BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

อักษร อักขระ


อักษร อักขร

อักษร เป็นคำสันสกฤต อักขระ เป็นคำบาลี ... แต่เมื่อแปลงสัญชาติมาเป็นไทยความนิยมใช้ก็แตกต่างกันนิดหน่อย และเมื่อว่าตามความเห็นของผู้เขียน...

อักษร ใช้ในความหมายว่าเป็นตัวหนังสือทั่วไป ซึ่งอาจจำแนกออกเป็น สระ เช่น เ ไ โ .. และพยัญชนะ เช่น ก ข จ ป ... และผสมกันขึ้นมาเป็นข้อความทั่วไปเพื่อใช้สื่อถึงกันและกัน...

อักขระ ก็คือสระและพยัญชนะข้างต้นนั่นเอง แต่เรียกเฉพาะตัวหนังสือที่ใช้จารลงในกระดาษ ผ้า แผ่นหนัง ฯลฯ... หรือแม้แต่สักลงที่ร่างกายของคน เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ...

........

อ + กษร = อักษร ...(สันสกฤต) คำไทยไม่นิยมใส่สระอะ หรือวิสรรชนีย์

อ + ขร = อักขระ ...(บาลี) คำไทยนิยมใส่สระอะ หรือวิสรรชนีย์  

กษระ หรือ ขระ แปลเหมือนกัน แต่เขียนต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น (ผู้เขียนเคยเล่าไว้หลายครั้งแล้วว่า ข. ในบาลี จะแปลงเป็น กษ. ในสันสกฤต เช่น เขมะ - เกษม , ขีระ - กษีระ , ขัตติยะ - กษัตริย์ ...ฯลฯ)

ตอนที่แรกเรียนบาลี อาจารย์บอกว่า กษระ (ขระ) แปลว่า สิ้นไป หรือ แข็ง ... ส่วน อะ แปลว่า ไม่ ...ดังนั้น อักขระ (อักษร) อาจแปลได้ ๒ ความหมาย กล่าวคือ

  • ไม่รู้จักสิ้นไป
  • ไม่เป็นของแข็ง

อธิบายได้ว่า ตัวหนังสือที่เราเรียกว่า อักษร (อักขระ) นี้ แม้ว่าเราจะใช้พูดใช้เขียนเท่าไหร่ก็ตาม แต่ก็จะไม่หมดสิ้นไป ยังคงมีอยู่ให้เราใช้ตลอดไป ดังนั้น จึงชื่อว่า อักษร (อักขระ) ไม่รู้จักสิ้นไป ..

อีกนัยหนึ่ง อักษร (อักขระ) ของคนชนชาติใด หรือภาษาใดก็ตาม พวกเขาก็จะพูดได้โดยสะดวก และพลิกแพลงไปได้ตามความเหมาะสม ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า  อักษร (อักขระ) ไม่เป็นของแข็ง ...

.........

อักษร (อักขระ) ตามความหมายว่า ไม่รู้จักสิ้นไป และ ไม่เป็นของแข็ง ทำนองนี้ จึงอาจใช้ในความหมายอื่นๆ ได้อีก มิใช่ว่าจะเพ่งถึงตัวหนังสือเท่านั้น เช่น ในคัมภีร์ภควัทคีตา บทที่ ๘ ตอนหนึ่งว่า...

  • " อภาวะอันอยู่เบื้องหลังภาวะ และเป็นแดนกำเนิดของเหล่าพรหมตลอดจนสรรพสิ่งในจักรวาลนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อักษรภาวะ "
  • " อรชุน ! อักษรภาวะนี้เป็นชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด บุคคลจะเข้าถึงอักษรภาวะนี้ได้ก็ด้วยความภักดีอันมั่นคงไม่คลอนแคลนในเราเท่านั้น "

ตามนัยนี้ อักษร อาจหมายถึง พรหมัน (หรือ เอกภพ) ...เพราะ ไม่รู้จักสิ้นไป ไม่มีที่สุด ... ประมาณนี้ 

คำสำคัญ (Tags): #อักขระ#อักษร
หมายเลขบันทึก: 121161เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

หนังสือคอมพิวเตอร์บางเล่มก็แปล character ว่า "อักขระ" ครับ. ไม่ทราบว่าผู้แปลมีจุดประสงค์อย่างไร ทำไมจึงไม่ใช่คำว่าตัวอักษร.

คงจะไม่ใช่เพราะว่าต้องการสื่อว่าคอมพิวเตอร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรืออาจจะอยากสื่ออย่างนั้นก็ไม่ทราบ) แต่อาจจะต้องการสื่อว่า character นี้ไม่ได้หมายถึงรูปร่างของตัวอักษร (glyph) แต่หมายถึงข้อมูลที่อยู่ลอยๆ ต้องนำมารวมกับ font ก่อนจึงจะได้ glyph ออกมา. 

ไม่มีรูป
vee
เห็นด้วยตามที่น้องวีร์ว่า
  • อักขระ น่าจะมุ่งหมายเป็น ตัวๆ
  • อักษร น่าจะมุ่งหมายการนำมาผสมกันเป็น คำๆ
ตอนที่เขียนก็นึกถึงประเด็นนี้เหมือนกัน ลองค้นดูในเน็ตก็ไม่เจอ จึงใช้ความเห็นส่วนตัวเป็นเกณฑ์...
ความเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพี่นะ เป็นของคนโบราณ.... ส่วนประเด็นที่น้องวีร์ว่ามานะ เป็นประเด็นสมัยใหม่ ซึ่งหลวงพี่ไม่ค่อยคุ้นเคยนัก....
เจริญพร
เป็นตัวๆก็ฟังดูเข้าทีเหมือนกันครับ :-).

อยากได้อักขระ ขอมครับ

ไม่มีรูป เด็กวัด

 

  • ไม่มีความรู้เรื่องนี้

เจริญพร

อยากเขียนภาษาบาลีเป็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท