เรื่องเล่าจากดงหลวง 18 พัฒนาการสังคมดงหลวง


ในวงการพัฒนาเราพูดกันเสมอว่า การทำงานนั้นต้องเข้าใจพัฒนาการประวัติศาสตร์ของชุมชน ของพื้นที่ ฯ เพราะพัฒนาการนั้นเป็นตัวบ่งชี้สภาพปัจจุบัน การทำกิจกรรมหรือการกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีต่างๆก็ต้องให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประวัติศาสตร์ด้วย

พัฒนาการสังคมดงหลวง : ในวงการพัฒนาเราพูดกันเสมอว่า การทำงานนั้นต้องเข้าใจพัฒนาการประวัติศาสตร์ของชุมชน ของพื้นที่ ฯ เพราะพัฒนาการนั้นเป็นตัวบ่งชี้สภาพปัจจุบัน การทำกิจกรรมหรือการกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีต่างๆก็ต้องให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่และประวัติศาสตร์ด้วย ดงหลวงมีพัฒนาการทางสังคมมา 3 ยุคใหญ่ๆ โดยสรุป คือ

 
ช่วง พ.ศ. สภาพระบบนิเวศ สภาพชุมชนโดยย่อ
ก่อน พ.ศ. 2500

§   ยุคดั้งเดิมกับธรรมชาติ

§   ธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากมาก

§        เป็นสังคมปิด  §        อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทั้งอาหาร สมุนไพร  §        การเพาะปลูกเฉพาะข้าวไร่บนยอดเขา และที่ดอน §        ไม่มีความเจริญทางวัตถุใดๆ  §        หาอยู่หากินแค่พอเพียง ไม่มีการสะสม  มีการปลูกกัญชา กินฝิ่นบ้าง  §        สังคมเครือญาติเหนียวแน่น §        เป็นที่อิงอาศัยของขบวนการเสรีไทย ถ้ำที่บ้านมะนาวเป็นที่เก็บอาวุธของขบวนการเสรีไทยสมัยนั้น §        เชื่อเรื่องกฎธรรมชาติ ผีต่างๆ เช่น หลวงปู่ผ้าดำ ,เจ้าปู่, เจ้าที่ต่างๆ§        บ้านพักอาศัยใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนมากที่สุด

2500-2523

§    มีลักษณะเหมือนยุคก่อน พ.ศ. 2500 

§    สภาพป่าเริ่มชอกช้ำเพราะชาวบ้านและทหารป่าอิงอาศัยจำนวนมาก และการปะทะต่อสู้กันระหว่าง ทหาร ตำรวจกับ พคท. ทางราชการใช้ระเบิด ยิงกระสุนปืนใหญ่โดยต้นไม้มากมาย

§        ลัทธิคอมมิวนิสต์ เริ่มเข้ามาเผยแพร่ตามเส้นทางเสรีไทย§        ชาวบ้านจำนวนหนึ่งเข้าร่วมกระบวนการแบบปิดลับ  พร้อมเผยแพร่ลัทธิอย่างกว้างขวาง§        หาอยู่หากินเหมือนเดิม§        ยังไม่มีความเจริญด้านวัตถุ ต่างๆ§        ทางราชการตำรวจ ทหารเริ่มเข้ามาตั้งค่ายและเริ่มจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นสมาชิก พคท. หรือผู้สนับสนุน§        เริ่มมีการฆ่ากันตายเพราะความขัดแย้งทางความเชื่อ§        ชาวบ้านเริ่มทยอยเข้าป่าร่วมกับ พคท.จำนวนมากขึ้น§        เริ่มมีการปะทะระหว่างทหารและ พคท.§        ชาวบ้านยกครอบครัวเข้าป่าหมด§        เกิดสงครามประชาชน§        ในปลายระยะนี้ พคท. ล่มสลาย เพราะความขัดแย้งกันเอง ชาวบ้านทยอยออกมาจากป่าโดยนโยบาย 66/23§        กลุ่มใหญ่สุดคือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ประมาณปี พ.ศ. 2527 ออกป่าจนหมดสิ้น คืนถิ่นเดิม
2523- ปัจจุบัน

§    ป่าถูกทำลายมากขึ้น เพราะมีการประมูลตัดไม้ของบริษัทธุรกิจค้าไม้

§    ความสมบูรณ์ของป่าไม้ลดลงอย่างมาก สัตว์ป่าบางชนิดสูญสิ้นไป

§    เริ่มมีการอนุรักษ์ป่าโดยการจัดตั้งป่าชุมชน ของชาวบ้านไดรับการสนับสนุนจากสำนักงานป่าไม้จังหวัด

§        พี่น้องไทโซ่เหมือนมาเริ่มครอบครัวจากศูนย์ใหม่ วัว ควายหายหมด เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เหลือ ปีแรกๆต้องกินมัน เผือก กลอยป่า§        พึ่งพิงราชการมากในการให้ปัจจัยพื้นฐาน§        พึ่งพิงป่ามากเพราะครอบครัวต้องเริ่มใหม่ทางด้านการเกษตร§        ทำข้าวไร่  ข้าวนาปี  เริ่มปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น เช่น ปอ มันสำปะหลัง อ้อย§        ข้าวไม่พอเพียง ต้องเข้าป่าหาของป่าแลกข้าว§        ขณะที่ราชการหน่วยงานต่างๆเข้าไปพัฒนามากมาย เพื่อการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน§        สร้างถนนสายเปรมพัฒนา เสร็จในปี พ.ศ. 2545§        มาเครือข่ายผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  สกย. นำโดยสหายนำเก่าที่ออกจากป่ามา แต่ยังมีบทบาทในการนำอยู่§        ดงหลวงเป็นสังคมเปิดโดยสิ้นเชิง
  
คำสำคัญ (Tags): #สังคมดงหลวง
หมายเลขบันทึก: 77295เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เห็นข้อมูลในตารางแล้ว ทำให้มองเห็นร่องรอยต่างๆชัดขึ้นครับ
เป็นข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยกับพี่น้องไทโซ่ดงหลวงครับ ความละเอียดอ่อนของข้อมูลมีอยู่มากยังไม่ได้ถูกบันทึกประวัติศาสตร์ส่วนนี้ นับวันคนรุ่นใหม่จะไม่เข้าใจร่นพ่อแม่ที่ต่อสู้ ดิ้นรนมา สิ่งที่ทำเป็นเสี้ยวส่วนเท่านั้นครับ
ถึงเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง แ่ต่มีคุณค่ามากครับ เป็นประวัติศาสตร์ชุมชนที่มีคุณค่ามากที่เดียว

ขอบคุณครับ คุณบอน กาฬสินธุ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท