หยิบศักยภาพของนักศึกษาปริญญาเอกมาใช้ประโยชน์ #2 ดึงศักยภาพแบบสุดๆ


ในบันทึกตอนที่ 1 ทิ้งประเด็นไว้ว่า ถ้ามานั่งกินก๋วยเตี๋ยวในตลาดสด พบกับคน 4 อาชีพ จะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง

ในความเป็นจริง พี่ขจิตคงไม่มากินก๋วยเตี๋ยวในตลาดสดหรอก ไปทานในร้านที่สะอาดๆ ถูกสุขลักษณะอยู่แล้ว  คงแทบจะไม่ได้ไปหาอะไรทานในตลาดสดด้วยซ้ำ
ถ้าต้องไปเดินจ่ายตลาด คงให้แม่บ้านรับผิดชอบหน้าที่นี้ไปแทน

งั้นจบบันทึกนี้ดีกว่า ไม่เขียนต่อแล้ว??

. . .
กำลังติดพัน งั้นต่ออีกนิด

ในความเป็นจริง คนทั้ง 4 อาชีพดก็ไม่ได้ใช้ internet ไม่รู้จัก gotoknow เช่นกัน

นายบอนเห็นอาจารย์จบปริญญาเอกทางเคมี  สามารถให้คำปรึกษากับคนข้างบ้าน ช่วยวางแผน แก้ปัญหาหลายอย่างให้ได้

หลายคนมองว่า จบเคมี คงไม่รู้เรื่องอื่นมากนัก แต่พอมีโอกาสได้คุยด้วย ก็สามารถคุยได้ ตอบได้ ปรึกษาได้ หลายเรื่อง

จากประเด็นในตอนที่แล้ว
ประเด็นที่หยิบมาจากสิ่งที่ได้พบเห็น เมื่อนักศึกษาปริญญาเอกคนนั้น ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรกับคนทั้ง 4 อาชีพได้เลย

คนนั้น.. ไม่ต้องการเอ่ยนาม

1. ช่างซ่อมนาฬิกาปรึกษาว่า ตอนนี้มีลูกสาว 2 คน ทะเละกันบ่อยมากๆ ควรจะมีลูกอีกสักคนไหม?
2. แม่ค้าข้าวมันไก่ ปรึกษาว่า มีเงินแค่ 5000 จะเอาไปทำอะไรถึงจะคุ้มค่า
3. คนส่ง นสพ.ถามว่า ควรจะให้ลูกชายเรียนต่อคณะอะไรดี ถึงจะมีงานทำ
4. คนขาย CD ถามว่า ทำไมคนที่ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ไม่ได้เรียนปริญญาเอกจริงๆ ถึงรู้เรื่องมากกว่า เก่งกว่าคนที่เรียนปริญญาเอกจริงๆ

 

ท่านอื่นที่อ่านบันทึกนี้ จะให้คำตอบบ้างก็จะดีนะครับ น่าจะดีกว่าคำตอบที่นายบอนจะเขียนในบรรทัดถัดจากนี้.....

 

 

 

 

มี 4 คำถาม นักศึกษาปริญญาเอกหลายคนเห็นแล้ว อาจจะเดินหนี , คุยด้วย, แสดงความเห็นเท่าที่จะตอบได้ หรือเงียบไปเฉยๆ

ท่ามกลางความคาดหวังของผู้ตั้งคำถาม แต่การถ่ายทอด ให้คำแนะนำให้คนถามเข้าใจได้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากเช่นกัน เพราะหลายครั้ง คนพูด รู้เรื่องอยู่คนเดียว แต่คนฟัง ไม่รู้เรื่อง

นักศึกษาปริญญาเอกที่นายบอนเจอ ท่านไม่ตอบ อาจจะเป็นเพราะได้ยินประเด็นคำถามที่คนขาย CD ถาม อาจจะแทงใจดำก็ย่อมได้

หรือมีธุระต้องรีบไปทำ เลยไม่มีเวลามานั่งตอบ

เหลือบไปดูหัวข้อบันทึก หยิบศักยภาพของนักศึกษาปริญญาเอกมาใช้ประโยชน์ นั่นสิ จะใช้ประโยชน์ได้ยังไงบ้าง

อาจจะเป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ประโยชน์ในแวดวงวิชาการ หรือในหมู่คนคุ้นเคยเท่านั้นหรือ

ประเด็นนี้ มีคนตั้งคำถามฝากมานะครับ

คนที่มาตอบคำถามทั้ง 4 ข้อนั้น กลับเป็นพี่หมออนามัยของนายบอนเอง นักศึกษาปริญญาโทครับ

ข้อ 1 พี่เค้าตอบว่า มีลูกสาว 2 คน ชอบทะเลาะกัน ก็มีอีกคนสิ เด็กจะแบ่งฝ่ายกันทันที 2 คนแรกจะต้องเอาใจคนเล็ก เพื่อให้มาเป็นพวกด้วย  เพราะพี่หมออนามัยมีลูกสาว 3 คน จึงสังเกตเห็นในจุดนี้

ข้อ 2 พี่หมอบอกว่า เอาไปลงทุนส่งแหนมไปขายที่บ้านพี่หมอสิ กำลังต้องการพอดี ยังไงก็ได้กำไร
(ความหมายคือ มองดูกระแสความต้องการของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้าให้ได้ อุปสงค์ อุปทานอยู่ตรงไหน ก็ตอบสนองในสิ่งนั้น)

ข้อ 3 พี่หมอบอกว่า อยากเรียนอะไรก็เรียนไปเถอะ แต่ขอให้ตั้งใจ ขยัน ยังไงก็ไม่ตกงาน

ข้อ 4 พี่หมอบอกว่า เพราะคนที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ได้ลงมือทำจริง ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่ใดมีปัญหา ปัญญาจะเกิด  ตอนไหนคิดไม่ออก ก็เก็บไปคิด ค้นคว้าหาทางแก้ จนได้ ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ก็โผล่ออกมา

เช่นเดียวกับในหลวง กับโครงการในพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เรื่อยๆ

 เป็นการหยิบศักยภาพออกมาแบบไม่มีขีดจำกัด….

 

หมายเหตุ ความจริงนายบอนว่าจะเขียนบันทึกเรื่องนี้เป็นตอนสุดท้าย
แต่เมื่อดูข้อคิดเห็นในบันทึก
หยิบศักยภาพของนักศึกษาปริญญาเอกมาใช้ประโยชน์ ; มองดูคุณขจิต ฝอยทอง

นายบอนคงจะต้องเขียนอีกตอนแล้วล่ะครับ 

หมายเลขบันทึก: 37605เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • อ้างอิงครับ
  • ขจิตคงไม่มากินก๋วยเตี๋ยวในตลาดสดหรอก ไปทานในร้านที่สะอาดๆ ถูกสุขลักษณะอยู่แล้ว  คงแทบจะไม่ได้ไปหาอะไรทานในตลาดสดด้วยซ้ำถ้าต้องไปเดินจ่ายตลาด คงให้แม่บ้านรับผิดชอบหน้าที่นี้ไปแทน
  • ผมยังไม่แต่งงานครับ
  • ชอบข้อ 4 ครับ
  • เพราะคนที่เพราะคนที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ได้ลงมือทำจริง ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่ใดมีปัญหา ปัญญาจะเกิด  ตอนไหนคิดไม่ออก ก็เก็บไปคิด ค้นคว้าหาทางแก้ จนได้ ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ก็โผล่ออกมาเช่นเดียวกับในหลวง กับโครงการในพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เรื่อยๆ
     เป็นการหยิบศักยภาพออกมาแบบไม่มีขีดจำกัด…..
  • เห็นด้วยครับ  เราเรียนในสถาบัน มีกรอบที่ต้องทำตาม มีข้อจำกัดหลายอย่าง จึงต้องเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน gotoknow ครับ
บังเอิญผ่านมา     อ่านแล้วรู้สึกว่า...ในข้อเขียนมีความรู้สึกเชิง negative ปนอยู่  เช่น.
กับคำถามที่ว่า..."ทำไมคนที่ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ไม่ได้เรียนปริญญาเอกจริงๆ ถึงรู้เรื่องมากกว่า เก่งกว่าคนที่เรียนปริญญาเอกจริงๆ"
ช่างเป็นคำถามที่ชวนให้คนทะเลาะกันจริงๆ    (คนที่ไม่รู้เรื่องอะไรด้วย 2 คน คือบัณฑิตกิตติมศักดิ์  กับ  คนที่เรียนปริญญาเอกจริงๆ )    การที่จะชมใครว่าเก่ง..น่าจะชมที่คุณสมบัติของคนๆ นั้นจริง ๆ ไม่ใช่ไปเปรียบเทียบกับใคร  ให้ใครต้องเสียใจ
"นักศึกษาปริญญาเอกที่นายบอนเจอ ท่านไม่ตอบ อาจจะเป็นเพราะได้ยินประเด็นคำถามที่คนขาย CD ถาม อาจจะแทงใจดำก็ย่อมได้"......
 เฮ้อ....คำถามแบบนี้ใครจะอยากตอบหนอ....ถ้าเปลี่ยนซะใหม่เป็น 
....ทำไมคนที่ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์    เก่งมากๆ  ทั้งที่ไม่ได้เรียนปริญญาเอกจริงๆ....
จะดูดีกว่ามั๊ย
อีกอย่างอยากจะบอกว่า   คนเราเก่ง  แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน   การที่เขาไม่ได้ตอบคำถามนั้น   หรือตอบไม่เข้าท่า  (รวมทั้งไม่ได้เขียน blog)   ก็ไม่ได้แปลว่าไม่เก่ง  ไม่ช่วยเหลือสังคม    เขาอาจจะเก่งและช่วยเหลือสังคม   ด้านอื่นๆ  ที่เราไม่รู้
โปรดอย่ามองใครเพียงด้านเดียว
  • ขอบคุณคนที่ผ่านมาครับ
  • คนที่ตอบยังรู้สึกไม่ดีเลยครับ

ขอบคุณความคิดเห็นของคุณผ่านมาด้วยครับ สำหรับที่ว่า ข้อเขียน เป็นความรู้สึกเชิง negative ปนอยู่นั้น  เพราะสะท้อนจากสิ่งที่เค้าถามมาจริงๆครับ

อาจเป็นเพราะ เค้าถามมาแบบตรงไปตรงมา จึงฟังดูคล้ายกับว่า เป็นคำพูดเชิง negative เช่นนั้น

ด้วยความที่วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ความคิดการกระทำ การศึกษาเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เมื่อชาวตลาดตะโกนถาม เขาอยากรู้อะไรก็ถามแบบตรงไปตรงมา เหมือนวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ ซึ่งมีหลายคนเมื่อได้ยิืน ก็ตัดสินว่า ทำไมถึงถามเช่นนั้น พูดให้ดีๆ ฟังดูสุภาพกว่านั้นไม่ได้หรือ

ชาวตลาดจะมองด้วยสายตาที่แปลกๆ ทำไมไอ้หมอนี่มันเรื่องมากจัง เราถามตรงๆก็ตอบมาสิโว้ย ชอบตอบไม่ตรงคำถามแบบพวกนักการเมืองเลย

.. ในการเขียนบันทักนั้น หากนายบอนนำคำถามแล้ว นำมากลั่นกรอง ปรับคำถามให้ฟังดูสุภาพขึ้น ก็ย่อมจะถูกตั้งข้อสังเกตได้อีกเช่นกัน

.. ชาวตลาดสอบถามจริงๆหรือ หรือว่า คุณบอนถามเอง!!!

คิดได้ทั้งนั้นครับ

ดังนั้น ก็คงต้องเข้าใจในวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ในวิถีของพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องทำมาหารายได้ในแต่ละวัน ซึ่งวิถีชีวิตต้องรีบเร่ง ย่อมไม่สามารถที่จะร้อยเีีีรียงคำพูดให้ไพเราะเสนาะหูได้ทุกคนครับ แต่เมื่อเข้าใจถึงเจตนาของทุกคน พวกเขาก็สอบถามเพราะความอยากรู้เท่านั้นเองครับ หาใช่การมองในแง่ลบเสมอไปครับ

 

จะตอบช้าไปไหมครับเนี่ย

เพราะการเรียนที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตได้อะไรมากมายกว่าการเรียนที่แลกมาด้วยปริญญาและเกรดครับ

เพราะการแลกด้วยชีวิตนั่นหมายถึง ถ้าเขาทำไม่ได้ เขาอาจตาย อดตาย ไม่มีอะไรกิน ครอบครัวแตกสลาย

แต่ตอนเราเรียนหนังสือ ถ้าเรียนไม่ได้ก็เรียนใหม่ หรือไม่ผ่านจริง ๆ ก็แค่ไม่ได้ใบปริญญา

ดังนั้นความพยายามจึงต่างกันลิบลับครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท