สำนักอำนวยการ
สำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ธรรมาภิบาลเพื่อความเจริญของชาติ


ธรรมาภิบาล

ธรรมภิบาล  คำนี้มีที่มา หากเราแยกรากศัพท์คำนี้ออกมา ก็จะเป็น ธรรม + อภิบาล ธรรม คือ ความดี ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ ส่วนคำว่า อภิบาล ก็คือ ปกป้อง รักษา ดังนั้น ธรรมาภิบาลจึงเป็นกฎเกณฑ์ที่ดี
ในการบำรุงรักษาบ้านเมือง เป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม
หลักธรรมาภิบาลจึงตั้งอยู่บนรากฐานของความถูกต้อง ดีงาม
ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้

1. หลักนิติธรรม  คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัย เป็นธรรม และถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาค มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจ หรือใช้อันอำนาจที่ไม่ชอบธรรม

2. หลักคุณธรรม   คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้อง ดีงาม
อันได้แก่ ความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน ขยันหมั่นเพียร
มีระเบียบวินัย เป็นต้น โดยสมาชิกในสังคมจะต้องถือปฏิบัติทั่วกันอย่างจริงจัง

3. หลักความโปร่งใส  คือ  การปรับปรุงระบบ และกลไกการทำงานให้มีช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีกระบวนการตรวจสอบและติดตามที่มีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ช่วยให้ปลอดจากการทุจริต คอรัปชั่น ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

4. หลักการมีส่วนร่วม  คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้  เสนอแนะความคิดเห็นเพื่อการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ ประชาพิจารณ์ ประชามติ เป็นต้น
ซึ่งจะช่วยขจัดการผูกขาดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้เกิด
ความสามัคคีระหว่างภาครัฐและเอกชน

5. หลักความรับผิดชอบ  คือ ความรับผิดชอบต่อความบกพร่อง
ในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที

6. หลักความคุ้มค่า  คือ การบริหารจัดการใด ๆ ที่ยึดความประหยัดและคุ้มค่า เหมาะสมกับคุณค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไป

          สำหรับระบบราชการ ได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
หลักเกณฑ์การบริหารกิจการบานเมืองและสังคมที่ดี ลงวันที่
30 มิถุนายน 2542 โดยมีหลักคิดและแนวทางการปฏิรูประบบราชการให้มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนี้

               1) พัฒนาระบบราชการใหสอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยยุคใหม่

                2) พัฒนาระบบราชการตามหลักบริหารภาครัฐแนวใหม่

      • ให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
      • ทันโลก ทันสมัย มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล วัดผลได้

                3) พัฒนาระบบราชการเพื่อให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนดในสากล 

      • สุจริต โปร่งใส
      • บริหารในระบบเปิดให้ประชาชนเขามามีส่วนร่วม
      • มีความพร้อมรับผิดชอบ 

          การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลแม้จะเน้นไปที่ทุกภาคส่วนในสังคม แต่ควรเริ่มต้นให้คนทุกคนได้ยึดถือ และปรับใช้กับการปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวัน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติตน และการปฏิบัติงาน หากทุกคนทำได้ก็จะเป็นประโยชน์กับส่วนรวมในสังคม เพราะจะทำให้สังคมมีแต่ความสงบสุข เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันในทุกเรื่อง เกิดความสามัคคี ประเทศชาติก็จะเจริญอย่างยั่งยืนตลอดไป.

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 107704เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2007 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท