beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เขียนบันทึกอย่างไรให้น่าอ่าน


การเขียนบันทึกที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดี ทำให้มีผู้สนใจที่จะเข้าไปเปิดอ่าน
  • การเขียนบันทึกที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดี ทำให้มีผู้สนใจที่จะเข้าไปเปิดอ่าน (ชื่อเรื่องดึงดูด) และยังทำให้ search engine สามารถค้นหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ชื่อเรื่องต้องสื่อถึงบทสรุปในบันทึก อ้างอิง
  • ในหนึ่งบันทึกมีเรื่องที่ต้องการสื่อเพียง 1 หรือ 2 ประเด็น
  • การเขียนบันทึกที่ดี ต้องเป็นไปในทำนองการเล่าเรื่อง (storytelling) เล่าเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ประทับใจ จากการทำงาน
  • ลักษณะการเล่าเรื่องต้องออกมาจากใจที่มีความรู้สึกอยากจะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบุคคลอื่นอย่างอิสระ โดยไม่ต้องกลัวถูก-ไม่ต้องกลัวผิด
  • เน้นการสร้างบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ในทัศนะคติเชิงบวก แสดงความชื่นชมยินดี ยกย่องความดีซึ่งกันและกัน
  • การเล่าเรื่องราว ไม่ควรเล่าแค่ผลของความสำเร็จ เท่านั้น แต่ควรเล่าที่มาที่ไปของการประพฤติปฏิบัตินั้นๆ และควรเล่าถึงวิธีการปฏิบัติที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ ในแบบที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่จะนำไปปรับใช้ได้
  • ควรเขียนบันทึก ขณะที่เรามีอารมณ์ร่วมในการประพฤติปฎิบัติ กิจกรรมนั้นๆ อยู่ (อาจจะเขียนเป็นร่างเอาไว้ก่อน) เพราะขณะนั้นๆ การเขียนเรื่องเล่าของเราจะมีลักษณะเป็น "เรื่องเล่าเร้าพลัง" มีการสอดใส่อารมณ์ จิตวิญญาณ มีเสน่ห์ ซึ่งทำให้ผู้อ่านติดในรสชาติในการปรุงบันทึกของเรา
  • บันทึกที่ดีควรมีการตรวจทานและแก้ไขคำผิด เพราะว่าหากผิดบ่อยๆ บันทึกของเราก็ขาดความน่าเชื่อถือ
  • บันทึกที่น่าอ่าน ต้องสื่อให้ผู้อ่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะกระทำสิ่งดีๆ ในชีวิตสักอย่างหนึ่ง ให้เกิดประโยชน์ต่อ ผู้ร่วมงาน หน่วยงาน/องค์กร สังคม ประเทศชาติ
  • บันทึกที่น่าอ่าน ควรแต่งสีสัน เน้นสีตัวอักษร ทำ Highlight
  • หากมีภาพประกอบก็จะทำให้บันทึกดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • ภาพ beeman กำลังเขียนบันทึกสดๆ ในห้องประชุม UKM 2/2549 ถ่ายภาพโดยท่านอาจารย์ JJ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • หากยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี แนะนำให้อ่านบันทึกในบล็อกที่ได้รับรางวัล "สุดคะนึง (best blog of the month)" หรือรางวัลสุดยอดคุณลิขิต (ในรางวัลจตุรพลังฯ)
  • ควรใส่ Key word (คำหลักของบล็อกและ/หรือคำหลักของชุมชน) ในบันทึกด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการจัดหมวดหมู่หรือการค้นหาในอนาคต
  • เลือกข้อความสำคัญในบันทึกไปใส่ไว้ตรง "ประโยคเด่น" ด้วย จะทำให้น่าติดตามยิ่งขึ้น
  • ดีที่สุดของการบันทึกก็คือ เริ่มลงมือเขียนในสิ่งสำเร็จเล็กๆ ก่อน ไม่ต้องรอความสำเร็จใหญ่ๆ เพราะความสำเร็จใหญ่มักมาจากความสำเร็จเล็กๆ ทั้งนั้น

สิ่งที่สำคัญคือ "เริ่มเขียนบันทึก ทันทีที่อยากเขียน" ไม่ต้องรีรอ หรือกลัวเขาว่า ประสบการณ์ (ทำบ่อย) จะสอนเราเอง และยังมีพวกพี่ๆ คอยให้กำลังใจครับ.....

 

หมายเลขบันทึก: 23810เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2006 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
เยี่ยมครับ
  •     ขอบคุณ คุณ Beeman ได้ความรู้/เทคนิคการเขียนบันทึกมากเลยค่ะ ไม่ต้องให้รอคอยนานเลยนะค่ะ  นี่แหละค่ะคุณบันทึก หรือคุณลิขิตมืออาชีพจริงๆ ... ขอยกย่อง
  •     คิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการเขียนคือ ต้องมีอารมณ์ ในการเขียนนะค่ะ  ไม่ใช่เขียนได้ทุกวัน บางวันงานเยอะ หงุดหงิด ก็เขียนไม่ได้แล้ว... สำหรับมือใหม่อย่างตัวเอง..  
แบบนี้ที่เขียนไปก็ไม่ค่อยได้เรื่องแน่เลยค่ะ
ไม่ค่อยเข้าเกณฑ์เลย
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ที่มาให้กำลังใจครับ
  • ขอบคุณ คุณ gee ที่เข้ามาลปรร.
  • คุณดอกหญ้าไม่ต้องกลัวเขียนไม่ดีนะครับ ไม่มีใครเขียนดีทุกบันทึกหรอกครับ ขอให้กล้าเขียนเข้าไว้ครับ เรื่องที่เราเขียนต้องตรงใจผู้อ่านที่มีหลากหลายอยู่บ้าง ที่สำคัญมันแสดงพลังของความแตกต่างครับ
ขอบคุณค่ะที่ให้กำลังใจ 
กล้าๆ กลัวๆ ค่ะ อาจารย์
เห็นอาจารย์เขียนบันทึกนี้แล้ว
รีบเปลี่ยนบันทึกตัวเองเป็นบันทึกส่วนตัวเลยค่ะ
กลัวไม่ตรงประเด็น

เรื่องของ Text Design และ Massage Design..ก็มีผลต่อคนรับ "สาร"...อย่างมากกว่า "สวย"..น่าอ่านอย่างเดียวนะคะ

 เพราะบางครั้ง..สวยมากๆ...อาจลายตาได้คะ

  • ขอขอบคุณ Dr.Ka-poom ครับ
  • รับทราบเพื่อแก้ไขในครั้งต่อไปครับ

เกณฑ์ของอาจารย์สมลักษณ์นี่ น่าสนใจมาก

ความเห็นที่ขอสงวน หากไม่สร้างสรรค์และไม่เป็นเชิงบวก คือไม่ชอบบันทึกที่ใช้สีมาก เกิดความไม่อยากอ่านมากกว่าอยากอ่าน

บันทึกที่อยากอ่านคือบันทึกที่เขียนไม่เข้าเกณฑ์รางวัลแต่เขียนอย่างมุ่งมั่นกับเรื่องที่อยากเขียน อยากสื่อ

 

ขอขอบคุณอาจารย์สมลักษณ์ มากนะคะที่มี การแนะนำการเขียนBlogที่ดี สิ่งที่อาจารย์แนะนำ หนูจะปรับปรุงให้ดีที่สุดคะ และถ้าสิ่งไหนอ่านแล้ว ติดขัดไม่สมควร ท้วงติงได้ สิ่งที่อาจารย์ติติง หนูคิดว่าเป็นครูคะ

ไร้นาม แต่เรือง "ปัญญา"

 

ขออนุญาต link ไปที่ ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรมอนามัยด้วยนะคะ
  • ขอบคุณคุณไร้นาม,ท่านอาจารย์ JJ,คุณสมัทรชาและท่านอาจารย์นนทลีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท