต่งในช่วงเวลาที่นักศึกษาจะต้องลงสัมพันธ์ชุมชมเพื่อวิเคราะห์ครัวเรือนต่อไป

ชื่นใจ และชื่นชมผลงานของนักศึกษากลุ่มนี้มากที่สุด เพราะรู้ว่าเธอเหล่านั้นเหนื่อย และหนักหนาสาหัส เพราะอาจารย์ก็เหนื่อยพอๆ กับพวกเธอ แต่เธอจะได้สร้างสรร สิ่งที่ดีงาม ที่จะมอบไว้ให้กับชุมชน ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไปในอนาคต

เอาละพักผ่อนกันก่อนสำหรับคืนวันแรกที่ผ่านไปอย่างแสนร้อน และทรมาน และอิ่มอุ่นในใจ

หลับฝันดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท