beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ที่มาและเป็นไปของรางวัล "สุดคะนึง"


นิตยสาร Playboy มีการจัด Playmate of the Month และเอา Playmate ของ ๑๒ เดือนมาคัดเลือกเป็น Playmate of the Year, GotoKnow จึงเอาบ้าง

   วันนี้ผมเกิดมีความคิด (ฉันทะ) ที่จะค้นหาที่มาของ "รางวัลสุดคะนึง" ขึ้นมา เมื่อคิดแล้วก็ลงมือปฏิบัติเลยครับ เริ่มค้นหา คำว่า "รางวัลสุดคะนึง" จากคำสั่งค้นหาในหน้าหลักของบล็อก และสิ่งที่ไม่ต้องคาดเดาเลยคือจะต้องพบผู้เริ่มต้น Idea ที่จะให้รางวัล "สุดคะนึง" นี้ หนีไม่พ้นปรมาจารย์ทาง KM คือ ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เป็นแน่ครับ ผมขอเล่าเป็นฉากๆ เลยนะครับ

ที่มาของรางวัลสุดคะนึง

   เริ่มต้นมาจาก บันทึกชื่อ รางวัล"สุดคะนึง" (บันทึกเมื่อ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘) ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เขียนที่มาของรางวัลนี้ว่า " นิตยสาร Playboy มีการจัด Playmate of the Month และเอา Playmate ของ ๑๒ เดือนมาคัดเลือกเป็น Playmate of the Year, GotoKnow จึงเอาบ้าง"    

   เป็นอย่างไรบ้างครับ ที่มาของรางวัล "สุดคะนึง" มาจาก Idea ของ นิตยสาร Playboy ครับ (หมายเหตุ บันทึกนี้ใช้ Keyword ของบล็อกเป็น E-learning, ITคุณกิจ ครับ) 

ทำไมจึงตั้งชื่อ "สุดคะนึง"

   ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เขียนไว้ในบันทึกของวันที่ ๓ ก.ค. ๔๘ ว่า "ทำไมจึงตั้งชื่อ “สุดคะนึง” ขอเอาไปเฉลยตอนประกาศรางวัลของเดือนมิถุนายน ครับ"

   แต่ผมค้นหาที่มาของคำว่า "สุดคะนึง" ไม่พบ แสดงว่าท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ลืมเขียนถึงว่าทำไมจึงตั้งชื่อนี้ หรือว่า "ผมไร้ความสามารถ" ที่จะค้นเจอ (เหตุเพราะให้ Keyword ไม่เด่นชัด)

  เมื่อเป็นดังนี้ผมก็ต้องพึ่งการค้นหาหลักภาษาไทยครับ คำว่า "คะนึง" มาจากคำว่า "คำนึง"  (อ่านออกเสียงให้สั้นเข้า) คะนึง=คิดถึง, สุดคะนึง=สุดคิดถึง, เขียนเล่าเรื่อง (ประสบการณ์จากการปฏิบัติ)ดีจนมีคนคิดถึง... ประมาณนี้นะครับ

เกี่ยวกับรางวัลสุดคะนึง

  1. สคส. จะให้รางวัล Blogger of the Month (ต่อมากลายเป็น Best Blog of the Month) เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๔๘ เป็นต้นไป เมื่อครบ ๑๒ เดือน ก็จะมาคัดเลือก Best Blog of the Year อีกครั้งหนึ่ง
  2. Playboy ยกย่องความ sexy    สคส. ยกย่อง Knowledge Sharing
  3. สคส. จะให้รางวัล นักเขียน บล็อก ยอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก  ให้ชื่อว่า “รางวัลสุดคะนึง” 
  4. รางวัล “สุดคะนึง” ก็เปรียบเหมือนดอกไม้หอมช่อเล็กๆ น่ารัก ที่ สคส. ตั้งใจมอบเป็นน้ำใจ ให้แก่ผู้ที่เข้ามาช่วยกันบันทึกเรื่องเล่าที่เกิดจากการปฏิบัติจริง หรือจากการพบเห็นและได้เรียนรู้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  5. กรรมการตัดสินจะหมุนเวียนไปทุกเดือน และกรรมการต้องประกาศเกณฑ์ตัดสินด้วย
  6. การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าสิ้นสุด สคส.รับฟังข้อทักท้วง แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงผลการตัดสิน
  7. ถ้าผลงานไม่เข้าเกณฑ์ก็จะไม่มีการมอบรางวัลของเดือนนั้น   
  8. รางวัลจะเป็น จะเป็น “เสื้อสามารถ” (แจ็กเก็ต สคส.) ๑ ตัว (และสมาชิกจดหมายข่าว สคส. 1 ปี) และ Banner สำหรับใส่ในบล็อกที่ได้รับรางวัลด้วย
  9. ผู้ที่เคยได้รับรางวัลแล้ว อาจได้รับซ้ำอีกไม่มีข้อจำกัด เพราะสคส.มุ่งเน้นการให้รางวัลผลงาน ไม่ใช่สมบัติผลัดกันชม   ถ้าผู้ได้รับรางวัลเดือนถัดไปเคยได้รางวัลชิ้นนั้นแล้ว จะเปลี่ยนตัวรางวัลเป็นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับ KM หรือแวดวงของ สคส. ในมูลค่าใกล้เคียงกัน
  10. พนักงานของ สคส. ไม่มีสิทธิ์ได้รางวัลนี้ครับ

เกี่ยวกับกรรมการตัดสิน

       กรรมการตัดสินรางวัลสุดคะนึง ประกอบด้วย

  1. ที่ปรึกษา (ตั้งแต่เดือนมิ.ย.๔๘ ถึง กุมภาพันธ์ ๔๙ คือ ดร.จันทวรรณ น้อยวรรณ)
  2. ประธานกรรมการ
  3. กรรมการ
  4. กรรมการและเลขานุการ

      ที่ผ่านมา 9 เดือน มีกรรมการ 9 ชุด หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไป (น่าสังเกตว่ามีแต่สุภาพสตรี) ดังต่อไปนี้

       

เดือน

ประธานกรรมการ

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

มิถุนายน ๔๘

คุณนภินทร ศิริไทย 

คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด คุณสุภาภรณ์ ธาตรีโรจน์
กรกฎาคม ๔๘

คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด

คุณสุภาภรณ์ ธาตรีโรจน์ คุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส
สิงหาคม ๔๘

คุณสุภาภรณ์ ธาตรีโรจน์

คุณวรรณา  เลิศวิจิตรจรัส คุณสุนทรี ไพรศานติ   
กันยายน ๔๘

คุณวรรณา  เลิศวิจิตรจรัส

คุณสุนทรี  ไพรศานติ  คุณสุปราณี จริยะพร       
ตุลาคม ๔๘

คุณสุนทรี ไพรศานติ

คุณสุปราณี จริยะพร

คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด
พฤศจิกายน ๔๘

คุณสุปราณี จริยะพร    

คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด   คุณสุภาภรณ์ ธาตรีโรจน์
ธันวาคม ๔๘

คุณอุรพิณ  ชูเกาะทวด  

คุณวรรณา  เลิศวิจิตรจรัส คุณสุนทรี  ไพรศานติ     
มกราคม ๔๙

คุณสุนทรี  ไพรศานติ   

คุณชุติมา อินทรประเสริฐ คุณยุพา    ปานนพภา    
กุมภาพันธ์ ๔๙

คุณชุติมา อินทรประเสริฐ

คุณยุพา    ปานนพภา     คุณสุปราณี  จริยะพร     
       

   กรรมการ ก็คือ ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานของ สคส. มาทำหน้าที่ Blog watch ผลัดเปลี่ยนกันหมุนเวียนกันไป นับรายชื่อผู้ที่เคยเป็นกรรมการได้ 8 ท่าน

  การหมุนเวียนของกรรมการ มักเอากรรมการ (เบอร์ 2) ขึ้นมาเป็นประธานฯ เอากรรมการและเลขานุการ (เบอร์ 3) มาเป็นกรรมการ (เบอร์ 2) และเลือกกรรมการคนใหม่มาเป็นกรรมการและเลขานุการ (เบอร์ 3)

บล็อกและรายชื่อผู้ได้รับรางวัลสุดคะนึง

   รางวัล "สุดคะนึง" เริ่มให้ครั้งแรก เดือนมิถุนายน ๒๕๔๘ จนถึง เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ มี ๙ รางวัล แต่มีผู้ได้รับรางวัลนี้ 7 ท่าน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เดือน

บล็อก

เจ้าของบล็อก 

มิถุนายน ๔๘

dmcop.gotoknow.org

คุณวัลลา ตันตโยทัย 
กรกฎาคม ๔๘

km4fc.gotoknow.org

คุณภีม  ภคเมธาวี
สิงหาคม ๔๘

nurqakm.gotoknow.org

ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร
กันยายน ๔๘

nurqakm.gotoknow.org

ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร
ตุลาคม ๔๘

practicallykm.gotoknow.org

นพ. พิเชฐ บัญญัติ
พฤศจิกายน ๔๘

tri-paki.gotoknow.org

คุณอนุชา หนูนุ่น
ธันวาคม ๔๘

tri-paki.gotoknow.org

คุณอนุชา หนูนุ่น
มกราคม ๔๙

yutkpp.gotoknow.org

คุณวีรยุทธ  สมป่าสัก
กุมภาพันธ์ ๔๙

http://beesman.gotoknow.org

อ.สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์
     

    พอเขียนมาถึงตรงนี้ จึงทราบว่าในหน้าหลักของ gotoknow.org ที่มีภาพผู้เคยได้รับรางวัล"สุดคะนึง" ปรากฏว่า หายไป 1 ท่าน ถ้าท่านสังเกตดูให้ดี ก็จะทราบว่าเป็นใครนะครับ (ผมเข้าใจผิดมานานว่าเดือน กรกฎาคม ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล)

   นอกจากรางวัล "สุดคะนึง" แบบธรรมดาแล้ว ยังมีรางวัล "สุดคะนึง" ประเภทดาวรุ่งด้วย ซึ่งอยู่ในเดือนมกราคม ๒๕๔๙ นะครับ

เกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการ

        เกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการแต่ละชุดมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักใหญ่ๆ ประกอบด้วย

  1. มีการบันทึกสม่ำเสมอ (10-50 บันทึก/เดือน)
  2. มี Keyword ของบล็อก
  3. มีการบันทึกความรู้ฝังลึกที่ได้มากจากการปฎิบัติจริงในเรื่องนั้น ๆ 
  4. มีการบันทึกการนำการจัดการความรู้ไปใช้กับงานประจำของตน/กลุ่ม
  5. ชื่อเรื่องน่าสนใจและดึงดูด
  6. ความสวยงามของบล็อก
  7. จำนวนข้อคิดเห็น       
  8. มีความสร้างสรรค์

ทำอย่างไรจะมีโอกาสเป็น Candidate ของรางวัลสุดคะนึง

   ความจริงแล้ว คนที่จะเขียนบล็อกได้ดี ต้องมีความรู้ 2 อย่างใหญ่ๆ คือ

  1. มีความรู้เรื่อง KM (เน้นที่จะเอาไปใช้ปฏิบัติได้) หรือ เคยทำงานที่เป็น KM มาแต่ไม่รู้ว่านั่นคือ KM
  2. มีความรู้เรื่องบล็อก (ฝึกฝนกันได้)

    ดังนั้นการเริ่มต้น ควรมีฉันทะหรือความพึงพอใจที่จะทำงานทั้ง 2 ด้าน ควบคู่กันไป คือ ปฏิบัติงานที่ใช้ KM เป็น ธงนำ และตามมาด้วยการเล่าเรื่อง Storytelling งานที่ทำลงในบล็อก เขียนให้เป็นธรรมชาติ เขียนให้เป็นนิสัย เขียนบ่อยๆ ซึ่งพอสรุปให้เป็นแนวทางได้ดังนี้ (ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์)

  1. เขียนแบบเล่าเรื่อง (Storytelling)
  2. เขียนอย่างมีคุณภาพ และสม่ำเสมอ
  3. เอาเรื่องจริงมาเล่า เล่าเรื่องงาน วิธีการทำงาน และความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำ
  4. เล่าผลงานที่ตนหรือทีมงานมีความภาคภูมิใจ
  5. เล่าเรื่องวิธีทำงานดี ๆ ที่เป็นการริเริ่มสิ่งแปลกใหม่  
  6. เล่าที่มาที่ไปของผลงานนั้นว่า เกิดจากอะไร เช่น การปิ๊งไอเดีย  ความเชื่อบางอย่าง  การฟันฝ่าความยากลำบากหรือล้มเหลว  การรวมตัวกันเป็นทีมที่ข้ามสายงาน เป็นต้น
  7. เล่าให้เห็นว่าเรื่องนั้นช่วยให้หน่วยงานของตนบรรลุวิสัยทัศน์อย่างไร
  8. เล่าให้เห็นว่าตน/ทีม ได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนั้น
  9. บล็อกควรมี "คำหลัก" หรือ "Keyword" เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาในอนาคต
  10. บล็อกควรมีความสวยงาม เพื่อดึงดูดให้มีผุ้เข้ามาอ่านและแสดงข้อคิดเห็น

เวทีประกาศผลรางวัล "สุดคะนึง"      
    สคส. ไม่ต้องลงทุนไปเช่าสถานที่จัดงาน (สถานที่จริง) แต่ใช้เวทีเสมือน (ก็คือบล็อกนั่นแหละ) เป็นสถานที่ประกาศผลรางวัล เวทีเสมือนนั้นก็คือบล็อกที่มีชื่อว่า Play & Play ซึ่งมีเจ้าของบล็อก 3 คน หรือ 3 ซ่า PO ซึ่งบล็อกของพวกเธอไม่มีรายละเอียดนะครับ โปรดคลิ๊กเข้าไปดูภาพของพวกเธอได้ครับ

   เป็นที่น่าสังเกตว่าบล็อก Play & Play ที่คณะกรรมการตัดสินรางวัล "สุดคะนึง" ใช้เป็นสถานที่ประกาศผลรางวัลนั้น ใน 9 ครั้ง มี "Keyword" หรือ "คำหลัก" ว่า "รางวัลสุดคะนึง" เพียง 5 เดือนเท่านั้น ได้แก่เดือน กุมภาพันธ์, มกราคม 2549 และ ธันวาคม, ตุลาคม, กันยายน 2549 ส่วนอีก 4 เดือนไม่มี "คำหลัก" ในบล็อกเลย ได้แก่เดือน มิถุนายน, กรกฎาคม,สิงหาคม และพฤศจิกายน 2548 ทำให้ยากแก่การค้นหาบันทึก..ครับ :)

 

 ตัวอย่าง

 
 

 
 

ป้าย Banner

 
     

หมายเหตุ บทความนี้ใช้เวลาค้นคว้า,เขียนและแก้ไขรวมเวลา 7 ชั่วโมง

หมายเลขบันทึก: 20255เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ในระหว่างที่เข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลและจัดการความรู้เกี่ยวกับการเขียนบล็อก ผมได้เข้ามาพบบันทึกที่ทรงพลังอย่างมาก ๆ จากท่านอาจารย์บันทึกนี้
  • ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่ท่านอาจารย์กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านถึง 7 ชั่วโมงในการทำบันทึกดี ๆ แบบนี้ออกมาครับ
  • ขอบขอบพระคุณอีกครั้งครับ

 

สวัสดีคะ...ท่าน beeman

กะปุ๋มมาร่วมชื่นชมคะ...พักหลังกะปุ๋มไม่ค่อยได้เจอท่านในหน้าหลักเลย...แต่ก็ตามมาจนเจอ

...

สุดคะนึง...ในใจ...ตน

*^__^*

กะปุ๋ม

 

  • ต้องขอขอบคุณ คุณ ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ ที่เข้ามาเยี่ยมบันทึกนี้ครับ
  • บันทึกนี้แม้ว่าจะเป็นบันทึกที่ดี (ในความเห็นของผม) แต่มีคนเข้ามาอ่านเพียง 56 ครั้ง (นับจากเดือนมิถุนายน 2549)
  • คุณแกบ แห่งสคส. เคยมาเยี่ยมบันทึกนี้ แต่ก็ไม่ได้ทิ้งรอยไว้ในบันทึกครับ
  • คุณปภังกร นับเป็นท่านแรกที่เข้ามาเยี่ยมและให้กำลังใจ ต้องขอขอบคุณครับ
  • ตามมาด้วย คุณ Ka-Poom ที่เข้ามาเยี่ยม ต้องขอขอบคุณครับ
  • พักนี้ผมมีปัญหาบางอย่าง ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ที่หน้า computor ครับ
  • คงต้องใช้เวลาปรับตัวอีกพักใหญ่ครับ
  • ของดีอย่างไรก็ยังต้องเป็นของดีครับท่านอาจารย์ beeman
  • อาจจะเป็นเพราะด้วยช่วงเวลาหรือโชคชะตาที่ทำให้สิ่งดี ๆ แบบนี้ฝังอยู่ในห้วงลึกแห่ง G2K เสียนานครับ
  • แต่การฝังลึกอยู่นั้นก็การบ่มเพาะและฟูมฟักพลังรอวันที่จะทะลุและพุ่งขึ้นมาสู่สายตาทุก ๆ คน
  • ต้องขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงมาก ๆ ครับ ที่มีบันทึกดี ๆ ออกมานำเสนอ เพราะมิใช่บันทึกนี้บันทึกเดียวครับ ผมได้เข้าไปย้อนอ่านสิ่งดี ๆจากท่านอาจารย์ในหลาย ๆ บันทึก พบว่า มีพลังสั่งสมไว้อย่างมากมายเลยครับ
  • ช่วงนี้ก็คงต้องกล่าวคำว่า "น่าเสียดาย" มาก ๆ เลยครับ ที่อาจารย์มีภาระงานค่อนข้างมากทำให้พวกเราอาจจะพลาดบันทึกดี ๆ จากท่านอาจารย์ไปครับ
  • แต่อย่างไรพวกเราทุกคนขอขอบพระคุณอาจารย์และส่งพลังใจให้บุคลากรที่เต็มไปเปี่ยมไปด้วยพลังและสิ่งดี ๆ อันล้มเปี่ยมอย่างเช่นท่านอาจารย์ทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติตราบนานเท่านานครับ
  • ขอพลังแห่งความรู้และปัญญาสถิตกับท่านอาจารย์ตลอดไปครับ
  • ขอขอบคุณ คุณปภังกร ที่เข้ามาให้กำลังใจ อีกครั้ง ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท