โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

2 สัปดาห์ผ่านไปสำหรับการไปสอนหนังสือ


การกลับไปสอนหนังสือทำให้ย้อนรำลึกถึงอดีตเมื่อยี่สิบปีก่อน
     ไม่น่าเชื่อเลยว่า ในสังคมใดๆ ต้องมีวัฒนธรรม หรือบรรทัดฐานของกลุ่ม และคนที่เข้ามารวมกลุ่มกัน กว่าจะเข้าใจกันได้ เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหากันต้องใช้เวลา อย่างเช่น ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้เรียน และผู้สอนต้องทำความเข้าใจกัน การจะปรับตัวได้ดีและเร็วทั้งสองฝ่ายต้องกล้าที่จะพูด และกล้าที่จะเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน
     อันที่จริงการเรียน การสอนในสมัยนี้ค่อนข้างสะดวก สบายกว่าในสมัยยี่สิบปีก่อนมาก จำได้ว่าตอนเรียน ป.โท ต้องไปทำรายงานที่คณะจนยามมาไล่ หรือไม่ก็ต้องไปนอนค้างอ้างแรมบ้านเพื่อน การค้นคว้าหาข้อมูลในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์จำกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยของตัวเอง  อินเตอร์เน็ต อีเมล์ก็ยังไม่ได้แจ้งเกิดตามบ้านเรือน อย่างปัจจุบัน ยิ่งความสะดวกสบายมีมากขึ้นเท่าไหร่ กลับทำให้มนุษย์เราเสียนิสัย และไม่อดทนกับความลำบาก หรือความล่าช้า อยากได้อะไรที่กลืนกินได้อย่างรวดเร็ว แบบอาหารจานด่วน ไม่ต้องเสียเวลาปรุงอาหารรับประทานเอง
     จากที่ตัวเองผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Constructivism ทำให้คิดว่าอยากให้ผู้เรียนค้นหาโจทย์ในการทำรายงานเอง และอยากให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่ตนค้นคว้ามาไว้ในบันทึก และนำเสนอให้เพื่อนอ่านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการใช้ blog เจ้าของรายงานต้องนำความเห็นที่ได้ไปปรับปรุงเพิ่มมูลค่าให้กับรายงานของตัวเอง ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ทุกอย่างต้องทดลอง
     สิ่งที่พบในห้องเรียนทำให้เราแปลกใจ ตอนแรกคิดว่าจะมีเสียงคัดค้านวิธีนี้ หรือมีปัญหาในการใช้งานบล็อค หรือจะมีคนไม่เห็นด้วยที่ต้องเปิดงานของตัวเองให้เพื่อนเห็น  ปัญหาจริงๆ คือการหาโจทย์มากกว่า เพราะผู้เรียนบางคนขาดประสบการณ์ในการทำงาน บางคนไม่รู้จักงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เลย ทำให้ยังมองภาพไม่ออก ผู้สอนก็เลยต้องบอกหรือชี้แนะแนวทางไปมากพอสมควร เด็กนักเรียนคิดไม่ถึงการหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือสอบถามจากคนอื่นเพื่อตั้งโจทย์เอง 
     ความน่ารักของผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่และมีความจับฉ่ายอยู่ในห้อง สร้างความรู้สึก และรสชาติ ที่หลากหลาย ผู้เรียนอาจมองผู้สอนเป็นนางมารร้ายโดยเฉพาะเรื่องการให้ความสำคัญกับเวลาในการเข้าห้องเรียน  หรือว่าอาจารย์ควรสอนแต่เนื้อหา ไม่ต้องไปสนใจเรื่องกฎ กติกา มารยาทของการอยู่ร่วมกันให้เวียนหัวจนเกินไป
คำสำคัญ (Tags): #การเรียน การสอน
หมายเลขบันทึก: 104043เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมเคยไปสอน ป โท  ทั้งที่ นิด้า และ จุฬา

สุดท้าย ผมก็ขอเลิก  เพราะ  ดูๆแล้ว  เด็กมาเรียน เอาปริญญา  มากกว่า มาเอา Sense

พวกเขา บริโภคนิยม   คือ กะจะมา เสพจาก คนสอน

พวกเนี่ย  ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ชีวิตต้องการอะไร

************

ผม  ก็ไม่แคร์ ว่า พวกเขาจะมาสาย หรือ ไม่มาเรียนนะ

แต่ การให้ case  เยอะๆ  แก้แบบ show & share

คะแนนอยู่ที่ ผ่านกระบวนการ (ผ่านกิจกรรมต่างๆ) ที่ผมวางไว้ครบหรือเปล่า

ประเมินจากพฤติกรรม   มากกว่า จาก วิชาการที่จำได้

 

สวัสดีค่ะ อ.คนไร้กรอบ

 ขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณามาให้ข้อคิด และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ค่ะ

"พวกเขา บริโภคนิยม   คือ กะจะมา เสพจาก คนสอน

พวกเนี่ย  ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ชีวิตต้องการอะไร"

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งด้วยตนเองจริงๆ ค่ะ รู้ซึ้งถึงคำว่า ต้องรู้จักตนเองก่อนว่าเป็นยังไง ชีวิตนี้ต้องการอะไร เป้าหมายอยู่ที่ไหน จึงจะอยากเรียนรู้  แล้วรู้ว่าตัวเองควรจะต้องรู้อะไร และนำไปกำหนดวิถีแห่งการเรียนรู้ของตนเองได้

ถ้ามาเรียนแล้วเก็บไปได้จากสิ่งที่ผู้สอนย่อยไปแล้ว ก็คงเหมือนได้ไปแต่กากอาหาร คุณค่าคงมีไม่เท่ากับการต้องออกไปหากินด้วยตนเองด้วยจึงจะดี

เรียน ทื่อๆ เรียนเพื่อให้ได้เรียน เห็นเขาเรียนก็ตามๆกันไป อาจารย์จึงได้สอนคนที่ไม่ได้อยากเรียน แต่เรียนเพราะไม่รู้จะทำอะไร เรียนไปงั้นๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ใครๆเขาก็ทำกันยังงี้ ก็เลยไม่ยังั้น ยังงี้ๆๆ ไปทางเดียวกัน สอนไปกลุ้มใจ มีอาจารย์บางท่านเล่าให้ฟังว่าต้องจอดรถคายเครียดในวันที่โดนลูกศิษย์ต่อว่า อาจารย์สอนจริงจังเหลือเกิน เขาอยากจะเรียนเล่นๆ มาสอนจริงๆ ทำไม  

ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

เราเป็นผู้สอน ไปโทษผู้เรียนนั้นไม่ถูกต้อง

เพราะเค้าต้องการพัฒนาตนเองจึงมาหาเรา

หากเราไปเกิด Mental Model กับนักเรียนก็แย่สิคับ

หากเรารู้จักตนเอง ต้องรู้ว่านักเรียนแต่ละคนเป็นงัย

หากมองไม่ออก แสดงว่าผู้สอนเองยังไม่รู้จักตัวเอง

แล้วแบบนี้นักเรียนจะฝากชีวิตได้ยังงัยครับ

นักเรียนเค้าไม่มีจุดหมาย

หน้าที่ของผู้สอนก็คือ ต้องให้จุดหมายกับเค้า

ไม่ใช่ไปโทษนักเรียนนะครับ

เขาขาดอะไร หน้าที่ครู คือ ให้สิ่งนั้นครับ

ลองคิดทบทวนดี ๆ นะครับ สงสารนักเรียนอ่ะ

P

สวัสดีค่ะ ครูบา

ดีใจที่ได้อ่านความคิดเห็นของครูบาอีกค่ะ พรุ่งนี้สมาชิก Inno FA3 จะไปบ้านครูบากันแล้ว อยากไปด้วยมากๆ เลยค่ะ มีความคืบหน้ายังไงจะคอยอ่านบันทึกของครูบาในวันพรุ่งนี้ค่ะ กระบวนการกลั่นแกล้งรุ่นนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง คงเข้มข้นกว่าเดิมหลายเท่า (แอบได้ยินมาค่ะ) 

สวัสดีค่ะ คุณ
ไม่มีรูป
jame

ขอขอบคุณที่มาเยี่ยม และให้ความเห็นที่ต้องอ่านและพิจารณาหลายรอบ ว่าอะไร เป็นอะไร 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนค่ะ ชี้แนะได้ แต่ไม่ชี้นำ 

ใจเค้าใจเราก็ดีนะครับ ไม่ใช่เอาแต่ใจเราไปใส่ใจเค้า บางทีอาจต้องลองมองต่างมุมบ้างอาจต้องมองความเครียดนั้นเป็นความท้าทายบ้าง ท้าทายที่จะสอนให้เค้าทำอย่างไรที่ไม่เอาแต่เอาของที่เราย่อยไปแล้ว หรือมองว่าเค้าอาจมีแนวทางที่เค้าต้องการอยู่รึป่าว ซึ่งตรงนี้อาจต้องมีการจูนกันอย่างจิงจังไม่ใช่แค่ใจคิดว่าอยากจูนแต่กลับทำอย่างไม่จิงจัง หรืออย่าคิดว่าเค้าเป็นบัวเหล่าที่4ที่ไม่สามารถขัดเกลาได้แล้ว เพราะผมเชื่อว่าแม้เค้าอาจยังไร้จุดหมายแต่ยังไงเค้าก็คงอยากที่ต้องการชี้นำบ้างซึ่งอาจไม่ต้องเป็นถึงขนาดต้องมีคนนำทางแบบเรือจ้างแบบเก่าก็ได้ หรืออาจต้องคิดอีกมุมบ้างว่าเด็กก็เครียดเหมือนกันมั้ยเวลาต้องุคยกับอาจารย์ อย่ามองเพียงว่าเราเป็ฝ่ายเสีัยอย่างเดียวเลยครับ ผมคิดว่ามันเสียทั้งสองฝ่ายนะครับ อย่าน้อยเวลาเถียงกันอาจมีการกระทบกระทั้งกันในความรู้สึกบ้าง แต่อย่าติดใจกันเลยครับ ผมว่าคงไม่มีใครอยากจะทำงานหรือเรียนหรือสอนอย่างไม่มีความสุขหรอกครับ ลองคิดเปิดใจกับตัวเองก่อนดีมั้ยครับว่าเราเปิดใจแล้วจริงๆหรือไม่หรือแค่เปิดใจเฉพาะแค่บางคน ถามตัวเองก่อนครับว่าเราตึงเกินไปมั้ยเค้าหย่อนไปมั้ย ซึ่งตงนี้ถ้ามาเจอกันตรงการได้ก็ดีครับ มันอาจเป็นแค่เราอาจต้องลงมือก่อนหรือทำให้เห็นก่อนพูดง่ายๆคือซื้อใจกันไปเลย....ซึ่งตรงนี้ผมก็ไม่ใช่ผู้มีความรู้อะไรหรอกนะครับ..แต่แค่อยากเสนอมุมมองอีกมุมหนึ่งที่คนต่างวัยกันต่างประสบการณ์กันมองต่างกันเท่านั้นเองครับ

ถึง คนไร้กรอบ

ผมคิดว่าคนที่อยากได้ความรู้จริงๆ ก็มีนะครับเพิ่งแต่คุณต้องชี้แนวทางให้เขาก่อน เพราะคนที่มาเรียนเขาคงอยากจะได้หลักการเพื่อไปประยุกต์ใช้ ถ้าคุณให้แต่Caseให้เค้าไปทำบางครั้งในชีวิตปกติเขาก็คงเจอกันอยู่แล้ว แต่เขาคงต้องการมาเรียนรู้หลักการที่ถูกต้องเพื่อใช้นำไปแก้ปัญหาต่างหาก

สวัสดีครับ คุณcitrus

ขอบคุณมากครับที่ ลปรร กับผม

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ สำหรับ ชี้แนะ และ ชี้นำ

ส่วนตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้น

ใช้ไม่ได้เสียทีเดียวนะครับ

เพราะหากเราจะหัดว่ายน้ำ แต่ถ้าไม่มีโค้ชที่ดี

คงต้องใช้เวลานานกว่าจะว่ายเป็น

แต่ถ้า ได้รับ สัมมาทิฏฐิ จากอาจารย์

เป็น สุตมยปัญญา ก่อนในเบื้องต้น

กลับไปอยู่กับตัวเอง และ ใช้จิตตมยปัญญา ต่อ

หรือถ้ากำลังสติ สมาธิ กล้าแข็ง

จะเล่น ภาวนามยปัญญา เลยย่อมได้

หากเราทำ Child Centered แบบงู ๆ ปลา ๆ

โดยลืมไปว่า ปัญญา เกิดได้ตั้งสามทาง

จะให้ใช้หลักการ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

โดยไม่ดูให้ดีเสียก่อนว่า

ศิษย์แต่ละคนนั้นจริต ต่างกัน

คนไหนเหมาะจะเริ่มอย่างไหนก่อน ถึงจะดีที่สุด

แบบนี้แล้ว ผมว่า อันตรายครับ

อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

ผมเป็นแค่นักศึกษา คิดอะไรก็ไม่ได้คำนึงถึง

ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

คิดบนพื้นฐาน ของคำว่า เป็นไปได้ อย่างเดียว

หากให้ความเห็นผิดพลาดไป

หรือ ไม่ถูกต้อง หรือ เข้าใจ คุณผิด

ก็ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง ครับผม

ยินดีที่ได้รู้จัก และ ลปรร นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท