การจัดการกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ..2


การไกล่เกลี่ยต้องใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ใช้ความอ่อนไปต้อนความแข็ง ใช้ความเบาไปเขย่าความแรง ชี้เหตุใช้ผลชี้ทางออกบอกทางถูกให้คูกรณียืประกอบการตัดสินใจ

    การไกล่เกลี่ยกับการเกลี้ยกล่อม มีความต่างกันตรงที่การไกล่เกลี่ยต้องมีกระบวนการ มีคนกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ มีการบันทึกข้อตกลง และที่สำคัญคู่กรณีย์ที่ตกลงกันกลับบ้านด้วยความสบายใจ ในข้อตกลงที่ตัวเองยินยอมพร้อมใจ  ส่วนการเกลี้ยกล่อม คนที่เป็นคนกลางมักเป็นคนที่คู่กรณีย์เกรงใจ ผลของการเกลี้ยกล่อมคู่กรณีย์มักกลับบ้านด้วยความมีความกังวลเพราะใจยังไม่ยอมจำนน  การไกล่เกลี่ยต้องใช้ความความสงบสยบความเคลื่อนไหว ใช้ความอ่อนไปต้อนความแข็ง  ใช้ความเบาไปเขย่าความแรง ชี้เหตุใช้ผลชี้ทางออก บอกทางถูกให้คู่กรณีย์ประกอบการตัดสินใจ

   ในเวทีการอบรม"การจัดการกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท"น้องต้น ธนาธิป หุยะนันท์ และน้องตูน ผกามาศ ศุภสรสองพิธีกรของกรมคุ้มครองสิทธิ์ฯได้นำเข้าสู่กระบวนการสร้างความคุ้นเคย ให้ผู้เข้าร่วมอบรม ได้ทำความรู้จักมักคุ้นโดยการแบ่งกลุ่มออกเป็น 10 กลุ่มๆละ 10 คน ให้ทำกิจกรรม ใช้มือ งมสิ่งของซึ่งมีสิ่งของอยู่สองอย่างในกะละมังที่ใส่แป้งมันในน้ำ กติกาให้ทุกคนในกลุ่มช่วยกันหา แต่ห้ามส่งเสียง  สนุกสนานกันมาก บางกลุ่มมีคนกำกับการปฎิบัติการคอยส่งซิกสัญญาณให้เพื่อนๆ บางกลุ่มหาเหรียญพบแล้วใส่กลับไปใหม่เพราะนึกว่าต้องให้ทุกคนในกลุ่มได้สัมผัสเหรียญ

 สุดท้ายทุกกลุ่มก็พบสิ่งที่ให้ช่วยหาเป็นเหรียญบาทสองอัน  บทเรียนจากการควานหาเหรียญสรุปได้ว่า

1. ในการให้ข้อมูลและกติกาไม่ชัดเจน(เป็นความต้องการของผู้ดำเนินการ)

2.การปฎิบัติงานถ้าไม่มีการพูดคุยจะเกิดความเครียดในการทำงาน

3. กลุ่มที่ใช้ความรุนแรงจะไม่สามารถหาเหรียญได้ เพราะจะมีแรงต้านจากแป้งไม่สามารถเอามือควานหาเหรียญได้

  สรุปโดยรวมคือจากกิจกรรมชี้ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาการไกล่เกลี่ยให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี   นั้นต้องใช้ความนุ่มนวลต้องใช้ความร่วมมือ ต้องใช้เวลาจึงจะแก้ปัญหา  การไกล่เกลี่ยให้สำเร็จแล้วมีความสุขร่วมกันทุกฝ่าย

 

P6250062_resize

แป้งมันในกะมังมัง

P6250063_resize

ร่วมกันควานหาสิ่งของที่ต้องการ เหรียญบาทสองอัน

หมายเลขบันทึก: 271883เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะว่าการปฎิบัติงานถ้าไม่มีการพูดคุยจะเกิดความเครียดในการทำงาน

เพราะหากเราพูดคุย มีเรื่องเล่า  ปรึกษาหารือ  ทำให้บรรยากาศดี  ความเป็นกันเองมีมากขึ้น ความสุขก็จะตามมาค่ะ

สุดสายป่านคือใครยังไม่รู้

บอกใหสู้ๆบังวอญ่า สาคุ้นคุ้น

คลิกไปดูรู้แท้ใครคือคุณ

ชาวสตูลคนงามน้ำใจดี .....อิอิอิเปลี่ยนอีกแล้ว

สวัสดีครับครูตุ๊กตา งานชุมชนชาวบ้านโดยเฉพาะการไกล่เกลี่ย ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งตบะบารมีด้วยครับ ถึงจะจัดการได้

ขอบคุณมากๆนะคะ ที่กรุณานำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาเผยแพร่ให้เพื่อนๆได้ทราบทางบล็อกนี้ แล้วจะแจ้งผอ.ให้ทราบต่อไปนะคะ

สวัสดีครับน้องปลา ชุติมา

ได้เห็นน้ำใจของปลาในวันที่พวกเราจะไปมัสยิดแล้ว   พวกเราทุกคนปลื้มครับ แล้วก้อยากให้ช่องทางของ โกทูโน  เป็นที่แลกเปลี่ยนของเครือข่ายอีกช่องทางหนึ่งด้วยครับ  มีข่าวอะไรทางกรมส่งทางเมล์มาได้ครับทางเครือข่ายจะได้บอกต่อครับ

ด้วยความขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับ
  • เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่การเรียนรู้ที่เยียมมาก
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับบังวอญ่าที่เคารพ

อ่านบทความท่านแล้วได้ข้อคิดว่า

"ทุกอย่างต้องเข้าใจและพอดี๊พอดีจึงจะสำเร็จ อิอิ ใช่เปล่าครับ"

สวัสดีครับน้องสิงห์ ป่าสัก

งานเข้าครับระยะนี้ 1-4นี้ ม.วลัยลักษณ์ เชืญร่วมงาน สุขภาวะชุมชนอีกครับ เอาการแก้ปัญหาความขัดแย้งชุมชนไปเล่าครับ

ขอบคุณครับที่แวะมา

สวัสดีครัยท่าน ว่าที่ ร.ต.วุฒิชัย งานไกล่เกลี่ยไม่รักจริงไม่มีใครทำ เพราะมีความเสี่ยงมากมาย แต่พอไกล่เกลี่ยได้หลายๆเรื่องหลายคนเห็นความสำคัญเข้าเป็นเครือข่ายเพิ่มขึ้นครับท่าน

สวัสดีคะ

หลักสูตรนี้น่าเรียนนะคะ

ท่าทางสนุกคะ

สวัสดีครับแม่ต้อย คนทำงานชุมชน ประเด็นใหนเชิญมา

ก็เข้าร่วมศึกษาหาความรู้ แล้วที่เทศบาลปากพะยูน รับงบฯจาก สสส. มาทำโครงการแก้ปัญหาความขัดแย้งชุมชน

 แล้ว สำนักงานยุติธรรมชุมชนเกิดสนใจ เราเลยร่วม บูรณาการ ทั้งงบประมาณ คน และพื้นที่ เชิญแวะไปดูที่นี้ครับ http://gotoknow.org/blog/bangheem/250573  แล้ววันที่ 2 -3  กค.นี้ ทางม.วลัยลักษณ์ โดยอาจารย์ ดร. วัลลา ได้เชิญให้คณะทำงานโครงการแก้ปัญหาความขัดแย้งชุมชน เข้าร่วมงานเล่ากิจกรรมความขัดแย้งชุมชนครับ

การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางนี่น่าจะมีอยู่ในวิถีปกติของชุมชนไทยเรา แต่ช่วงหลังเมื่อมีความขัดแย้งก็มักจะให้ผู้มีบารมีมาเกลี้ยกล่อม หรือไม่ก็อุ้มไปเลย บทสรุปมันก็เลยไม่เป็นแบบ win-win อย่างที่หวัง แต่กลับกลายเป็นว่าคนกลางของฝ่ายไหนจะมีบารมีหรือมีอิทธิพลสูงกว่า ฝ่ายนั้นก็จะได้เปรียบ

รักษาสุขภาพนะคะ

มีความสุขในทุกๆวัน

แวะมาทักทายวอญ่า ค่ะ

 

สวัสดีครับคุณเหลา การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการเปิดพื้นเจรจาที่มีคนกลางที่คู่กรณีย์ยอมรับ  ไห้คู่กรณีย์ตกลงกันโดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างพอใจ คือสิ่งที่คณะทำงานไกล่เกลี่ยทำอยู่ครับท่าน

สวัสดีครับคุณสายธารแห่งศรัทธา ไม่ได้เปิดบันทึกนี้หลายวัน ขออภัยครับกับการตอบช้า ขอบคุณความปราถนาดีที่มีให้เสมอมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท