AAR Peer Assist ระหว่างทีม รพ.แพร่ รพ.นนทเวช และ รพ.เทพธารินทร์ (๒)


การกระจายความรู้ไปยังคนอื่นสำคัญมาก แล้วเรามักจะลืม พอเราเดินหน้าแล้วเราลืมทัพหลัง เขาก็ไม่ทันเรา เพราะเขาไม่เคยเห็น แล้วเราก็ไปว่าเขาว่าทำไมเขาทำไม่ได้ มันก็อาจต้องมาปรับเพราะตรงนี้สำคัญมาก

(ตอนที่ ๑

โรงพยาบาลแพร่   (ต่อ)

คุณศุภลักษณ์ อนันตพรรค พยาบาลวิชาชีพ (งานผู้ป่วยนอก)

คาดหวังคล้ายๆ กับพี่ๆ น้องๆ ในเรื่องเทคนิคการทำแผล แต่ที่มานี่จะมีอีก case หนึ่ง เป็นคนไข้มา 2 ปี มาหาแบบขาดช่วง ไปๆ มาๆ มีอาชีพขับแท็กซี่ มีแผลบริเวณ metatarsal ตรงใต้หัวแม่เท้า ก็บอกว่าจะไปเทพธารินทร์ กลับมาจะทำให้หายเลย สัญญากับเขาไว้ว่าจะมาเรียนรู้ off loading ตอนนี้เขาก็เลิกขับรถแท็กซี่แล้ว มีแต่ขับรถไปส่งภรรยาที่ตลาด ก็คุยแบบสนิทกัน

มากเกินความคาดหวังก็คือเทคนิคการทำแผลหลายๆ วิธี สิ่งที่ได้น้อยกว่าคาดก็คือ รพ.อุดรฯ ที่บอกว่าจะมาแล้วไม่มา คืออยากได้ประสบการณ์จากเขา เป็นโรงพยาบาลทั่วไป อยู่ในระดับเดียวกัน แล้วก็กิจกรรมแบบนี้ ขนาดกรุ๊ปก็ O.K. แต่ขอติเรื่องอาหารหน่อย คือมันเย็นชืดมาก กลับไปทำอะไรต่อ ก็คืออยากให้มีคลินิกดูแลสุขภาพเท้าที่ OPD

กลับไปจะ screen คนไข้ที่คลินิกเบาหวานมาทำบาง case คือจะกลับไปลองดู

คุณแสงมอญ ทนุโวหาร พยาบาลวิชาชีพ (ศัลยกรรมพิเศษ)

อยู่กับคนไข้แผลมาตลอด ความคาดหวังครั้งนี้ก็คิดว่าจะได้ทราบวิธีการทำแผล หรือเทคนิคใหม่ๆ จากโรงพยาบาลเทพธารินทร์ มีอะไรที่ได้มาก ก็ได้มากกว่าที่คาดอย่างเทคนิคการขูดตาปลาก็ได้เยอะขึ้น อย่างเมื่อก่อนไม่เคยแนะนำให้คนไข้ทำ เพราะกลัวเกิดแผล

มีอะไรที่น้อยกว่า ไม่มี แต่หากว่าจะจัดกิจกรรมแบบนี้อีก ควรปรับปรุงคืออยากจะไปดูงาน ward จริงว่าเขาทำกันอย่างไร อย่างทำแผล แล้วก็จะกลับไปทำอะไร ก็คงจะกลับไปเล่าให้เพื่อนๆ ใน ward ฟัง แล้วก็แนะนำในการดูแลคนไข้

คุณจิดาภา แก้วค้าง พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการทีมเบาหวาน)

ครั้งแรกที่ set โครงการ เรา set มาดูงานที่เทพธารินทร์ไว้ 1 ปีแล้ว ตอนแรกจะพา DM ทีมมา แต่อาจารย์วิชินบอกว่าขอเป็น part ศัลยฯ ทั้งหมดได้หรือไม่ พอดี project manager O.K. ก็เลยจะแบ่งกันเป็นครึ่งๆ คือ educator มาครึ่งหนึ่ง ของศัลยฯ มาครึ่งหนึ่ง แต่อาจารย์วิชินขอศัลยฯ ทั้งหมด ก็เลยเหลือ educator แค่ 2 คน เราก็คาดหวังอะไรบ้าง ก็เหมือนเราก็ยกเงินให้เขาไปเลย แต่ยังเป็น part ของ DM อยู่ เราก็คาดหวังว่าถ้าเรามา จากที่เรายกเงินไปให้ part ของศัลยฯ เราก็อยากให้เชื่อมจิ๊กซอว์ของศัลยฯ เขามาใน part ของ DM เต็มๆ เพราะว่าตอนนี้จะมีปัญหาตรงที่ว่าผ่านทาง part ของ DM part ของศัลยฯ ก็จะเงียบไปเลย เงียบนี่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ทำอะไร แต่ด้วยความที่ว่า เราหาทีมในการประสานงานค่อนข้างยาก เพราะคราวที่เราไปทำ DM camp อาจารย์วิชินบอกว่า part ที่เป็นของศัลยฯ ขอศัลยฯ มาทั้งหมดเลยได้ไหน เราบอกว่า part ที่เป็นของศัลยฯ มาแค่ 5 คน เราไม่สามารถ hold part ของศัลยฯ ได้ทั้งหมด

เรามาวันนี้ก็รู้สึกดีใจ อย่างน้อยที่สุดใน part ของศัลยฯ เอง ก็จะมองภาพของ DM ชัดขึ้น อย่างที่คุณอัญชลีพูดว่าก็ไม่ค่อยได้สนใจ เพราะคนไข้เยอะมาก ไม่มีเวลามาดูเรื่องรองเท้า แต่ว่าเข้ามานั่งฟังถึง 2 วัน เขาก็ต้องรู้มากขึ้นแล้วว่าจริงๆ แล้วในส่วนที่เราจะไปหาแผล ไม่ใช่เราจะมาตั้งหน้าตั้งตาดูเรื่องแผลอย่างเดียว คุณก็กลับย้อนเข้าไปในเรื่องของการดูแลก่อนที่จะเป็นแผล ไม่ใช่เรื่องของ DM ทีมซะด้วยไป เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน hold กลับขึ้นไปในเรื่องของ foot care ตรงนี้ก็รู้สึกดีใจที่เรามาแล้วเราได้ตรงนี้ คือได้อย่างที่คาดหวัง

อีกอย่างหนึ่งที่เชื่อมไว้ก็คือเรื่องของกายภาพฯ ตอนได้รายชื่อของคุณฉัตรสุดา ซึ่งเป็นคนที่เก่งของ DM เราก็นั่งคุยกันว่าขอเปลี่ยนเป็นกายภาพฯ ได้ไหม กายภาพฯ ก็มีส่วนเหมือนกันในเรื่องของ DM ทำอย่างไร ก็เลยไปคุยกับกายภาพฯ ขอให้ส่งคนที่เก่งที่สุดมา เขาก็ส่งน้องมา พอได้มาฟังก็รู้สึกว่าน้องได้แนวคิด เขาก็น่าจะไปเป็นแรงขับเคลื่อนตรงจุดนั้นได้ เพราะว่าในส่วนของหนู DM ปั๊บ ไปส่วนของรองเท้า มันเงียบมาก เราทำอะไรไม่ได้ เรามาอยู่ในทีม DM ก็จะเห็นว่าที่จิ๊กซอว์มันหายไปบางตัว เราเชื่อมไม่ได้โดยศักยภาพของเราเราขับเคลื่อนไม่ได้ ก็ดีใจที่กายภาพฯ มา แล้วเราก็ได้ในสิ่งที่เราต้องการ

ถ้าจะถามว่าในส่วนของหนูที่เป็นศัลยฯ หนูดีใจไหม จริงๆ แล้วเรื่องที่มาทุกเรื่องเป็นเรื่องที่หนู hold ทั้งหมด เรื่อง DM เรื่อง vacuum dressing ที่หนูเป็นคนไปอบรมมา felted foam หนูเพิ่งไปอบรมมา foot care หนูก็ไปอบรมมา แต่หนูไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดีคือเราไม่สามารถถ่ายทอดให้ทีมได้ แต่วันนี้เราพาทีมมาแล้วเขาสามารถที่จะ get ทุกอย่างที่ได้มา อย่างเช่น vacuum dressing นี่มีคำถามเยอะมาก แต่หนูตอบไม่ได้ เพราะตอนที่เราไปมันแค่ครึ่งวัน ก็ตอบคำถามพี่ๆ ไม่ได้ แต่วันนี้มาเจออาจารย์ก็รู้สึกดีใจ ก็เหมือนกับงานที่เราทำค้าง แล้วเราเสร็จ felted foam ก็เหมือนกันตอนนั้นเราไปอบรมมีแค่ 2 ชั่วโมง เรากลับมาเดินโครงการไม่ได้ เราก็รู้สึกอึดอัด โดยที่เราทำหน้าที่ทั้งสองอย่างคือเป็นทั้งทีม DM และศัลยฯ แต่เราเชื่อมต่อตรงนี้ไม่ได้

พอมาวันนี้รู้สึกว่าศัลยฯ แต่ละคนรับปากว่าโครงการน่าจะทะลุได้ เราก็ถือว่าเราได้ในสิ่งที่คาดหวัง ทั้งในเรื่องของ foot care ซึ่งใน DM ก็หนีเรื่อง foot care ไม่พ้นอยู่แล้วก็รู้สึกดีใจที่ foot care กระจายไปแทบทุกจุดของโรงพยาบาล ดีใจมากด้วยซ้ำที่น้องที่ทำแผลบอกว่าน่าจะมีคลินิกเท้า เพราะว่าเรา discuss กันว่าจะเอา trim callus ไปไว้ตรงไหน เพราะว่าฝั่งที่เป็น Med. บอกว่านี่เป็นหน้าที่ของศัลยฯ ๆ ต้องทำ แล้วที่นี้ IPD ก็บอกว่านี่เป็นของ OPD OPD ต้องทำ OPD บอกว่าเราไม่รู้เรื่องเลย เราทำไม่ได้ เราก็เลยยังหาที่ลงกันไม่เจอว่า trim callus จะไปลงตรงไหน แต่วันนี้มาเราก็มีความรู้สึกว่าไม่จำเป็นเลยว่ามันจะอยู่ตรงไหนๆ ก็ได้ ก็รู้สึกสบายใจ


ที่นี้ถามว่าอะไรที่ได้น้อยกว่าที่คาดหวัง จริงๆ แล้วเรามาในนามของทีม DM ด้วย เราก็อยากได้เทคนิคการทำงานในแง่ของ DM ทีม ซึ่งมันไม่มีช่องว่างที่เราจะมานั่งคุยกันในแง่ของ DM จริงๆ เพราะมาเป็น part ของศัลยฯ ทั้งหมด ก็เลยเป็นที่มาของข้อที่ 4 ข้อที่ 5 คือพอเราฟังวันนี้ไปแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าเราอยากได้ full ทีมของ DM มาแล้วมา contact กับเทพธารินทร์ว่า DM จริงๆ เต็ม part ของหนูทั้งโภชนากร เภสัชกร เจ้าหน้าที่ PCU ทั้งหมอ OPD เรามา join กันดีไหมว่า DM ของแพร่ กับ DM ของเทพธารินทร์ และที่อื่นมีอะไรที่จะแลกเปลี่ยนเทคนิควิธีการ การที่จะขับเคลื่อนอะไร จุดไหน เพราะว่า DM จริงๆ มันคลุมค่อนข้างเยอะ ก็คาดหวัง

ก็เลยขอฝากอาจารย์ไว้ว่าถ้ามีทีมที่เป็น DM จริงๆ มาขอจัดกิจกรรมลักษณะนี้ ก็ขอให้อาจารย์ช่วย request ไปที่แพร่ แล้วก็ได้จัดทีมมา กลับไปก็คงไปคุยใน DM team ว่าเรามาแล้วเราได้อะไรบ้าง เพราะว่าต้องกลับไปประเมินโครงการอยู่แล้ว คือโครงการของ DM 1 โครงการ แล้วก็โครงการของวันนี้ 1 โครงการ ก็คงต้องกลับไป report นายว่าได้อะไรบ้าง

นพ.วิชิน โชติปฏิเวชกุล ศัลยแพทย์

เป็นหมอศัลยกรรมเหมือนกัน ก็มีหลายบทบาท หลายหัว หลายหมวก เผอิญของศัลยฯมีปัญหาของแผลเยอะมาก เพราะว่าอย่างเตียงของนี่ล็อคหนึ่งมีหลายอาการมาก ล็อคหนึ่งก็ต้องพบแผลเบาหวาน มันก็จะเป็นอย่างเมื่อกี้ที่ทุกคนบอก 50 คนในการดูแล แล้วมันเหนื่อย แล้วก็แผลพวกนี้เป็นแผลที่นานมาก เราก็ต้องมีวิทยาการใหม่ๆ มา ที่ผ่านมาเรามีคนที่ไปอบรมแล้วตรงนี้น้อย พอน้อยแล้วชั่วโมงที่ไปอบรมมาก็น้อยด้วย พอไปถ่ายทอดตรงนั้นว่าไง ตรงนี้ว่าไง มันก็แบบตอบไม่ได้ ไม่เคลียร์ พอจะทำเป็นโครงการ ก็มีหมอศัลยฯ หลายคนเห็นด้วย แต่ความรู้ไม่ชัด ความรู้มันครึ่งๆ กลางๆ แม้คนนำก็ยังงงๆ เพราะฉะนั้นเราจะมาขยายต่อตรงไหนดีถามแบบนี้บางทีก็ตอบไม่ได้ เราไป review หนังสือ มันก็มีไม่มาก ก็เลยว่าน่าจะมาดูกันหลายคน เพราะ case พวกนี้ต้องส่งต่อกันเยอะ ไม่ว่าจะเป็น OPD หรือว่ากายภาพฯ อะไรอย่างนี้ ซึ่งตอนนั้นคุยกับหมอกายภาพบำบัด อาจารย์วชิระก็งงว่างานตรงนี้เป็นของใครกันแน่ เป็นของช่างทำอุปกรณ์เหรอ

ที่นี้ก็ตกลงกันว่าการ dressing นี่น่าจะเป็น nurse พอถึงเวลาจะ set case ที่ทำเป็น case OPD ทำไมต้องเป็น IPD nurse พอไปห้องแผล ห้องแผลก็บอกว่าไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย เขาก็เลยคิดว่าเราต้องการความรู้ ถ้าถ่ายทอดความรู้โดยพวกเรากันเองก็ค่อนข้างลำบาก น่าจะยาก คนกระจายก็ยังไม่ถึงความรู้มาก ทีนี้มีรายละเอียดที่คนถูกถามตอบคำถามไม่ได้ ก็ต้องหา original อาจารย์ที่รู้จริง ก็คิดถึงอาจารย์วัลลา อาจารย์เป็นคนที่ทำจริงและมีประสบการณ์จริงๆ ทำให้เราเกิดความมั่นใจขึ้น แล้วก็ได้รู้ว่าจริงๆ แล้วเรามีบทบาทหลายบทบาทซึ่งถ้าเราไม่ไป fix ว่าเราเป็นอะไร มันคงจะง่าย ก็อย่างพี่ยุ (คุณยุวดี มหาชัยราชัน) ที่ขึ้นมา พี่ยุก็ทำหลายบทบาทมากเลย พี่เขาเป็น nurse แล้วก็ทำตัดเล็บ คนไข้ก็ O.K. คนไม่ใช่ nurse ก็ทำ ต้องตัดเล็บให้คนไข้ด้วย พอมาเห็นเขาก็เข้าใจกันดี แล้วก็มองเห็นอัตโนมัติเลยว่า nurse เขาก็ทำ ผมคิดว่าก็ดี ไม่มีการแบ่งแยก ได้ตามที่คาดหวัง ก็อยากให้ทีมของเราเป็นแบบนี้

พอเรามาถึงเราก็ได้เห็นความทุ่มเทของอาจารย์ ตั้งแต่ตอนที่เราติดต่อมาแล้ว การที่ผมมาขอดูงานของอาจารย์ ผมต้องเป็นคนติดต่อมา กลับเป็นอาจารย์ที่ติดต่อผมบ่อย จนเห็นถึงความตั้งใจมาก ก็เกรงใจอาจารย์ แล้วก็มาถึงที่นี่ 2 วันนี้ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สมเกียรติก็เดินทางมาไกล อาจารย์นิโรบลก็เดินทางมา เราก็ได้หลายๆ อย่าง อย่างเมื่อกี้ที่คุยกับอาจารย์ทวีศักดิ์ เดิมเราไม่ค่อยจะสนใจเรื่อง bone เรื่อง biomechanic เราก็เข้าใจว่า bone เราก็ทำได้ เพราะจริงๆ มันต้องถึงกัน Ortho. เขาไม่ทำก็ต้องมีคนที่ทำ อย่างเราเป็นเจ้าของ case ส่วนที่เราพอทำได้ก็อาจไม่จำเป็นต้องให้ถึง Ortho.

เมื่อกี้ฟังของนนทเวชบอกอยากแลกเปลี่ยนหลายทีม ผมก็ไม่ได้คิดว่าต้องมาแลกเปลี่ยนหลายทีม แค่มาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ท่านต่างๆ ก็ O.K. แล้ว พอแล้ว ต้องการแค่นี้ เพราะการแลกเปลี่ยนหลายทีมบางทีประเด็นอาจแตกไปเยอะมาก มี option เยอะมาก อาจจะทำให้งงได้ อาจต้องรออีกสักช่วงเวลาหนึ่ง พอสะสมความรู้ได้ อาจจะทำแบบ multi-team เป็นหลายโรงพยาบาลหรือจัดเป็นมหกรรม แต่ตอนนี้ผมว่าถ้าแลกเปลี่ยนเยอะๆ แล้วมันจะงงมากเกินไป ก็จัดแบบนี้ผมว่าดีแล้ว มีการแลกเปลี่ยนกัน ก็อยากจะลงไปดูที่ site บ้าง คล้ายๆ แสงมอญ อยากจะเห็นลักษณะ setting ที่มีคนไข้มา อยากเห็นบ้าง จริงๆ แล้วเวลาอย่างนี้ เขาทำอย่างนี้ อยากจะเห็น flow ที่เป็นของคนไข้จริงๆ

แล้วก็จะกลับไปทำอะไรต่อ อันแรกก็คงต้องคุยกัน ก็พยายามให้ได้ใจของทุกคน เห็นว่าทำอย่างไร แล้วก็ต้องไปคิดเรื่องอื่นด้วย เช่น เรื่องค่าใช้จ่าย เรื่องกลับไปให้ทุกคนรู้แบบเท่าเทียมกัน ของเราที่ผ่านมา อย่าง suture ที่ตรง skin แค่นี้โรงพยาบาลชุมชนก็ต้องส่งกลับมาทำแผลที่เราแล้ว เพราะเราลืมไป เวลามีวิทยาการใหม่ๆ เราไม่ได้ถ่ายทอดเลย อย่าง suture เนี่ยเขาบอกว่าไม่มี เขาก็ต้องส่งคนไข้มาที่เรา เราก็ซื้ออุปกรณ์ส่งไปให้ แล้วก็บอกว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ ก็ O.K. ดีขึ้น

อย่างเราพัฒนาเรื่องผ่าตัดเต้านมที่ว่า redivac drain เราให้ drain จนหมด off ที่ ward แล้วก็ให้กลับ ตอนหลังเราลดวันนอน เพราะว่าไม่มีอะไร เราก็แค่ record เราก็พัฒนาตรงนี้ อย่างโรงพยาบาลเดียวกัน พอคนไข้มีปัญหาตอนกลางคืนก็ต้องเป็นพยาบาลที่ ward แม้กระทั่ง ward ศัลยฯ ด้วยกันเองเวลาเจอ case แปลกๆ ก็ต้องส่งศัลยฯ 1, 2, 3 ถ้าไม่ใช่ 3 คนนี้คนอื่นก็ไม่กล้าแตะ เพราะฉะนั้นการกระจายความรู้ไปยังคนอื่นสำคัญมาก แล้วเรามักจะลืม พอเราเดินหน้าแล้วเราลืมทัพหลัง เขาก็ไม่ทันเรา เพราะเขาไม่เคยเห็น แล้วเราก็ไปว่าเขาว่าทำไมเขาทำไม่ได้ มันก็อาจต้องมาปรับเพราะตรงนี้สำคัญมาก เพราะระยะยาวจะพัฒนาได้ก็โดยทีม

มีอีกอย่างหนึ่งที่ชอบมาก อาจารย์แต่ละท่านที่มาให้ความรู้จะให้วิธีดู optimum ของพวกเรา ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เรามาโรงพยาบาลเทพธารินทร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งใช้ของก็คือเป็นที่ตามหนังสือเลย แต่พอดู idea ไม่ว่าอาจารย์สมเกียรติ อาจารย์วัลลา หรืออาจารย์นิโรบลที่อยู่รามาฯ อาจารย์ก็พยายามประยุกต์ให้เหมาะกับเศรษฐกิจของเรา แม้ว่าของเขาจะสามารถ support ได้ ดังนั้นเราก็ต้องคิดต่อ แล้วถ้าหลังจากวันนี้เรามีช่องทางติดต่อกันทาง web เรามีปัญหา เราก็มีช่องทางติดต่อ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 55189เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท