"เรื่องเล่าจากดงหลวง" ตอนแรกแนะนำโครงการ คฟป.


..เมื่อทำงานก็มีมุมมองในฐานะผู้ปฏิบัติและผู้บริหารโครงการที่คลุกคลีกับคน พื้นที่ สถานการณ์ เงื่อนไข เห็นประเด็น รับรู้ความคิดความรู้สึกชาวบ้าน เผชิญปัญหาอุปสรรค ฯ และแบกรับภารกิจ จึงต้องการบันทึกสิ่งที่พบเห็น
แนะนำโครงการโดยย่อ 

เพื่อให้ทุกท่านมีพื้นฐานที่เข้าใจเรื่องราวต่อไป จึงขอแนะนำโครงการและอื่นๆเป็นข้อมูลพื้นฐาน

 

·       ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ระยะที่ 1” เรียกสั้นๆว่า คฟป. มีพื้นที่ทำงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม สกลนครและมุกดาหาร เริ่มทำงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึงเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2550 นี้

·       เป็นโครงการเงินกู้จากประเทศญี่ปุ่น (JBIC) อันเนื่องมาตั้งแต่สมัยเศรษฐกิจตกต่ำปี พ.ศ. 2540 โดยมี 3 หน่วยงานหลักเป็นผู้ดำเนินงานคือ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด บริษัทที่ปรึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนคือมูลนิธิหมู่บ้าน

·       กิจกรรมหลักที่ดำเนินการคือ

1)     การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชนและเครือข่าย

2)     การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ เช่น ประเภทแหล่งน้ำ คือ สระน้ำประจำไร่นา สระสาธารณะ การขุดลอกห้วยหนอง คลอง การก่อสร้างงานสูบน้ำเพื่อการชลประทานห้วยบางทราย ประเภทถนน สะพาน คือ ถนนสายหลัก สายซอย และถนนเข้าแปลงนา สะพานเชื่อมต่อถนนดังกล่าว

3)     การพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน โดยเน้นการพึ่งตนเองด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

4)     การฟื้นฟูธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และอนุรักษ์ดินและน้ำ

5)     การสนับสนุนก่อตั้งตลาดชุมชน

·       ผู้รับผิดชอบโครงการนี้คือ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ถนนราชดำเนิน กทม.

 ความตั้งใจของงานเขียน งานเขียนที่ชื่อ เรื่องเล่าจากดงหลวง มีสาระหลักจากการปฏิบัติงานในพื้นที่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ที่ผู้เขียนรับผิดชอบในฐานะผู้จัดการโครงการประจำพื้นที่ เมื่อทำงานก็มีมุมมองในฐานะผู้ปฏิบัติและผู้บริหารโครงการที่คลุกคลีกับคน พื้นที่ สถานการณ์ เงื่อนไข เห็นประเด็น รับรู้ความคิดความรู้สึกชาวบ้าน เผชิญปัญหาอุปสรรค ฯ และแบกรับภารกิจ จึงต้องการบันทึกสิ่งที่พบเห็น บางเรื่องบางตอนอาจจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในอดีต ผู้เขียนก็จะนำประสบการณ์นั้นๆมาเชื่อมต่อด้วย เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของสาระที่ผู้เขียนตั้งใจ เรื่องเล่าจากดงหลวง จึงไม่ใช่งานทางวิชาการ แต่พยายามอ้างอิงวิชาการเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพราะคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ และอาจจะมีผู้สนใจนำไปศึกษาต่อและก่อประโยชน์ขยายออกไปก็จะเป็นบุญกุศลแก่ผู้เขียน 

ใช้รูปแบบการเขียนแบบบันทึก ที่พยายามทำให้สั้นๆได้ใจความ ขยายความพอเข้าใจ ที่อาจเรียกว่าการพรรณนาโดยสรุป ซึ่งผู้เขียนเคยชินกับการเขียน Memo และใช้ช่วงเวลา ก่อนนอน หรือวันหยุดต่างๆ เขียนซึ่งต้องการสมาธิประกอบกับการทำหน้าที่อื่นๆที่เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องในครอบครัว สังคม จึงไม่กะเกณฑ์ตัวเองว่าจะต้องเขียนแบบส่งต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ ซึ่งบางครั้งเงื่อนไขของเวลาจะมีผลต่องานเขียนไป

 การลำดับเรื่อง จะไม่ลำดับเรื่อง แต่จะเขียนตามสิ่งที่ประสบและเกิดประเด็นขึ้นมา ในเวลาปัจจุบัน ท่านที่เพิ่งอ่านในเรื่องหลังๆ อาจจะต้องย้อนไปลำดับแรกๆบ้าง  ท่านผู้อ่านทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นและแนะนำผู้เขียนได้ ด้วยความยินดียิ่ง
หมายเลขบันทึก: 72605เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ส่งกำลังใจไปให้ นักพัฒนาค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณ Bright Lily

เรียน อาจารย์

เหว่าตามมาอ่านแล้วนะค่ะ และจะติดตามอ่านไปตลอด

ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ ที่ไปแวะทักทาย

ในฐานะที่ทำงานกับชุมชนมานาน อยากทราบถึงมุมมองของอาจารย์ ในเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ของเกษตรกร หรือของชุมชน (Learning Process)

ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ เอาแบบวิชาการก็ได้ เรื่องเล่าก็ได้นะคะ

ตกลงครับ เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะเป็นหัวใจของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน และเรามีแต่ทฤษฎี หรือนักทฤษฎี นักปฏิบัติ หรือผู้เอาทฤษฎีไปปฏิบัติมีน้อยครับ (แม้แต่ตัวเองซึ่งเรียนมาทางการศึกษาก็ตาม) แต่ในฐานะที่ใกล้ชิดชาวบ้านมีมุมมองและมีแนวคิดหลายประการอยู่ ขอเวลาเคลียร์งานก่อนนะ

พี่บู๊ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท