เรื่องเล่างานทันตฯ (13) เรื่องเล่าหมอเอ๋ ศูนย์ฯ 11


งานที่ทำของศูนย์อนามัยที่ 11 เป็นงานที่สอดคล้องตามแผนทั่วไป ... แต่สิ่งที่จะพูดกันในวันนี้ จะเป็นการสรุปบทเรียน หรือการสรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการทำงาน

 

ศูนย์อนามัยที่ 11 ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชค่ะ วันนี้หมอเอ๋มาเล่าเรื่องราวของการทำงานที่ศูนย์ฯ ให้ฟัง 

  • งานที่ทำของศูนย์อนามัยที่ 11 เป็นงานที่สอดคล้องตามแผนทั่วไป ... แต่สิ่งที่จะพูดกันในวันนี้ จะเป็นการสรุปบทเรียน หรือการสรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการทำงาน
  • จะหยิบยกในเรื่องของการบูรณาการงาน โดยที่ไปหยิบยกเอาในประเด็น case ตัวอย่างในเรื่องของการประกวด ซึ่งพบว่า เรื่องการประกวดของกรมอนามัย มีงานเข้าไปในพื้นที่ศูนย์ฯ รับผิดชอบมากมาย ... ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฟัน รร.เด็กไทยทำได้ ชมรมฯ ... และพบว่า เวลาทำงานแยกส่วน จะทำได้ไม่ค่อยดี และทำให้งานที่ออกมา ไม่คึกคัก เครือข่ายอาจจะน้อย และงบประมาณแต่ละโครงการอาจจะไม่มากพอ ทำให้งานไม่ใหญ่ และคนทำงานก็จะน้อยไป ถ้าทำงานเล็กๆ 
  • จากประสบการณ์ที่จัดการประกวด รร. 2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้เป็นปีที่ 3 พบว่า พอมาถึงที่ศูนย์ปั๊บ นำเสนอ และที่ตามไปดูที่ รร. ปรากฏว่าไม่ได้ตรงกันกับที่นำเสนอ
  • จากที่เล่ามาทั้งหมด ก็ทำให้ในศูนย์ฯ มานั่งช่วยกันทำให้มันคึกคัก และยิ่งใหญ่ ... เราจะทำได้อย่างไร
  • ถ้าอย่างนั้น การที่จะทำให้เรื่องของการประกวดเข้มข้นขึ้น เราก็ต้องเอากิจกรรมทุกๆ กิจกรรม หรือเรื่องทุกอย่างที่บอกว่าต้องประกวด มารวม มาขมวดไว้ด้วยกัน เพราะว่าเรื่องทุกเรื่องมันเชื่อมโยงกันได้ ก็จะเป็นเรื่องของเด็กไทยทำได้ หรือว่าชมรมเด็กไทยทำได้ หรือเรื่องส้วม หรืออะไรก็แล้วแต่
  • ถ้าเราเอาเรื่องต่างๆ นี้มาขมวดรวมกัน โดยเอา Hi-light ของกรมฯ คือ เรื่องของเด็กไทยทำได้ พอตรงกันแล้ว ก็เอา เด็กไทยทำได้เป็นแกนนำ ก็น่าจะทำอะไรได้ดีมากขึ้น
  • ก็คิดว่า การรวมกันมันคงไม่ใช่แค่การจัดประกวดพร้อมกัน นั่งรถไปคันเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน แต่ไม่ได้บูรณาการเนื้องานด้วยกัน ... มันคงไม่ใช่อย่างนั้น
  • เพราะว่า ถ้าเราจะคัดโรงเรียนขึ้นมา 1 รร. ให้ดี ในความคิดก็คือ ต้องดีในทุกๆ ส่วน ... เหมือนเราประกวดนางงาม เราก็คงอยากได้นางงานที่สมส่วนทุกอย่าง ทั้งฟัน บุคลิก หน้าตา ผิวพรรณ ทุกอย่างหมด
  • เพราะฉะนั้น ก็คิดว่า เราน่าจะประกวดภาพรวมเป็นเรื่องของ รร.เด็กไทยทำได้ และถ้า รร.ไหนมีเรื่องเด่น บางเรื่องอาจไม่ใช่นางงาม perfect ที่ 100% อาจจะมีสวย ก็อาจเป็นนางงามฟันสวย หรือนางงามผิวเนียน หรือบุคลิกภาพดีเด่นไปเป็นเรื่องๆ ไม่ได้เป็นนางสาวไทยในปีนั้น
  • พอเราคิดได้ประมาณนี้แล้ว ก็เลยบอกว่า เอาเรื่องทุกๆ เรื่องที่ประกวดในโรงเรียนนี้ มารวมกันทั้งหมด เปลี่ยนวิธีการจัดการ เป็นการประกวดสุดยอดเด็กไทยทำได้ของเขต ... เราก็จะมีการประกวดเป็น รร.เด็กไทยทำได้ กับสุดยอดชมรมเด็กไทยทำได้
  • สำหรับปีที่ผ่านมา เราก็มีวิธีการก็คือ เราให้ 1 จังหวัดส่งแค่ รร.เดียวเท่านั้น ก็คือ สุดยอดของ รร. เด็กไทยทำได้เท่านั้น และส่งแค่ 1 ชมรม ก็คือ สุดยอดชมรม เท่านั้น ก็จะมีเรื่องของงานเด่น สุขา อาหาร ทันตฯ
  • เสร็จแล้ว ให้ รร. มานำเสนอ คะแนนตรงนี้ 40% ก็จะมีเรื่องระบบต่างๆ ให้ รร. นำเสนอ และไปดูผลงานเชิงประจักษ์ 60%
  • ... ส่วนในเรื่องของชมรมเด็กไทยทำได้ เราก็ให้เด็กๆ ได้เสนอสิ่งที่เขาจะทำในประเด็นของเขา ว่าเขาได้ทำอะไร มีภาวะผู้นำเป็นอย่างไร
  • ถามว่าวิธีการแบบนี้ มีอุปสรรคไหม ความจริงเราก็มีอุปสรรคเหมือนกัน เพราะว่าหลายจังหวัดบอกว่า กองฯ บอกว่าให้ประกวด 3 หมวด แล้วทำไมพอมาส่งที่เขต เขตไม่ดูตรงนี้ ไปเอา รร. สุดยอดเด็กไทยทำได้มา แล้วงานทันตฯ ที่เราทำล่ะ มันจะเอาที่ไหน
  • และก็บางทีที่เจอ คือ ฝ่ายส่งเสริมฯ ได้รับหนังสือจากศูนย์ฯ ออกไป พอไปที่ สสจ. บางที่จะไปลงที่ฝ่ายส่งเสริมฯ ไม่ได้ลงที่ฝ่ายทันตฯ หรือบางที่ลงฝ่ายทันตฯ ก็ไม่ลงฝ่ายส่งเสริมฯ มันจะขาดการบูรณาการที่จะ co กัน บางจังหวัดก็มีปัญหา บางจังหวัดก็ไม่มีปัญหา
  • กับอันหนึ่งที่เจอ คือ บางจังหวัดก็ค้านชัดเจนว่า ฟันก็ฟัน ส้วมก็ส้วม ไม่ควรมารวมกัน ... ก็พยายามอธิบาย ที่จะเปลี่ยนให้เขาได้มองทุกอย่างให้เป็นเรื่องของการให้มารวมกันได้ เราก็มีปัญหานี้ในช่วงแรก และเราก็ค่อยๆ ทำ และก็ตัดสินให้รางวัล
  • โดยสามารถทำรางวัลให้เด็กไทยทำได้ รางวัลละ 10,000 บาทของเขต และชมรมเด็กไทยทำได้ ที่ 1 ได้ 8,000 ที่สอง 7,000 บาท และชมเชยทุกจังหวัดในเขต 6,000 บาท ทุกคนกลับไปด้วยความรู้สึก win-win หมด
  • ... ถามว่า ผลลัพธ์ที่เราได้อะไร ... ครู รร. พอใจ และความพอใจที่บอก ว่าสูงมาก และบอกต่อ รร. อื่น และเขาเรียกร้องให้เขตทำแบบนี้ เพราะเหตุผลว่า เขาบอกว่า มันไม่ซ้ำซ้อน และมันเป็นการทำให้มันก็ทุกเรื่องที่เขาทำ ก็เชื่อมโยงกันอยู่แล้ว
  • ... ถามว่า นร. เป็นยังไง นร. พอใจ นร.มีเวทีได้แสดงออก และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับ รร. อื่นๆ และอยากจะเป็นแกนนำได้อย่างนี้บ้าง และเขาก็เชิญไปเป็นวิทยากรให้กับ รร. หรือแกนนำ ก็เป็นการสร้างความภาคภูมิใจ เกิดความรู้สึกที่ดี
  • ... ถามว่า การตอบรับการสร้างกระแสเป็นอย่างไร ก็ดีมาก เพราะสามารถจัดงานได้ใหญ่มากขึ้น งบประมาณดีมากขึ้น ตั้งเงินรางวัลได้สูงขึ้น และสามารถสร้างกระแสได้ ... ตอนที่เราไป รร. มีช่างภาพ สื่อมวลชนไปทำข่าว 3 วัน ออก TV พูล เครือข่ายจังหวัดต่างๆ เราสามารถสร้างกระแสได้มากกว่าเราทำเดี่ยวๆ เพราะฉะนั้นการทำแบบเป็นบูรณาการน่าจะดีกว่าการทำงานแบบเดี่ยว
  • ... ถ้าถามว่า นอกจากกรณีนี้แล้ว นอกจากว่า เราก็ได้รับเชิญจาก อย.น้อยเหมือนกัน ... เขาก็มีประกวดแบบนี้ใน รร. ... และถามว่า ข้อดีของ อย.น้อยคืออะไร เขามีเงินเยอะมาก เขาจัดงานได้ Grand และยิ่งใหญ่มาก มีเงินจ้าง Organizer จัดงานได้ใหญ่ มหึมา มีการแสดบนเวทีได้เยอะแยะมากมาย สามารถเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามาได้เยอะมาก ... ซึ่งถือว่าตรงนี้เขาทำการตลาดได้ดี สร้างกระแสได้เยี่ยมมาก แต่ข้อเสียก็คือ เขาทำแค่ส่วนของเขา ไม่ได้ไปบูรณาการร่วมกับงานอื่น
  • ผลกระทบของเขา 4 ปี เขาทำก่อนเราปีหนึ่ง ... 4 ปี เขาเริ่มรู้สึกว่าคนที่ชนะแล้วเข้ามาเป็นกลุ่มเดิมๆ พอประกวดไป พบว่าซ้ำเดิม เป็นกลุ่มเดิม ซึ่งหาว่า เราหาดาวใหม่ไม่ได้ในวงการ แล้ว รร. ดีไม่ทำ ก็รู้สึกแผ่วไป ไม่อยากทำอีก เพราะไปก็แพ้ทุกที เพราะเอาเรื่องนี้ไปชนะเขาก็ไม่ได้
  • และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ว่า พอบอกว่าได้รางวัล อย.น้อยดีเด่น พอตามไปดู ปรากฏว่า ส้วมก็ไม่ดี ไม่เนี๊ยบ
  • เขาก็เลยกลับมาทบทวน ว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว ถ้าจะให้ดีต้องให้มีการไปบูรณาการร่วมกับเรื่องอื่น เพราะฉะนั้น หลังจากที่เราได้ดำเนินการประกวดในปีนี้ไปแล้ว และจากบทเรียนที่จะได้เจอของงานอื่นๆ นี่ ทำให้เราต้องกลับมานั่งทบทวนแล้วว่า แล้วทางเดินที่มันจะควรจะเป็นในแนวทางไหน
  • ศูนย์ฯ 11 ก็เลยคิดว่า ก้าวต่อไปที่เราจะทำ ... เราจะเริ่มมีการบูรณาการงานของกรมอนามัย เราอาจจะลามปามไปถึงงานอื่นของกระทรวงสาธารณสุขด้วย คือ บูรณาการไปกับงานของกระทรวงศึกษา
  • สำหรับในปีหน้า เรามีเวลามากขึ้น มีงบประมาณมากขึ้น มีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น ก็จะทำให้ใหญ่กว่าเดิม และอาจเปิดโอกาสให้จังหวัดได้ส่งโรงเรียนเข้ามามากกว่าเดิม แทนที่จะคัดเลือกแค่ 1 จังหวัด 1 รร. เพื่อเราจะได้หาดาวรุ่งได้ด้วย ก็คิดจะดึง อย.น้อยเข้ามาร่วมกับเรา คือ ทั้งเภสัช ทันตฯ ส่งเสริม เราจัดร่วมกันหมด เราก็จะลงไป สสจ. เพื่อที่จะทำให้เกิดภาคีและการทำงานลักษณะนี้ร่วมกัน
  • ในส่วนของการบูรณาการกับกระทรวงศึกษา จะพบว่า โครงการที่มีเป้าหมาย รร. เป้าหมายของโครงการเยอะมาก ถ้าเข้าไปดูแล้ว โครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 40 โครงการ กว่า 20 โครงการเป็นงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่เหลือเป็นงานของกระทรวงอื่นๆ และเกือบทุกโครงการจะมีในเรื่องของการใช้แกนนำ หรือตัวชมรมเป็นแกนนำเกือบทั้งสิ้น 96%
  • เราได้ลงไปทำ SWOT กับกระทรวง กับ สพฐ. เอง ก็รู้ว่า จริงๆ แล้วทุก รร. มีสิ่งที่ทำเหมือนกันคือ เขาจะมีสภานักเรียน มีแกนนำ นร. แต่จุดอ่อนคืออะไร จุดอ่อนของเขาก็คือ เขาไม่สามารถจะคิดเอง ทำเอง สร้างอะไรได้เองขึ้นมาได้ ทำให้การทำงานของเขาไม่มีประสิทธิภาพ
  • เพราะฉะนั้น ถ้าเราอยากจะเอาโจทย์ของกระทรวงสาธารณสุขใส่ลงไป และพัฒนาแกนนำให้เกิดกระบวนการคิด เกิดกระบวนการทำอย่างไรให้เด็กสามารถสร้างสภานักเรียนให้ดีขึ้น และให้เขาคิดตามวิถีของประชาธิปไตย โดยเอานโยบาย / งาน ที่เราใส่ลงไป ไปแถลงนโยบายกับสภา กับกรรมการการศึกษา ให้เขาแถลงนโยบายออกไปให้เกิดการทำงาน
  • ถ้ากลุ่มของเขาทำไม่ได้ ก็อาจไปสร้างกลุ่ม หรือแกนนำย่อย เขาก็จะเป็นตัวสะท้อนปัญหานี้ให้กับผู้ใหญ่ และประธานสภา นร. หรือ นร. เป็นคนติดตามเรื่อง สิ่งเหล่านี้น่าจะดีกว่า
  • พอเราไปขายไอเดียนี้ให้กับ สพฐ. เขาบอก OK เห็นด้วย แล้วก็เขาคิดว่า OK ตอนนี้งานของกระทรวงสาธารณสุข หรือกรมอนามัยก็จะไม่เป็นงานฝากอีกต่อไปแล้ว ถ้าอย่างนั้นเขายอมรับ
  • หลังจากศูนย์ฯ ได้ขายความคิดเหล่านี้ให้กับ สพฐ. ปรากฏว่า พอเราทำการตลาดออกไป เราได้รับความร่วมมือจาก สพฐ. ดีมาก เขาให้ความร่วมมือ ให้งบประมาณ และให้เราไปจัดแผนการสอนในเรื่องนี้ให้กับสภานักเรียน ซึ่งอันนี้เรากำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนการสอนอยู่ และก็ได้รับการตอบรับ ตอนแรกคิดว่าไม่กี่ รร. แต่ตอนนี้เราได้รับการตอบรับมาก เป็น 10 20 30 รร. ซึ่งตอนนี้เราไม่แน่ใจว่า จะจับได้มากน้อยแค่ไหน นี่คือ ก้าวต่อไปที่เราจะทำ

ก็ต้องบอกว่า ไอเดียของศูนย์ฯ 11 ก้าวไกลทีเดียวละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 125212เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท