คนที่คิดว่า OLPC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่สองประเภท


ผมนึกขึ้นได้ว่าจะมีคนสองประเภทที่คิดว่า OLPC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์

พวกแรกผมจะขอเรียนให้ตกใจเล่นว่าเป็นพวก "รู้น้อย"

"รู้น้อย" ในที่นี้คือคนที่รู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยเพราะไม่ได้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ไม่เป็นเรื่องแปลกที่คนเราจะ "รู้น้อย" ในบางเรื่องเพราะไม่ใช่เป็นเรื่องในวิชาชีพของเรา ตัวอย่างเช่น ผมเองก็หลงเข้าใจว่าน้ำมันทุกประเภทไม่ควรกินเพราะอันตรายต่อร่างกายอยู่ตั้งนานกว่าจะรู้ว่าน้ำมันมีแบบดีกับแบบไม่ดี น้ำมันดีควรกิน น้ำมันไม่ดีไม่ควรกิน

เนื่องจาก OLPC ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น "laptop" คนกลุ่มแรกนี้ก็คิดว่าเป็น laptop

ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นความผิดของคนคิดโครงการนี้แต่แรก (Prof. Nicholas Negroponte) ที่ตั้งชื่อไม่สื่อกับสิ่งที่เขาพยายามจะทำ ซึ่งตอนนี้ Prof. Negroponte ก็ได้ประสบการณ์ด้าน branding ราคาแพงและพยายามจะเปลี่ยนชื่อ OLPC ไปหลายต่อหลายชื่อแล้ว อาทิเช่น CM1, 2B1, XO เป็นต้น และก็คงได้เปลี่ยนชื่อไปอีกหลายครั้งกว่าจะสื่อสารให้สาธารณชนเข้าใจว่า OLPC คืออะไร

ผมเองก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรเหมือนกัน นี่ก็ตัดสินใจว่าเรียกว่า OLPC ไว้ก่อน

ในอนาคต เรื่องชื่อของ OLPC นี้จะเป็นเรื่อง classic ด้านความผิดพลาดด้าน branding ที่ต้องเล่ากันต่อไปชั่วลูกชั่วหลานทีเดียว

ส่วนพวกที่สองที่เข้าใจว่า OLPC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์คือพวก "รู้มาก"

"รู้มาก" คือมีความรู้มาก พวกนี้ได้แก่พวกที่มีอาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหลาย

สำหรับพวกนี้ ยิ่งรู้เยอะก็ยิ่งรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างก็คือ "คอมพิวเตอร์" รวมทั้ง OLPC ด้วย

ซึ่งเขาไม่ผิดนะครับ ถูกต้องทีเดียว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ในปัจจุบันคือ "คอมพิวเตอร์" จริงๆ ไม้จิ้มฟันยันเรือรบครับ

ในโลกปัจจุบัน บางคนตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนใช้ "คอมพิวเตอร์" โดยตลอด

แปรงสีฟันก็คุมด้วย "คอมพิวเตอร์" อาบน้ำด้วยเครื่องทำน้ำอุ่นที่ควบคุมด้วย "คอมพิวเตอร์" แล้วมาชงกาแฟด้วยเครื่องต้มกาแฟ "คอมพิวเตอร์" อีก และอื่นๆ อีกมากมายไปทั้งวัน จนก่อนนอนก็ตั้งนาฬิกาปลุกที่คุมด้วย "คอมพิวเตอร์"

เพราะคำจำกัดความของ "คอมพิวเตอร์" มันหลากหลายครับ อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วย microprocessor ก็เป็นคอมพิวเตอร์แล้วสำหรับบางคน บางคนบอกว่าอยู่บนพื้นฐานดิจิตอลเทคโนโลยีก็เป็นคอมพิวเตอร์ และหลายต่อหลายคำจำกัดความ

พอมาถึง OLPC คราวนี้ยิ่งบอกว่าไม่ใช่คอมพิวเตอร์สำหรับคนกลุ่มนี้ยากไปใหญ่ เพราะไม่ว่าจะดูมุมไหนมันก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องคิดมากและไม่ต้องรู้เรื่องทางวิศวกรรมมากก็เห็นได้ว่า OLPC ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะมันมีทุกอย่างที่ laptop เครื่องหนึ่งที่ใครต่อใครรู้จักจะพึงมี

คนกลุ่มนี้จะบอกให้เข้าใจว่า OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ยากมาก ยากกว่ากลุ่มแรก (กลุ่มรู้น้อย) อีก

สำหรับคนกลุ่มนี้ บอกว่า iPod ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังทำได้ง่ายกว่าการบอกว่า OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ เพราะ OLPC "เหมือน" เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก

แต่จะมีพวก "รู้กลาง"

พวกนี้คือคนทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าใจว่า OLPC ไม่ใช่ "เครื่องคอมพิวเตอร์" ในความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ที่คนกลุ่มแรก (กลุ่มรู้น้อย) เข้าใจ และไม่ใช่ "เครื่องคอมพิวเตอร์" ที่คนกลุ่มที่สอง (กลุ่มรู้มาก) เข้าใจ

เพราะทันทีที่เรามอง OLPC ที่ "การออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์การใช้ของมัน" หรือ utility เราจะเห็นทันทีว่า OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่มันคือ "อุปกรณ์ประเภทใหม่ชนิดหนึ่ง" ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก

มันคือ revolution ที่เติบโตมาในทิศทางเดียวกันกับ กระดานชนวน กระดาษ ปากกา หนังสือ สมุด ดินสอสี กระดานดำ ชอล์ค ดินน้ำมัน ฯลฯ รวมทั้ง "คอมพิวเตอร์" ที่เรารู้จักและใช้กันมาในหลายสิบปีที่ผ่านมาด้วย แต่มันไม่ใช่ "คอมพิวเตอร์" ในความหมายที่เรารู้และเข้าใจกัน

ผมก็ไม่รู้จะเรียกมันว่าอะไร จะเรียกมันว่าอยู่ในตระกูลของ "อุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้" ก็คงได้

เรื่องนี้อธิบายยากครับ

โดยเฉพาะเมื่อ OLPC พึ่งอยู่ในสภาวะตั้งไข่อยู่เช่นนี้ และเรายังไม่รู้ว่า OLPC ของ Prof. Nicholas Negroponte จะไปรอดหรือไม่

แต่ที่ผมรู้แน่นอนว่า "อุปกรณ์ชนิดใหม่นี้" ได้ "เกิด" แน่นอน ถ้าโครงการของ Prof. Negroponte ไม่รอด อีกไม่นานก็จะมีคนทำอันที่มัน "รอด" ออกมาเอง

เพราะแนวความคิดมันออกมาแล้ว และสำหรับคนที่ get it นั้น "really get it" จริงๆ ว่ามันคืออะไร

ไม่แน่สิ่งที่ "work" จริงๆ อาจจะเป็น Simputer ของอินเดียก็ได้

แต่อย่างไรก็ตาม Simputer และ OLPC เป็นอุปกรณ์ "คนละชนิดกัน" แม้จะ "ใกล้เคียงกันก็ตาม"

แต่ทั้งสองอย่าง "ไม่ใช่คอมพิวเตอร์" ทั้งคู่

เพื่อจะให้ OLPC รอด เราต้องพยายามทำให้คนเข้าใจในความจริงที่ว่า OLPC "ไม่ใช่คอมพิวเตอร์" ทั้งพวกกลุ่ม "รู้น้อย" และกลุ่ม "รู้มาก"

โดยเฉพาะกลุ่ม "รู้มาก" นี่สำคัญที่สุด ถ้ากลุ่มนี้ยังคิดว่า OLPC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ OLPC ก็ไปไม่รอดแน่นอน

ผมเชื่อว่าเรื่องการปรับความเข้าใจว่า OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์นี่เป็นประเด็นหัวใจประเด็นแรกสุดและสำคัญที่สุดที่ต้องแก้ เพราะถ้าแก้ประเด็นนี้ไม่ได้ OLPC ไม่รอดแน่นอนครับ

คงต้องช่วยกันอธิบายนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #olpc#ความเข้าใจผิด
หมายเลขบันทึก: 57801เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอเป็นพวก"ไม่รู้เลย"นะคะ มันฟังดูน่าสนใจนะคะ อ่านเป็นเสียงว่าอะไรคะ OLPC เนี่ย โอแล่บ หรือโอแอลพีซี (นี่ไม่ได้แซวนะคะ ถามจริงๆและไม่รู้จริงๆ)

ตามอ่านมาหลายบันทึก กระโดดข้ามไปข้ามมา เลยยังไม่รู้ว่ามันคืออะไรเลย ไปโน่นเลย UBC, UMBC กับตามไปดู presentation แต่มันไม่ available น่ะค่ะ เลยยังอยู่เป็นพวก "ไม่รู้เลย" อยู่เนี่ย (หลายเลย จนจะถึงเลยอยู่แล้วเลย)

ขอบคุณพี่โอ๋ที่เตือนครับ เรื่องนี้เป็นความผิดผมเองที่บ่นรำพึงรำพันมาหลายบันทึกแต่ก็ไม่ยอมเขียนอธิบายว่า OLPC คืออะไรเสียที

ประมาณว่าชอบบ่นมากกว่าชอบอธิบายครับ

ตอนนี้คงต้องขอให้อ่านที่นี่ไปก่อนครับ http://wiki.laptop.org/go/Home

คำอธิบายที่อ.บันทึกไว้ที่ เรื่องต่อเนื่อง
ก็เข้าใจง่ายดีนะคะโดยเฉพาะประเด็นที่ว่า

  • บางคนเห็นว่า OLPC เป็น "ของทันสมัย" ที่ "ฟู่ฟ่า" นี่ก็เข้าใจผิด
  • OLPC ไม่ใช่ "เทคโนโลยีทันสมัย" แต่เป็น "เทคโนโลยีที่พอเพียง" เพื่อการเรียนรู้ ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการเรียนการสอน
  • ราคา 4,000 บาทต่อเครื่อง
  • รัฐบาลที่เน้น "ความพอเพียง" จริงต้องสนับสนุน OLPC
  • OLPC ใช้ระบบเฉพาะ (Linux) แต่เป็นระบบเปิด (open source) เกมส์ต่างๆ ที่เด็กเล่นกันนั้น เล่นบนเครื่องนี้ไม่ได้ เครื่องนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเครื่องนี้นั้นมีเยอะครับ นักพัฒนาเป็นล้านคนที่หัวใจเปิด (open source) ต่างรอคอยพัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆ ให้เครื่องนี้กันทั่วโลก
และที่สำคัญ....
  • ปรากฎว่ารัฐบาลนี้กลับล้มเลิกโครงการ OLPC แต่ทำโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรต่อ ทั้งๆ ที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรเป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนได้ "โล๊ะ" คอมพิวเตอร์ตกรุ่นมาขายให้คนไม่รู้เรื่อง
  • Texts – stories and poems; textbooks, workbooks, how-tos and lab manuals;
    สามารถอ่านข้อความหรือเอกสารได้

  • Reference works – encyclopedias, dictionaries, maps and atlases;
    สามารถที่จะใช้หาข้อมูลอ้างอิงในการทำงาน มีพจนานุกรมด้วย

  • Images – symbols and fonts, blueprints, sketches, photographs and art;
    สามารถใช้ดูรูปภาพหลายประเภท

  • Multimedia content – animations, audio books, songs and audio recordings, videos;
    สามารถใช้เป็นสื่อบันเทิงได้ด้วย
  • Software – games, tools, scripts, simulations, self-assessments and interactive tools
    และสามารถที่จะใช้โปรแกรมทั้งหลายได้

ส่วนพวกที่สองที่เข้าใจว่า OLPC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์คือพวก "รู้มาก"
"คนกลุ่มนี้จะบอกให้เข้าใจว่า OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ยากมาก ยากกว่ากลุ่มแรก (กลุ่มรู้น้อย) อีก"

จริงครับ... ผมมองอย่างไร มันก็ยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง

ยังไงผมก็ว่ามันคือเคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบ CPU , OS และอื่น ๆ มากมาย  

 แต่ผมไม่มองว่ามันเป็นของเด็กเล่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท